ประชาสัมพันธ์

กกอ.ตีกลับTQFครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ บอร์ด กกอ. ได้พิจารณาร่างกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  และเห็นว่ากรอบดังกล่าวยังไม่ชัดเจน จึงขอให้คณะทำงานนำร่างดังกล่าวกลับไปปรับแก้อีกครั้ง เพื่อให้การผลิตครูในอนาคตสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่เน้นว่าการกำหนดหลักสูตรทุกระดับต้องสอดคล้องกัน คือ การผลิตครูของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในแต่ละสาขานั้น จะต้องให้นิสิต นักศึกษา ได้ไปเรียนกับอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นโดยตรง อาทิ ครูที่จะออกไปสอนวิชาหลักในระดับมัธยมศึกษา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์  เคมี และชีวะ จะต้องไปเรียนกับคณะวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ใช่สอนโดยอาจารย์จากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เหมือนที่บางมหาวิทยาลัยที่ทำอยู่ในขณะนี้ ส่วนอาจารย์จากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้สอนวิชาทั่วไป
   
“ต่อไปนี้มหาวิทยาลัยต้องสามารถบริหารจัดการข้ามคณะให้ได้ เพราะการเปิดสอนในสาขาเฉพาะ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์มาสอนได้ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต ซึ่งถ้าทำได้ก็จะสามารถผลิตครูผู้สอนได้ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่ถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่สามารถให้นิสิต นักศึกษาของตนเองไปเรียนข้ามคณะในวิชาหลัก ๆ ได้ ก็  ให้ผลิตได้เฉพาะครูประถมศึกษาเท่านั้น ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ เพื่อให้ได้ครูที่จบออกมามีคุณภาพและสอนตรงตามสาขามากขึ้น” ดร.สุเมธ กล่าวและว่า คาดว่าร่างกรอบ TQF ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะเริ่มใช้กับโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ก่อน เพราะต้องเร่งผลิตครูเพื่อทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการ จำนวน 30,000 อัตรา ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และถือเป็นการส่งสัญญาณนำร่องการปฏิรูประบบการผลิตครูครั้งใหญ่ของประเทศ ด้วย.

ที่มา 


รูปภาพ  http://www.intell.rtaf.mi.th/newsdetail.asp?id=49087

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...