ประชาสัมพันธ์

5 อาชีพเสริมออนไลน์ มีงานประจำก็ทำได้


ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฝืดเคือง ใครๆก็ได้รับผลกระทบทางด้านการเงินไปเสียหมด อีกทั้งยังต้องพบเจอกับปัญหาข้าวยากหมากแพง แต่ในขณะเดียวกันค่าเงินบาทก็เริ่มลดน้อยถอยลง นอกจากการประหยัดเงิน และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราอยู่รอดในสังคมอันโหดร้ายได้นั้นก็คือการหาอาชีพเสริม ซึ่งในยุคสมัยที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยระบบออนไลน์นี้ การหาอาชีพเสริมออนไลน์นั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เรามาดูกันว่า 5 อาชีพเสริมออนไลน์ที่พนักงานประจำก็สามารถทำได้นั้น มีอะไรบ้าง

1.พนันออนไลน์
หลายคนอาจจะประหลาดใจว่าการเล่นพนันออนไลน์นั้นสามารถสร้างรายได้ได้จริงหรือ? ซึ่งคำตอบก็คือสามารถทำได้จริง หากเราศึกษาวิธีการเล่น และรู้จักการระงับควบคุมตัวเอง การเล่นพนันออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป ซึ่งปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์พนันออนไลน์มากมายเปิดให้ใช้บริการ และมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือสูง เช่น M88 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีมาตรฐานและมีระบบการจัดการที่ดี จึงไม่ต้องกังวลว่าจะถูกหลอก หรือโดนเบี้ยวเงินรางวัล

2.ขายของออนไลน์
การเริ่มต้นขายของด้วยสิ่งเล็กๆ และหมั่นเรียนรู้ที่จะทำการขาย จะทำให้เราสามารถเรียนรู้การขายได้มากขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถขายของที่ไม่ได้ใช้แล้วเป็นของมือสองผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียก็สามารถสร้างทำเงินได้เช่นเดียวกัน

3.ขายภาพถ่ายออนไลน์
งานนี้เหมาะกับคนที่ชอบเป็นงานอดิเรก เพราะนอกจากจะมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบแล้ว ยังสามารถขายภาพถ่ายเหล่านั้นบนเว็บไซต์ได้อีกด้วย โดยเว็บไซต์ที่ช่วยให้เราขายภาพถ่ายนั้นมีมากมาย เช่น Shutterstock เป็นต้น

4.เขียนบล็อก
คนที่ชอบแชร์เรื่องราวต่างๆ นั้น การเป็น Blogger ถือว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง แต่ต้องอาศัยความอดทนในตอนแรก เพราะกว่าบล็อกจะสร้างเงินได้นั้น อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งการสร้างรายได้จากการเขียนบล็อกนั้นมาจากการโฆษณา เขียนบทความให้แบรนด์ การแปะแบนเนอร์โฆษณาในบล็อก หรือการได้สปอนเซอร์ เป็นต้น

5.รับงานแปลภาษา
สำหรับใครที่มีทักษะทางด้านภาษา นี่คืออาชีพเสริมที่เหมาะสมกับคุณ เพราะมีผู้ประกอบการมากมายที่ต้องการขยายธุรกิจ แต่มีข้อจำกัดทางด้านภาษา จึงทำให้นักแปลภาษาเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก

รับตรง โครงการรับนักศึกษาเพิ่มพิเศษ เทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร


โครงการรับนักศึกษาเพิ่มพิเศษ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ประจำปีการศึกษา 2560
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

เปิดรับสมัครถึง 9 มีนาคม 2560 16:30 น. (สมัครออนไลน์ http://www.foodtech.eng.su.ac.th)

จำนวน 40 คน

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์) โดยมี
เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

ทดสอบความรู้วิชา เคมี ชีววิทยา และความรู้ทางเทคโนโลยีอาหาร

*** มีทุนการศึกษาสำหรับผู้สอบที่มีผลคะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรก

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.foodtech.eng.su.ac.th/DBWeb/Data/FileData/f41067.pdf

ดูประวัติ!! เฮาเวิร์ด วู หัวหน้าฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย


มิสเตอร์เฮาเวิร์ด วู ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการตลาดและฝ่ายพัฒนาธุรกิจ โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย 


ผู้ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในวงการการศึกษาด้วยประสบการณ์การดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการตลาดที่ศูนย์การเรียนรู้เยาวชนประเทศจีน ในเมืองปักกิ่ง และผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท นิว โอเรียนทัล เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ เทคโนโลยี กรุ๊ป ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศจีนที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
มิสเตอร์วู เคยร่วมงานกับรัฐบาลจีน เพื่อให้บริการด้านการศึกษาและการฝึกอบรมแก่เด็กผู้ยากไร้กว่า 10,000 คน และให้การอบรมด้านการพัฒนาทักษะเพื่อการประกอบอาชีพแก่แรงงานชาวจีนอีกกว่า 40,000 คน



มิสเตอร์วู จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการพาณิชย์และสื่อโฆษณา จากมหาวิทยาลัยกุ้ยหลินออฟแอร์โรว์สเปซเทคโนโลยี ประเทศจีน และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ประเทศไทย สามารถพูดได้สี่ภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ ไทย จีนกลาง (แมนดาริน) และภาษาจีนกวางตุ้ง ซึ่งทำให้เขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงอุตสาหรกรรมการศึกษาทั้งในประเทศไทยและจีน 


นอกจากนี้ มิสเตอร์วู ยังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย อีกด้วย

เปิดประวัติ!! ดร. แดเนียล คริสโตเฟอร์ มัวร์ ประธานบริหารและอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย


ดร. แดเนียล คริสโตเฟอร์ มัวร์ เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริหารและอาจารย์ใหญ่ ของโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นผู้ดูแลและบริหารงานโรงเรียนทั้งสองวิทยาเขต ซึ่งรวมถึงการกำหนดงบประมาณประจำปี โครงการด้านกลยุทธ์และการลงทุนต่างๆ การพัฒนาและบริหารงานภายในวิทยาเขต พร้อมทั้งการเป็นหัวหน้างานผู้ดูแลบุคลากรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 165 คน
ก่อนมาร่วมงานกับโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย ดร. แดเนียล เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายมัธยมศึกษาตอนปลายของดัลวิช คอลเลจ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยก่อนหน้านั้น ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองอาจารย์ใหญ่และรองหัวหน้าฝ่ายมัธยมศึกษา ของโรงเรียน เดอะ บริติช ออฟ
กวางโจว ประเทศจีน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 นอกจากนั้น เขายังดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์ โรงเรียนนานาชาติการ์เด้น กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 รวมถึงเคยทำงานที่โรงเรียนประจำนานาชาติในประเทศเคนย่าและอียิปต์


ดร. มัวร์ ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิชาภูมิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแซลฟอร์ด                                  และประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษาในสาขาวิชาภูมิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดบรูคส์                                            รวมถึงวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการเป็นผู้บริหารด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ และปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบรเยอร์ สเตท


นอกเหนือจากการดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริหารและอาจารย์ใหญ่แห่งโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟแล้ว                             ดร. มัวร์ ยังเป็นประธานสมาคมการจัดกิจกรรมและงานประชุมของกลุ่มโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (TISAC) ซึ่งมีโรงเรียนนานาชาติทั่วกรุงเทพฯเป็นสมาชิกกว่า 15 โรงเรียน และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติ
บรอมส์โกรฟ ประเทศไทย


ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ดร. มัวร์ ได้นำเอาความเชี่ยวชาญของการเป็นผู้นำด้านการศึกษาและการบริหารโรงเรียนที่สั่งสมมาอย่างยาวนานมาประยุกต์ใช้และเปิดบริษัทให้คำปรึกษาด้านการศึกษาให้กับโรงเรียนนานาชาติหลายๆ แห่ง
ทั่วทวีปเอเชีย ภายใต้ชื่อ เอดูคอน โกลบอล จำกัด อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกกรรมการบอร์ดบริหารให้กับองค์กรด้านสื่อมวลชนในกรุงลอนดอนอีกด้วย


โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย ส่งเสริมรัฐบาลไทย ผลักดันนโยบายประเทศเป็นศูนย์กลางการศึกษาในอาเซียน


 ส่งตรงระบบการศึกษาชั้นนำจากประเทศอังกฤษสู่ประเทศไทย โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย เป็นเพียงโรงเรียนเดียวจากไทยที่ได้รับพิจารณาเข้ารับรางวัล บริติช อินเตอร์เนชั่นแนล สกูล อวอร์ด 2017 สาขา หลักสูตรการสอนที่มีความสร้างสรรค์ดีเยี่ยมแห่งปี

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560, กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย โรงเรียนนานาชาติในไทยที่ใช้หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ  และเป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวในไทยที่เป็นเครือข่ายกับโรงเรียน
บรอมส์โกรฟ ประเทศอังกฤษ ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นโรงเรียนต้นแบบของหลักสูตรการศึกษาที่ยอดเยี่ยม และนำมาปรับใช้เพื่อให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคน รวมไปถึงแนวความคิดที่ เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับการเอาใจใส่และโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน (no child left behind)” สนับสนุนนโยบายของภาครัฐไทยในการผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการศึกษาในอาเซียน

ในปี 2558 รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในอาเซียน[1] นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังมองหาโอกาสในการตั้งศูนย์ความร่วมมืออาเซียนเพื่อการศึกษา และยังได้นำเอาหลักสูตรการเรียนจากนานาชาติเข้ามาปรับใช้ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น[2] ดังนั้น โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย ในฐานะที่มีความพร้อมทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรการศึกษา จึงมองเห็นโอกาสในการสนับสนุนให้นโยบายนี้เป็นจริงและการศึกษาในประเทศไทยได้มุ่งสู่ระดับสากล
โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นหนึ่งในสองโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกสหราชอาณาจักรที่มีเครือข่ายร่วมกับโรงเรียนต้นแบบ บรอมส์โกรฟ ประเทศอังกฤษ และได้ยึดเอาธรรมเนียมปฏิบัติ และค่านิยมของโรงเรียนต้นแบบ มาปรับใช้และรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานระดับสูงมาจนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จทั้งในด้านวิชาการและการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ


ดร. แดเนียล คริสโตเฟอร์ มัวร์ ประธานบริหารและอาจารย์ใหญ่ แห่งโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยมาตรฐานของโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย เราสามารถสร้างความแตกต่างให้แก่แผนการศึกษาที่มอบให้นักเรียนของเรา โดยผ่านความร่วมมือระหว่างตัวนักเรียนเอง ผู้ปกครอง และโรงเรียน นอกจากนี้ เราเชื่อว่า เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น เด็กควรจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะอย่างเต็มศักยภาพและประสบความสำเร็จในแบบของตนเอง
โปรแกรมการขยายโอกาสทางการเรียนรู้ (Extended Learning Opportunities - ELOs) และ โปรแกรมการเรียนรู้แบบอิสระ (Independent Learning Tasks - ILTs) ซึ่งนำมาใช้แทนการให้การบ้านในแบบเดิมของเรานั้น เป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากทำการบ้านมากยิ่งขึ้น โดยนักเรียนสามารถเลือกระดับความท้าทายของการบ้านได้ ซึ่งการบ้านรูปแบบใหม่นี้ช่วยกระตุ้น สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง และยังส่งผลให้ความรู้ในระดับวิชาการดีขึ้นอีกด้วยดร.มัวร์ กล่าวเสริม
และจากการบ้านรูปแบบใหม่นี้เอง จึงทำให้โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย เป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการพิจารณาเข้าชิงรางวัล บริติช อินเตอร์เนชั่นแนล สกูล อวอร์ด 2017 สาขา หลักสูตรการสอนที่มีความสร้างสรรค์ดีเยี่ยมแห่งปี (British International School Awards 2017 in the category of ‘Teaching Initiative of the Year’)
ทางโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย มีการจำกัดจำนวนนักเรียนในแต่ละห้อง เพื่อให้ได้ขนาดห้องเรียนที่เหมาะสม และนักเรียนทุกคนจะได้รับความรู้ การเอาใจใส่ และได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมในแต่ละด้าน เช่น ในชั้นเตรียมอนุบาล (Pre-nursery) และชั้นอนุบาล (Nursery) ซึ่งเป็นปีแรกๆของการเข้ารับการศีกษา ทางโรงเรียนได้ให้สัดส่วนของผู้ใหญ่ 1 คนต่อการดูแลเด็กนักเรียน 5 คน โดยสัดส่วนนี้จะช่วยให้ครูสามารถเข้าใจความสนใจ ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนได้ดี จึงทำให้ครูสามารถเลือกใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสมแก่เด็กนักเรียนแต่ละคนได้ โดยในทุกๆชั้นเรียนจะมีครูไทยคอยให้คำปรึกษาแก่เด็กที่ยังมีปัญหาด้านการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ โดยทางโรงเรียนยังมีหลักสูตรภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือ English as an Additional Language (EAL) เสริมให้แก่เด็กนักเรียนที่ต้องการอีกด้วย

นักเรียนในโรงเรียนยังได้รับโอกาสในการเข้ารับโปรแกรมหลักสูตรพิเศษของแต่ละประเทศเพิ่มเติมหลังเลิกเรียนได้ อาทิ นักเรียนชาวเกาหลีสามารถเข้ารับโปรแกรมการศึกษาเพิ่มเติมหลังเลิกเรียนชั้นเรียนปกติ เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะกลับไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐในการเพิ่มจำนวนนักเรียนชาวต่างชาติมาศึกษาที่ประเทศไทย โดยในปีการศึกษาหน้าทางโรงเรียนจะเปิดหลักสูตรพิเศษเพิ่มเติมเพื่อนักเรียนชาวจีนที่ใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นของโรงเรียนในขณะนี้

นอกจากนี้ เพื่อรองรับนโยบายของภาครัฐในการเพิ่มจำนวนนักเรียนชาวต่างชาติให้มาศึกษาที่ประเทศไทยมากขึ้น ทางโรงเรียนดึงดูดนักเรียนจากทั่วโลกด้วยมาตรฐานการจัดการหอพักระดับโลก โดยดำเนินการในมาตรฐานขั้นสูงเดียวกับโรงเรียนบรอมส์โกรฟในประเทศอังกฤษ

โปรแกรมการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ ประเทศไทย นั้น ได้ใช้หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ นักเรียนจะทดสอบด้วยข้อสอบของทางเคมบริดจ์ (Cambridge) อย่าง IGCSE หรือ International General Certificate of Secondary Education และได้คะแนนสอบในระดับ AS และ A เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งใดก็ได้ในโลก




ทางโรงเรียนจะเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเป็นพลเมืองของโลกที่มีศักยภาพได้ เรามุ่งมั่นที่จะสร้างคนที่มีคุณธรรม
มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสุขและมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และช่วยเติมเต็มชีวิตให้แก่ผู้คนที่อยู่รอบข้าง ด้วยการศีกษาที่ก้าวหน้าและเปิดรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆให้ทันโลกโดยที่ยังคงค่านิยมหลักของโรงเรียนอยู่ ทำให้เราสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์และสร้างความสำเร็จมาถึงปัจจุบันได้
ดร. มัวร์  กล่าวปิดท้าย

โรงเรียนให้ความสำคัญกับหลักสูตรการศึกษาและการเป็นพลเมืองโลกที่ดี นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติ             บรอมส์โกรฟ ประเทศไทย สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดังต่างๆทั่วโลกและประสบความสำเร็จในหลากหลายสาขาอาชีพ

ศิลปศาสตร์ สจล. มุ่งหน้าพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ เปิดรับสมัครอาจารย์เพิ่ม สามอัตรา


กรุงเทพฯ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกาศรับสมัครเพื่อสอบคัดเลือก ตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 3 อัตรา ได้แก่ อาจารย์ชาวไทย สังกัดภาควิชาภาษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 1 อัตรา ตำแหน่งอาจารย์ชาวไทย สังกัดภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา และ ตำแหน่งอาจารย์ชาวต่างประเทศ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา เพื่อเร่งพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษให้แข็งแกร่ง และผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับนานาชาติ

สำหรับรายละเอียดการรับสมัคร พนักงานสถาบันเงินงบประมาณ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาภาษา สาขาภาษาอังกฤษ ผู้สมัครจะต้องมีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การแปล วรรณคดีอังกฤษ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ตรงกับสาขาที่รับสมัคร โดยต้องมีคะแนนสอบความสามารถภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งตามเกณฑ์ TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำว่า 173 คะแนน TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน ผลสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน ผลคะแนนสอบดังกล่าวต้องไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในเอกสารแสดงผลการสอบ

สำหรับรายละเอียดการรับสมัคร พนักงานสถาบันเงินงบประมาณ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้สมัครจะต้องมีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก สาขาการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการบริการ การจัดการท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม หรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาเอกที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 1 ปี (กรณีมี Course Work ต้องสอบผ่านทุกวิชาแล้ว) และต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในสาขาการท่องเที่ยว (มีเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกวา 3.00 และปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.50  ) หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัคร ในตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาภาษา สาขาภาษาอังกฤษ และ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะมีคะแนนสอบความสามารถภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งตามเกณฑ์ อาทิ TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำว่า 173 คะแนน TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน ผลสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน ผลคะแนนสอบดังกล่าวต้องไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในเอกสารแสดงผลการสอบ เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560  ในวันและเวลาทำการ ณ ส่วนสนับสนุนวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ ห้อง ค.239 ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการพิเศษจอมไตร ตึกคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ทำการคัดเลือกในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560  และประกาศผลการสอบคัดเลือกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จากนั้นรายงานตัวได้ ตั้งแต่วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยจะเริ่มปฏิบัติงานและบรรจุเป็นพนักงานสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

สำหรับรายละเอียดการรับสมัคร ลูกจ้างรายดือนเงินรายได้ (ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ) ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ ผู้สมัครต้องมีวุฒิปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเฉพาะทาง (ESP) หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง/ใกล้เคียง ต้องมีประกาศนียบัตรด้านการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ (TESOL) กรณีที่จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกในสาขาอื่นๆ ต้องมีประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา และมีหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน โดยต้องมีคะแนนสอบความสามารถภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งตามเกณฑ์ TOEFL (Paper Based) ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน TOEFL (Computer Based) ไม่ต่ำว่า 173 คะแนน TOEFL (Internet Based) ไม่ต่ำกว่า 61 คะแนน ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน ผลสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน ผลคะแนนสอบดังกล่าวต้องไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในเอกสารแสดงผลการสอบ เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ในวันและเวลาทำการ ณ ส่วนสนับสนุนวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ ห้อง ค.239 ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการพิเศษจอมไตร ตึกคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และทำการคัดเลือกในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 ประกาศผลการสอบคัดเลือกในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560 รายงานตัว ตั้งแต่วันที่ 16-24 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยจะเริ่มปฏิบัติงานและบรรจุเป็นพนักงานสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ,ศ. 2560


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร 08-4545 8778 โทรสาร 0-2329-8445 เว็บไซต์ www.la.kmitl.ac.th/fla หรือติดตามกิจกรรมต่างๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/liberalartskmitl/ หรือเยี่ยมชมวิดีทัศน์แนะนำคณะศิลปศาสตร์ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Wz8HLlfK8mI  





ศิลปศาสตร์ สจล. อบรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ มุ่งหน้าสู่ความเป็นเลิศสูงสุด

กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23-24 มกราคม 2560 รศ.ดร. จิราภา วิทยาภิรักษ์ รักษาการแทนคณบดีคณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดทำโครงการที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ปี พ.ศ. 25602564 ให้แก่ผู้บริหารและบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของคณะศิลปศาสตร์ จำนวนกว่า 30 ท่าน การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้กระบวนการการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและการเขียนโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะ โดยมี ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร อ.ดร.ประสิทธิ์ พงษ์เรืองพันธุ์ และ ผศ.ดร.จิราภรณ์ อินทราไสย ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการดำเนินการอบรมตลอดระยะเวลา 2 วัน ณ อัมพวา รีสอร์ต แอนด์ สปา จังหวัดสมุทรสงคราม







loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...