วาไรตี้
ประชาสัมพันธ์
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แนะแนว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แนะแนว แสดงบทความทั้งหมด

ไขความลับ! เรียนอย่างไรให้ได้เกรดดี


การเรียนให้ได้เกรดสี่ มีเคล็ดลับอย่างไรบ้าง และเคล็ดลับเหล่านั้นจะยากหรือง่ายต่อการคว้าผลการเรียนดีๆ มาได้หรือไม่? ไปติดตามพร้อมๆ กับเรา


4 เคล็ด(ไม่)ลับ เรียนอย่างไรให้ได้เกรดสี่


1. ตั้งใจเรียน เคล็ดลับอย่างแรกคงเป็นเคล็ดลับที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันดี เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงสำหรับคนที่ได้เกรดสี่เป็นอย่างมากกับการตั้งใจเรียน ซึ่งการตั้งใจเรียนจริงๆ นั้นไม่ใช่แค่เพียงการเข้าเรียนในทุกคลาส หรือการไม่หลับในเวลาเรียน แต่เป็นการจดจ่ออยู่กับเนื้อที่เรียนในขณะที่อาจารย์กำลังสอนอย่างเต็มที่ ซึ่งหากทำได้แบบนี้เกรดสี่ก็คงจะไม่ไกลเกินไป

2. หมั่นทบทวน เคล็ดลับอย่างที่สอง เมื่อเราตั้งใจเรียนแล้วก็ถือว่าเราสามารถไปสู่เป้าหมายคือเกรดสี่ได้แล้วในระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากจะให้แน่นอนมากยิ่งขึ้น การตั้งใจเรียนของเราต้องทำควบคู่ไปกับการหมั่นทบทวนบทเรียนอยู่อย่างสม่ำเสมอด้วย เพราะแม้ว่าเราจะตั้งใจเรียนขนาดไหนก็ตาม ถ้าหากไม่ได้ทบทวนด้วยตัวเองแล้วล่ะก็ เนื้อหาที่เรียนไปก็คงจะมีตกหล่นทำให้เราได้รับความรู้ไปอย่างไม่เต็มที่

3. คลายเครียดให้เป็น เคล็ดลับอันต่อมา เป็นเคล็ดลับที่หลายๆ คนไม่รู้มาก่อน เพราะหลายคนคิดว่าการเรียนให้ได้เกรดสี่นั้นต้องมุ่งเน้นไปที่ตำรา หรือการอ่านหนังสือเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามจากหลายๆ งานวิจัย การคลายความเครียดก็ยังถือว่าเป็นวิธีที่ทำให้สมองได้พักผ่อน ไม่ล้าจนเกินไป และยังทำให้การทำงานของสมองหลังจากนั้นเป็นไปได้อย่างดีขึ้น ช่วยให้คุณภาพของการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าหากใครที่หวังในเกรดสี่อยู่ล่ะก็ ควรที่จะหาวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเองไว้ได้แล้ว เช่นถ้าเราชอบดูหนัง ก็ยึดเอาการดูหนังเป็นการผ่อนคลาย หรือถ้าชอบลุ้นไปกับเกมออนไลน์ ก็ใช้คาสิโนออนไลน์เป็นแหล่งคลายเครียดให้กับเราได้

4. หาความรู้เพิ่ม เคล็ดลับอย่างสุดท้ายเป็นเคล็ดลับที่มาจากคำกล่าวที่ว่าการเรียนรู้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งหากเป้าหมายเราคือเกรดสี่แล้วล่ะก็ เราก็ไม่ควรหยุดการเรียนรู้ของเราไว้ที่ห้องเรียนหรือตำราเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จงเปิดมุมมองการเรียนรู้ให้กว้าง เพราะความรู้นั้นหมุนรอบตัวเราอยู่เสมอ

วิธีค้นหาความถนัดของตัวเอง

(ที่มา : https://sites.google.com/a/ddn.ac.th/guidance-ddn/baeb-thdsxb-khwam-thnad-tha-ngx )
ช่วงเวลาการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องเลือกคณะฯ เปรียบได้กับการเลือกชีวิตการทำงานในอนาคต ซึ่งถ้าค้นพบตัวเองได้เร็วว่าชอบอะไรก็จะเป็นผลดีแน่นอน

หาตัวเองให้เจอ ก่อนเลือกคณะฯ ในมหาวิทยาลัย

ในชีวิตวัยรุ่นนั้น นอกจากจะเพลิดเพลินกับการดูการ์ตูนออนไลน์, เล่นเกมที่ W88thailink หรือออกไปสนุกกับเพื่อนๆ แล้ว การค้นหาสิ่งที่ตัวเองถนัดเพื่อเป้าหมายในอนาคตก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเชื่อเถอะว่า อีกไม่นานเราก็ต้องตัดสินใจเลือกสายวิชาเรียนในระดับมหาวิทยาลัย อันเป็นพรมปูทางไปสู่อาชีพในอนาคต
เคล็ดลับการค้นหาความถนัดของตัวเอง

1.ที่เว็บไซต์เด็กดีระบุข้อแรกมาว่า เราควรถามตัวเองว่าตอนนี้มีอะไรที่ชอบเป็นพิเศษและทำสิ่งนั้นได้ดี มีความสุขกับมัน ด้วยการเขียนเป็นข้อๆ เขียนให้เยอะที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เช่น เล่นดนตรี ทำอาหาร ถ่ายภาพ ภาษาญี่ปุ่น ชอบพูดคุยพบปะผู้คน เหล่านี้เป็นต้น

2.เมื่อค้นพบแล้วก็หาแนวทางพัฒนาต่อยอดความสามารถในสิ่งนั้นให้เพิ่มมากขึ้น เช่น ไปลงเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติมหลังเลิกเรียน ซื้อตำราอาหารมาฝึกทำให้บ่อยขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาตัวเองในสิ่งที่มีใจรักแล้ว ก็ยังเป็นการเตรียมพร้อมก่อนสอบอีกด้วย

3.ถ้ายังนึกไม่ออกว่าชอบทำอะไร หรือไม่ได้ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ก็ใช้อีกวิธีคือ ถามตัวเองว่าที่เรียนอยู่ทุกวันนี้ชอบวิชาอะไรมากที่สุด ซึ่งวิชาที่ชอบก็ช่วยเลือกคณะฯที่จะเรียนต่อและอาชีพการงานในอนาคตได้เช่นไม่ว่าจะเป็น วิชาเลขหรือคำนวณ วิชาชีววิทยา สังคมศึกษา

4.เมื่อได้คำตอบในใจแล้ว ทั้งกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข วิชาที่ชอบเรียน ก็จะสามารถวางแผนการเลือกคณะฯเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย รวมทั้งชีวิตการทำงานในอนาคตด้วย ตัวอย่างเช่น
- ชอบภาษาญี่ปุ่น ก็เลือกคณะฯ และมหาวิทยาลัยที่มีสาขาภาษาตะวันออก เรียนเอกภาษาญี่ปุ่นจบมาสอบวัดระดับเป็นใบเบิกทางไปทำงานตามที่ตัวเองชอบ เช่น ล่าม มัคคุเทศก์ นักแปล อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น
- ชอบวิชาเลข การคิดคำนวณ เลือกเรียนคณะวิศวกรรศาสตร์ในสาขาที่ถนัด เช่น สาขาโครงสร้างหลังจาก เรียนจบก็ทำงานในสายงานด้านการควบคุมงานก่อสร้างต่างๆ หรือถ้าชอบสายงานวิชาการก็เรียนต่อปริญญาโท เพื่อเป็นอาจารย์ เป็นต้น
จากแนวทางและตัวอย่างข้างต้นนี้ น่าจะเป็นวิธีที่ทำให้ค้นพบตัวเองได้ง่ายขึ้น เพื่อจะได้เรียนต่อและทำงานในสิ่งที่ชอบอย่างแท้จริง

แนะนำ โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล



หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
Doctor of Medicine Program
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างบัณฑิตแพทย์และพลเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีความรู้ความสามารถและเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพแพทย์ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาแพทยศาสตร์ โดยเน้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์ศิริราช ดังต่อไปนี้
   (๑) Soul หมายถึง มีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ ประกอบด้วย คุณธรรมแห่งวิชาชีพ การคำนึงถึงผู้ป่วย ความรับผิดชอบต่อสังคม
   (๒) Knowledge หมายถึง มีความรู้ทางวิชาชีพ (professional knowledge) 
   (๓) Information หมายถึง ทักษะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อ เทคโนโลยี (information, media, technology skills) 
   (๔) Learning หมายถึง ทักษะการเรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (learning and innovation skills) 
   (๕) Leader หมายถึง ทักษะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้ชีวิต (leadership and life skills) 
   (๖) Skills หมายถึง มีทักษะทางวิชาชีพ (professional skills) 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๒๕๒ หน่วยกิต

โครงสร้างของหลักสูตร
(ก)หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ๑๖ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด ๑๔ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๘ หน่วยกิต
(ส่วนที่จัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป)
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๖ หน่วยกิต
(ข)หมวดวิชาเฉพาะ ๒๑๑ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๑๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับ ๑๘๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับเลือก ๑๕ หน่วยกิต
(ค)หมวดวิชาเลือกเสรี ๑๑ หน่วยกิต
การรับสมัคร

1. โครงการโอลิมปิกวิชาการ จำนวน 21 คน
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
2. ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
2.1 โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น 
 กีฬา จำนวน 1 คน
 ดนตรีแสดงเดี่ยว จำนวน 1 คน
2.2 โครงการวิทยาเขต 
 กลุ่มกาญจนบุรี จำนวน 4 คน ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม (ยกเว้น รร.มหิดลวิทยานุสรณ์) 
 กลุ่มนครสวรรค์ จำนวน 2 คน นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ 
 กลุ่มอำนาจเจริญ จำนวน 1 คน อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร และร้อยเอ็ด 
2.3 โครงการรับนักศึกษาชาวไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล) 
- นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 1 คน
- ไม่จำกัดศาสนา จำนวน 1 คน
ดูรายละเอียดได้ที่ www.mahidol.ac.th/directadmission
3. รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) จำนวน 260 คน

* สำหรับผู้สมัครที่ไม่สามารถเข้าสอบและนำผลคะแนน O-NET ปีการศึกษา 2558 มาแสดงได้ เช่น ผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คณะอนุกรรมการการสอบคัดเลือกฯ ระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันฯ สงวนสิทธิ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะนำผลการเรียนมาพิจารณา เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของผู้สมัครที่ผ่านการสอบ O-NET
ดูรายละเอียดได้ที่ www9.si.mahidol.ac.th
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(๑) โครงการโอลิมปิกวิชาการ ให้ถือตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตร
แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ 
ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๒) ระบบรับตรง (มหิดลเพื่อชาวชนบท) มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ถือตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับ 
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบรับตรง ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๓) รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้ถือตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง หลักเกณฑ์การสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ผ่านระบบรับตรง (Direct Admissions) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษา

ค่าเล่าเรียน
ชั้นปีที่ ๑ ๒๔,๑๕๐ บาท

ชั้นปีที่ ๒ ๓๙,๒๐๐ /๓๙,๖๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๓ ๓๘,๒๐๐ /๓๘,๖๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๔ ๓๙,๖๐๐ /๔๐,๐๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๕ ๔๐,๒๐๐ บาท

ชั้นปีที่ ๖ ๓๙,๔๐๐ บาท
*หมายเหตุ
   ๑. ปี ๒ –๖ ชำระค่าธรรมเนียมภาคเรียน ๒ พร้อมภาคเรียน ๑ 
   ๒. ค่าธรรมเนียมการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ทุนการศึกษา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีนโยบายที่จะจัดหาทุนอุดหนุนการศึกษามอบให้แก่นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและจัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษา 
คุณสมบัติของผู้รับทุน
   (๑) เป็นนักศึกษาในสังกัดคณะฯ
   (๒) เป็นผู้ขัดสนด้านทุนทรัพย์
   (๓) มีความตั้งใจเรียนและมีความประพฤติดี
เงื่อนไขการรับทุนการศึกษา
   (๑) นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมและช่วยเหลือในกิจกรรมซึ่งคณะฯ จัดขึ้น
   (๒) การจัดสรรทุนจะแบ่งให้รับทุนเป็นรายเดือน หรือแล้วแต่เจ้าของทุนกำหนด
   (๓) หากพบว่านักศึกษานำเงินทุนไปใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จะตัดสิทธิ์การรับทุน และอาจให้นำเงินทุนที่ได้รับไปแล้วทั้งหมดคืน

คำถามพบบ่อย

คำถามที่ ๑ เรียนแพทย์ที่ศิริราชเรียนหนักหรือไม่ มีกิจกรรมเยอะหรือไม่ มีเวลาพักผ่อนหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหาวิชาและองค์ความรู้มาก ต้องเรียนหนักกว่าหลักสูตรอื่น แต่ถ้าอยากเก่งก็ต้องฝึกหนักกว่าคนอื่น ถ้าจะเป็นแพทย์ที่เก่งได้ย่อมต้องใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนมากกว่าผู้ที่เรียนหลักสูตรอื่นที่เนื้อหาน้อยกว่า ถึงแม้จะเรียนหนักแต่สามารถอยู่ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้ารู้จักบริหารเวลา รวมทั้งมีอาจารย์ที่คอยดูแลความเป็นอยู่ของนักศึกษา สำหรับกิจกรรมต่างๆ คณะฯ มีกิจกรรมนอกหลักสูตรให้เลือกมากมาย เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาตนเอง สำหรับเวลาในการพักผ่อน ถ้านักศึกษารู้จักการบริหารเวลาที่ดี นักศึกษาจะสามารถบริหารเวลาได้ มีเวลาพักผ่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องเรียนในระดับคลินิกมีการดูแลคนไข้ ต้องยอมรับว่าบางครั้งแพทย์จำเป็นที่จะต้องอยู่เวร เพราะฉะนั้นจะมีวันที่ไม่ได้นอนแต่นั่นเป็นธรรมชาติของวิชาชีพ

คำถามที่ ๒ อยากทราบเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกเรียนที่ศิริราช อะไรเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของศิริราช
มีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศมากมายที่สามารถผลิตแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมของแพทยสภา แต่อย่างไรก็ตามศิริราชก็มีจุดเด่นที่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์อื่นๆ ดังนี้
(๑) ศิริราชเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีอาจารย์ผู้มีความรู้ความชำนาญมากเกือบครบถ้วนทุกสาขาวิชา เนื่องจากการเรียนแพทย์ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่มีในตำราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นศิลปะในการรักษาซึ่งอาจารย์ผู้มีประสบการณ์มีความชำนาญจะมีศิลปะในการรักษาที่ดี
(๒) ศิริราชมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ และมีการตรวจสอบหลักสูตร โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ
(๓) ศิริราชมีอุปกรณ์และทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ค่อนข้างพร้อม มีการลงทุนกับสื่อการศึกษา การพัฒนาหุ่นจำลองทางการแพทย์ การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) ศิริราชมีห้องสมุดทางการแพทย์ที่มีหนังสือและวารสารทางการแพทย์มากที่สุดในประเทศ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลทางการแพทย์ได้มากกว่าทุกๆ โรงเรียนแพทย์ในประเทศ และมีฐานข้อมูลที่มากที่สุดในประเทศ
(๕) ศิริราชมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดในประเทศ และเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งการเรียนรู้จากผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนที่ศิริราชจะได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย 

คำถามที่ ๓ อยากเป็นแพทย์เพราะชอบ แต่ท่องจำไม่เก่ง ความจำไม่ดี จะเรียนไหวหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหามาก และการตัดสินใจเพื่อรักษาผู้ป่วยในหลายๆ กรณีมักไม่มีเวลาเปิดหนังสือหรือตำรา จึงจำเป็นต้องมีความรู้อยู่ในหัวที่พร้อมจะรักษาผู้ป่วยในเวลาเสี้ยววินาทีได้ เพราะฉะนั้น การท่องจำเนื้อหาจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นทักษะที่จำเป็นในการเรียน แต่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ 

คำถามที่ ๔ หากไม่ชอบเรียนวิชาชีววิทยา แต่รักความเป็นแพทย์จะเรียนได้หรือไม่
ต้องถามว่า รักความเป็นแพทย์คืออะไร ถ้ารักความเป็นแพทย์เพราะว่ารักที่จะได้เงินเดือนสูงๆ เราไม่เรียกว่ารักความเป็นแพทย์ แต่ถ้ารักความเป็นแพทย์ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว มีความเสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยสามัญสำนึกของตนเอง สิ่งนี้ถือว่ารักความเป็นแพทย์ ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถเรียนได้แน่นอน ต่อให้ไม่เก่งวิชาชีววิทยาแต่มีคุณสมบัติพื้นฐานก็สามารถเรียนแพทย์ได้

คำถามที่ ๕ อยากเรียนแพทย์แต่ไม่เก่งภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร จะเรียนได้หรือไม่
วิชาการทางการแพทย์เป็นวิชาการที่มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา และในปัจจุบันความรู้ใหม่ๆ ถูกพัฒนาในต่างประเทศ และเผยแพร่ในวารสารหรือตำราที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนมาก ดังนั้น ทักษะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียน ถ้าจะเรียนให้จบหลักสูตร โดยที่ไม่อ่านตำราหรือวารสารวิชาการภาษาอังกฤษเลยคงเป็นไปได้ยากมาก แต่ทั้งนี้ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่ฝึกฝนเรียนรู้ได้ โดยคณะฯ มีทรัพยากรเกื้อหนุนให้นักศึกษาได้ฝึกตนเองและพัฒนาตนเองให้เก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นได้
คำถามที่ ๖ ทราบได้อย่างไรว่าตัวเองอยากเป็นแพทย์ และเมื่อทราบแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไร
ถ้ามีคุณสมบัติที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์มาก่อนประโยชน์ส่วนตัวเสมอ มีความเสียสละ ถือว่ารักความเป็นแพทย์ มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่งที่จัดงาน Open house แนะแนวการศึกษาแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และครูแนะแนว เพื่อให้สำรวจตัวเองว่าอยากเป็นแพทย์จริงหรือไม่ ซึ่งจะได้เห็นวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ ทำให้เข้าใจรูปแบบการเรียนมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีโอกาสเข้าร่วม ควรจะสำรวจตัวเองให้มั่นใจว่าเป็นคนรักงานบริการ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และทุ่มเทเสียสละ

คำถามที่ ๗ เรียนแพทย์ต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมากหรือไม่ ฐานะไม่ดีจะเรียนได้หรือไม่ มีทุนการศึกษาหรือไม่
หากเป็นโรงเรียนแพทย์ของรัฐ รัฐบาลมีงบสนับสนุนให้ เพราะฉะนั้นนักศึกษาจะไม่ได้จ่ายค่าเล่าเรียนตามจำนวนที่ต้องใช้จริงตามต้นทุน หากนักศึกษาไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยังสามารถเรียนได้ เพราะคณะฯ มีทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งมีทุนหลากหลายประเภทด้วยกัน โดยนโยบายของคณะฯ จะไม่ยอมให้นักศึกษาแม้แต่คนเดียวไม่สำเร็จการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ 

คำถามที่ ๘ อยากเรียนแพทย์ต้องเก่งอะไรบ้าง เรียนแพทย์ยากไหม
เรียนแพทย์ยาก แต่ถ้ามีความตั้งใจก็สามารถเรียนได้ จริงๆแล้วต้องเก่งหลายอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องเก่งมาตั้งแต่ต้นทาง สามารถมาพัฒนาในโรงเรียนแพทย์ได้ เช่น ต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีทักษะในการทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ดี มีทักษะในการทำหัตการ ทำการผ่าตัด หรือว่าใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้ มีความจำที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครมีทักษะทุกอย่างครบถ้วน แต่ถ้าจะต้องเก่งอะไรในระดับมัธยมภาษาอังกฤษน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความรู้ในตำราวารสารวิชาการส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ

คำถามที่ ๙ ผู้ที่เหมาะสมที่จะเรียนแพทย์ควรมีบุคลิกอย่างไร
ต้องเป็นคนจิตใจดี ชอบให้บริการผู้อื่น มีความเสียสละ ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว มีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเริ่มงานหรือเลิกงานเวลาเดิมในทุกวัน อาจมีบางวันที่ต้องทำอะไรที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าได้

คำถามที่ ๑๐ เรียนแพทย์ดีอย่างไร
ถ้ามองในเชิงจิตใจนั้น การเรียนแพทย์เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นแพทย์ที่ดีจริงๆ จะสามารถเปลี่ยนให้คนที่จะเสียชีวิตให้เดินกลับบ้านได้ สามารถเปลี่ยนให้คนที่กำลังจะพิการให้กลับไปทำงานได้ เราสามารถทำให้คนที่มีอาการเจ็บป่วย หรือเจ็บปวดทรมานพ้นจากความทุกข์ทรมานได้ เราสามารถทำประโยชน์ให้คนหมู่มาก ดังนั้น เราได้ผลตอบแทนทางใจเยอะมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยและความลำบากกาย
ติดต่อสอบถาม

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
ที่อยู่ : ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น ๖ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เลขที่ ๒ ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๔๑๙-๖๔๑๐-๑ , ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๒
โทรสาร : ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๓
email : sieducation@mahidol.ac.th

วิดีโอแนะนำคณะฯ





รายละเอียดเพิ่มเติมและที่มา : 

10 อันดับประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ปี 2015-2016


ขอนำทุกท่านเข้าสู่เรื่องราวของ "การศึกษา" โดยวันนี้ขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ "ที่สุด" ในหัวข้อ 10 อันดับประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ปี 2015-2016


10.สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)





ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ค่อนข้างสูง เด็กสวิตจะต้องจบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้น จึงจะถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ ส่วนระดับอนุบาลนั้นไม่ถือว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ จะเข้าเรียนอนุบาลก่อนหรือไม่ก็ได้ กล่าวกันว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นต้นกำเนิดของวิชาการโรงแรม จึงทำให้สาขานี้มีนักเรียนไทยให้ความสนใจไปเรียนต่อมากที่สุดนั่นเอง

9.สาธารณรัฐเช็ก (czech republic) 


แม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ใจกลางยุโรป แต่สาธารณรัฐเช็กก็เป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เรียนฟรีสำหรับการศึกษาภาคบังคับไปจนถึงอายุ 15 ปี หลักการเรียนรู้เน้นความเข้าใจของผู้เรียนเป็นหลักซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวเช็ก ระบบการศึกษาของประเทศมีทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน คือ โรงเรียนอนุบาล, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย

8.เบลเยี่ยม (Belgium) 


เบลเยี่ยมเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เน้นในเรื่องของมาตรฐานการศึกษา และพยายามเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน จึงไม่มีการสอบเข้า และไม่เก็บค่าเล่าเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงความหลากหลายของทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย ระบบการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างตามภูมิภาคทั้งภาษาดัตช์ เยอรมัน และฝรั่งเศส

7.อิสราเอล (Israel)


อิสราเอลถือว่าเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ค่อนข้างสูงประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านของการศึกษา ในทัศนะคติของคนอิสราเอลจะถือว่าการศึกษาถือเป็น “มรดกที่ล้ำค่า” การศึกษาภาคบังคับทั้งหมด 12 ปี (ตั้งแต่อายุ 5-16 ปี) และรัฐได้จัดการศึกษาฟรีจนถึงอายุ 18 ปี โดยการศึกษาส่วนใหญ่ในประเทศจะใช้เป็นภาษาฮินดีและภาษาอาหรับเป็นหลัก
6.นิวซีแลนด์ (New Zealand)


ในปี 2014-15 รัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์ได้ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาในด้านการศึกษากว่า 13,183 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมประเทศนิวซีแลนด์ถึงได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีระบบการศึกษาที่ดีและมีมาตรฐาน ผลการสอบ PISA ในด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับ 7 ในขณะที่คณิตศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 13 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 34 ประเทศ
5.ออสเตรเลีย (Australia)


ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้ในระบบการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย และยังมีสถิติด้านการศึกษาที่น่าสนใจอีกคือ ประชากรชาวออสเตรเลียมีอัตราการรู้หนังสือเบื้องต้นในระดับประถมเกือบ 2 ล้านคน รวมแล้วมีอัตราการรู้หนังสือถึง 99% และการประเมินการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย PISA ในส่วนของวิชาการอ่าน, วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 6, 7 และ 9 ตามลำดับ ประเทศออสเตรเลียยังเป็นประเทศยอดนิยมสำหรับนักศึกษาไทยที่นิยมไปเรียนต่อมากที่สุดอีกด้วย
4.สหรัฐอเมริกา (USA)


การศึกษาภาคบังคับนักเรียนอเมริกันทุกคนจะได้รับสิทธิเรียนฟรีจนกระทั่งถึงเกรด 12 หรือจบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย บรรยากาศการศึกษาในห้องเรียนของชาวอเมริกันนั้น นักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โต้เถียงเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง มีส่วนร่วมในการสนทนา และนำเสนองานของตน ซึ่งนักศึกษาชาวต่างชาติส่วนใหญ่เห็นว่าบรรยากาศภายในห้องเรียนเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าตื่นใจที่สุดของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
3.รัสเซีย (Russia)


รัสเซียเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษามาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต ชาวรัสเซียส่วนมากจะสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน และยังเป็นนักอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก มีการศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง ทำให้อัตราการรู้หนังสือของประชากรประเทศรัสเซียคิดเป็น 100% เต็ม อีกทั้งมีวิชาการ ความรู้และเทคโนโลยีเป็นของตนเองมาเป็นเวลานาน รวมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาก็นับว่าไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย
2.เยอรมนี (Germany)


เยอรมันเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่ม OECD ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก ๆ อยู่ในระดับสูงทั้งในระดับมัธยมศึกษา และในระดับอุดมศึกษา โดยการศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6-18 ปี โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาล เรียนฟรีไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมัน หันมาพัฒนาการศึกษา และการวิจัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรวมประเทศ มีมหาวิทยาลัยเกือบ 120 แห่ง
1.เดนมาร์ก (Denmark)


ประเทศเดนมาร์ก กฎหมายบังคับการศึกษาแต่ไม่บังคับการไปโรงเรียน เด็กทุกคนจะต้องไปเรียนเมื่อมีอายุครบ 7 ปี การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ไม่รวมชั้นเด็กเล็ก ระบบการศึกษาของเดนมาร์กจะให้ความสำคัญกับการแนะแนวมาก เพื่อให้เด็กทุกคนพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะกับศักยภาพของตนเอง และเด็ก ๆ ยังสามารถเลือกการศึกษาและโรงเรียนของตนได้อีกด้วย

ที่มา : manager.co.th ข้อมูลจาก : mbctimes.com, toptenthailand.com/

แนะนำ การเข้าศึกษาต่อ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น








หลักสูตร



ระดับปริญญาตรี

ภาคปกติ
• สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
• สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
• สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
• สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
• สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
• สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
• สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
• สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ระดับปริญญาตรี

โครงการพิเศษ
• สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
• สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
• สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
• สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

ระดับปริญญาโท

• สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
• สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
• สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร
• สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
• สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
• สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
• สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
• สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
• สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
• สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์

ระดับปริญญาเอก

• สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
• สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
• สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร
• สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
• สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
• สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
• สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
• สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

 การรับเข้าศึกษา

ระดับปริญญาตรี

โดยวิธีรับตรง และวิธีสมัครผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งจะรับสมัคร 5 สาขาวิชา ประกอบด้วย

(1) สาขาวิชาวิศวกรรมทั่วไป โดยนักศึกษาจะต้องเลือกเรียนสาขาเฉพาะเมื่อขึ้นปีการศึกษาที่สอง ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ หรือ วิศวกรรมเคมี
(2) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
(3) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(4) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
(5) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

โดยวิธีพิเศษ 6 โครงการ ได้แก่

(1) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก “โครงการคัดเลือกนักเรียน ผู้มีความสามารถดีเด่นด้านกีฬา”
(2) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก “โครงการส่งเสริมนักเรียน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
(3) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก “โครงการรับนักเรียนที่เป็น คนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและบริการสังคม”
(4) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก “โครงการความร่วมมือทาง วิชาการกับกรมอาชีวศึกษา”
(5) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก “โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับปริญญาตรี แก่ผู้ด้อยโอกาสหรือพิการ”
(6) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก “มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์”
สามารถติดตามรายละเอียดการรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ http://www.en.kku.ac.th/olympic
สามารถติดตามรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้ที่เว็บไซต์ของฝ่ายวิชาการ http://apply.kku.ac.th/
และการรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโครงการพิเศษ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.en.kku.ac.th/admission

ระดับบัณฑิตศึกษา

(ปริญญาโทและปริญญาเอก)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต โดยผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาสามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 อาคารศูนย์วิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือสมัครได้ทางเว็บไซต์ http://gs.kku.ac.th ตามรายละเอียดในคู่มือการศึกษาของแต่ละในปีการศึกษา ทั้งนี้ผู้สมัครเข้าศึกษา จะต้องผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเลือกที่คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้ทำการสอบคัดเลือก

รายละเอียดเพิ่มเติมและที่มา : https://www.en.kku.ac.th

คลิปสอนคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ทุกเรื่อง โดยครูนาคิน


https://sites.google.com/site/krunakin/

ตามลิ๊งค์นี้เลยนะครับ  search หาไม่เจอ เพราะผมปิดการค้นหาไว้ครับ

ปิดเทอมที่ผ่านมาผมว่างมาก ก็เลยอัดคลิปสอนคณิตศาสตร์แล้วก็อัพลง youtube ครับ 
จะปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตั้งใจจะเฉลยโจทย์สอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ครบทุกข้อครับ

ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นครับ และก็ไม่มีแผนจะเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในโลกอนาคต
คอร์สตัวนี้เป็นคอร์ส Ent  สอนเอง อัดเอง ตัดต่อเองครับ
เอกสารจะอัพอาทิตย์หน้าครับ เพราะช่วงนี้ติดค่ายห้องเรียนพิเศษ 

ทดลองแล้วกับนักเรียนบางคน(ม.6)
สามารถดูรู้เรื่องครับ ผมพยายามสรุปให้กระชับที่สุด แต่ไม่มั่นใจว่านักเรียนที่ไม่เคยเรียนมาก่อนจะดูรู้เรื่องรึเปล่า
ผมตัดคลิปช่วงคุยโม้ เล่าเรื่องออก เพราะรู้สึกว่าเสียเวลา บางคลิปเลยไม่เท่ากันครับ
.
ผมรับราชการครูครับ อาชีพเสริมก็มีสอนพิเศษ แล้วก็ปลูกผัก กะไว้ว่า เผยแพร่คลิปเหล่านี้แล้ว ผมคงจะไปปลูกผักอย่างเดียวครับ

แนวคิดของผม
นักเรียนไม่ควรจะต้องเสียเงินเรียนพิเศษในเนื้อหากระทรวง ซึ่งมันไม่ยาก!!! 
ถ้าจะเรียนพิเศษ ขอให้ไปเรียน ฟุตบอล ดนตรี หรือไม่ก็เรียนพิเศษเพื่อสอบชิงทุนเถอะครับ
ถ้าเสาร์อาทิตย์ จะต้องไปเรียนพิเศษในสิ่งที่โรงเรียนสอนอยู่แล้ว ผมว่าเอาเวลาไปถูบ้านซักผ้ายังจะดีซะกว่า

หวังว่าคลิปเหล่านี้จะมีประโยชน์กับนักเรียนทุกๆ คน และหวังว่าจะประหยัดเงินในกระเป๋าของผู้ปกครองไม่มากก็น้อย

ป.ล. เรื่องเสียงยังก้องอยู่ครับ แนะนำให้ฟังผ่านลำโพงครับ ฟังผ่านโน๊ตบุ๊คนี่จะไม่ค่อยได้ยินครับ
*ทางแก้ 1. อัดคลิปใหม่ครับ (ผมเพิ่งอัดครั้งแรกครับ เลยคิดว่าครั้งหน้ารู้วิธีแก้ละ)
            2. กำลังหาโปรแกรมแก้อยู่ครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://sites.google.com/site/krunakin/bilography

แนะนำ คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์


รายละเอียดของคณะ 

คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์มุ่งเน้นในการศึกษาทางด้านการจัดการศึกษาและการศึกษาวิชาชีพครู มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการและแสวงหาวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างสรรค์สังคมที่สันติสุขอย่างแท้จริง

สาขาที่เปิดสอน 

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สาขาวิชาประถมศึกษา
สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
สาขาวิชาศิลปศึกษา
สาขาวิชาดนตรีศึกษา
สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา
สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา
สาขาวิชาบริหารการศึกษา
สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่
สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา
สาขาวิชาการอุดมศึกษา
สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา 

จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์และสายศิลป์ เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดี และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับวิชาชีพ

แนวทางการประกอบอาชีพ 

แนวทางการเรียนต่อ บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์สามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน เป็นครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นบุคลกรทางการศึกษาทำงานทางด้านการแนะแนว งานโสตทัศนศึกษา งานการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตลอดจนประกอบอาชีพตามความสนใจของตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อทางด้านปริญญาโทและปริญญาเอกได้

สถาบันที่เปิดสอน 

และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

ที่มา
ที่มารูปภาพ http://www.oknation.net/blog/womenhaopengyou

แนะนำ คณะพยาบาลศาสตร์





คณะพยาบาลศาสตร์

          พยาบาลศาสตร์ เป็น การศึกษาที่เน้นหนักในการให้บริการ ด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ป่วยทางกาย หรือทางจิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ การให้บริการด้านพยาบาล คำนึงถึงความต้องการของคนไข้ ตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษา และส่งเสริมสุขภาพ ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝายการแพทย์ แลอนามัยแขนงอื่น ๆ ในด้านบริการคนไข้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

          1.มีความรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์
          2.มีสุขภาพกายและจิตดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีเมตตากรุณา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์
          3.เสียสละทั้งด้านเวลาและตนเองให้แก่ผู้ป่วยทุกคน มีความอดทน อดกลั้น

แนวทางในการประกอบอาชีพ

          รับราชการในหน่วยงานของรัฐ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ รายได้ค่อนข้างดี ศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอกสาขาพยาบาลศาสตร์ได้ทั้งในและต่างประเทศ


รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์

          สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล

          - คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก) Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  Link >>
          - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  Link >>
          - ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  Link >>
          - วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  Link >>
          - สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  Link >>
          - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ  Link >>
          - สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  Link >>
          - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  Link >>
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  Link >>
          - สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)  Link >>
         
          วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น


          - วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ  Link >>
          - วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ  Link >>

          วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ  
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ  
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท 
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช  
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา  
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์                       - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สงขลา  
          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช                          - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ตรัง  
          - วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ยะลา  
          - วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี  
          - วิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี  
          - วิทยาลัย พยาบาลศรีมหาสารคาม 

          สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี  
          - คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ 
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี  
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี  
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)  
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย  
          - คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์  
          - คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ (หลักสูตรนานาชาติ)
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา    
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย  
          - คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเซีย-แปซิฟิก
          


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
 admissions.is.in.th และ  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่มา  kapook.com
loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...