ประชาสัมพันธ์

“เพชรชมพู” รั้วจามจุรีผลิตครูแพทย์ระดับสากล


คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ รัชการที่ 8 ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ผลิตแพทย์ให้เพียงพอแก่การช่วยเหลือประชาชน และในปี พ.ศ. 2490 จึงก่อเกิดเป็นคณะการแพทย์แห่งนี้ขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลา 63 ปี ที่ผ่านมา คณะแพทย์ศาสตร์แห่งจุฬาฯ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการมีโครงการที่มีประโยชน์ เป็นจำนวนมาก อาทิ โครงการกระจายแพทย์ หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เป็นต้น และล่าสุดกับโครงการน้องใหม่ “โครงการเพชรชมพู” ซึ่งเป็นโครงการที่จะผลิตบัณฑิตย์แพทย์ ที่มีความสามารถสูงด้านการเป็นครูแพทย์และการวิจัย เพื่อนำมาพัฒนาประเทศต่อไป
   
ศ.นพ โศภณ นภาธร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการเพชรสีชมพู เปิดเผยว่า โครงการเพชรสีชมพู เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ คงความเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นแนวหน้าของประเทศและอยู่ในระดับสากล โดยใช้กลยุทธ์ของการเสริมศักยภาพนิสิตแพทย์ ให้มีความสามารถในด้านการวิจัย และมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานเป็นครูแพทย์ ในโรงเรียนแพทย์ระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด อย่างไรก็ตามการพัฒนาศักยภาพนิสิตให้มีความสามารถเพิ่มเติมจากความรู้ทางการ แพทย์ที่บัณฑิตย์แพทย์ทุกคนพึงมี ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้เพิ่มเติมในการวิจัย หรือการเป็นครูแพทย์นั้น ล้วนเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยปัจจัยด้านเวลาและความทุ่มเท ทั้งจากนิสิตเองและอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงงบประมาณ ดังนั้นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพนิสิตให้มีความสามารถพิเศษในด้านการ เป็นครูแพทย์และนักวิจัย จึงต้องแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 โครงการย่อย เพื่อส่งเสริมให้นิสิตแพทย์สามารถพัฒนาศักยภาพในด้านที่นิสิตสนใจได้อย่าง เต็มที่
   
“โครงการย่อยในโครงการเพชรชมพู ประกอบด้วย เพชรชมพูด้านครูแพทย์ และเพชรชมพูด้านการวิจัย ซึ่งทั้ง  2 โครงการย่อยนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูแพทย์ในปัจจุบัน และช่วยสร้างเสริมศักยภาพด้านการวิจัย อันจะช่วยพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์ในอนาคตให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติสากล อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้นิสิตแพทย์ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะได้รับการอบรมเพิ่มเติมจากการเรียนปกติ ในหลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิตย์”  ประธานคณะกรรมการโครงการเพชรสีชมพู กล่าว
   
โดยโครงการเพชรชมพูจะมีระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น 5 ปี เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ของปีการศึกษา 2553 นี้  ใช้งบประมาณ 9 แสน ถึง 1 ล้านบาทต่อคน ซึ่งนิสิตที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ ต้องเป็นนิสิตที่กำลังศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ตลอดหลักสูตร มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.6 ขึ้นไป และผ่านการสอบภาษาอังกฤษ โดยได้คะแนน CU TEP ไม่น้อยกว่า 75 คะแนน หรือ TOEFL ไม่น้อยกว่า 79 คะแนน หรือ IELTS ไม่น้อยกว่า 6 คะแนนหรือเทียบเท่า รวมถึงด้านครูแพทย์จะรับนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ส่วนด้านวิจัยจะรับนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 2-4  
   
ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่นิสิตจะได้รับในการเข้าร่วมโครงการนี้มีมากมาย อาทิ ได้รับสนับสนุนค่าหน่วยกิต ได้รับสิทธิเข้าพักในหอพักนิสิตแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้รับทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการทั้งในและต่าง ประเทศ เป็นต้น
   
นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่คณะแพทย์ จุฬาฯ ได้สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการเป็นครูและนัก วิจัย ส่งผลให้ท้ายที่สุดประชาชนจะได้รับการรักษาจากแพทย์ที่เก่ง และได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงตามเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอา นันทมหิดลฯ สืบไป.

ที่มา 

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

บทความ

loading...