| |
| | |
|
มหาวิทยาลัยสยามเปิดรับสมัครนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี 4 วิธี ดังนี้
- การรับสมัครและคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ
- การรับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยสยาม(สำหรับผู้สมัครที่แสดงคะแนน ผลการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้า ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฯ)
- การสมัครและสอบคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยสยาม(สำหรับผู้สมัครที่ไม่มี คะแนนผลการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฯ มาแสดง)
- การรับสมัครนักศึกษาโดยนักศึกษาขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจาก สถาบันอุดมศึกษาเดิม
| |
| | |
| | |
|
มหาวิทยาลัยสยามร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับสมัครและ คัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสยาม ในการสมัครนั้นผู้สมัครสามารถเลือก คณะวิชา/มหาวิทยาลัยได้ 4 อันดับ ผู้สมัครที่ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสยาม สามารถเลือกมหาวิทยาลัยสยามเป็น 1 ใน 4 อันดับดังกล่าวได้ คณะวิชาที่สามารถสมัคร มีดังต่อไปนี้
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ - สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา - สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ - สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล - สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ - สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ - สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
2. คณะวิทยาศาสตร์ - สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร - สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
3. คณะพยาบาลศาสตร์
4. คณะบริหารธุรกิจ - สาขาวิชาการบัญชี - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ - สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร - สาขาวิชาการตลาด - สาขาวิชาการจัดการทั่วไป - สาขาวิชาการจัดการอุตสาหการ - สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ | 5. คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ - B.B.A. in International Business - B.B.A. in Hotel and Tourism Management
6. คณะนิเทศศาสตร์ - สาขาวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ - สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ - สาขาวิชาการโฆษณา
7. คณะนิติศาสตร์
8. คณะศิลปศาสตร์ - สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว - สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ |
| |
| | |
| | |
|
1.การสมัครด้วยตนเอง ผู้สมัครสามารถซื้อใบสมัคร และสมัครได้ที่มหาวิทยาลัยสยามและศูนย์การรับสมัครและ แนะแนวการศึกษาของมหาวิทยาลัยสยามในส่วนภูมิภาค
2. การสมัครทางไปรษณีย์ มหาวิทยาลัยอำนวยความ สะดวกแก่ผู้สมัครที่มีความจำเป็นไม่สามารถมาสมัครด้วย ตนเองได้ โดยการเปิดรับสมัครทางไปรษณีย์ ผู้สมัครต้อง ปฏิบัติ ดังนี้
2.1 กรอกข้อความในใบสมัครให้สมบูรณ์ด้วยตนเอง พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย
2.2 ส่งเอกสารประกอบการสมัครมาให้ครบถ้วน เมื่อ มหาวิทยาลัยได้รับใบสมัครและตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วจะแจ้ง ให้ผู้สมัครมาสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์ต่อไป
| |
| | |
| | |
|
1. คุณสมบัติด้านการศึกษา
1.1 ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตร 4 ปี ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษา ธิการรับรองวิทยฐานะ หรือสำเร็จการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า สำหรับผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตร ปวส.หรือเทียบเท่าที่สมัครเข้าศึกษาต่อ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วศ.บ.) จะได้รับการยกเว้นบางรายวิชาที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรและใช้เวลาในการศึกษาต่อประมาณ 3 ปี
1.2 ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรนานาชาติ สำเร็จการศึกษา Grade 12 หรือ สอบได้ G.C.S.E. หรือ G.C.E. “O” level 5 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยมีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือผ่าน การสอบข้อเขียนของมหาวิทยาลัย
1.3 ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี ต้องสำเร็จการศึกษาระดับอนุ ปริญญา หรือ ปวส. หรือ ปวท. หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสาขา วิชาที่จะศึกษาต่อ
2. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย และไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม
| |
| | |
| | |
|
- ใบสมัครของมหาวิทยาลัยสยามที่กรอกข้อความถูกต้องสมบูรณ์
- รูปถ่ายหน้าตรงที่ไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้วจำนวน 2 รูป เป็นรูปถ่ายครั้งเดียวกัน ถ่ายมาแล้วไม่ เกิน 6 เดือน และเขียนชื่อ-ชื่อสกุลหลังรูป
- สำเนาหลักฐานการศึกษาแสดงผลการเรียนตลอดหลักสูตร อย่างละ 1 ชุด
- ผู้สมัครที่มีคะแนนผลการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจัดการสอบโดยทบวงมหาวิทยาลัยต้องยื่นสำเนาเอกสารแสดงคะแนนผลการสอบ
| |
| | |
| | |
|
มหาวิทยาลัยสยามจำหน่ายใบสมัครและรับสมัครนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นไป ตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น. สำหรับภาคการศึกษาที่ 2 มหาวิทยาลัยจำหน่ายใบสมัครและรับสมัครนักศึกษา ตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นไป
ติดต่อซื้อใบสมัครได้ที่มหาวิทยาลัยสยาม หรือที่ศูนย์รับสมัครนักศึกษาส่วน ภูมิภาค หรือสั่งซื้อใบสมัครทางไปรษณีย์ โดยส่งตั๋วแลกเงินหรือธนาณัติ สั่งจ่าย ปณ. มหาวิทยาลัยสยาม ในนามมหาวิทยาลัยสยาม เลขที่ 235 ถนนเพชรเกษม เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10163
| |
| | |
| | |
|
- ผู้สมัครที่ยื่นเอกสารคะแนนผลการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา ซึ่งจัดสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไม่ต้องสอบข้อเขียน แต่ต้องผ่านการสัมภาษณ์
- ผู้สมัครที่ไม่ได้ยื่นเอกสารคะแนนผลการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาซึ่งจัดสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไม่ต้องสอบ ข้อเขียน แต่ต้องผ่านการสัมภาษณ์
- ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวส. หรือ ปวท. หรือ อนุปริญญาที่มีผลการเรียนตลอดหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป ไม่ต้องสอบข้อเขียนแต่ต้องผ่านการสัมภาษณ์
- ผู้สมัครทุกคนจะได้รับการสัมภาษณ์ ในวันที่ยื่นใบสมัคร
- กำหนดวันและเวลาของการสอบข้อเขียนให้ผู้สมัครดูจากเอกสารที่มหาวิทยาลัย แจ้งในวันที่มาซื้อใบสมัคร
สำหรับผู้สมัครทางไปรษณีย์ มหาวิทยาลัยจะแจ้งกำหนดวันเวลาให้มาสอบสัมภาษณ์ และ/หรือสอบข้อเขียน
| |
| | |
| | |
|
กำหนดวัน เวลา และสถานที่ของการประกาศผลการสอบคัดเลือก ให้ผู้สมัครดูจาก เอกสารที่มหาวิทยาลัยแจ้งในวันที่มายื่นใบสมัคร
| |
| | |
| | |
|
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา ตามประกาศ ของมหาวิทยาลัย จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาด้วย ตนเอง พร้อมทั้งชำระค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมตามวัน เวลาและสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และหากขึ้น ทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสยามแล้วมหาวิทยา- ลัยขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียม ต่างๆ สำหรับนักศึกษาที่มีสิทธิ์เบิกค่าเล่าเรียนให้ติดต่อ ที่แผนกการเงินของมหาวิทยาลัยฯ
รายละเอียดในการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลการสอบ
| |
| | |
| | |
|
- บัตรประจำตัวผู้สมัครเข้าศึกษามหาวิทยาลัยสยาม
- สำเนาใบประกาศนียบัตร หรือใบสุทธิ หรือใบ ระเบียนหรือใบรับรองการสำเร็จการศึกษา หรือใบเทียบ ความรู้จากกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ(ในกรณี สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ) 2 ชุด
- รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่น ตาดำ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 6 รูป
- สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ชุด
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง)
| |
|
| |
| | |
|
นักศึกษาสามารถขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตในระดับปริญญาตรี หรือระดับ ปวส.เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสยามได้ โดยมีระเบียบในการปฏิบัติ ดังนี้
- ผู้มีสิทธิ์ขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นต้องมี คุณสมบัติ ดังนี้
1.1 มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร 1.2 เป็นหรือเคยเป็นนักศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่าที่สำนัก งานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือทบวงมหาวิทยาลัยรับรอง
- การเทียบรายวิชา ให้ถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2.1 เป็นรายวิชาในหลักสูตรอุดมศึกษา หรือเทียบเท่าที่สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบแล้ว หรือเทียบคุณวุฒิให้ หรือสำนักงาน ก.พ. ให้การรับรอง คุณวุฒิมหาวิทยาลัย 2.2 เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาวิชาเทียบเคียงได้ หรือมีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่ น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาที่ขอเทียบ โดยพิจารณาจากคำอธิบายรายวิชาตามหลักสูตร/สาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาเดิม เทียบเคียงกับคำอธิบายรายวิชาตามหลักสูตร/สาขา วิชาของมหาวิทยาลัยสยาม 2.3 เป็นรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะด้าน วิชาเอก วิชา แกน หรือวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ที่สอบได้ระดับคะแนนอักษรไม่ต่ำกว่า C หรือ แต้มระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า
- นักศึกษาจะได้รับการเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินสามในสี่ของ จำนวนหน่วยกิตรวมที่ต้องศึกษาในหลักสูตรที่ขอเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสยาม
- นักศึกษาที่ขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต ต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยสยามเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษาและลงทะเบียนเรียนรายวิชา
| |
|
| |
| | |
|
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมาแล้วสามารถศึกษาปริญญาที่สองได้ที่ มหาวิทยาลัยสยาม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาที่สอง
1.1 มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร 1.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบ เท่าจากสถาบันการศึกษา ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะและรับรองปริญญาแล้ว
- มหาวิทยาลัยจะพิจารณายกเว้นรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของหลักสูตร ปริญญาที่สองยกเว้นในกรณีที่มหาวิทยาลัย พิจารณาเห็นว่าผู้ขอศึกษาขาดความรู้ในหมวด วิชาดังกล่าว ก็อาจกำหนดให้ศึกษาเพิ่มเติมและไม่ถือเป็นหน่วยกิตสะสม
- รายวิชาใดที่ศึกษามาแล้วทั้งหมดในปริญญาเดิมจะได้รับการพิจารณาเทียบโอน หน่วยกิต เพื่อใช้ในแผนกำหนดการศึกษาของสาขาวิชาใหม่รายวิชาที่เทียบโอนไม่ได้จะตัดออก
- รายวิชาที่เทียบโอนหน่วยกิตสะสมได้จะต้องมี เนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาที่ ขอเทียบโอน และมีผลการเรียนเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C
- ผู้ขอศึกษาปริญญาที่สองต้องมีระยะเวลาใน การศึกษาปริญญาที่สองไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวน หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
- ระยะเวลาในการศึกษาปริญญาที่สองต้องไม่ เกินสองเท่าของจำนวนเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ เริ่มเรียนครั้งแรก
| |
| | |
| | |
|
- สำเนาแสดงวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย หรือเทียบเท่า หรือ ปวช. หรือ ปวส. หรือสำเนา ปริญญาบัตร
- ใบแสดงผลการเรียนจากสถาบันการศึกษาเดิม (Official Transcript)
- คำอธิบายรายวิชาของรายวิชาที่ขอเทียบจาก สถาบันการศึกษาเดิม
ผู้สนใจสมัครเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม และต้องการขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาเดิม หรือต้องการสมัครเข้าศึกษา ปริญญาที่สอง ให้ยื่นคำร้องได้ในวันที่ยื่นใบสมัคร
| |
|
| |
| | |
|
ศูนย์ดูแลนักศึกษา เป็นหน่วยงานที่มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับนักศึกษา ให้การดูแล เอาใจใส่ สนับสนุนให้นักศึกษามีสุขภาพจิตดี มีความฉลาด ทางอารมณ์ สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ให้คำปรึกษากับนักศึกษาในด้านการเรียนรู้และงานอาชีพ โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้ กับนักศึกษาในลักษณะการบริการที่จุดเดียว(One-Stop Service) นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาได้ในเวลาทำการ วันอังคาร-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคาร เฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 19) ชั้น 1 หมายเลขโทรศัพท์ 02-868-6854
| |
|
| |
| | |
|
มหาวิทยาลัยจัดให้มีการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นระบบการศึกษา ที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างมีระบบ จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ร่วมกับการปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการ นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฎีใน มหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานมีคุณภาพตรง ตามที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุด
นักศึกษาสหกิจศึกษาจะเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ในลักษณะพนักงาน ชั่วคราว ที่จะต้องได้ลงมือปฏิบัติงานจริง เป็นประสบการณ์ที่นักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้ได้ ในห้องเรียน นักศึกษาจะได้พัฒนาตนเองทางด้านความคิด การสังเกต การตัดสินใจ การ วิเคราะห์ และประเมินผลอย่างเป็นรูปแบบ รวมทั้งการจัดเตรียมและนำเสนอรายงานจาก ประสบการณ์การทำงานจริงของตนเองที่สะท้อนการผสมผสานระหว่างภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน ทำให้นักศึกษามองเห็นแนวทางด้านงานอาชีพของตนเองชัดเจนขึ้น ด้วยระบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานภาคทฤษฎีเข้ากับภาคปฏิบัติได้อย่างลงตัวเช่นนี้ จะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น และกระบวนการสหกิจศึกษาจะทำให้เกิดการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสถานประกอบการ ทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา ส่วนสถานประกอบการจะได้ นักศึกษาร่วมงานตลอดปี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
|