ประชาสัมพันธ์

4 เทคนิค พิชิต รับตรง


ตอนนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมใจออกมารับตรงกันมากขึ้น ทำให้เหลือรับผ่าน Admissions ไม่ กี่ที่นั่ง ถ้าน้องอยากเพิ่มโอกาสสอบติดให้ตัวเอง ห้ามพลาดการรับตรงเด็ดขาด และเพื่อไม่ให้เสียโอกาส น้องควรจะเตรียมพร้อมสำหรับรับตรง ตั้งแต่วันนี้

เทคนิคที่ 1 หาเป้าหมาย ก่อนจะออก START ควรจะรู้จุด STOP ก่อน ถ้าน้องยังไม่รู้ว่าอยากจะเรียนอะไร เราจะเตรียมตัวลำบากมาก อย่าว่าแต่เตรียมสอบเลย มันจะวุ่นวายตั้งแต่การติดตามข่าวเลยล่ะ ถึง แม้น้องจะเป็นนักเรียนเหรียญทอง ชอบทุกศาสตร์ ถนัดทุกเรื่อง เรียนได้หมด แต่การเตรียมตัวกว้างๆ พื้นๆ อาจจะพลาดเสียที่นั่งให้เพื่อนพื้นๆ ที่เตรียมตัวได้ตรงกว่าได้ ยิ่งถ้าเป็นประเภทท่องไม่ชอบ คำนวณไม่เซียน เรียนไม่เอา ชอบชั่วโมงที่อาจารย์งดสอนที่สุด แบบนี้ก็ยิ่งต้องมาหาความดีที่ซ่อนลึกกันหน่อย ครั้นจะไปให้หมอดูฟันธงก็ดูไม่ SMART ตอนนี้เด็กฉลาด เค้ามีวิธีฉลาดๆ คือเข้าไปใช้โปรแกรมค้นหาตนเอง คณะไหนที่ใช่เรา ใน www.eduzones.com จะทำที่ไหนก็ได้ ถ้าอยากได้แบบใช้โปรแกรมด้วย มีคนหน้าแป้นนั่งให้คำปรึกษาด้วย ก็เข้าไปที่ศูนย์วิชาการ RAC ได้ บอกไว้ก่อนโปรแกรมจะประมวลผลจากคำตอบที่เราตอบ ถ้า อยากได้ผลที่ตรงที่สุด ก็ควรจะตอบคำถามให้ตรงความจริงมากที่สุด คิดเองได้จะดีมาก ไม่ต้องปรึกษาเพื่อน และการตอบคำถามแบบสร้างภาพ ชิงมงกุฎ ไม่เอานะจ๊ะ

เทคนิคที่ 2 หารายละเอียด คณะ มหาวิทยาลัยในฝันของเราเค้ามีการรับแบบไหนบ้าง รับตรงรายละเอียดเป็นยังไง มีรับใน Admissions อีกหรือเปล่า เพราะบางคณะจะรับตรง 100% ถ้าพลาดการรับตรงคือจบข่าว ซึ่งสิ่งที่ต้องรู้ให้ชัวร์ๆ คือ
1. คุณสมบัติที่ทางคณะกำหนด ทั้งด้านการเรียนและความสามารถ เช่น แผน การเรียน เกรดขั้นต่ำ ดูเกรดกี่เทอม ดู ต้องมีความถนัดอะไรบ้าง เพราะบางโครงการกำหนดความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ถ้าเราคุณสมบัติไม่ครบ ไม่ผ่านก็สมัครไม่ได้ และถ้าเรารู้ก่อน จะได้วางแผนพัฒนาตัวเองให้มีคุณสมบัติตรงตามที่คณะต้องการ ที่สำคัญอย่าลืมดูคุณสมบัติด้านร่างกายด้วย น้ำหนัก ความสูง โรคต้องห้าม มี กำหนดไว้ยังไง ซึ่งคุณสมบัติส่วนนี้ตอนสมัครและตอนสอบทางกรรมการเค้าไม่เห็นและไม่ห้ามน้อง สมัครและไปสอบนะ แต่เค้าจะดูตอนเราไปสอบสัมภาษณ์ ซึ่งหมายถึงต้องผ่านข้อเขียนก่อน ถ้าดูไม่ดี อาจจะสอบไม่ติดด้วยเหตุผลเก่งแต่เตี้ยไป ให้อายชาวประชา
2. กำหนดการ กำหนดการรับตรงไม่เหมือน Admissions ที่ มีฤดูการสอบ ฤดูเลือกคณะพร้อมกันทั้งประเทศ แต่การรับตรง แต่ละที่ดำเนินการเองซึ่งจะไม่พร้อมกัน อย่างเช่นเดือนกันยายน บางโครงการเริ่มเปิดรับสมัคร บางโครงการปิดรับแล้วอยู่ในช่วงจัดสอบ บางโครงการประกาศผล ข่าวสารจะกระจัดกระจายมาก โอกาสตกข่าวสูงพอๆ กับโอกาสเจอร้านทองในเยาวราช ดังนั้นการดูกำหนดการของปีที่แล้วเพื่อดูช่วงเวลา และการติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็น แหล่ง ข่าวที่ดีที่สุดคือเวบไซต์มหาวิทยาลัย อยากเข้าจุฬาฯ ดูเวบจุฬาฯ อยากเข้าธรรมศาสตร์ดูเวบธรรมศาสตร์ , เวบไซต์การศึกษา ซึ่งแน่นอนขาดไม่ได้ www.eduzones.com ,www.urrac.com และฝ่ายแนะแนวโรงเรียน ซึ่งข้อดีของกำหนดการที่ไม่ตรงกันก็คือน้องสมัครได้หลายโครงการ สอบติดได้หลายโครงการ น้อง G-Student ของ RAC เคยทำสถิติสอบติดวิศวะ 13 โครงการตั้งแต่ยังไม่จบม.6 มาแล้ว
3. เกณฑ์การพิจารณาและลักษณะข้อสอบ การรับตรงจะมีทั้งแบบที่ โครงการจัดสอบเอง สอบเสร็จ เรียกสอบสัมภาษณ์รู้ผลเลย แต่บางโครงการต้องใช้คะแนน O-NET GAT และ PAT ด้วย ซึ่งส่วนที่เป็นปัญหามากพอๆกับเป็นโอกาสของเราคือการสอบข้อเขียนที่แต่ละ โครงการจัดสอบเองนี่แหละ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นวิชาความถนัดทางวิชาชีพ เช่นอยากเรียนนิติ ต้องรู้กฎหมายเบื้องต้น ต้องเขียนอธิบายเหตุผลเชิงกฎหมายได้ จะเรียนการบิน ต้องมีความรู้ทั่วไปด้านการบิน จะเรียนคอมพิวเตอร์ก็ต้องสอบความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น จะเรียนการกำกับภาพยนต์ก็ต้องรู้เรื่องหนัง บางโครงการมีสอบปฏิบัติด้วยโดยเฉพาะกลุ่มดนตรีและศิลปกรรม คราว นี้ล่ะที่คนที่มีความสนใจ ความถนัดเฉพาะด้านจะได้เปรียบมาก เราไม่ต้องเก่งทุกอย่าง ไม่ต้องฉลาดทุกเรื่อง ถ้าน้องรู้และถนัดในเรื่องที่น้องไปสอบน้องชนะแน่ๆ นอกจากวิชาสอบแล้ว บางโครงการมีคะแนนเกรด และการสอบสัมภาษณ์ด้วย โครงการไหนมีคะแนนสัมภาษณ์ น้องต้องเตรียม Portfolio ให้ดีหน่อยจะได้ไม่พลาด

เทคนิคที่ 3 การเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์
ผ่านข้อเขียนแล้ว อย่าชะล่าใจไป เหลืออีก 1 ด่าน ที่เราต้องผ่านกันให้ได้ นั่นคือการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งสำคัญไม่แพ้การสอบข้อเขียน ใครนึกภาพไม่ออก ให้จินตนาการว่าน้องเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดนางงามจักรวาล ถึงช่วงตอบคำถาม กรรมการยิงคำถามสุดจะมงกุฎ สายตากว่าล้านคู่ กล้องกว่าสองพันตัว จับมาที่เรา นั่น...ความกดดันมันประมาณนั้น บาง โครงการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ แค่ฟังก็หนาวเหมือนไปนั่งสอบที่อังกฤษแล้ว ถ้าไม่ได้เตรียมตัวไปล่ะก็ เตรียมตัวสอบใหม่ได้เลย เพราะโอกาสตกสัมภาษณ์รับตรงสูงมากเทียบเท่าตึกใบหยกของไทย หลาย คนผ่านข้อเขียน ตกสัมภาษณ์ กลายเป็นปมชีวิตไป ประเด็นสำคัญของการสัมภาษณ์คือ การแสดงให้กรรมการเห็นว่าเรามีความตั้งใจ อยากเรียน และถนัดที่จะเรียนคณะนี้จริงๆ ซึ่งเรามีเวลา 15-30 นาที ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมเป็นเรื่องสำคัญ และสิ่งที่จะต้องเตรียมคือ
1. การแนะนำตัวเอง เอาสั้นๆ พอให้รู้ว่าเป็นใคร เรียนที่ไหน สนใจอะไร อย่าต้องถึงขั้นบอก เลขที่บัตรประชาชนเลย มาสัมภาษณ์เรียน ไม่ได้มาเลือกตั้ง
2. ข้อมูล ของสาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัย และข่าวสารปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เราไปสอบ ที่แน่ๆ น้องต้องรู้ว่าคณะนี้มีสาขาวิชาอะไรบ้าง แต่ละสาขาต่างกันยังไง ทำไมเราถึงเลือกเรียนสาขานี้ หลาย ครั้งจะมีการถามถึงสัญลักษณ์และของมหาวิทยาลัยและความหมาย อย่าลืมว่าเราอยากเรียนที่นี่มาก ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้เราควรรู้
3. แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ซึ่งจะช่วยได้มากสำหรับน้องที่มีดี แต่ไม่รู้วิธีนำเสนอ บางครั้ง Portfolio ที่น่าสนใจ จะช่วยคำถามโหดและอารมณ์กดดันจากกรรมการได้ วิธีการทำ Portfolio ให้น่าสนใจมีสอนไว้มากมายในหลายเวบไซต์ หรือจะลองเข้าไปใช้โปรแกรมทำ Port สำเร็จของ Eduzones ก็ได้

เทคนิคที่ 4 ฝึกฝนและลงมือทำ
ขั้น ตอนสุดท้าย ความฝันจะเป็นจริงไม่ได้ถ้าไม่ลงมือทำ เราต้องฝึกฝนค่ะ น้องต้องฝึกทุกอย่างทั้งการสอบ และการสัมภาษณ์ ยิ่งเป็นข้อสอบที่เป็นแบบคิดวิเคราะห์ มิติสัมพันธ์ ทักษะการอ่าน การเขียน เหล่านี้เป็นทักษะต้องฝึกบ่อยๆ น้ำ หยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน แล้วสมองอ่อนๆ ของเราฤาจะทนไหว ถ้าน้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เวลาไปสอบจริง สมองและมือจะทำข้อสอบไปโดยอัตโนมัติเลยล่ะ ข้อสอบบางตัว เช่น คณิตศาสตร์ของ SMART l ธรรมศาสตร์ ข้อสอบไม่ยาก แต่แข่งขันกันที่ความเร็ว ซึ่งความเร็วก็จะมาจากการฝึกทำโจทย์บ่อยๆ นี่แหละ
ตอนนี้เรารู้ข้อมูลแล้ว เหมือนมีลายแทงขุมทรัพย์ในมือ ถ้าน้องไม่เริ่มต้นทำอะไร ลายแทงก็ไม่ต่างจากเศษกระดาษ พี่โหน่ง วงศ์ทนง ผู้ก่อตั้งนิตยสาร A DAY เคยบอกไว้ว่า วิธีจัดการกับความฝัน คือลงมือทำมันให้เป็นจริง ดังนั้น...อนุญาตให้กลับไปอ่านซ้ำอีก 1 รอบ แล้วเริ่มลงมือเลย!!!

ที่มา  logo

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

บทความ

loading...