ประชาสัมพันธ์

แนะอุดมศึกษาสอนสันติศึกษา-ลดขัดแย้ง

“วิจิตร” เผยวิสัยทัศน์อีก 15 ปีข้างหน้าของมสธ. ต้องปรับแผน จัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มเติม แก้ปัญหาผลกระทบด้านประชากรของประเทศ พร้อมย้ำบทบาทมหาวิทยาลัย เน้นผลิตกำลังคนตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทั่วโลก มุ่งสร้างงานวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น หาพลังงานทดแทน ฝากอุดมศึกษาจัดการเรียนการสอนสันติศึกษาลดความขัดแย้ง ความรุนแรงในสังคม
เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2553  ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.) จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “การก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ทิศทางอนาคตการศึกษาทางไกล” โดยมีศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธาน พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วิสัยทัศน์ มสธ.15 ปี กับก้าวที่เดินต่อไป:การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน” ตอนหนึ่งว่า ขณะนี้มสธ. ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลที่ครบวงจรแห่งแรกภายใน ประเทศไทย แต่ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ หรือมหาวิทยาลัยเอกชนต่างหันมาสนใจในการเรียนการสอนทางไกล เพราะฉะนั้น มสธ.ซึ่งมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนการศึกษาทางไกลมาตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี ต้องมีการพัฒนา มีเส้นทางเดินที่ดีกว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป
 "วิสัยทัศน์ในอีก 15 ปีข้างหน้า  มสธ.ต้องดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนประชาชนที่วัยเด็กจะลดลง วัยแรงงานจะลดลง และวัยสูงอายุมากขึ้น ซึ่งมสธ.มีกลุ่มเป้าหมายเป็น วัยแรงงาน หากวัยแรงงานลดลง มสธ.ต้องกลับมาดูว่า กลุ่มเป้าหมายที่ควรเพิ่มเติม นั่นคือ กลุ่มผู้สูงอายุ มสธ.จึงต้องจัดการศึกษาเพื่อยกระดับแรงงาน การศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ และการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ ขณะที่เรื่องด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม นับวันยิ่งน้อยลง มหาวิทยาลัยต้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างงานวิจัย หาพลังงานทดแทน วิธีลดใช้พลังงาน ศึกษาหาแนวทางเพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานได้"ศ.ดร.วิจิตร กล่าว
 ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยต้องดูผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจฐานความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ต้องมีการศึกษาและเผยแพร่เรื่องเหล่านี้ ,ผลิตกำลังคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ ตามความต้องการของท้องถิ่นและพัฒนาบุคลากรของท้องถิ่น รวมไปถึงสร้างงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะ ภายใต้การคำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานวิชาการ วิชาชีพ และตลาดแรงงาน เพราะการผลิตกำลังคนในอนาคตนั้น ไม่ใช่เพียงผลิตเพื่อไปสู่ประเทศใดประเทศหนึ่ง หากแต่เป็นการผลิตกำลังคนที่สามารถไปใช้ได้ใน 10 ประเทศในอาเซียน และในโลก และในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย แหล่งรวมความรู้ ต้องมีการขยายด้านบัณฑิตศึกษาและวิจัย เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคม ที่มุ่งสนใจหลายดีกรีมากขึ้น
 “นอกจากการผลิตบัณฑิตในอนาคตที่มหาวิทยาลัยต้องให้วิชาชีวิต ทักษะในการทำงาน ควบคู่กับความรู้แก่บัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยยังต้องมีการพัฒนางานวิจัย มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนากำลังคนอย่างชัดเจน รวมไปถึงต้องจัดสันติศึกษาลดความขัดแย้ง ความรุนแรงในสังคม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบุคลากรของประเทศ อุดมศึกษาเป็นแหล่งสำคัญในการสร้างกำลังคน ดังนั้น มาหวิทยาลัยทุกแห่งต้องมีแนวทาง มีกลยุทธ์ ในการรับมือกับโลกโลกาภิวัฒน์ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” ศ.ดร.วิจิตร กล่าว

Credit   คมชัดลึก

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

บทความ

loading...