ปัจจุบันนี้ สิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้พิการที่คิดค้นโดยคนไทยยังมีอยู่น้อย ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ เพื่อที่จะใช้สำหรับการฟื้นฟูคนพิการในประเทสไทย ผศ.เบญจพร ศักดิ์ศรี วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้คิดค้นนวัตกรรมสำหรับคนหูหนวด ที่มีชื่อว่า “ภาษามือ 3 มิติ” ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยลดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินกับบุคคลทั่วไป และเป็นเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการเรียนในวิชาที่ขาดแคลนล่ามภาษามือเฉพาะทาง เช่น วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กฏหมาย และการแพทย์ โดยในปัจจุบันได้จัดทำเป็นเนื้อหาการสอนในวิชาคอมพิวเตอร์แล้ว และมีการนำไปใช้สอนนักศึกษาพิการทางหูในวิทยาลัยราชสุดา
|
|
ผศ.เบญจพร ศักดิ์ศิริ |
|
|
ผศ.เบญจพร ศักดิ์ศิริ เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ภาษามือสามมิติพัฒนาแล้วเสร็จเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะนี้มีผู้ปกครองนำไปใช้งานแล้วเกือบ 100 ราย เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารด้วยภาษามือ ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษามือ หรือเข้าใจเพียงเล็กน้อย เพราะไม่ได้ศึกษามา ขณะเดียวกันผู้พิการทางการได้ยินสามารถใช้ฝึกทักษะการใช้และการเรียนรู้ความหมายของภาษามือได้อย่าางเข้าใจง่ายด้วย
|
"ซอฟต์แวร์ภาษามือ 3 มิตินี้ ใช้โปรแกรมแอนิเมชั่นในการคิดค้นโมเดลเพศชาย เพศหญิงเป็นตัวการ์ตูน ทำหน้าที่แสดงท่าทางภาษามือเป็นคำศัพท์ ซึ่งจะแยกเป็นกลุ่ม ๆ คือ ตัวสะกด ก-ฮ ตัวอักษร A-Z กลุ่มวรรณยุกต์ กลุ่มคำศัพท์คอมพิวเตอร์ 15-20 คำ กลุ่มคำศัพท์การสื่อสารในชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป 10-15 คำ กลุ่มคำศัพท์วิทยาศาสตร์ 10 คำ และเป็นการสนทนาเป็นประโยคยาว ๆ ประมาณ 2 นาที ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาแก้ไขโปรแกรมในด้านเทคนิคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น เพิ่มอารมณ์ทางสีหน้า การปรับให้สามารถซูมเข้ามาดูใกล้ ๆ หรือหมุน ได้ทั้งซ้ายและขวา เพราะปัจจุบันเป็นแบบมองหน้าต่อหน้าเท่านั้น
|
นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ภาษามือ จะสอนพื้นฐานการอ่านตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษและตัวเลข พื้นฐานคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงสัญลักษณ์สูตรวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนสามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ภาษาอังกฤษได้สะดวกทุกที่ทุกเวลากว่าการเรียนผ่านล่ามที่เป็นมนุษย์ ทั้งนี้ทีมวิจัยยังสร้างท่าทางให้โมเดลการ์ตูนสอนท่าทาง เพื่อสื่อถึงคำศัพท์เฉพาะเช่น การแสดงอารมณ์ความรู้สึก” ผศ.เบญจพร กล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้วิจัยหวังอยากจะให้หน่วยงานที่ช่วยเหลือผู้พิการได้นำงานวิจัยนี้ไปต่อยอด เพราะถ้าสามารถพัฒนางานวิจัยนี้ให้เป็นรูปธรรมก็จะมีประโยชน์ต่อผู้พิการทางการได้ยินอีกมาก และเป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนพิการกับบุคคลทั่วไป |