ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง การรับสมัครนักศึกษาตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท
ของมหาวิทยาลัยมหิดล และกระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ MEC นครราชสีมา ศูนย์ MEC นครสวรรค์ ศูนย์ MEC ราชบุรี และศูนย์ MEC นครศรีธรรมราช
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
----------------------------------------------
ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลและกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ได้กำหนดการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ตามรายละเอียดดังนี้
๑. สถานศึกษาและจำนวนรับเข้าศึกษา
เรียนชั้นปรีคลินิกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา
(MEC : Medical Education Center) แต่ละแห่งดังนี้
ศูนย์ MEC โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวนรับ ๔๘ คน
ทุน ODOD ๑๖ คน แบ่งเป็น จ.นครราชสีมา ๙ คน จ.ชัยภูมิ ๗ คน #
โควตาจังหวัด จำนวนรับ (คน)
นครราชสีมา ๑๘
บุรีรัมย์ ๑๐
สุรินทร์ ๑๐
ชัยภูมิ ๑๐
รวม ๔๘
ศูนย์ MEC โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จำนวนรับ ๓๒ คน
ทุน ODOD ๑๐ คน แบ่งเป็น จ.นครสวรรค์ ๘ คน จ.อุทัยธานี ๒ คน #
โควตาจังหวัด จำนวนรับ (คน)
นครสวรรค์ ๑๗
อุทัยธานี ๕
กำแพงเพชร ๖
พิจิตร ๔
รวม ๓๒
๒
ศูนย์ MEC โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวนรับ ๓๒ คน
ทุน ODOD ๑๒ คน แบ่งเป็น จ.นครศรีธรรมราช ๘ คน จ.กระบี่ ๒ คน จ.พังงา ๒ คน #
โควตาจังหวัด จำนวนรับ (คน)
นครศรีธรรมราช ๒๐
กระบี่ ๖
พังงา ๖
รวม ๓๒
ศูนย์ MEC โรงพยาบาลราชบุรี จำนวนรับ ๓๒ คน
ทุน ODOD ๘ คน แบ่งเป็น จ.ราชบุรี ๒ คน จ.เพชรบุรี ๓ คน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๓ คน #
โควตาจังหวัด จำนวนรับ (คน)
กาญจนบุรี ๓
ราชบุรี ๗
สุพรรณบุรี ๒
เพชรบุรี ๘
ประจวบคีรีขันธ์ ๘
สมุทรสาคร ๒
สมุทรสงคราม ๒
รวม ๓๒
หมายเหตุ # ๑. ดูเงื่อนไขการสมัครและข้อผูกพันในเอกสารแนบท้ายประกาศก่อนสมัคร
๒. โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ทุน ODOD) ผู้สมัครจะต้องสอบผ่าน การคัดเลือกร่วมกับโควตาปกติ
๒. คุณสมบัติของผู้สมัคร
๒.๑ มีคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท และที่มหาวิทยาลัยมหิดลระบบโควตากำหนด
๒.๒ ผู้สมัครสอบในโควตาโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนจะต้องสมัครและผ่านการ
คัดเลือกเพื่อเข้าค่ายเตรียมความพร้อมกับศูนย์แพทย์ในเขตพื้นที่ก่อน (ดูข้อ ๒.๓.๒) และได้รับการเสนอชื่อให้สมัครเข้าสอบคัดเลือกเพื่อรับทุน ODOD
๒.๓ มีคุณสมบัติเฉพาะตามโครงการ ดังนี้
๒.๓.๑ คุณสมบัติทางการศึกษา
- ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-ม.๖) ในจังหวัดที่ตนสมัคร เช่น เรียน ในโรงเรียนที่จังหวัดราชบุรี สมัครสอบได้ในโควตาจังหวัดราชบุรี สำหรับผู้สมัครโควตากระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน จะต้องไม่เป็นผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง
๓
- กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ และมีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
๒.๓.๒ คุณสมบัติเฉพาะ
- ผู้สมัคร บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ หรือเคยอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ผู้สมัครใช้สิทธิ์ไม่น้อยกว่า ๕ ปี โดยมีหลักฐานเป็นสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร รวมทั้งของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย สำหรับผู้สมัครเข้ารับทุนในโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD) ผู้สมัคร บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมีภูมิลำเนาที่ไม่อยู่ในอำเภอเมือง
- ผู้สมัครเข้ารับทุนในโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD)
จะต้องศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ของโรงเรียนในจังหวัด โดยเรียนอยู่ใน
โรงเรียนที่ไม่อยู่ในเขตอำเภอเมือง
- สัญชาติไทย และมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย
- อายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในวันปิดรับสมัคร
- มีความประพฤติดี มีเจตคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพแพทย์ในชนบท
- ไม่อยู่ในเพศบรรพชิต นักบวช หรือนักพรต
- ไม่มีปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการ ประกอบวิชาชีพ เช่น
๑. มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การประกอบวิชาชีพ
๒. มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง ได้แก่ โรคจิต (psychosis) โรคประสาทรุนแรง (severe neurosis) หรือ โรคบุคลิกภาพแปรปรวนโดยเฉพาะ antisocial personality หรือ borderline personality รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ
๓. โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อาทิ โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง
๔. โรคไม่ติดต่อ หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพ เช่น
- โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้
- โรคหัวใจระดับรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ
- โรคความดันเลือดสูงรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะอย่างถาวร
- ภาวะไตวายเรื้อรัง
- โรคติดสารเสพติดให้โทษ
- โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
๔
๕. ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง
๖. ความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า ๖/๒๔
ทั้งสองข้าง
- สายตาข้างดีต่ำกว่า ๖/๑๒ เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว
- ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติ
๗. หูหนวก หรือหูตึง (threshold ของการได้ยินสูงกว่า 40 dB) จากความผิดปกติทางประสาทและการได้ยิน (sensorineural hearing loss) ถ้าได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
๘. โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการ ศึกษา ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือก อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคตรวจบางรายการเพิ่มเติมได้
๓. การรับสมัคร
๓.๑ รับสมัครทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ โดยเข้าเว็บไซต์
http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2011
๓.๑.๑ ให้ผู้สมัครคีย์ข้อมูลออนไลน์ และดาวน์โหลดใบแจ้งการชำระเงิน/ใบเสร็จรับเงิน โดยนำไปชำระเงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารทหารไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ
๓.๑.๒ ให้ผู้สมัครสั่งพิมพ์ใบสมัคร ที่อยู่สำหรับส่งใบสมัคร (สำหรับปะหน้าซองขนาด A4) และจัดส่งพร้อมหลักฐานการสมัครทั้งหมดทางไปรษณีย์ ไม่เกินวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
๓.๑.๓ เก็บรักษารหัสผ่านที่ได้รับจากการสมัครออนไลน์ไว้ในที่ปลอดภัย เมื่อมหาวิทยาลัยประกาศสถานที่สอบ ให้ใช้รหัสผ่านเพื่อพิมพ์บัตรประจำตัวสอบไปแสดงในวันสอบ (หากลืมรหัสผ่านจะสั่งพิมพ์บัตรประจำตัวสอบไม่ได้)
๓.๑.๔ ไม่อนุญาตให้แก้ไขข้อมูลการสมัครหลังจากวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓
๓.๒ หลักฐานประกอบการสมัคร มีดังนี้
๓.๒.๑ ใบสมัครที่พิมพ์จากระบบออนไลน์ พร้อมติดรูปถ่าย ขนาด ๑ ๑/๒ นิ้ว และลงลายมือชื่อผู้สมัครในใบสมัครด้วย
๓.๒.๒ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร ที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
๓.๒.๓ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่มีเอกสารรับรองการเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ)
๓.๒.๔ สำเนา ปพ.๑ หรือเทียบเท่าของมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔–ม.๕) ซึ่งได้คิดเกรดเฉลี่ย
ทั้ง ๔ ภาคการศึกษา ที่ทางโรงเรียนรับรอง ๑ ชุด
หากตรวจสอบพบว่าข้อความในใบสมัครรวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบ การสมัครเป็นความเท็จ หรือ มีการปลอมแปลงเอกสาร ผู้สมัครจะถูกตัดสิทธิ์เข้าศึกษาในโครงการฯ และมหาวิทยาลัยมหิดลตลอดไป ตลอดจนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
๕
๓.๓ ค่าสมัครสอบ
: ค่าสมัครสอบข้อเขียน ๕๐๐ บาท
ผู้สอบผ่านข้อเขียนที่ยินยอมสละสิทธิ์การสอบคัดเลือกของ กสพท. และ สอท. จะมีสิทธิ์เข้ารับการตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพจิต กิจกรรมกลุ่ม และสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกในขั้นต่อไป โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าตรวจร่างกายและตรวจสุขภาพจิต ประมาณ ๗๐๐ บาท
- ค่าเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และสอบสัมภาษณ์ ประมาณ ๑,๕๐๐ บาท (๒-๓ วัน)
หมายเหตุ ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนในโครงการ ODOD จะได้รับการยกเว้นค่าตรวจร่างกาย สุขภาพจิต ค่าร่วมกิจกรรมกลุ่มและค่าสอบสัมภาษณ์ โดยโครงการ ODOD จะออกค่าใช้จ่ายให้
การสอบครั้งนี้สอบพร้อมกับการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าในมหาวิทยาลัยมหิดล
ระบบโควตา ฉะนั้นผู้ที่สมัครในโครงการฯ จะไม่มีสิทธิ์สมัครในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เปิดรับในระบบโควตามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ รายละเอียดของการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยมหิดลระบบโควตาดูได้ที่เว็บไซต์ http:// www.mahidol.ac.th/admission/quota2011
๔. วิธีการคัดเลือก
๔.๑ มหาวิทยาลัยประกาศสนามสอบและที่นั่งสอบให้กับผู้ที่ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ทางเว็บไซต์http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2011 วันที่ ๒๙ ตุลาคม – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
๔.๒ สอบข้อเขียนทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล ในวันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
มี ๖ วิชา จัดเป็นจำนวนข้อสอบ ๔ ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ ๑ วิชาเคมี และวิชาฟิสิกส์
ฉบับที่ ๒ วิชาคณิตศาสตร์ ๑
ฉบับที่ ๓ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาไทย-สังคม
ฉบับที่ ๔ วิชาชีววิทยา
ทั้งนี้ต้องเข้าสอบครบทุกวิชา ซึ่งจะคิดสัดส่วนคะแนนของแต่ละวิชาและนำมารวมกัน
เพื่อจัดลำดับ ดังนี้
เคมี : ฟิสิกส์ : คณิตศาสตร์ : ชีววิทยา : ภาษาอังกฤษ : ภาษาไทย-สังคม = ๑ : ๑ : ๑ : ๑ : ๑ : ๑
วัน/เดือน/ปี ๘.๐๐-๘.๓๐ น. ๘.๓๐-๑๐.๓๐ น. ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น.
วันเสาร์ที่ ๑๓พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เตรียมรับการตรวจบัตรที่นั่งสอบ
หน้าห้องสอบ วิชาเคมี วิชาฟิสิกส์ วิชาคณิตศาสตร์
พักกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ๑๕.๓๐-๑๖.๓๐ น.
วิชาภาษาอังกฤษ
วิชาภาษาไทย-สังคมศึกษา วิชาชีววิทยา
๖
หมายเหตุ ๑. ผู้เข้าสอบต้องเตรียมบัตรประจำตัวสอบและบัตรประจำตัวประชาชน แสดงต่อกรรมการคุมสอบในการสอบทุกวิชา หากไม่ได้นำมาในวันสอบ จะหมดสิทธิ์เข้าสอบ คณะกรรมการอาจพิจารณาให้เข้าสอบในกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งต้องมีหลักฐานชัดเจน และต้องนำเอกสารต่อไปนี้มายื่นในวันสอบด้วย
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองจากโรงเรียน
- หากไม่ได้นำมาในวันสอบให้ไปติดต่อที่กองอำนวยการสอบก่อนสอบไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง เพื่อขอรับการพิจารณา และหากเห็นสมควรจะออกใบแทนการสอบให้ หากไม่ดำเนินการใดๆ จะไม่มีสิทธิ์ในการสอบ
๒. ผู้สอบจะต้องเข้าสอบทุกวิชา หากขาดวิชาใดวิชาหนึ่งจะหมดสิทธิ์ได้รับ การคัดเลือก
๔.๓ สถานที่สอบวิชาสามัญ
มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดสอบวิชาสามัญตามสนามสอบต่างๆ โดยผู้สมัครสามารถเลือก
สนามสอบ ได้ดังนี้
ภาคกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา/พญาไท/บางกอกน้อย)
มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาเขตกาญจนบุรี)
ภาคเหนือ โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
โรงเรียนมงฟอร์ด จังหวัดเชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
ภาคใต้ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ข้อแนะนำ ควรเลือกสนามสอบในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของศูนย์แพทย์ที่สมัคร
๔.๔ การประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และกิจกรรมกลุ่ม
๔.๔.๑ ประกาศรายชื่อวันศุกร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และทางเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2011 โดยมีเกณฑ์การพิจารณาผลสอบทางวิชาการ ดังนี้
๔.๔.๒ ผู้ที่ส่งเอกสารไม่ครบหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ระบุจะไม่ได้รับการประกาศรายชื่อ
๔.๔.๓ จำนวนผู้ผ่านข้อเขียนจะประกาศมากกว่าจำนวนรับจริง โดยไม่ระบุว่าเป็นตัวจริงหรือตัวสำรอง และประกาศตามรหัสประจำตัวสอบโดยไม่เรียงลำดับคะแนนสอบ ทั้งนี้ผลรวมของคะแนนสอบทุกรายวิชาต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ทั้งนี้คะแนนรายวิชา
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รวมกันต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐ ด้วย
๔.๔.๔ ตอบรับการเข้าสอบสัมภาษณ์ภายในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
๗
๔.๕ การตรวจสุขภาพจิต การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มและการสัมภาษณ์
๔.๕.๑ ผู้ที่มีชื่อในประกาศจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพจิต และต้องผ่านเกณฑ์ที่แพทย์ กำหนดจึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และประสบการณ์ และรับการสอบสัมภาษณ์ ณ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาที่สมัคร
๔.๕.๒ ผู้ที่จะเข้าตรวจสุขภาพจิต ร่วมกิจกรรมกลุ่มและสัมภาษณ์จะต้องลงนามในหนังสือยินยอม ว่าหากได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการฯ จะสละสิทธิ์การสมัครเข้ารับการคัดเลือกใน สถาบันอุดมศึกษาที่จัดโดยสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) และการคัดเลือก เข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ ที่ดำเนินการโดยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ หากไม่ยินยอมจะไม่มีสิทธิ์การเข้ารับการคัดเลือก
๔.๕.๓ ตรวจร่างกายและตรวจทางสุขภาพจิต ณ สถานที่/เวลา ซึ่งสาธารณสุขของแต่ละจังหวัดจะกำหนดโดยดูประกาศที่เว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2011 หรือศูนย์แพทย์ฯ ที่สมัคร
๔.๕.๔ กิจกรรมกลุ่ม และการสอบสัมภาษณ์ จัด ระหว่างวันที่ ๖ -๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ สถานที่ต่อไปนี้
ศูนย์แพทย์ฯ กิจกรรมกลุ่ม สอบสัมภาษณ์ สถานที่
รพ.ราชบุรี ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ อาคารศูนย์แพทย์ฯ
รพม.นครศรีธรรมราช ๗-๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ อาคารศูนย์แพทย์ฯ
รพม.นครราชสีมา ๗-๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ อาคารศูนย์แพทย์ฯ
รพ.สวรรค์ประชารักษ์ ๗-๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ อาคารศูนย์แพทย์ฯ
การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาจะพิจารณาจากลำดับคะแนนรวมของการสอบทาง วิชาการ (๗๕ %) คะแนนกิจกรรมกลุ่ม กับการสัมภาษณ์ (๒๕ %) (กรณีที่ไม่ผ่านกิจกรรมกลุ่ม และ/หรือ ไม่ผ่านการสัมภาษณ์จะไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษา) และการพิจารณาของคณะกรรมการสอบคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด
๕. การประกาศผลการคัดเลือก
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยจะประกาศทางเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2011 เป็นรายชื่อตัวจริงเรียงลำดับตามรหัสประจำตัวสอบและประกาศตัวสำรองตามลำดับ คะแนนโดยสำรองตามกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ผู้สอบผ่านการคัดเลือกตัวจริงจะต้องมาทำสัญญาการเข้าศึกษาพร้อมกับ ผู้ปกครองตามวัน/เวลาที่กำหนด และยืนยันการสละสิทธิ์เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสถาบันต่างๆ ใน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ด้วย หากมิได้ดำเนินการใดๆ จะถือว่าสละสิทธิ์การศึกษาในโครงการนี้ และโครงการฯ จะไม่แจ้งการสละสิทธิ์ไปยัง สอท. และ กสพท. ซึ่งอาจมีผลให้ไม่ได้รับการคัดเลือกในการสอบทั้งสองประเภท หากมีผู้มาทำสัญญาและยืนยันสิทธิ์ไม่ครบจำนวนตามที่ประกาศ ทางโครงการฯ จะแจ้งให้ตัวสำรองมาทำสัญญาและยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาแทน โดยเรียงตามลำดับคะแนน
๖. การทำสัญญาเพื่อเข้าศึกษา ณ สาธารณสุขจังหวัด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำหนดวันทำสัญญาระหว่างผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ตัวจริงกับกระทรวงสาธารณสุข ภายในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ และกับตัวสำรอง (ดำเนินการหลังจากตัวจริงสละสิทธิ์) ภายในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
๘
กรณีมีผู้ผ่านการคัดเลือกในแต่ละจังหวัดไม่ครบตามจำนวน คณะกรรมการจะเรียกตัวสำรองในกลุ่มของพื้นที่เดียวกันเพื่อเข้าศึกษาทดแทน โดยเรียงตามลำดับคะแนน
ผู้ผ่านการคัดเลือกที่ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนแล้วจะต้องจัดส่งใบแสดงผล การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อม GPA (๖ ภาคการศึกษา) ที่มีผลตามเกณฑ์ที่ระบุในการรับสมัคร ไปยังงานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พระราม ๖ ราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ ภายในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ (วงเล็บมุมซอง "ใบแสดงผลการศึกษา") ผู้ที่มีผลการศึกษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธิ์เข้าศึกษาใน โครงการฯ และหากชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาไว้แล้ว มหาวิทยาลัยจะคืนค่าธรรมเนียมให้
๗. การลงทะเบียนเป็นนักศึกษา
การลงทะเบียน (รับเอกสารการลงทะเบียนและจองหอพัก) วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม สำหรับกำหนดการที่แน่นอน จะแจ้งให้ทราบทางเว็บไซต์
ประกาศ ณ วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนันทา วิบูลย์จันทร์)
รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา
ปฏิบัติงานแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
๙
เอกสารแนบท้ายประกาศสำหรับโครงการ ODOD
โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD) ให้ทุนการศึกษาจนจบหลักสูตรเป็นเวลา ๖ ปี โดยมีข้อผูกพันเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนในอำเภอและ จังหวัดที่ได้รับโควตาหรือในเขตพื้นที่ที่ขาดแคลนแพทย์ตามที่กระทรวงสาธารณ สุขกำหนดให้
๑. เงื่อนไขในการสมัคร
ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเข้ารับการคัดเลือกในโควตาโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD) จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.๑ เป็นผู้ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดที่ได้รับโควตา
๑.๒ เป็นผู้ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ของโรงเรียนในจังหวัด โดยเรียนอยู่ในโรงเรียนที่ไม่อยู่ในเขตอำเภอเมือง
๑.๓ ผ่านค่ายเตรียมความพร้อมที่จัดโดยศูนย์แพทย์ที่สังกัด
๒. ทุนการศึกษา
๒.๑ ค่าธรรมเนียมการศึกษา ตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาที่ร่วมโครงการ
ตามอัตราค่าใช้จ่ายจริง ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท/ปี
๒.๒ ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท
๒.๓ ค่าที่พักตามจ่ายจริงไม่เกินเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท
๓. เงื่อนไขการปฏิบัติงานชดใช้ทุน
๓.๑ ผู้รับทุนเมื่อสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจะต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนใน อำเภอหรือในจังหวัดที่เป็น ภูมิลำเนา หรือในพื้นที่ที่ขาดแคลนแพทย์หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นเวลา ๑๒ ปี ติดต่อกัน
๓.๒ ในระหว่างการปฏิบัติงานชดใช้ทุนผู้รับทุนมีสิทธิ์ลาฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน และหลังการฝึกอบรมแล้ว จะต้องปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นต้นสังกัด โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ผู้ปฏิบัติงานชดใช้ทุนครบ ๔ ปี สามารถลาฝึกอบรมในสาขาเวชศาสตร์ป้องกันคลินิกและเวชศาสตร์ ครอบครัว
- ผู้ปฏิบัติงานชดใช้ทุนครบ ๕ ปี สามารถลาฝึกอบรมในสาขาศัลยศาสตร์ และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
- ผู้ปฏิบัติงานชดใช้ทุนครบ ๖ ปี สามารถลาฝึกอบรมในสาขาอายุรศาสตร์ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และ
กุมารเวชศาสตร์ ทั้งนี้ระยะเวลาเข้าฝึกอบรม จะไม่นับรวมเป็นระยะเวลาของการชดใช้ทุนกรณีที่ผิด สัญญาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ต้องชดใช้เงิน จำนวน ๒ ล้านบาทภายในเวลา ๓๐ วันหรือตามที่ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแทนการปฏิบัติงาน
Credit http://www.mahidol.ac.th/muthai/_popup/camp-54.doc