ประชาสัมพันธ์

"นิเทศศาสตร์" ต่างกับ "นิเทศศิลป์"


น้อง ๆ สับสนกับ "คณะนิเทศศาสตร์" กับคำว่า "นิเทศศิลป์"

ซึ่งสองคณะนี้แม้จะมี Concept พื้นฐานที่ใช้ ความครีเอทีฟเหมือนๆกัน

แต่โดยแท้จริงลึกๆแล้วการเรียนการสอนและการสอบเข้าต่างกัน

เพราะต่างคนก็ต่าง expert ไปคนละด้าน แต่ก็จัดว่าลักษณะการทำงานใกล้เคียงกันครับ

ดังนั้นพี่ก็คิดว่าเรามาเริ่มกันที่คำศัพท์-คำเรียกชื่อของคณะนี้ก่อนจะดีกว่า เพื่อความไม่สับสนและเข้าใจตรงกัน

- นิเทศศิลป์ (Communication Design) ก็มีคณะและมหาวิทยาลัยที่ใช้คำเรียกนี้คือ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร /

คณะสถาปัตย์ ลาดกระบัง และบางมด (สอบแบบศิลป์) / และคณะศิลปกรรมศาสตร์ บูรพา ขอนแก่น และเอกชนอย่าง

ม.กรุงเทพ และม.รังสิต เป็นต้น)

- ออกแบบสื่อสาร (Communication Design) ก็มีคณะและมหาวิทยาลัยที่ใช้คำเรียกนี้คือ มศว ประสานมิตร คณะศิลปกรรมศาสตร์ครับ

- เรขศิลป์ Graphic Design ก็มีคณะและมหาวิทยาลัยที่ใช้คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือคณะศิลปกรรมศาสตร์

ภาควิชานฤมิตศิลป์ สาขาวิชาเรขศิลป์ และนฤมิตศิลป์ของ ม.มหาสารคาม

- สาขาออกแบบ ก็เป็นชื่อสั้นๆง่ายๆได้ใจความของคณะวิจิตรศิลป์สาขาการออกแบบที่ ม.เชียงใหม่

==========================================================================

การเรียนการสอน

พี่ขอตัดเข้าไปตอนเรียนในมหาวิทยาลัยก่อนละกันนะ ในคณะต่างๆเหล่านี้เค้าก็จะมีการเรียนการสอนที่

ค่อนข้างคล้ายกัน คือในช่วงปีสองปีแรก ก็จะเป็นการเรียนฝึกฝนทักษะ วิชาดรออิ้ง ก็จะวาดกันตั้งแต่วัตถุสิ่งของ

ใกล้ตัวจนไปถึงวิชากายวิภาค มีเรียนจิตรกรรมพื้นฐาน การ Paint สีน้ำ ได้ออกนอกสถานที่ ไปวาดที่ต่างๆ

ได้ฝึกฝนทักษะการออกแบบทั้งด้วยมือ และด้วยคอมพิวเตอร์ในขั้นพื้นฐาน ในปีต้นๆก็มีกิจกรรมเยอะ งานเยอะ

มีรับน้อง และเป็นช่วงเปลี่ยนจากวัยมัธยมที่มีคุณครูคอยจู้จี้มาเป็นวัยเรียนที่อิสระ ไม่มีใครควบคุม ดังนั้นปีต้นๆ

น้องควรจะ Balance ระหว่างกิจกรรมกับการเรียนให้ดี เกรดจึงจะออกมาสวยและใช้ชีวิตมหาลัยอย่างมีความสุข

ส่วนในปีโตๆคือปีสามและปีสี่ก็จะเริ่มมีวิชาเฉพาะสาขาที่ตนเองสนใจ คือบางที่ก็มีวิชาอนิเมชั่น (animation) หรือวิชาโฆษณา (advertising) หรือพวกการออกแบบตัวอักษรขั้นสูง (advance typography) จากนั้นพอปลายปีสามขึ้นปีสี่ก็จะมีวิชาวิจัยทางศิลปะและการออกแบบ (design research)

ซึ่งก็จะได้ใช้ประโยชน์ตอนทำวิทยานิพนธ์ทางศิลปะ หรือที่เรียกว่า Thesis นั่นเอง ช่วงนี้ก็จะเป็นตัวตัดสิน

ชะตาชีวิตในระดับนึงเหมือนกันว่าจะเรียนจบหรือไม่จบ หรือจะได้งานที่ดีหรือเปล่า

ส่วนวิชาคำนวณ ไม่มีครับ หรือบางที่มีก็น้อยมาก ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนเหมือนตอนมัธยมครับ (โดยมากไม่ชอบ)

========================================================

ระดับความยากในการเรียน

ขึ้นชื่อว่าเรียนก็ยากทั้งนั้นแหละ แต่การันตีว่าใครชอบออกแบบจริงๆแล้วคณะแบบนี้เป็นคณะที่เรียนสนุก

จริงอยู่ การเรียนวิชาพวกนี้ระดับความเครียดมักจะไม่ค่อยมากเท่ากับสายวิทยาศาสตร์หรือสายคำนวณ

แต่การเรียนวิชานี้จะต้องหมั่นหาความรู้ใส่ตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางอินเตอร์เนต หรือร้านหนังสือต่างประเทศ

หรืองานนิทรรศการหรือ event ต่างๆ เช่นงานประกวดโฆษณา หรืองานออกแบบระดับมหาวิทยาลัย

ไม่เช่นนั้นเราจะตามคนอื่นไม่ทัน

อย่างที่บอกไป แม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เรียนเครียด ไม่ได้เรียนแล้วหน้าบูดหน้าบึ้ง และดูเหมือนว่าจะอยู่กับ

สิ่งที่สวยงามก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่เราหยุดคิด หยุดตามโลก หยุดหาความรู้ เราก็จะอยู่ไม่ได้เมื่อเราจบไป

ประกอบอาชีพแล้ว และความเครียดก็จะเพิ่มมากขึ้น

พวกเราตอนเรียนจะเรียนสนุก แต่เมื่อจบไปทำงาน จะต้องรักษาเวลา ทำงานให้ทัน คิดให้ออกในเวลาที่กำหนด

เราก็จะไปเครียดกันก็ตอนนั้นแหละ

ต้องยอมรับอยู่ข้อนึงว่าประเทศไทย ระดับการเคารพในวิชาชีพยังไม่มีมากเท่าที่ควร คนที่ไม่ได้จบทาง

ด้านออกแบบมาโดยตรงก็สามารถทำงานทางด้านนี้ได้ ถ้าเค้ามีความสามารถเพียงพอ (ส่วนมาก-ไม่ดีเท่าคนที่จบตรง)

ดังนั้นอาชีพทางสายนี้ จึงจำเป็นต้องจบไปแล้วไปอยู่ในบริษัทหรือองค์กรที่เหมาะสม ถึงจะเติบโตทางหน้าที่การงาน

ได้อย่างมีความสุข ซึ่งพี่ก็จะแนะนำในข้างล่างต่อไปนะครับ ว่าทำที่ไหนถึงจะดี

=========================================================

อาชีพการงาน

ก่อนที่พี่จะพูดเรื่องการเตรียมตัวสอบ พี่คิดว่าการทำความรู้จักกับสาขาที่เรากำลังจะเรียนเป็นสิ่งที่ควรรู้ก่อน

ดังนั้นพี่ก็จะเล่าหน้าที่การงานให้ฟังว่า จบไปสามารถทำอะไรได้บ้าง

อาชีพของพวกเราคล้ายๆกับว่าปิดทองหลังพระ และดูเหมือนว่าจะมีรากฐานฝังลึกอยู่กับผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุ

ประมาณ 45-60 ว่า พวกเราเป็นศิลปินใส้แห้ง วันๆวาดรูปและรับเขียนป้าย ทำงานโรงพิมพ์

ดังนั้นพี่ก็จะขอเล่าให้ฟังละกัน จะได้ไปอธิบายให้อาก๋งอาม่า หรือป่าป๊าหม่าม๊าเข้าใจได้มากขึ้นว่า

เราจะจบไปทำอะไรได้บ้างใส้แห้งจริงหรือไม่

จากประสบการณ์การทำงานของพี่ อาชีพการงานของสายนี้จะแยกออกเป็น 3 สายหลักๆคือ

จริงๆแล้วคนอื่นอาจจะไม่ได้แบ่งแบบนี้

1. สาย Creative เน้นคิดงาน และสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ สนุกๆมันส์ๆ

2. สาย Production เน้นทำงานผลิตงาน เป็นผู้มีฝีมือและทักษะการ Present เป็นเยี่ยม หาตัวจับยากและ

มีคิวจองให้ทำ จองยาวข้ามปี

3. สาย IT และมัลติมีเดีย

========================================================

อ่ะมาเริ่มกันที่ครีเอทีฟ (Creative) กันก่อนนะ

สายนี้ก็โดยมากจะอยู่ตามเอเยนซี่โฆษณา (Advertising Agency) ซึ่งการที่จะเข้าเป็นครีเอทีฟในบริษัทโฆษณานั้นค่อนข้างยาก และต้องผ่านการคัดตัวและเวทีประกวดงานระดับมหาวิทยาลัยอย่าง B.A.D (Bangkok Advertising Association) มาบ้างแล้ว

หรือไม่ก็เป็นผู้มีไอเดียแหวกแนวตลอดเวลา

ในเอเยนซี่ก็จะแยกออกครีเอทีฟออกเป็นสองประเภทคือ

- อาร์ตไดเรกเตอร์ (art director)เป็นอาชีพที่จัดว่า เก๋ไก๋สไลด์เดอร์มากๆ มีคนอยากเป็นมาก

แต่ตำแหน่งน้อยนิดไม่ค่อยจะรับใครใหม่ๆเท่าไหร่ เพราะเงินเดือนดี แต่ทำงานหนักเป็นวัวเป็นควาย

บางทีก็กลับบ้านตีสองตีสาม หรือข้ามคืนก็เคยมี อาร์ตไดเรกเตอร์เค้าจะทำงานเป็น

คนคิดโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ ทำบิลบอร์ดเก๋ๆ ยกตัวอย่างเช่นเบียร์ไฮเนเก้นที่จะมีอะไรเก๋ๆออกมาตลอดเวลา

และที่เป็นไฮไลท์คือต้องคิดหนังโฆษณาทีวี (TVC) ช่วงเวลาที่คิดหนังนี่แหละมันส์ที่สุด จะมีแก๊กตลกๆ เจ็บๆ

ซึ้งๆออกมาเยอะแยะแล้วแต่โจทย์ที่ลูกค้าให้มา อาร์ตไดไม่ได้เป็นคนคิดคนเดียวนะ

เค้าจะต้องคิดงานคู่กับก๊อปป้ไรท์เตอร์(copywriter) ที่จบมาทางสายนิเทศศาสตร์นั่นแหละ ทำงานคู่กันเสมอๆ

แยกกันไม่ออก

อาร์ตไดจะต้องออกไปกับกองถ่ายฯ จะต้องคุยกับผู้กำกับเพื่อแลกไอเดียอันบรรเจิด และคุยกะช่างภาพ

มืฉกาจเพื่อทำให้งานออกมาดี อาร์ตไดจะต้องควบคุมทุกๆอย่างเพื่อให้งานชิ้นนึงออกมาได้ดีและ

สมบูรณ์ที่สุดเหมือนกับที่ไปโม้ไว้กับลูกค้าในวันขาย Sketch งานครั้งแรก

ที่สำคัญคืออาร์ตได จะมีการอัพค่าตัวขึ้นไปได้อีกจากการหมั่นคิดงานดีๆส่งประกวด ซึ่งเวทีสำหรับ

คนโฆษณาก็มี B.A.D Awards (Bangkok Advertising Association) หรือ Adman หรือเวทีเก่าแบบ

TACT Awards และเวทีระดับเอเชียที่มีการจัดกันที่พัทยาทุกปีอย่าง AD FEST Asia หรืองานใหญ่แถบ

ภูมิภาคแบบ Media Asian หรืองานระดับโลกอย่าง Cannes Lions หรือฝั่ง U.K คือ D&AD หรือฝั่ง

อเมริกาแบบ CILO Awards เป็นต้น

การเตรียมตัวเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์

ก็ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบติดตามข่าวสารวงการออกแบบและโฆษณา ชอบดูโฆษณา

และต้องหมั่นประกวดงานเพื่อพัฒนาความคิด และสะสม portfolio ที่ดีๆไว้ตอนสมัครงาน

และที่สำคัญช่วงฝึกงานพยายยามหาทางเข้าไปฝึกในเอเยนซี่ให้ได้

- กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ (Graphic Designer) เป็นอาชีพที่ยังสามารถแยกออกเป็นหลายหมวดอีก

ในที่นี้พี่จะขอแยกออกเป็นสองอย่างละกันครับ คือ graphic ที่ทำงานอยู่ในบริษัทโฆษณา และ

graphic ที่ทำงานอยู่ตาม graphic house จะพูดถึงพวกแรก พวกนี้จะทำงานคล้ายกับอาร์ตได แต่

จะกระจุกกระจิกและต้องทำพวก product หรือ package ด้วยเป็นบางครั้ง ซึ่งก็สนุกไปอีกแบบนึง

ลักษณะของกราฟฟิคจะคล้ายับอาร์ตไดแต่จะต่างกันตรงที่ไม่ต้องคิดหนังทำหนัง

แต่พวกนี้จะลงลึกไปออกแบบสื่อต่างๆเช่นงาน exhibits หรืองานสิ่งพิมพ์ หรือเวบมัลติมีเดีย

สำหรับกราฟฟิคโดยเฉพาะบริษัทโฆษณาต้องออกไปนอกสถานที่บ่อยๆ ออกไปหาลูกค้า

ออกไปกำกับช่างภาพ ออกไปทำรีทัชภาพ และสุดท้ายควบคุมการออก Artwork ให้ลูกค้า

ซึ่งสนุกมากๆ ทำให้เราไม่หยุดนิ่ง ได้เจอคน ได้เจออะไรใหม่ๆตลอดเวลา

สำหรับการเตรียมตัวเป็นกราฟฟิค ขึ้นอยู่กับเว่าเราจะสมัครในบริษัทโฆษณาหรือเปล่า ถ้าอยากก็ต้อง

ดูให้ดีเพราะบริษัทโฆษณาบางที่ก็มีโครงสร้างให้กราฟฟิคทำงาน support art director ซึ่งพี่

ไม่แนะนำให้ทำบริษัทแบบนี้ ลองหาบริษัทที่มี Graphic ที่แยกทีมออกมาต่างหากจะดีกว่า

หรือถ้าเราอยากเข้ากราฟฟิคเฮาส์ก็ลองศึกษาว่าบริษัทที่เรา

จะเข้านี่มีชื่อเสียงในวงการออกแบบหรือเปล่า ของประเทศไทยก็มีที่ดีๆน่าทำอยู่หลายที่เหมือนกันครับ

=======================================================

ทีนี้พี่ก็จะพูดถึงสาย Production House บ้าง

สายโปรดักชั่นนี้โดยมาก็จะทำงานให้กับเอเยนซี่ (Agency) เสียส่วนมาก โปรดักชั่นนี้ก็ยังแยกออกได้ย่อยๆอีกคือ

Image Retoucher / Photographer (ตกแต่งภาพและช่างภาพ)

Editing Studio (สตูดิโอตัดต่อ)

Animation Studio (สตูดิโอทำอนิเมชั่น)

Illustrator Artist (นักเขียนและออกแบบภาพประกอบเรื่อง)

ตอนนี้ฟังดูอาจจะยังงงๆเอาเป็นว่าสาขาที่ย่อยมากๆพี่ขอข้ามไปก่อนละกันครับ เดี๋ยวจะยาว

ทีนี้ก็มาถึงตำแหน่งหน้าที่การงานว่าจะทำอะไรได้บ้างในสายงานทาง

ด้านโปรดักต์ชั่นเฮาส์

- Computer Artist ที่ทำงานกับบริษัทรีทัชภาพ

ขอเล่าก่อนละกันครับว่ารีทัชภาพนี่ไม่ใช่แค่ตกแต่งภาพตามร้านถ่ายรูปนะครับ มันไม่ใช่แค่นั้น งานของบริษัทโฆษณา

ที่ออกเป็นอาร์ตเวิร์คในแต่ละวันนั้นมหาศาล การที่จะต้องมีคนที่ทำหน้าที่นี่หรือเรียกว่า รีทัชเชอร์(Retoucher) ซึ่ง

รีทัชเชอร์จะทำหน้าทีตกแต่งภาพตามที่อาร์ไดเรกเตอร์ หรือกราฟฟิคทำมาให้ ซึ่งเราจะเห็นได้อย่างง่ายๆก็คือ

พวกโปสเตอร์หนัง หรืองานโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ งานพวกนี้ไม่ใช่มีค่าตอบแทนน้อยๆนะครับ

เพราะคนที่จะทำงานทางด้านนี้ได้จะต้องมีผู้มีความรู้ทางด้าน Drawing มากพอสมควรจึงจะสามารถ

ตกแต่งภาพออกมาได้อย่างสมจริง สายงานทางด้านนี้กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ มีงานจากต่างประเทศเข้ามาให้ทำเป็นจำนวนมาก

น้องคงจะงง ว่างานแต่งภาพมันจะมากอะไรขนาดนั้น แต่พี่ขอบบอกว่ามากๆๆๆๆ ครับ เพราะปัจจุบันการถ่ายภาพ

งานโฆษณาได้เปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิตอลหมดแล้วครับ ดังนั้นงานถ่ายภาพเมื่อถ่ายเสร็จเค้าก็จะต้องไปทำให้สวยที่สุด

ดังนั้นก็ไม่พ้นพวก Retouch House ปัจจุบันในประเทศไทยที่ดังๆมีอยู่ประมาณเกือบ 10 ที่ มีสตูดิโอถ่ายภาพ

มีพนักงานมากกว่า 50 คนในบางแห่ง

การจะเตรียมตัวเป็นรีทัชเชอร์จะต้องดรออิ้งเก่งมีพื้นฐานแสงเงาแน่น มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและหมั่นดูงานโฆษณา

ดูโปสเตอร์หนังและเป็นผู้ตามกระแสวงการออกแบบตลอดเวลาครับ

- Computer Artist ที่ทำงานกับเอเยนซี่

อันนี้ก็จะคล้ายๆกับอันข้างบน เพียงแต่ว่าทำงานในบริษัทโฆษณา โดยมากจะไม่ได้ปิดงานใหญ่ๆเอง แต่จะให้พวกด้านบนทำจะเป็นคนที่คอย Support ความคิดของครีเอทีฟ และต้องมีความรู้ทางด้านการจัดวางหนังสือ และการเขียนภาพด้วยโปรแกรมIllustrator ด้วยนอกเหนือจากการแต่งภาพ ในบางครั้งต้องมีการทำภาพสามมิติด้วย เรียกว่าความรู้เฉพาะโปรแกรม และทักษะอาจจะไม่เท่ากับพวกรีทัชเชอร์ แต่ความรู้รอบตัวต้องมากกว่าและสามารถตอบสนองความคิดของครีเอทีฟได้มากกว่า

สำหรับการเตรียมตัวก็เหมือนข้างบนนะครับ

- Animator / CG Artist

คงเป็นอาชีพที่น้องๆหลายคนอยากจะทำนะครับ การจะเป็น animator อาจจะไม่ต้องจบมาตรงสายเสียทีเดียว แต่อาจจะต้องมีความสนใจทางด้านโปรแกรม 3 มิติ (3D) พอสมควร โดยมากรุ่นเก่าจะจบมาทางสายทางด้านนี้แล้ว

อาศัยความสนใจส่วนตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ปัจจุบันในประเทศก็มีการเรียนการสอนทางด้านนี้ เพียงแต่ในมหาวิทยาลัยของรัฐอาจจะยังไม่มีมากเท่าที่ควร เนื่องจากติดขัดเรื่องเงินทุนในการซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์

ทีนี้ย้อนกลับมาที่ลักษณะการทำงาน โดยส่วนมาก เค้าก็จะแยกกันระหว่างคน ออกแบบตัวการ์ตูน

คนปั้นโมเดล คนใส่วัสดุจัดแสง และคนทำอนิเมชั่นในขั้นตอนทำให้มันเคลื่อนไหว และยังมีคนตัดต่อและใส่เอฟฟเกต์

ในขั้นสิ้นสุดด้วย น้องๆจะเห็นว่าหนังอนิเมชั่นไม่ได้ออกมาง่ายๆ หนังเรื่องนึงจะต้องประกอบไปด้วยคนหลายคน

หากว่าน้องเป็นคนที่ขอบทำหนังสั้น น้องๆก็ควรจะคำนึงถึงเนื้อเรื่องด้วย เพราะเนื้อเรื่องเป็นตัวสำคัญในการตัดสินว่าหนังเรื่องนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ ในที่นี้พี่แนะนำน้องที่อยากจะเป็นอนิเมเตอร์หรือสนใจทางสายงานด้านนี้

ให้หาเวลานอกในการฝึกฝนทักษะ และก็ควรจะเรียนรู้กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ที่อาจารย์สอนในมหาลัย

ไปด้วยพร้อมๆกัน เพราะสังเกตหนังสั้น หรือหังโฆษณาเมือง CANNES (คานส์) หนังที่ได้รางวัลก็มักจะเป็นหนังที่มีแก๊กหรือไอเดียเด็ดๆ

และการจะเตรียมตัวเป็นอนิเมเตอร์ พี่ก็แนะนำให้หาความรู้นอกห้องเรียน ซีดีหรือดีวีดีสอน MAYA หรือ 3ds MAXLightwave / Cinema4 หรือกระทั้งวิดีโอสอนการตัดต่ออย่าง Final Cut Pro และ After Effects ก็มีเยอะ

มีค่อนข้างเยอะหาได้ง่ายครับ หรือจะไปเรียนเสริมนอกเวลาก็ได้ และก็ทำเก็บไว้เป็น Port เพื่อสมัครฝึกงานในบริษัทเหล่านี้ในช่วงปีสามครับ ก็จะเป็นหนทางที่ง่ายที่สุดในการเข้าวงการครับ

- Illustrator Artist

อาชีพนักวาดภาพ ออกแบบภาพประกอบ หรือเขียนสตอรรี่บอร์ดประกอบงานโฆษณา (Story Board)

นักวาดภาพนั้น แน่นอนก็จะต้องเป็นผู้มีทักษะในการวาดรูปค่อนข้างมาก รักการ์ตูน ช่างสังเกต ขี้เล่น

สำหรับอาชีพนี้ ปัจจุบั้นก็แยกได้ออกเป็น 2 อย่างคือ ทำงานอิสระ กับทำงานประจำ

นักวาดภาพที่ประจำในบริษัทโฆษณา เค้าจะต้องมีความสามารถรอบด้าน คือต้องวาดจากคอมพิวเตอร์ก็ได้

และวาดมือลงสีมาร์คเกอร์ (Marker Color) หรือสีอื่นๆก็ได้ จะต้องเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

เป็นผู้ช่วยครีเอทีฟหรือผู้กำกับคิดต่อ คิดออกมาให้เป็นภาพได้ สำหรับหน้าที่การงานก็จะอยู่ในบริษัทโฆษณาหรือ โปรดักต์ชั่นเฮาส์ หรือรับงานอิสระ แต่ต้องเป็นผู้มีชื่อเสียงระดับนึงแล้วในวงการออกแบบภาพประกอบ

คือจริงๆนักวาดภาพประกอบไม่จำเป็นต้องอยู่บริษัทเหล่านั้น แต่อาจจะรับงานวาดประกอบนิตยสารเป็น JOB พิเศษ ก็ได้

สำหรับการเตรียมตัวจะเป็น แน่นอน ต้องฝึกวาดให้มากครับฝึกมากๆครับ

=====================================================

สุดท้ายที่จะพูดก็จะเป็นสายงานไฮเทค แน่นอน ต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวันแน่ๆ

คนที่จะทำงานทางด้านนี้จะต้องเป็นผู้ที่ไม่รังเกียจคอมพิวเตอร์ ต้องมีความเชี่ยวชาญและ

พอรู้เรื่องโปรแกรมมาบ้างเล็กๆน้อยๆ สำหรับสายงานทางด้านนี้ เวลาน้องจะเข้าไปทำ

ก็ควรจะลองๆสืบดูว่า งานหรือบริษัทที่เรากำลังจะไปทำเค้าเน้นทางด้านไหน บางที่

เน้นโปรแกรมมิ่ง บางที่เน้นออกแบบ เน้นไอเดีย บางที่เน้นเท่ากัน ก็ลองเลือกดูนะครับ

ว่าเราอยากทำงานที่เน้นไปทางด้านไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราเป็นหลัก

Multimedia Designer / Web Graphic Designer / Interface Designer

สามคำข้างบนก็พอจะครอบคลุมได้พอสมควรแล้วนะครับ จริงๆยังมีอีกเยอะ

ลักษณะการทำงานก็แล้วแต่บริษัทที่เราจะไปสมัคร คนที่ออกแบบทางสาย IT นี้จะไม่ค่อยมีผู้

ช่วยแบบสายโฆษณา เราจะต้องปิดงานด้วยตัวเองในบางครั้ง อย่างเช่นถ้าเราทำ FLASH

เราก็ต้องปิดงานด้วยตัวเอง ไม่มี Artist มาปิดงานให้เราแบบสายงานโฆษณา

คนที่จะทำงานสายนี้จะต้องมีความสามารถทั้งเรื่อง ภาพยนตร์ การทำอนิเมชั่น การ

ตัดต่อเสียงและโปรแกรมมิ่งเล็กๆน้อยๆ ปัจจุบั้นเราจะออกแบบชนิด Offline ก็ไม่ได้แล้ว

จึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านอินเตอร์เนต และเทคโนโลยีแฟลชและ JAVA บ้างพอสมควร

สำหรับน้องที่จะเข้าทำงานทางสายนี้พี่จะแนะนำคร่าวๆนะครับ ว่ามีบริษัทลักษณะไหนบ้าง

- บริษัทที่เป็นเครือหรือแผนกย่อยของบริษัทโฆษณา ในแผนกนี้จะต้องออกแบบ

ทำ web หรีอ media ใหม่ๆ Direct Marketing และจะมีการจัดวางตำแหน่งคล้ายๆ

พวกครีเอทีฟ และมีคนช่วยทำงานให้ บริษัทโฆษณาจะให้เงินเดือนปานกลาง แต่จะได้

ความรู้ทางด้านมาร์เกตติ้งติดตัวไปด้วย เพราะจะค่อนข้างใกล้ชิดกับพวกมาร์เกตติ้ง

- บริษัทที่ออกแบบพวกมัลติมีเดียและเวบโดยเฉพาะ บริษัทลักษณะนี้ เราจะต้อง

มีความสามารถในการออกแบบและความรู้รอบทางด้านโปรแกรมพอสมควร

ซึ่งเวลาจะเข้าไปทำควจะศึกษาว่าลักษณะงานเน้นไปในทางไหน ออกแบบหรือเน้นโปรแกรม

- บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทเหล่านี้จะให้เราเข้าไปพัฒนา Graphic User Interface (GUI) หรือที่เค้าเรียกกันว่าหน้าตาของตัวโปรแกรม ซึ่งแน่นนอน เค้าเน้นโปรแกรมอยู่แล้ว

เวลาน้องๆจะทำงานทางสายนี้ ลองศึกษาดูให้ดีๆก่อนนะครับ เพราะบางทีทำไปนานๆ

เราจะลืมๆการออกแบบได้ เพราะแวดล้อมไปได้ด้วยโปรแกรมต่างๆ เราจึ้งต้องหมั่นศึกษา

หาความรู้บ่อยๆ และฐานเงินเดือนของบริษัทลักษณะนี้มักจะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ

กับนักออกแบบเท่าที่ควร แต่ก็มีบางที่เหมือนกันที่ให้ค่อนข้างมาก

สำหรับการเตรียมตัวคงไม่ต้องบอกอะไรมากนะครับ คืองานต้องดี และมีความรู้

ทางด้านโปรแกรมหรือ HTML บ้างนิดๆหน่อยๆครับ

=================================================

เมื่อได้รู้จักกันแล้วว่า จบไปทำอะไรได้บ้าง และมีหน้าที่การงานทำอะไรบ้าง

ก็จะมาตอบคำภถามคาใจน้องๆว่า "หางานยากหรือไม่" อันนี้พี่ก็จะขอตอบจากประสบการณ์นะครับว่า

อย่างงานโฆษณา แม้ว่าบริษัทโฆษณาที่ดังๆจะมีเยอะก็ตาม แต่บุคคลากรเค้าไม่ค่อยเยอะ โดยเฉพาะครีเอทีฟ หรือกราฟฟิค

เพราะเค้าไม่จำเป็นต้องจ้างเยอะ ครีเอทีฟมีหน้าที่คิดงานให้แหวก คิดให้ใหม่เสมอๆ ดังนั้นเค้าจะไม่จ้างเยอะ

และค่อนข้างที่จะรับคนยาก อย่างบริษัทที่เคยทำอยู่ บางครั้งมีการสมัครเรื่อยๆ เกือบ 200-300 คน (รับคนเดียว) แต่ก็ไม่รับเสียที และก็เป็นธรรมดาครับที่บริษัทดังๆจะรับคนยาก

สาขางานอื่นๆก็เหมือนๆกันครับ ดังนั้นนอกจากสอบเข้าไปได้แล้วยังต้องพัฒนาตนเอง

ตลอดเวลาอีกด้วย ถึงจะอยู่ในโลกของการออกแบบได้อย่างมีความสุข

===================================================

สำหรับการเตรียมตัว พี่จะขอพูดคร่าวๆละกันนะครับ เอาไว้ไปดูรายละเอียดวิชาสอบกันดีกว่า

การเตรียมตัวเข้าสาขาทางนี้ แน่นอนจะต้องมีวิชาการออกแบบและวาดเส้น ซึ่งวิชาและทักษะดังกล่าว ไม่สามารถวัดได้ว่า

คนไหนจะต้องฝึกเท่าไหร่ คนไหนต้องฝึกอีกมาก คนไหนทำไม่สวย อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ล้วนๆในการฝึกฝน

น้องๆที่จะเข้าสายงานทางนี้ พี่แนะนำเลยว่า website หรือร้านหนังสืออย่าง Asia Book หรือ Kinokuniya เป็นแหล่ง

ความรู้ที่ดีมากๆ ยังมีร้านหนังสือดีๆที่น่าไปดูอีกคือ Basheer ที่ H1 ซอยทองหล่อ เลย Playground เข้าไปอีกหน่อย

จริงๆใน Playground ก็มีนะครับ และยิ่งดีเข้าไปอีกที่มีศูนย์การออกแบบที่ Emporium ขึ้นมาอีก แหล่งความรู้เหล่านี้มีอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่ว่าน้องจะเลือกดูหรือเปล่า

และสำหรับน้องที่ไม่มีโอกาสได้ติวกับพี่ๆตามมหาวิทยาลัยหรือตามสถาบันสอนศิลปะ ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ทันเค้า เพราะน้องสามารถหาหนังสือหัดวาดเส้นมาหัดได้เอง ซึ่งมีหนังสือดีๆอยู่หลายเล่ม เมื่อซื้อมาแล้วน้องก็อาศัยการสังเกต หมั่นฝึกฝน และที่สำคัญหาอาจารย์สอนศิลปะเป็นพี่เลี้ยงช่วยดู ก็จะดีมากๆ

จริงๆก็ไม่ต้องกลัวมากเพราะในเวบมีอยู่มากมายครับ ลองใช้ Google หาดูสิครับ มีเพียบ..........

ที่สำคัญหมั่นหาข้อสอบเก่าๆมาดูและทดลองทำดูครับจะช่วยได้มากๆครับ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ระบบการสอบและวิชาการสอบ ซึ่งลักษณะการสอบในปัจจุบันจะสามารถแยกออกเป็น 4 กลุ่มคือ

[A] กลุ่มที่สอบปฏิบัติเพียงวิชาเดียว (ความถนัดทางนิเทศศิลป์ ค่าน้ำหนัก 35% เกณฑ์ 40 คะแนน) ได้แก่

- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ / ภาพถ่าย / ภาพยนตร์และวิดีโอ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง (สองสาขาสุดท้ายมีสอบภาคสมทบ)

- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ พระจอมเกล้าฯธนบุรี (หลักสูตรนานาชาติ) มีสอบตรง

- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ขอนแก่น ม.บูรพา ฯลฯ (มีสอบตรง+โควต้า)

ลักษณะข้อสอบ

จะมีข้อย่อยๆแยกออกไปให้ Drawing เขียน StoryBoard ทำ Illustration หรือออกแบบโปสเตอร์และออกแบบลวดลาย

เน้นทักษะ+ไอเดีย และความเร็วในการทำพอสมควร เพราะมีแค่ 3 ชั่วโมงแต่ต้องทำหลายข้อ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

[B] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติสองวิชา รายละเอียดลองดูที่ http://www.decorate.su.ac.th/

คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ศิลปากร มีสอบตรงเท่านั้น มี 2 รอบ เน้นทักษะมากๆ

ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างมาก แบ่งเป็นสองวิชาคือ วาดเส้นมัณฑนศิลป์ และออกแบบนิเทศศิลป์

ลักษณะข้อสอบ

วาดเส้นมัณฑนศิลป์ ให้วาดเส้นหน้าคน หรือมือ หรือของใกล้ตัว บางปีเคยออกให้วาดจากรูปภาพ เน้นทักษะมากๆ

ออกแบบนิเทศศิลป์ ให้ออกแบบโปสเตอร์ และโลโก้ หรือออกแบบตัวอักษรประกอบโปสเตอร์ ฯลฯ เน้นทักษะการออกแบบและนำเสนองานมากๆ เกณฑ์อยู่ที่ 50 คะแนนครับ สำหรับ ระดับคะแนนที่ปลอดภัยในการสอบติดคือ 80-85 ขึ้นไปครับ (ได้ค่อนข้างยากครับ โดยเฉพาะ Drawing)

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

[C] กลุ่มที่สอบวิชาปฏิบัติ 1 วิชา และสอบทฤษฎีศิลปะ 1 วิชา

คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาฯ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ มหาสารคาม (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะสถาปัตย์ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ม.นเรศวร ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ ม.เชียงใหม่ (มีสอบตรง+โควต้า) ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎีนฤมิตศิลป์

คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสื่อสาร มศว ประสานมิตร (สอบตรงอย่างเดียว ใช้ ปฏิบัติ + ทฤษฎี และPORTFOLIO)

รายละเอียด www.swu.ac.th

ลักษณะข้อสอบ

ปฏิบัตินฤมิตศิลป์ (ค่าน้ำหนัก 20%) 3 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น วาดเส้นสร้างสรรค์ เน้นหน้าคน และมือ หรือของอื่นๆ โดยโจทย์จะเป็นลักษณะใกล้เคียงกับ

โจทย์ของลูกค้าที่ให้ทำในบริษัทโฆษณา โดยสามารถวาดลักษณะ Surrealism ได้ตามต้องการ แต่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องของแสงเงา และอีกส่วนนึงคือออกแบบ เน้นโจทย์ที่สื่อสารถึงอารมณ์ และเน้นการออกแบบลวดลาย หรือบางครั้งก็มีทั้งโปสเตอร์และภาพประกอบ คล้ายๆลาดกระบัง

ทฤษฎีนฤมิตศืลป์ (ค่าน้ำหนัก 15%) มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตก

ประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค

งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์

ส่วนแนวข้อสอบตรงของ มศว จะเปลี่ยนไปทุกๆปี เน้นการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญต้องมี PORTFOLIOด้วย

ส่วนทฤษฎีศิลปะเน้นคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและอนิเมชั่นด้วยนอกเหนือจากประวัติศาสตร์ศิลป์เล็กๆน้อยๆ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

[D] กลุ่มที่มีวิชาปฏิบัติและทฤษฎีอยู่ในข้อสอบเดียวกัน

คณะครุศาสตร์ ศิลปะศึกษา จุฬาฯ คือเรียนไปไม่ได้ต้องเป็นครูอย่างเดียวนะครับ ทำงานออกแบบก็ได้ครับไม่ปัญหา จะต่างกับพวกที่เรียนศิลปกรรมก็แค่มีวิชาครูและต้องฝึกสอน และใช้เวลาเรียน 5 ปี ใช้วิชาสอบคือ ความรู้ความถนัดทางศิลป์ ค่าน้ำหนัก 10% รวมกับวิชาความถนัดทางวิชาชีพครูและวิชาเลือกสอบ ANET รวมเป็น 30%

ลักษณะข้อสอบ

แบ่งเป็นทฤษฎี 40-50 ข้อ มีเนื้อหาที่ต้องอ่านคือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งไทยและตะวันตก

ประวัติศาสตร์การออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และความรู้ทั้วไปทางแฟชั่น กราฟฟิค โฆษณา คอมพิวเตอร์กราฟฟิค

งานนิทรรศการ งานออกแบบภายในและงานออกแบบเซรามิกส์ สามารถหาอ่านเอาได้แต่หลายๆเล่ม เช่นเอาความถนัดสถาปัตย์ + ประวัติศาสตร์ศิลป์

แต่เน้นของไทย และชอบออกรูปภาพของพระพุทธรูปและเจดีย์และของไทยๆ ตลอดจนรูปของศิลปินดังๆ และมีความรู้ทางจิตรกรรมและความรู้รอบตัวอย่างเช่นศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรมด้วย

ส่วนปฏิบัติจะให้ทำบนกระดาษแผ่นเล็กๆมีตั้งแต่วาดเส้น ออกแบบ sketch design หรือออกแบบโปสเตอร์ โลโก้ ฯลฯ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

จากที่ได้ดูมาข้างต้นนั้น พี่ก็อยากจะบอกว่าน้องๆควรเลือกคณะเผื่อๆไว้ด้วย ไม่ควรเลือกคณะเดียว

เพราะอุบัติเหตุในการสอบมีตลอดเวลา เช่นสีหก ไอเดียไม่ออก ทำไม่ได้ ตื่นเต้น ทำผิดโจทย์ ท้องเสียวันสอบ

เก็งผิดโจทย์ ออกในสิ่งที่ไม่ถนัดปวดหัวปวดท้องวันสอบ ดังนั้นควรจะเตรียมตัวเอาไว้เผื่อๆดูคณะอื่นที่อื่นไว้บ้าง

นี่แหละคณะที่พี่บอกไปข้างบน อันไหนเค้ามีสอบตรงอันไหนเค้าสอบไม่ตรงกัน แนะนำให้สอบๆไปให้หมดเลยครับ

นอกเหนือจากการสอบแอดมิดชั่นแล้วยังมีการสอบโคงต้าพิเศษ สอบตรงพิเศษ สอบภาคสมทบ เหล่านี้ น้องๆต้อง

คอยติดตามจากเวบไซท์ของมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเอง หรือในเวบเด็กดีนี่แหละครับ จะไปหวังให้คณุแนะแนวคอยเอา

ข่าวมาให้เรามันก็ไม่ไหวครับ เพราะบางทีครูก็งานเยอะครับ และอีกอย่าง คณะเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่นิยมในการ

สอบเข้ามากเท่าพวกสายวิศวะ

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

จริงๆ ข้อมูลที่พี่รวบรวมมาให้ข้างต้นก็แค่สำหรับน้องๆที่อยากจะทำงานทางสายนิเทศศิลป์แค่นั้น ส่วนน้องที่สนใจทางด้านอื่นๆ ก็คอยพี่ๆเค้าอัพเดทกันต่อไปครับ หรือถ้าพี่มีเวลาพอก็จะรวบรวมมาให้อีก จากข้างต้น ก็หวังว่าพอจะ

ให้ความกระจ่างบ้างนะครับไม่มากก็น้อย ซึ่งข้อมูลบางอย่างน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกในการสอบครั้งหน้า

สุดท้ายนี้ พี่ก็ขอฝากให้น้องๆ ม.4-5 ได้รีบทำความรู้จักกับสาขาเหล่านี้ว่า แท้จริงแล้วเราต้องการจะเรียนหรือไม่

ชอบหรือไม่ จะได้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาการฝึกฝนค่อนข้างมาก ส่วนรายละเอียดอื่นๆ

ถ้ามีอะไรอัพเดท แก้ไข พี่จะพยายยามหามาให้ครับ

ขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครับ

ขอขอบคุณ writer : พี่ยอด

piyawat_n@hotmail.com

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

บทความ

loading...