ปฏิทินการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2553
1. ดาว์นโหลดใบสมัครหรือขอรับใบสมัครสอบได้ที่กองบริการการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 52 – 10ม.ค. 53 ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.buu.ac.th/
2. การรับสมัคร
2.1 สมัครทางไปรษณีย์* ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 52 – 30 ธ.ค. 52 ถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ
2.2 การสมัครด้วยตนเอง อาคาร ภปร. ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างวันที่ 9 – 10 ม.ค. 53 09.00 –15.00 น. (โปรดแต่งกายชุดนักเรียนหรือชุดสุภาพ)
3. ประกาศแผนผังที่นั่งสอบ อาคาร ภปร. ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่22 ม.ค. 53 12.00 น.
4. สอบข้อเขียน มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 30 ม.ค. 53 ตามประกาศ
5. ประกาศผลการสอบข้อเขียน (มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย)
อาคาร ภปร. ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา และ เว็บไซต์ http://www.buu.ac.th/
http://service.buu.ac.th/ วันที่ 8 ก.พ.53 12.00 น.
6. สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย โรงพยาบาลพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา วันที่19 ก.พ. 53 ตามประกาศ อาคาร ภปร. ชั้น 1มหาวิทยาลัยบูรพา
7. ประกาศผลขั้นสุดท้าย วันที่ 26 ก.พ. 53
เว็บไซต์ http://www.buu.ac.th/ , http://service.buu.ac.th/
8. การรายงานตัว งานทะเบียนและสถิตินิสิต อาคาร ภปร. ชั้น 1มหาวิทยาลัยบูรพา
วันที่ 2 มี.ค. 53 ตามประกาศ
หมายเหตุ * ส่งธนาณัติ โดยสั่งจ่าย ปท.ฝ.มหาวิทยาลัยบูรพา ในนาม
ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข
อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
มหาวิทยาลัยบูรพา รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา2553
ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยบูรพาจะรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2553 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.1 ผู้สมัคร หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ใน 9 จังหวัดดังต่อไปนี้ คือ สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดปราจีนบุรี และสระแก้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันสมัคร (ก่อนวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550)
1.2 วุฒิการศึกษา
1.2.1 เป็นผู้สำ เร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าของ
กระทรวงศึกษาธิการ หรือ
1.2.2 กำลังศึกษาอยู่และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนเดือน
เมษายน พ.ศ. 2553 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่
4 – 6)
1.3 ไม่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในมหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐในปีการศึกษา 2553 ตามโครงการพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ยืนยันสิทธิกับสถาบันที่คัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว
1.4 ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมระบบการคัดเลือกนักศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยกเว้นได้ลาออกจากการศึกษาก่อนวันยื่นใบสมัคร (หากมีการลงทะเบียนในรายวิชาบังคับของชั้นปีที่สูงกว่าปีที่ 1 จะถือว่าศึกษาในชั้นปีที่เกินชั้นปีที่1)
1.5 จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย อันตรายต่อนิสิตแพทย์เอง อุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
1.5.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต(Psychotic Disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคประสาทรุนแรง (Severe NeuroticDisorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial PersonalityDisorders หรือ Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1.5.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือ
ส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1.5.3 เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง
ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1.5.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และ
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1.5.5 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1.5.5.1.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
1.5.5.1.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
1.5.6 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 –
2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discriminationscore) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineuralhearing loss)
1.5.7 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่า
เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งนี้ อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณี ตรวจเพิ่มเติมได้
1.6 เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะรับราชการได้เมื่อจบการศึกษา ตาม
คุณสมบัติที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน การรับราชการจะต้องเข้าระบบการใช้ทุนตามระเบียบของทางราชการ
1.7 ก่อนเข้าศึกษาต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียวหรือสัญญาปลายเปิดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่29 สิงหาคม พ.ศ. 2543 คือ เป็นสัญญาที่กำหนดหน้าที่ของผู้รับทุนที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาการจัดสรรฯ โดยต้องทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
3 ปีติดต่อกันตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้ผูกพันให้ส่วนราชการต้องบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ หรือเป็นพนักงานในหน่วยงานของรัฐ
หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 1.1 – 1.7ข้อใดข้อหนึ่ง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือ จงใจปกปิดข้อมูล ผู้นั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือกครั้งนี้ และแม้ว่าจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตแล้วก็ตาม จะถูกถอนสภาพการเป็นนิสิต
2. ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ มีดังนี้
ค่าสมัครสอบคัดเลือก 500 บาท
ในการส่งใบสมัครสอบทางไปรษณีย์ ให้ส่งธนาณัติตามอัตราที่ระบุข้างต้น โดยสั่งจ่ายปท.ฝ.มหาวิทยาลัยบูรพา ในนาม ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมืองจ.ชลบุรี 20131 ภายในไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ) ผู้สมัครจะต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ ที่จะให้มหาวิทยาลัยจัดส่งบัตรเลขที่นั่งสอบ (มบ.2) กลับไปยังผู้สมัครสอบได้สะดวก
หมายเหตุ มหาวิทยาลัยบูรพาไม่คืนเงินค่าสมัครสอบและหลักฐานการสมัครสอบไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
3. การรับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษา
3.1 หลักฐานประกอบใบสมัครคัดเลือก
3.1.1 รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ เป็นภาพสีหรือขาวดำ และถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป (ที่ถ่ายครั้งเดียวกัน) โดยติดในใบสมัครคัดเลือก 1 รูปและอีก 3 รูป แนบมาเพื่อติดในบัตรที่นั่งสอบ โดยเขียน ชื่อ – นามสกุล ด้านหลังให้ชัดเจนและถูกต้อง
3.1.2 ระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรมัธยมศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่4 – 6 (ปพ.1:4) ที่แสดงผลคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคต้น รวม 5 ภาคเรียน หรือ 6 ภาคเรียนในกรณีที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6แล้ว หรือใบแสดงผลการเรียนอื่นที่เทียบเท่า
3.1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ที่รับรองสำเนาถูกต้อง
3.1.4 สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้สมัคร และบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ที่
รับรองสำเนาถูกต้อง
3.1.5 สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1.4 ต้องมีหลักฐานการลาออกจากสถาบันที่เรียนอยู่ก่อนวันสมัคร
3.1.6 สำเนาการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ที่รับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
3.1.7 เอกสารรับรองการเป็นผู้ปกครอง (ถ้ามี)
3.2 การกรอกใบสมัคร
3.2.1 ติดรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ในกรอบสี่เหลี่ยม มุมบนด้านขวามือของใบสมัครคัดเลือก
3.2.2 ทำเครื่องหมาย ลงในช่อง ที่แสดงสถานภาพเพศชาย หรือหญิงของผู้สมัคร
3.2.3 กรอก ชื่อ – นามสกุลของผู้สมัคร ด้วยตัวบรรจง มีความชัดเจน
3.2.4 กรอกรายละเอียดที่อยู่ ที่มหาวิทยาลัยสามารถติดต่อได้สะดวกและรวดเร็ว
3.2.5 กรอกรายละเอียดสถานภาพทางการศึกษา ระบุชื่อโรงเรียน รหัสโรงเรียน 8 หลัก
เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ชัดเจน
3.2.6 ทำเครื่องหมาย ลงในช่อง หน้าข้อความกรณี อนุญาต หรือ ไม่อนุญาต ให้เปิดเผยข้อมูล
3.2.7 ผู้สมัครลงชื่อ และลงวันที่ เดือน พ.ศ. ในส่วนท้ายของใบสมัคร
3.3 ขั้นตอนการสมัครสอบ
ในการสมัครสอบมีขั้นตอนที่ผู้สมัครสอบจะต้องดำเนินการดังนี้
3.3.1 ดาวน์โหลดใบสมัคร ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.buu.ac.th/
3.3.2 กรณียื่นใบสมัครด้วยตนเอง
สมัครด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานประกอบการสมัคร ระหว่างวันที่ 9 – 10 มกราคม
พ.ศ. 2553 ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคาร ภปร. มหาวิทยาลัยบูรพา (โปรดแต่งกายด้วยชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพ(กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ ไม่ให้สมัคร))
3.3.3 กรณียื่นใบสมัครทางไปรษณีย์ จะต้องส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานต่าง ๆ รวมทั้งเงินค่าสมัครสอบจำนวน 500 บาท โดยสั่งจ่ายธนาณัติ ปท.ฝ. มหาวิทยาลัยบูรพา ในนามผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 ภายในไม่เกินวันที่ 30ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ)
1) ศึกษาระเบียบการ และจัดหาหลักฐานประกอบการสมัคร (ดูรายละเอียดในข้อ 4)
พร้อมทั้งกรอกข้อความต่าง ๆ ในใบสมัครให้ครบทุกส่วน
2) ผู้สมัครต้องเขียนชื่อ ที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ ในใบสมัครให้ชัดเจน เงินค่า
สมัครสอบและหลักฐานต่าง ๆ มหาวิทยาลัยจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ
3) จ่าหน้าซองจดหมาย (ขนาด 5 × 7 นิ้ว) ถึงตัวเองให้ชัดเจน เพื่อมหาวิทยาลัย
จัดส่งบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2) มายังผู้สมัครสอบได้สะดวก โดยไม่ต้องติดแสตมป์
เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับใบสมัครพร้อมหลักฐานประกอบการสมัครแล้ว จะดำเนินการ
ตรวจสอบหลักฐานออกบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2) ซึ่งถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงินค่าสมัครสอบด้วย ผู้สมัครจะต้องเก็บบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2) ไว้เป็นหลักฐาน ถ้าหากบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือกสูญหาย จะหมดสิทธิ์ในการสอบ
4. เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาและวันเวลาการสอบคัดเลือก
4.1 องค์ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา
1) GPAX ร้อยละ 5
2) GPA กลุ่มสาระ ร้อยละ 5
วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 1
คณิตศาสตร์ ร้อยละ 1
ภาษาไทย ร้อยละ 1
สังคมฯ ร้อยละ 1
ภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 1
3) คะแนนสอบข้อเขียน ร้อยละ 90
ฟิสิกส์ ร้อยละ 18
เคมี ร้อยละ 18
ชีววิทยา ร้อยละ 18
คณิตศาสตร์ ร้อยละ 18
ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 18
4) สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ผ่าน/ไม่ผ่าน
4.2 รหัสวิชา ชื่อวิชา วันเวลา และสถานที่ที่สอบ
รหัสวิชา ชื่อวิชา วันที่สอบ เวลาที่สอบ สถานที่สอบ
หมวดวิชาข้อเขียน (01 – 02)
01 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา 30 ม.ค. 2553 09.00 – 12.00 น. มหาวิทยาลัยบูรพา
02 คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 30 ม.ค. 2553 13.30 – 15.30 น. มหาวิทยาลัยบูรพา
4.3 รายละเอียดของวิชาที่สอบคัดเลือกวิชาข้อเขียน
เน้นเนื้อหาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
5. จำนวนที่รับสมัคร
ในปีการศึกษา 2553 คณะแพทยศาสตร์เปิดรับนิสิต จำนวน 32 คน
6. การประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียน (มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย)
มหาวิทยาลัยบูรพาจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งผู้สมัครคัดเลือกเข้าศึกษาสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ดังนี้
6.1 ณ อาคาร ภปร. มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป
6.2 ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.buu.ac.th/ และเว็บไซต์
คณะแพทยศาสตร์ http://med.buu.ac.th/
7. การสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย
ผู้ผ่านการสอบข้อเขียนและมีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายต้องเข้ารับการ
สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายในวัน เวลา และสถานที่ที่ปรากฏในท้ายประกาศ
8. ประกาศผลการสอบคัดเลือกขั้นสุดท้าย
มหาวิทยาลัยบูรพาจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในวันที่ 26กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งผู้สมัครคัดเลือกเข้าศึกษา สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ตามรายละเอียดในข้อ 6.1และ 6.2
9. หลักเกณฑ์ทั่วไป
9.1 ในกรณีที่มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายแล้ว ผู้นั้นไม่มาแสดงตนตามวันและเวลาที่กำหนด จะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์ในการเข้าศึกษา ซึ่งมีผลให้หมดสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกในรอบต่อ ๆ ไป
9.2 ภายหลังจากที่มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายไปแล้ว และมีผู้สละสิทธิ์ มหาวิทยาลัยจะพิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์และตรวจร่างกายเพิ่มเติม (ประกาศรับรอบที่ 2 และรอบต่อ ๆ ไป)
9.3 มหาวิทยาลัยบูรพาจะส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อตัดสิทธิ์ในระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง (Admission) ประจำปีการศึกษา 2553
9.4 ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาตามประกาศของมหาวิทยาลัยบูรพาในขั้นสุดท้ายถือว่าเป็น ผู้มีสิทธิ์รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต และเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามที่ปรากฏในประกาศ
9.5 ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาแล้วถือว่า “มีศักดิ์และมีสิทธิ์เป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาโดยสมบูรณ์”
9.6 มหาวิทยาลัยบูรพาดำเนินการแจ้งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาและรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพาต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาต่อไป
10. การรายงานตัว
10.1 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต จะต้องนำหลักฐานต่าง ๆ (ตามข้อ 11) มารายงานตัวต่องานทะเบียนและสถิตินิสิต เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต และชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยบูรพา
10.2 ถ้าผู้ที่ได้รับคัดเลือกไม่มารายงานตัวและชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ภายในวันที่ 2 มีนาคมพ.ศ. 2553 ในเวลาราชการ จะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์การเข้าเป็นนิสิต
11. หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นในวันรายงานตัว
11.1 บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง
11.2 ใบ ปพ.1:4 หรือใบแสดงผลการเรียนอื่นที่เทียบเท่า ฉบับจริง และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง
11.3 ทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน ฉบับจริง และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง
11.4 ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล (ถ้ามี) ฉบับจริง และสำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้อง
11.5 รูปถ่ายติดบัตรแต่งเครื่องแบบนิสิต หรือสวมเสื้อเชิ้ตขาว (ไม่ใช่เครื่องแบบนักเรียน) หรือชุดสากลนิยม ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป ที่ถ่ายครั้งเดียวกัน เป็นรูปสี
ภาคผนวก ก
ข้อแนะนำในการสอบ การสอบข้อเขียน
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมอุปกรณ์การสอบดังนี้
1. ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ
2. ดินสอ 2B
3. ยางลบดินสอ
การเขียนและระบายข้อความลงในกระดาษคำตอบ
1. ช่องที่ให้กรอกข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล ให้กรอกด้วยปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ
2. ในช่อง ให้ใช้ดินสอ 2B ระบายให้เต็มวง หากต้องการระบายช่องวงกลมอื่นให้ลบช่องนั้น
ด้วยยางลบให้สะอาดก่อนแล้วจึงระบายช่องที่ต้องการ
3. ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนส่งกระดาษคำตอบ
อุปกรณ์ที่ห้ามนำเข้าห้องสอบ
1. ไม้บรรทัดที่มีสูตรช่วยคำนวณ
2. อุปกรณ์ช่วยจำต่าง ๆ อาทิ บันทึก หรือหนังสือ
3. อุปกรณ์ในการคำนวณทุกชนิด
4. โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร
5. อุปกรณ์อื่นใด ที่ใช้ทุจริตในการสอบ
ภาคผนวก ข
ข้อปฏิบัติในการสมัครสอบ
เนื่องจากการรับสมัครสอบประจำปีการศึกษา 2553 นี้จะกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นที่แน่นอนว่าจะไม่มีข้อผิดพลาดอย่างใด จึงขอให้ผู้สมัครสอบทุกคนเตรียมเอกสารการสมัครสอบของตนอย่างรอบครอบดังต่อไปนี้
1. ก่อนการสมัครสอบ
1.1 การเตรียมเอกสารก่อนการสมัคร
ผู้สมัครสอบสามารถดาวน์โหลดใบสมัครสอบคัดเลือก (มบ.1) ได้จากเว็บไซต์กอง
บริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา (http://service.buu.ac.th/ ) หรือขอรับใบสมัครจากกองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา ในการสมัครสอบจะต้องเตรียมสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.1.1 ใบสมัครคัดเลือก (มบ.1) โดยปฏิบัติดังนี้
1) กรอกข้อความต่าง ๆ ตามความเป็นจริงด้วยหมึกสีน้ำเงิน หรือสีดำอย่าง
ชัดเจนครบถ้วนด้วยตัวบรรจง และเซ็นชื่อผู้สมัครในใบสมัครด้วย
2) ทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมต่าง ๆ ตามความเป็นจริงด้วยหมึกอย่าง
ครบถ้วน
3) ติดรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่
เกิน 6 เดือนนับถึงวันสมัคร โดยเขียนชื่อ – นามสกุล ด้านหลังให้ชัดเจนและถูกต้อง
1.1.2 รูปถ่ายที่มีขนาดและชนิดเดียวกับที่ติดในใบสมัคร (มบ.1) อีก 3 รูป โดยเขียน
ชื่อ – นามสกุล ด้านหลังให้ชัดเจนและถูกต้อง
1.1.3 วุฒิบัตรการศึกษา
1) ผู้สมัครสอบจะต้องนำหลักฐานฉบับจริงของวุฒิบัตรการศึกษา พร้อม
สำเนาที่รับรองถูกต้อง มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่รับสมัคร
2) ผู้ที่กำลังศึกษาในปีสุดท้าย ต้องแสดงหลักฐานใบรับรองการศึกษาโดย
สถานศึกษาเป็นผู้ออกให้
1.2 การกรอก มบ.1
ที่อยู่ที่จะติดต่อได้สะดวกระหว่างสมัครสอบ ต้องเป็นที่อยู่ที่สามารถติดต่อกับผู้สมัคร
สอบได้โดยรวดเร็วที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นโดยทางไปรษณีย์ หรือโทรศัพท์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้สมัครสอบ
2. การสมัครสอบ
2.1 การสมัครสอบด้วยตนเอง
2.1.1 เมื่อผ่านการตรวจความเรียบร้อยของชุดใบสมัครสอบแล้ว ผู้สมัครสอบจะต้อง
ยื่นชุดใบสมัครสอบต่อเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่จะพิมพ์ชื่อ – นามสกุล เพศ ตามที่ปรากฏในใบสมัคร(มบ.1) ข้อมูลจะปรากฏในจอเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สมัครสอบต้องตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง
เมื่อถูกต้องแล้วเจ้าหน้าที่จะพิมพ์บัตรเข้าสอบ (มบ.2) ให้ผู้สมัครสอบ บัตรนี้มี 4
ส่วน แต่ละส่วนมีข้อมูลเหมือนกัน ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล ของผู้สมัครสอบ เลขที่นั่งสอบ
ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ
2.1.2 เมื่อได้รับบัตรเข้าสอบ (มบ.2) จากเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์แล้ว ให้ผู้สมัครสอบ
ปฏิบัติดังนี้
1) ชำระเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ จำนวน 500 บาท เจ้าหน้าที่รับเงิน
จะเซ็นชื่อในบัตรส่วนแรกด้านซ้ายซึ่งถือเป็นใบเสร็จรับเงินด้วย
2) ให้เจ้าหน้าที่ติดรูปลงในบัตรเข้าสอบ (มบ. 2) รวม 3 ส่วน
3) เซ็นชื่อลงในบัตรเข้าสอบ (มบ.2) ให้ครบทั้ง 3 ส่วน
4) ผู้สมัครสอบเขียนเลขที่นั่งสอบลงในใบสมัครสอบ (มบ.1) เสร็จแล้ว
เจ้าหน้าที่จะเก็บรักษาใบสมัคร (มบ.1) ไว้พร้อมหลักฐานการสมัคร
5) ผู้สมัครสอบจะได้รับบัตรเข้าสอบ (มบ.2) ส่วนแรกด้านซ้ายเท่านั้น เพื่อใช้
ในการเข้าสอบและติดต่อเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก ส่วนที่เหลือเจ้าหน้าที่จะเก็บรักษาไว้
2.1.3 เมื่อสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้สมัครสอบจะได้รับเอกสารเฉพาะบัตรเข้าสอบ
(มบ.2) ซึ่งถือเป็นใบเสร็จรับเงินค่าสมัครสอบด้วย ถ้าหากบัตรเข้าสอบสูญหายจะหมดสิทธิ์ในการสอบ
2.2 การสมัครสอบทางไปรษณีย์
2.2.1 ผู้สมัครสอบจะต้องส่งใบสมัครสอบและหลักฐานต่าง ๆ รวมทั้งเงินค่าสมัคร
สอบ จำนวน 500 บาท โดยสั่งจ่ายธนาณัติ ปท.ฝ. มหาวิทยาลัยบูรพา ในนาม ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
2.2.2 ติดรูปถ่ายในใบสมัคร 1 รูป และเตรียมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป เขียน
ชื่อ – นามสกุลไว้ด้านหลังรูปส่งมาพร้อมหลักฐาน เพื่อที่มหาวิทยาลัยจะดำเนินการตรวจหลักฐาน และออกบัตรเข้าสอบ (มบ.2) มหาวิทยาลัยจะจัดส่งบัตรเข้าสอบให้ผู้สมัครตามที่อยู่ที่ผู้สมัครได้จ่าหน้าซองไว้
2.2.3 ให้ผู้สมัครตรวจสอบข้อมูลในบัตรเข้าสอบให้ถูกต้อง และลงนามในลายเซ็น
ผู้สมัครในบัตรเข้าสอบ ในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้แจ้งมาที่ กองบริการการศึกษา
3. ภายหลังการสมัคร
3.1 เมื่อสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยจะประกาศแผนผังที่นั่งสอบ ในวันที่ 22
มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 12.00 น. ณ อาคาร ภปร. ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา ขอให้ผู้สมัครสอบทำความเข้าใจกับแผนผังที่นั่งสอบด้วยความรอบคอบ
3.2 ผู้สมัครสอบต้องเก็บรักษาบัตรเข้าสอบ (มบ.2) ไว้มิให้สูญหาย ต้องนำบัตรนี้ไปวางไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบ เพื่อให้กรรมการตรวจสอบได้ทุกขณะ นอกจากนี้บัตรนี้ยังใช้ในการติดต่อกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบคัดเลือกครั้งนี้
3.3 ห้ามขีดเขียนข้อความใด ๆ ลงบนบัตรเข้าสอบ (มบ. 2) อย่างเด็ดขาด
3.4 หากบัตรเข้าสอบ (มบ.2) ชำรุดมาก ให้รีบแจ้งที่ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการสอบ เพื่อให้ออกบัตรใหม่ โดยต้องเสียค่าทำใบแทนบัตรเลขที่นั่งสอบใหม่ ฉบับละ 20บาท
ถ้าหากผู้สมัครสอบไม่มีบัตรเข้าสอบแสดงต่อกรรมการคุมสอบ จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
ที่มา : กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา