ประชาสัมพันธ์

"สุรพล"แจงมติทปอ.แอดมิสชั่นส์"54

"สุรพล"แจงมติทปอ.แอดมิสชั่นส์"54

คำนึงปัญหารับตรง-เล็งถกอีกรอบ

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11568 มติชนรายวัน

นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะรองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
เปิดเผยถึงกรณีนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.แสดงความเป็นห่วงว่าการที่ ทปอ.มีมติยืนตามองค์ประกอบและค่าน้ำหนักของระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (แอดมิสชั่นส์)
ปีการศึกษา 2553-2554 จะส่งผลให้คณะ/สาขาวิชา ของมหาวิทยาลัยต่างๆ หันไปรับตรงมากขึ้น


เนื่องจากมติ ทปอ.ไม่เป็นไปตามข้อเสนอของคณะ/สาขาวิชาที่ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนค่าน้ำหนักของบางองค์ประกอบว่าในที่ประชุม ทปอ.ครั้งที่ผ่านมา
ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาคุยอย่างกว้างขวางเพราะเข้าใจดีว่าจุดมุ่งหมายของการรับตรงมีหลายประการ หากเป็นมหาวิทยาลัยในภูมิภาค จะเปิดรับตรงเพื่อให้โอกาส
แก่เด็กในพื้นที่ แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯยอมรับว่าการเปิดรับตรงก็เพื่อให้ได้เด็กเก่งที่สุดและดีที่สุดเข้ามาเรียน ส่วนจุดประสงค์เพื่อให้โอกาสแก่เด็กนั้นมีบ้าง

แต่ไม่มาก ขณะเดียวกันที่ประชุมมองเห็นปัญหาว่าหากให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคและมหาวิทยาลัยที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ ไปเพิ่มสัดส่วนการรับนักศึกษาผ่านระบบแอดมิสชั่นส์กลาง
ก็คงไม่ได้เต็มตามเป้าหมายเนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จักและนิยมของเด็กนักเรียนที่ประชุมเห็นว่าเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนจึงควรต้องมีการหารือกันอย่าง
รอบคอบอีกครั้งโดยจะมีการหารือกันในเร็วๆ นี้


"อธิการบดีมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวและเห็นว่าการตัดสินใจใดๆ ต้องคำนึงถึงภาพรวมประเทศ เพราะถ้ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งไปรับตรงกันหมด
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยใน กทม.เด็กในพื้นที่ห่างไกลก็จะขาดโอกาส สุดท้ายนโยบายที่ต้องการส่งเสริมให้เด็กเรียนใกล้บ้านจะไม่เห็นผล ในเบื้องต้นที่ประชุม ทปอ.
เห็นว่าเรื่องรับตรงเป็นเรื่องที่แต่ละมหาวิทยาลัยต้องไปดูแลกันเอง หากมีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเปิดรับตรง ทปอ.ก็ไม่ขัดข้อง


เพียงแต่ขอความร่วมมือว่าให้แต่ละแห่งรับตรงได้ไม่เกินร้อยละ 50 หรือหากมหาวิทยาลัยใดรับเกินกว่าร้อยละ 50 อยู่แล้ว ก็ขอความร่วมมือว่าต้องไม่เพิ่มสัดส่วนขึ้นไปอีก
โดยการรับตรงดังกล่าว ทปอ.ขอให้ทุกแห่งอยู่ภายใต้ทิศทางเดียวกันและขอให้ใช้ผลคะแนนแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT)
และคะแนนแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (/PAT) มาเป็นองค์ประกอบในการคัดรับตรง รวมถึงวิธีรับตรงก็ขอให้ใช้วิธีให้เด็กส่งคะแนนสอบ GAT และ PAT
ทางไปรษณีย์ แทนการบังคับเด็กให้ต้องเดินทางมาสมัครและสอบ" นายสุรพลกล่าว

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...