ประชาสัมพันธ์

เป้าหมายการศึกษาไทย ปี 2556

ศธ.วางหมากพัฒนาการศึกษาเป็นรายจังหวัด วางเป้าปี 56 การศึกษาไทยคืบไกล คุณภาพการเรียนเพิ่มขึ้นทุกระดับ อาชีวะ-อุดมต้องผ่านประเมิน สมศ.100% แถมอัตราการเข้าเรียนพุ่ง คาดโทษล่วงหน้า จังหวัดไหนผลประเมินต่ำกว่าเป้า มีผลต่อการพิจารณาผลงานแน่นอน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการ ศึกษา (กบย.) ว่า ที่ประชุมให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 โดยแบ่งเป้าหมายออกเป็น 2 ส่วน คือ เป้าหมายร่วมที่ทุกจังหวัดต้องทำ และเป้าหมายเฉพาะของแต่ละจังหวัด สำหรับเป้าหมายร่วมจะเน้น 3 ด้านหลักๆ คือ คุณภาพทางการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา

โดยวางตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาไว้ 7 ตัวดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักของนักเรียนจะต้องขยับเพิ่มขึ้นภายในปี การศึกษา 2556 โดยระดับชั้น ป.6 ปัจจุบันอยู่ที่ 46.14% จะต้องขยับเป็น 55.62%, ระดับ ม.3 ปัจจุบันอยู่ที่ 37.59% ต้องขยับเป็น 46.96% และระดับ ม.6 ปัจจุบันอยู่ที่ 36.08% ต้องขยับเป็น 45.76% ตัวชี้วัดที่ 2.คือสถานศึกษาต้องผ่านเกณฑ์ประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ภายในปี 56 สถานศึกษาจะต้องผ่านประเมินในเกณฑ์ที่กำหนด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันผ่านเกณฑ์อยู่ที่ 79.09% ต้องเพิ่มเป็น 97.09% ส่วนระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่ต้องผ่านประเมินจาก สมศ.100% ตัวชี้วัดที่ 3 การทำให้ผู้เรียนเป็นคนดีโดยใช้นโยบาย 3D 4.การทำให้ผู้เรียนมีความสุขและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยซึ่งปัจจุบันพบ ว่าความสุขของนักเรียนอยู่ที่ 57.8% ต้องเพิ่มเป็น 72.8% ในปี 56 ตัวชี้วัดที่ 5.ห้องสมุดต้องได้รับการพัฒนาเป็นห้องสมุด 3D จากปัจจุบัน 8,090 ห้อง ต้องเพิ่มเป็น 30,746 ห้อง ตัวชี้วัดที่ 6.ผู้ไม่รู้หนังสือจะต้องลดลง โดยปัจจุบันอยู่ที่ 2.87% ต้องลดเหลือ 0.70% และ 7.ผู้เรียนต้องมีความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน

เป้าหมายและโอกาสทางการศึกษากำหนดไว้ว่า ปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้น โดยประชากรอายุ 15-39 ปี ปัจจุบันปีการศึกษาเฉลี่ย 10.6 ปี ต้องเพิ่มเป็น 11.9 ปี ช่วงอายุ 40-59 ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 7.7 ปี ต้องเพิ่มเป็น 9.2 ปี นอกจากนั้นอัตราการเข้าเรียนของประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 81% เพิ่มเป็น 86% ส่วนการมีส่วนร่วมทางการศึกษานั้นตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องเพิ่มสัดส่วนนัก เรียนระหว่างรัฐบาลและเอกชน จากปัจจุบันรัฐบาลอยู่ที่ 81% ต่อเอกชน 19% เป็นรัฐบาล 71% เอกชน 29% และเพิ่มสัดส่วนนักเรียนสายสามัญกับสายอาชีพ ปัจจุบันอยู่ที่สายสามัญ 62% ต่อสายอาชีพ 38% เป็นสายสามัญ 53% ต่อสายอาชีพ 47%

"โดยการขับเคลื่อนในระดับจังหวัดมอบหมายให้ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 (สพท.เขต 1) ทำหน้าที่เป็นประธานในการขับเคลื่อน โดยดึงภาคเอกชน รัฐบาล และท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และต้องรายงานความคืบหน้าให้ ศธ.ทราบทุก 3 เดือน ถ้าจังหวัดใดทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ก็จะมีผลต่อการพิจารณาผลงาน แต่ถ้าจังหวัดใดประสบความสำเร็จตามเป้าก็จะได้รับความดีความชอบ" นายจุรินทร์กล่าว.

Credit ไทยโพสต์

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

บทความ

loading...