ประชาสัมพันธ์

ตารางสอบ สมาร์ทวัน 2553





SMART ระดับปริญญาตรี (SMART-I)
กำหนดการสอบ                                              สมัครสอบคลิ้กที่นี่
ครั้งที่รับสมัครวันสอบ
1/255318 ม.ค. - 24 ม.ค. 537 ก.พ. 53
2/25533 พ.ค. - 9 พ.ค. 5323 พ.ค. 53
3/255321 มิ.ย. - 27 มิ.ย. 5311 ก.ค. 53
4/255319 ก.ค. - 25 ก.ค. 538 ส.ค. 53
5/255316 ส.ค. - 22 ส.ค. 535 ก.ย. 53
6/255322 พ.ย. - 28 พ.ย. 5312 ธ.ค. 53

ตัวอย่างข้อสอบเกณฑ์รับตรงฯ    เกณฑ์ BBA
ตารางแจกแจงคะแนน
เกี่ยวกับ สมาร์ทวัน

ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Scholastic Management Aptitude Requirement Test (SMART) Center at Thammasat University

รู้จัก SMART Center @Thammasat
ด้วยความพร้อมด้านองค์ความรู้ทางการจัดการและประสบการณ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาด้านบริหารธุรกิจมานานกว่า 30 ปี คณะฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการทดสอบความรู้และทักษะด้านการจัดการที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ โดยภาระงานของศูนย์ฯที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้

  • ให้บริการทดสอบความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
  • ให้บริการประเมินความรู้ความสามารถของบุคคลเพื่อบรรจุเข้าตำแหน่งงานที่เหมาะสม
  • ให้บริการประเมินความรู้ความสามารถในทางวิชาชีพที่มีมาตรฐาน
  • เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการวิจัยและพัฒนาความสามารถและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์

SMART Center @ Thammasat มีรูปแบบการจัดสอบดังนี้ 


SMART for Undergraduate Level สำหรับระดับปริญญาตรี

SMART for Undergraduate Level คืออะไร
ข้อสอบ SMART for Undergraduate Level เป็นชุดข้อสอบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือในรูปแบบต่างๆ เพื่อประเมินความพร้อมและความเหมาะสมของบุคคลในการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ

SMART for Undergraduate Level ใช้กับใคร
ผู้เข้าทดสอบ SMART for Undergraduate Level โดยส่วนใหญ่ คือ ผู้ประสงค์เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ (BBA) ผ่านโครงการรับตรง (Direct Entrance) ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะฯได้มอบหมายภารกิจในการจัดสอบให้แก่ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้พัฒนาแบบทดสอบชุดนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจของคณะฯ

SMART for Undergraduate Level วัดอะไร
การทดสอบข้อเขียนโดยใช้ข้อสอบ SMART for Undergraduate Level นั้นจุดมุ่งหมายประการสำคัญ คือ การวัดระดับความสามารถทางวิชาการที่จำเป็นและเหมาะสมในการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจของนักศึกษา โดยผลการทดสอบนั้นจะสะท้อนความสำเร็จของการเรียนในระดับปริญญาตรี ข้อสอบ SMART for Undergraduate Level เป็นมาตรวัดที่มีทั้งความเที่ยง(Reliability) และความตรง (Validity) ของกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาโดยผู้สมัครจะเข้าทดสอบด้วยแบบทดสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผลสอบที่ออกมาสามารถนำไปเปรียบเทียบระหว่างผู้สมัครได้อย่างเป็นรูปธรรม

SMART for Undergraduate Level มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ SMART for Undergraduate Level เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความพร้อมของผู้เข้าสอบในการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ (ข้อสอบเป็นภาษาไทย) โดยประกอบด้วย

  • วัดความสามารถด้านคณิตศาสตร์ (60 นาที)
  • วัดความสามารถด้านการอ่าน (60 นาที)
  • วัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (60 นาที)
  • วัดความรู้รอบตัว (15 นาที)
      ข้อสอบส่วนที่ 1 เป็นข้อสอบซึ่งวัดความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ โดยเน้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพีชคณิต จำนวนจริง เซต ฟังก์ชัน เรขาคณิตวิเคราะห์ ลำดับและอนุกรม วิธีเรียงสับเปลี่ยนและจัดหมู่ ความน่าจะเป็น และสถิติ
      
ข้อสอบส่วนที่ 2 เป็นข้อสอบซึ่งวัดความสามารถในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และสรุปประเด็นของข้อความหรือบทความ ซึ่งความสามารถด้านการอ่านเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ
      
ข้อสอบส่วนที่ 3 เป็นข้อสอบซึ่งวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นทักษะด้านการอ่านบทความ คำศัพท์ และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
      
ข้อสอบส่วนที่ 4 เป็นข้อสอบซึ่งวัดความรอบรู้ในด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี รวมถึงข่าวสารต่างๆ ในปัจจุบัน ความรอบรู้ในด้านต่างๆ เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญซึ่งบ่งบอกถึงความเหมาะสมในการศึกษาด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจ
ข้อสอบทั้ง 4 ส่วนเป็นข้อสอบแบบปรนัย ทั้งหมด

SMART for Undergraduate Level ใช้อย่างไร
การสอบข้อเขียนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี เพราะการสอบข้อเขียนจะแสดงระดับความสามารถทางวิชาการที่ผลักดันให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการเรียนระดับปริญญาตรี ลักษณะของแบบทดสอบข้อเขียนสามารถประเมินความพร้อมและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านการอ่าน ความรอบรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ อันเป็นทักษะและความสามารถที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ ผลสอบ SMART for Undergraduate Levelจะนำไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจผ่านโครงการรับตรงของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ (BBA) โดยผลคะแนนที่นำมายื่นประกอบนั้นจะถูกพิจารณาความสำคัญในลำดับแรกๆ ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น การใช้ผลสอบ SMART for Undergraduate Level ในการคัดเลือกนักศึกษาช่วยให้คณะฯ สามารถกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตร โดยข้อสอบ SMART for Undergraduate Level ประเมินความสามารถ 4 ด้าน ซึ่งการกำหนดสัดส่วนหรือน้ำหนักสำหรับผลสอบในแต่ละส่วนอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละหลักสูตร จึงทำให้คณะฯ สามารถคัดเลือกนักศึกษาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละหลักสูตรได้ นอกจากนี้การประเมินความสามารถทั้ง 4 ด้านนั้นถูกออกแบบและพัฒนาให้เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทยและระบบการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดี ดังนั้น SMART for Undergraduate Level จึงเป็นแบบทดสอบข้อเขียนที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ

ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ SMART for Undergraduate Level 450 บาท/ครั้ง





SMART for Graduate Level สำหรับระดับปริญญาโท

SMART for Graduate Level คืออะไร
ข้อสอบ SMART (Scholarly Management Aptitude Requirement Test) เป็นชุดข้อสอบที่ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือในรูปแบบต่างๆเพื่อประเมินศักยภาพทางด้านการจัดการของผู้เข้าทดสอบ โดย SMART for Graduate Level จะเป็นแบบทดสอบในการประเมินความสามารถของบุคคลในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

SMART for Graduate Level ใช้กับใคร
ผู้เข้าทดสอบ SMART for Graduate Level โดยส่วนใหญ่ คือ ผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในอดีตที่ผ่านมาโครงการปริญญาโทของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีได้คัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อด้วยแบบทดสอบแนว GMAT แต่ในปัจจุบันคณะฯ ได้มอบหมายภารกิจในการจัดสอบให้แก่ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางศูนย์ฯ จึงได้พัฒนาแบบทดสอบชุดนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของคณะฯ อันได้แก่

-
โครงการปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA)
-
โครงการปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (MBA-HRM)
-
โครงการปริญญาโททางการบัญชี (MAP)
-
โครงการปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE)
-
โครงการปริญญาโทระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MSMIS)

SMART for Graduate Level วัดอะไร
การทดสอบข้อเขียนโดยใช้ข้อสอบ SMARTSMART for Graduate Level นั้นจุดมุ่งหมายประการสำคัญ คือ การวัดระดับความสามารถทางวิชาการที่จำเป็นในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางบริหารธุรกิจของนักศึกษา โดยแบบทดสอบนั้นจะสะท้อนความสำเร็จของการเรียนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงปีแรกของการศึกษา จากผลการวิจัยของ Graduate Management Aptitude Council ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแบบทดสอบทางด้านการคัดเลือกเข้าศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ หรือ GMAT กล่าวว่า การทดสอบข้อเขียนจะสามารถวัดความสามารถทางวิชาการที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมายทางการเรียนทางบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา
    ด้วยเหตุนี้ การสอบข้อเขียนจึงเป็นมาตรวัดที่ประกอบไปด้วยเที่ยง(Reliability)และตรง(Validity) ของกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโดยผู้สมัครจะเข้าทดสอบด้วยแบบทดสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งผลสอบที่ออกมาสามารถนำไปเปรียบเทียบระหว่างผู้สมัครได้

SMART for Graduate Level มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
SMART for Graduate Level จะมี 2 ส่วนซึ่งจะมุ่งเน้นวัดความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อประเมินความพร้อมของผู้สมัคร ดังนี้
      
ส่วนที่ 1 การเลือกใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ ข้อสอบในส่วนนี้จะเน้นการประเมินศักยภาพเชิงคณิตศาสตร์ของผู้เข้าทดสอบ โดยวัดความสามารถในการตัดสินใจเลือกข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้ง 2 ด้าน คือ ความสามารถในการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ(Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) โดยในส่วนแรกผู้เข้าทดสอบจะต้องเลือกชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการหาคำตอบ (ประสิทธิภาพ) และในส่วนที่สองผู้เข้าทดสอบต้องสามารถแก้ปัญหาให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง (ประสิทธิผล) ซึ่งผู้เข้าทดสอบจะต้องมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความเข้าใจหลักเบื้องต้นอย่างเพียงพอในการทำแบบทดสอบส่วนนี้
      
ส่วนที่ 2 การอ่านเชิงวิเคราะห์ ข้อสอบส่วนนี้เป็นการประเมินความสามารถในการทำความเข้าใจและวิเคราะห์การอ่าน ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ การทดสอบการอ่านจะวัดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และการจำแนกประเภทของข้อมูล การตีความความหมายของเรื่องที่อ่าน รวมไปถึงการเชื่อมโยงข้อมูลและการระบุทัศนะของผู้เขียนออกจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบทความ นอกจากนี้การประเมินยังเน้นการวิเคราะห์ข้อความอย่างสมเหตุสมผลของผู้เข้าทดสอบด้วย


SMART for Graduate Level ใช้อย่างไร
การสอบข้อเขียนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เพราะการสอบข้อเขียนจะแสดงระดับความสามารถทางวิชาการที่ผลักดันให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการเรียนระดับปริญญาโท เนื่องจากลักษณะของแบบทดสอบข้อเขียนสามารถประเมินทักษะด้านการจัดการและทักษะพื้นฐานในการศึกษาต่อได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะด้านการอ่านอันเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนระดับสูง สำหรับกระบวนการคัดเลือกของสาขาบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา ผลสอบ SMART for Graduate Level จะนำไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี โดยผลคะแนนที่นำมายื่นประกอบนั้นจะถูกพิจารณาความสำคัญในลำดับแรกๆ ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ การทดสอบ SMART for Graduate Level ยังสามารถกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาตามความต้องการของแต่ละหลักสูตร โดยข้อสอบ SMART for Graduate Level จะวัดทักษะ 2 ด้าน ซึ่งการกำหนดสัดส่วนหรือน้ำหนักของแบบทดสอบทั้ง 2 ส่วนแตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้โครงการสามารถคัดเลือกนักศึกษาให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด การประเมินทักษะดังกล่าวจะถูกออกแบบและพัฒนาให้เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทยและระบบการศึกษาของไทยเพื่อให้ผลคะแนนออกมาอย่างเที่ยงตรง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการทดสอบ SMART-II จึงเป็นแบบทดสอบข้อเขียนที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางบริหารธุรกิจ

ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ SMART for Graduate Level 750 บาท/ครั้ง

ที่มา : http://smart.bus.tu.ac.th/

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...