(7ก.ค.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ให้สัมภาษณ์ผลการประเมินภายนอกรอบที่2(พ.ศ.2549-2552) ของสำนักงานรรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)ที่ประเมินสถาน ศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
เช่น โรงเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ โรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษ จ.สงขลา และโรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่ผลปรากฏว่าค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ และมาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ว่า ผลการประเมินนี้ตรงกับผลแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ที่พบว่านักเรียนกลุ่มนี้ทำคะแนนได้ไม่เกินครึ่งจริง
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่านักเรียนโรงเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์ไม่น่าจะทำคะแนนO-NET ได้ต่ำ เพราะคัดเด็กเก่งมาเรียน นั้น จริง ๆแล้วโรงเรียนนี้ไม่ได้คัดแต่เด็กเก่งเท่านั้น แต่ให้โอกาสเด็กในพื้นที่ด้วย อาจจะทำให้คะแนนO-NET ต่ำได้ แต่ถ้ามาดูนักเรียนเป็นรายคนหรือเฉพาะบางวิชาเด็กทำคะแนนสูงมาก ดังนั้นไม่จำเป็นว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิทยา ศาสตร์ จะต้องเก่งทุกคนเสมอไป ยกเว้นเด็กโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่เก่งทุกคน และทำคะแนนทุกวิชาเกิน 80 %
“จากผลการประเมิน สมศ. เสนอให้สทศ.กลับมาดูว่าข้อสอบ O-NETว่า ยากเกินไปหรือไม่ และสามารถวัดเด็กได้ตรงตามศักยภาพที่แท้จริงหรือไม่ นั้น สทศ.ยืนยันว่าจะไม่มีการปรับข้อสอบ เพราะจากการประเมินข้อสอบที่ผ่านมาพบว่ารูปแบบข้อสอบมีความหลากหลาย มีอำนาจในการจำแนกเด็กเก่งและเด็กไม่เก่ง และลดการเดาของเด็กได้ด้วย ที่สำคัญข้อสอบออกตามมาตรฐานการเรียนเรียน 8 กลุ่มสาระ 76 มาตรฐาน และ ไม่เกินหลักสูตร ส่วนเรื่องของความยากง่ายของข้อสอบ เท่า ที่ดูข้อสอบยากปานกลาง คือ ยาก 20 % ปานกลาง 60 % และ 20 % ดังนั้นถ้าเด็กยังทำคะแนนได้ไม่ถึงครึ่งก็ต้องกลับมา ถามว่าโรงเรียนสอนอะไรให้กับเด็กบ้าง เด็กถึงทำคะแนนได้น้อย และสทศ.ไม่ปรับข้อสอบให้ง่ายไปกว่านี้แล้ว เราต้องคงมารฐานของข้อสอบไว้ ” ศ.ดร.อุทุมพร กล่าว
Credit คมชัดลึก