หลักการเลือกคณะหลังจากที่นักเรียนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ก้าวต่อไปของชีวิตการศึกษาคือการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย และปัญหาที่ตามมาคือ นักเรียนไม่สามารถตัดสินใจเลือกคณะที่จะเข้าศึกษาต่อได้อย่างมั่นใจ ทำให้มีการเปลี่ยนคณะ เปลี่ยนสถานศึกษาในภายหลัง เสียเวลา เสียโอกาส และค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ดังนั้นนักเรียนจึงควรเตรียมความพร้อมก่อนการเลือกคณะ โดยใช้หลักดังต่อไปนี้
หาข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเริ่มจาการพิจารณาความสามารถทางการเรียนของตน ลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพ ค้นหาความถนัดหรือทักษะพิเศษ จากนั้นพยายามทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อค้นหาความชอบหรือความสนใจในสาขาวิชาชองคณะต่างๆ ควรเริ่มตั้งเป้าหมายชีวิตและอาชีพในอนาคตไว้แต่เนิ่นๆ สุขภาพและลักษณะทางร่างกายก็จัดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากบางคณะมีการตั้งคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาด้านสุขภาพเป็นพิเศษ
หาข้อมูลเกี่ยวกับคณะนั้นๆควรหาให้ครอบคลุมและละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ระยะเวลาในการศึกษา คุณวุฒิเมื่อสำเร็จการศึกษา ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมต่างๆ คุณสมบัติของผู้สมัคร อาชีพในสายงานนั้น ความก้าวหน้า และแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงาน
เมื่อได้พิจารณาถึงลักษณะนิสัย ความถนัด ความสามารถทางการเรียน และข้อมูลเกี่ยวกับคณะนั้นๆ ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อแล้ว ผู้สนใจเข้าศึกษาต่อยังสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ จากฝ่ายแนะแนวของโรงเรียนที่สังกัดอยู่ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ คณะต่างๆ ได้http://www.chula.ac.th/chula/th/faculty/index.html
เว็บไซต์ การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ ( Chula Admissions )
http://www.admissions.chula.ac.th/
และเว็บไซต์ กิจการวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttp://www.academic.chula.ac.th/thaiver/
หลักการเลือกคณะ
หลังจากที่นักเรียนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ก้าวต่อไปของชีวิตการศึกษาคือการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย และปัญหาที่ตามมาคือ นักเรียนไม่สามารถตัดสินใจเลือกคณะที่จะเข้าศึกษาต่อได้อย่างมั่นใจ ทำให้มีการเปลี่ยนคณะ เปลี่ยนสถานศึกษาในภายหลัง เสียเวลา เสียโอกาส และค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ดังนั้นนักเรียนจึงควรเตรียมความพร้อมก่อนการเลือกคณะ โดยใช้หลักดังต่อไปนี้
หาข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
เริ่มจาการพิจารณาความสามารถทางการเรียนของตน ลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพ ค้นหาความถนัดหรือทักษะพิเศษ จากนั้นพยายามทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อค้นหาความชอบหรือความสนใจในสาขาวิชาชองคณะต่างๆ ควรเริ่มตั้งเป้าหมายชีวิตและอาชีพในอนาคตไว้แต่เนิ่นๆ สุขภาพและลักษณะทางร่างกายก็จัดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากบางคณะมีการตั้งคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาด้านสุขภาพเป็นพิเศษหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะนั้นๆ
ควรหาให้ครอบคลุมและละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ระยะเวลาในการศึกษา คุณวุฒิเมื่อสำเร็จการศึกษา ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมต่างๆ คุณสมบัติของผู้สมัคร อาชีพในสายงานนั้น ความก้าวหน้า และแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานเมื่อได้พิจารณาถึงลักษณะนิสัย ความถนัด ความสามารถทางการเรียน และข้อมูลเกี่ยวกับคณะนั้นๆ ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อแล้ว ผู้สนใจเข้าศึกษาต่อยังสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ จากฝ่ายแนะแนวของโรงเรียนที่สังกัดอยู่ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ คณะต่างๆ ได้http://www.chula.ac.th/chula/th/faculty/index.html
เว็บไซต์ การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ ( Chula Admissions )
http://www.admissions.chula.ac.th/
และเว็บไซต์ กิจการวิชาการ สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttp://www.academic.chula.ac.th/thaiver/