ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กกอ.ได้หารือเกี่ยวกับการปฏิรูปอุดมศึกษารอบ 2 ในประเด็นการยกร่าง พ.ร.บ.อุดมศึกษาฉบับใหม่ ซึ่งจะเป็นกฎหมายกลาง เพื่อให้การกำกับดูแลอุดมศึกษาครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยยกระดับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่จะประสานทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุดมศึกษาแทนที่จะใช้อำนาจสั่งการ ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งในการดูแลสถาบันอุดมศึกษา
ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีสถาบัน อุดมศึกษาเกิดใหม่จำนวนมาก ขณะที่ สกอ.ก็ให้ความเป็นอิสระแก่มหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก อาทิ การให้อำนาจสภามหาวิทยาลัยในการอนุมัติหลักสูตรได้เอง โดย สกอ.รับทราบเท่านั้น จนอาจทำให้เกิดปัญหาที่ว่าหากผู้บริหารบางคนเปิดสอนหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพและรับนักศึกษาเข้ามาเรียนก่อนโดยยังไม่ให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาก็จะเกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สะท้อนว่าระบบอุดมศึกษาอ่อนแอ แต่ต้องยอมรับว่ายังมีสภามหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เข้มแข็งก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าแห่งใดไม่เข้มแข็งและไม่สามารถกำกับดูแลผู้บริหารได้ก็จะทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งยังมีอยู่มาก
“ขณะนี้ดูเหมือนว่า สกอ. ออกกฎหมายเพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ แต่กฎหมายเหล่านี้มีผลกระทบกับมหาวิทยาลัยเพียง 10% เท่านั้น เพราะหน่วยงานที่เป็นยักษ์ใหญ่และมีอำนาจกับสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่จริง ๆ กลับเป็นสำนักงบประมาณ และหน่วยงานประเมินต่าง ๆ ทาง กกอ.จึงหวังว่าการมีกฎหมายอุดมศึกษาฉบับใหม่จะทำให้ สกอ.มีบทบาทกับมหาวิทยาลัยได้มากขึ้น” ประธาน กกอ. กล่าว
ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีสถาบัน อุดมศึกษาเกิดใหม่จำนวนมาก ขณะที่ สกอ.ก็ให้ความเป็นอิสระแก่มหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก อาทิ การให้อำนาจสภามหาวิทยาลัยในการอนุมัติหลักสูตรได้เอง โดย สกอ.รับทราบเท่านั้น จนอาจทำให้เกิดปัญหาที่ว่าหากผู้บริหารบางคนเปิดสอนหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพและรับนักศึกษาเข้ามาเรียนก่อนโดยยังไม่ให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาก็จะเกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สะท้อนว่าระบบอุดมศึกษาอ่อนแอ แต่ต้องยอมรับว่ายังมีสภามหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เข้มแข็งก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าแห่งใดไม่เข้มแข็งและไม่สามารถกำกับดูแลผู้บริหารได้ก็จะทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งยังมีอยู่มาก
“ขณะนี้ดูเหมือนว่า สกอ. ออกกฎหมายเพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ แต่กฎหมายเหล่านี้มีผลกระทบกับมหาวิทยาลัยเพียง 10% เท่านั้น เพราะหน่วยงานที่เป็นยักษ์ใหญ่และมีอำนาจกับสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่จริง ๆ กลับเป็นสำนักงบประมาณ และหน่วยงานประเมินต่าง ๆ ทาง กกอ.จึงหวังว่าการมีกฎหมายอุดมศึกษาฉบับใหม่จะทำให้ สกอ.มีบทบาทกับมหาวิทยาลัยได้มากขึ้น” ประธาน กกอ. กล่าว