ประชาสัมพันธ์

แนะนำ คณะและสาขาที่เปิดสอน ระดับปริญญาตรีในประเทศไทย

คณะแพทยศาสตร์

แพทย์ เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการตรวจโรค วินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนส์สัมผัส การแทงเข็ม หรือการฝังเข็มเพื่อการบำบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึก และหมายรวมถึง การทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสาร การสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย การเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกาย แพทย์ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จะเป็นแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มุ่งให้ประชาชนในขาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า สามารถวางแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนใช้เทคโนโลยีได้อย่าง เหมาะสม ตามความจำเป็นของผู้ป่วย และสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารตลอดจนมีคุณธรรม และความรับผิดชอบต่อหน้าที่คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เป็นผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว รักและชอบที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์
แนวทางในการประกอบอาชีพ การศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐนั้น รัฐต้องมีค่าใช้จ่ายโดยตรงต่อนิสิต -นักศึกษา แต่ละคนในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นจึงถือว่าผู้ที่เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน และจะต้องทำสัญญาที่จะปฏิบัติงานตามความต้องการของทางราชการเป็นเวลา 3 ปี (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน) หลังจากปฏิบัติงานตามความต้องการของทางราชการเพื่อชดใช้ทุนแล้ว แพทย์ที่สนใจสามารถกลับเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งทางด้านวิชาการและ วิชาชีพ เช่นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือเข้ารับการฝึกอบรมในสาขาวิชาชีพหลักสูตร 3 ปี เพื่อวุฒบัตรแพทย์เฉพาะทางของแพทยสภา

คณะทันตแพทยศาสตร์

ทันตแพทยศาสตร ์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องฟัน อวัยวะในช่องปาก และอวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยออกเสียงและส่งเสริมบุคลิกภาพอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์ของ ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย วางแผน และบำบัดรักษาโรคในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบูรณะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ อีกทั้งมีความสามารถในการป้องกันโรคฟันผุแก่ชุมชน เผยแพร่ความรู้ทางทันตสุขศึกษา และทำการวิจัยทางด้านทันตแพทย ศาสตร์ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จะต้องเป็นผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้ นอกจากนี้ควรเป็นผู้มีฝีมือปั้นพอสมควร
แนวทางในการประกอบอาชีพ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จะมีความรู้ความสามารถในทางทันตกรรม และสามารถประกอบอาชีพได้ ดังนี้
1.เป็น อาจารย์สอนและวิจัย เป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย ฯลฯ
2. ประกอบอาชีพสาขาทันตกรรมในคลินิกส่วนตัวและโรงพยาบาลเอกชน

คณะสัตวแพทยศาสตร์


คณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการดูแลสุขภาพสัตว์ การบำบัดรักษาป้องกัน และการวินิจฉัยโรคสัตว์ การเพิ่มผลผลิตสัตว์อาหาร และพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งงานด้านการควบคุม และพัฒนาคุณภาพของชีวภัณฑ์ และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ตลอดจนงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วยการป้องกันโรคสัตว์ที่ติดต่อถึงมนุษย์ และการควบคุมสุขศาสตร์อาหารที่ได้จากสัตว์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ ควรมีพื้นฐานด้านชีววิทยาเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่มีความพิการและโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เพราะระหว่างการศึกษาจะต้องเรียนและฝึกงานอย่างมาก ในการรักษาสัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์ในท้องที่ต่างจังหวัด และควรเป็นผู้มีความเมตตาต่อสัตว์
แนวทางในการประกอบอาชีพ อาจแบ่งได้เป็น 3 สายงานหลัก คือ
1.สายงานราชการ องค์กร และรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กระทรวงกลาโหม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย และสวนสัตว์ ฯลฯ
2.สายงานเอกชน ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ ธุรกิจผู้ค้า และผู้ประกอบกิจการด้านชีวภัณฑ์ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์และอาหารสัตว์ รวมทั้งธุรกิจฟาร์มสัตว์อาหารชนิดต่าง ๆ และสถานประกอบการบำบัดโรคสัตว์
3.ประกอบอาชีพส่วนตัว ได้แก่ เปิดคลินิกรักษาสัตว์ เป็นต้น


คณะสหเวชศาสตร์ / เทคนิคการแพทย์

สหเวชศาสตร์ / เทคนิคการแพทย์ คือ คณะซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์หลายสาขา ในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1.สาขาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการในการวิเคราะห์ วิจัย สุ่มตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์ เพื่อนำผลการตรวจไปใช้ในการประเมินสุขภาพ วินิจฉัยโรค ติดตามการดำเนินของโรค และผลของการรักษา
2.สาขากายภาพบำบัด เป็นวิชาชีพที่กระทำโดยตรงต่อร่างกายมนุษย์ในการตรวจ ประเมิน วินิจฉัย บำบัดความบกพร่องของร่างกาย ที่เกิดจากภาวะของโรคและการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ อันเนื่องมาจากความเจ็บปวดและภาวะของโรค การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการแก้ไข และการฟื้นฟูการเสื่อมสภาพความพิการของร่งกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การเคลื่อนไหว การออกกำลังตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือ การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
3.สาขารังสีเทคนิค เป็นวิชาชีพที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการให้บริการทางเทคนิคในการตรวจวิเคราะห์ และรักษาด้วยเครื่องมือทางรังสี รวมทั้งการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วย หรือผู้มารับบริการทางเทคนิค ในการตรวจวิเคราะห์และรักษาด้วยเครื่องมือทางรังสี แบ่งออกเป็น
งานทางรังสีวินิจฉัย เช่น จัดนำผู้ป่วย และถ่ายภาพเอกซ์เรย์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยกำหนดค่าปริมาณรังสีที่พอเหมาะ (Optimum Exposure Factor) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย ได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุด ( Minimum Radiation Absorbed Dose) และภาพรังสีที่ได้มีคุณภาพดี
ถ่ายภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยระบบดิจิตอลอิมเมจจิน เช่น เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องอัลตราซาวนด์ เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น โดยจัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม ปรับตั้งโปรแกรม เลือกพารามิเตอร์ ที่ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดี บันทึกภาพ เก็บข้อมูลและสามารถเรียกข้อมูลกลับมาดูใหม่ได้อย่างถูกต้อง ร่วมมือกับแพทย์ในการตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย เช่น การตรวจระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และการตรวจทางรังสีร่วมรักษา เช่น การขยายหลอดเลือด ควบคุมดูแลการใช้งานและ การเก็บรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์บันถึงภาพทางรังสี เช่น ฟิล์ม น้ำยาล้างฟิล์ม เครื่องล้างฟิล์ม เป็นต้น ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดีสม่ำเสมอ ตรวจสอบการประกันคุณภาพ และบำรุงรักษาเครื่องมือทางรังสีวินิจฉัย และร่วมรับผิดชอบง่านป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วย บุคคลที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป งานทางรังสีรักษา เช่น วางแผนการรักษามะเร็งด้วยรังสี โดยกำหนดตำแหน่งและขอบเขตของก้อนมะเร็งด้วยเครื่องจำลองการรักษา เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ และตรวจสอบผลการรักษาเป็นระยะ ๆ ด้วยเครื่องมือดังกล่าว จัดท่าทางฉายรังสีแก่ผู้ป่วยเพื่อฉายรังสีเอกซ์เรย์พลังงานสูง รังสีแกมมา หรืออิเล็กตรอน จากเครื่องกำเนิดรังสีไปยังก้อนมะเร็ง หรือสอดใส่สารกัมมันตรังสีสู่ร่างกายเพื่อทำลายมะเร็งจากการควบคุมระยะไกล และระยะใกล้ จัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยในการฉายรังสี เช่น หน้ากาก สำหรับผู้ป่วย อุปกรณ์จับยึดเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหว อุปกรณ์กำบังรังสี เป็นต้น คำนวณหาแผนภูมิการกระจายรังสีของแต่ละพื้นที่การรักษา เพื่อให้ได้แผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด รวมทั้งคำนวณหาเวลาการฉายรังสีที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง ร่วมตรวจสอบการประกันคุณภาพ และบำรุงรักษาเครื่องมือทางรังสีรักษา ร่วมรับผิดชอบงานป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วย บุคคลที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป
งานทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น ควบคุมการทำงานเครื่องถ่ายภาพและบันทึกภาพการทำงานของ
อวัยวะภายในด้วยสารกัมมันตรังสี และเครื่องนับวัดปริมาณรังสีจากร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับการฉีด การกิน การสูดดมสารเภสัชรังสีเพื่อวินิจฉัย และหรือติดตามผลการรักษาโรค สำหรับเครื่องถ่ายระบบดิจิตอล เช่น SPEC , PET สามารถปรับตั้งพารามิเตอร์ ให้ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพดีที่สุด ประมวลผลภาพและสามารถเรียกข้อมูลภาพกลับมาดูได้อย่างถูกต้อง ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการสร้างภาพและคำนวณค่าทางสรีรวิทยาจากภาพได้อย่างถูกต้อง ใช้วิธีการทางห้องปฏิบัติการร่วมกับสารกัมมันตรังสี ในการวิเคราะห์ตรวจสอบสิ่งที่ส่งมาตรวจจากผู้ป่วย ตลอดจนการควบคุมการทำงานเครื่องนับวัดปริมาณรังสี วัดสิ่งส่งตรวจ แล้วรายงานผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและพยากรณ์ความรุนแรงของโรค ร่วมตรวจสอบการประกันคุณภาพ และบำรุงรักษาเครื่องมือทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ ร่วมจัดระบบการเก็บสารกัมมันตรังสี การกำบังรังสี การป้องกันการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีระหว่างคน เครื่องมือ และสิ่งแวดล้อม การกำจัดกากกัมมันตรังสีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร่วมรับผิดชอบงานป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป
4. สาขากิจกรรมบำบัด เปิดการศึกษาเพื่อผลิตนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งเป็นบุคคลากรหนึ่งในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่มุ่งเน้นให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความพิการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีความเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการทางด้านร่างกาย จิต สังคม พัฒนาการ การรับรู้ และความรู้ความเข้าใจ ด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งได้แก่ การใช้กิจกรรมที่ได้วิเคราะห์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การใช้เครื่องพยุงส่วนของร่างกาย หรืออุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษในการบำบัดรักษาเฉพาะทาง เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ นักกิจกรรมบำบัด จะให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ ด้านพัฒนาการ ด้านอายุรกรรม ด้านศัลยกรรม ด้านระบบประสาท ด้านกระดูกและข้อ ด้านจิตเวช ด้านผู้สูงอายุ โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบดังนี้ ช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งให้การบำบัดรักษาในเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟูและส่งเสริมความสามารถในผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ และการเรียนรู้ สอนและฝึกหัดกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัว สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร เป็นต้น ให้การรักษาพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางกาย ได้แก่ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานในงาน สหสัมพันธ์ในการทำงาน เป็นต้น รวมถึงการดัดแปลงอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริมและเทียมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยรวมทั้งฝึกหัด การใช้และการดูแลรักษา ดัดแปลงสภาพบ้าน และขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม ให้การรักษาพิเศษ แก่ผู้ที่มีปัญหาด้านจิตสังคม อารมณ์และพฤติกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยลดหรือขจัดแรงขับทางอารมณ์ แก้ไขและปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวล ประเมินสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความสนใจงาน นิสัยในการทำงาน รวามทั้งปรับปรุงทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ แนะนำโปรแกรมการใช้ชีวิตและการปรับตัวภายหลังการเกษียณให้แก่ผู้สูงอายุ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องจบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์ และชีววิทยา มีจิตใจรักในเพื่อนมนุษย์ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตวิทยา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบสูง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ได้ตามสาขาที่ สำเร็จการศึกษา สามารถรับราชการในโรงพยาบาลและหน่วยงานของรัฐและเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระได้ ปัจจุบันสาขาต่าง ๆ ทางเทคนิคการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนที่ตลาดมีความต้องการสูงมาก และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอกได้หลายสาขา


คณะพยาบาลศาสตร์

พยาบาลศาสตร์ เป็นการศึกษาที่เน้นหนักในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ป่วยทางกาย หรือทางจิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพและผู้สูงอายุ การให้บริการด้านพยาบาล คำนึงถึงความต้องการของคนไข้ ตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษา และส่งเสริมสุขภาพ ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝายการแพทย์ แลอนามัยแขนงอื่น ๆ ในด้านบริการคนไข้
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1.มีความรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์
2.มีสุขภาพกายและจิตดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีเมตตากรุณา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์
3.เสียสละทั้งด้านเวลาและตนเองให้แก่ผู้ป่วยทุกคน มีความอดทน อดกลั้น
แนวทางในการประกอบอาชีพ
รับราชการในหน่วยงานของรัฐ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ รายได้ค่อนข้างดี ศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอกสาขาพยาบาลศาสตร์ได้ทั้งในและต่างประเทศ


คณะเภสัชศาสตร์


เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยารูปแบบต่างๆ เพื่อให้สะดวกและเหมาะสมในการให้บริการทางยา ไม่ว่าจะเป็นการปรุงยาหรือผลิตโดยสังเคราะห์ กึ่งสังเคราะห์ หรือประดิษฐ์ จากแหล่งกำเนิดธรรมชาติให้ได้มาตรฐานถูกต้อง การตรวจ พิสูจน์ การเลือกสรรพคุณยา การเก็บรักษาผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ควรจะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มใช้ความ คิดในการวินิจฉัยมนุษย์สัมพันธ์ดี สนใจวิทยาศาสตร์ทางด้านชีวภาพ มีความรับผิดชอบสูง ละเอียดรอบคอบ การเรียนจะต้องเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ 2 ปีแรก อีก 3 ปีต่อมาจะเรียนวิชาชีพ และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานโดยวิชาชีพได้แก่ เทคนิคเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูป เภสัชอุตสาหกรรม อนินทรีย์ เภสัชวิเคราะห์ เภสัชเคมี
ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะสามารถทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้
1. เภสัชกรผู้ผลิตหรือผู้ควบคุมคุณภาพในโรงงานเภสัชกรรม
2. ผู้ควบคุมมาตรฐานอาห่ารและยาบริสุทธิ์
3. นักวิเคราะห์ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ หรือสถาบันวิจัยต่างๆ
4. เภสัชกรชุมชนในร้านขายยาทั่วไป
5. ผู้บริหารการจำหน่ายยา


คณะวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สะสมมาแต่อดีต จวบจนปัจจุบันและต่อไปถึงอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เริ่มแต่ธรรมชาติรอบ ๆ ตัว จากองค์ประกอบที่เล็กที่สุด ไปจนถึงใหญ่ที่สุดในเอกภพ ในแง่ที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติมีความเป็นมาอย่างไร สัมพันธ์กันหรือไม่ ลำดับการพัฒนาเป็นอย่างไร มีระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์หรือไม่ การเรียนวิทยาศาสตร์อาศัยรากฐานของการสังเกต การตั้งสมมติฐาน โดยใช้หลักปรัชญาและตรรกวิทยา พยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมา เพื่อความแม่นยำ โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นส่วนสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การเรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกตและการทดลอง ผนวกกับการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ แบ่งสาขาการเรียนออกเป็น สาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ โดยเน้นทั้งในด้านทฤษฎีและการนำไปใช้ เน้นหนักการศึกษาเพื่อให้รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ในการคิด มีเหตุผลทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดำเนินงานวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้มาก
2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์และออกแบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูล ระบบควบคุมการดำเนินงานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์
3. สาขาวิชาเคมี ศึกษาเน้นหนักด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของ สารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ผู้เรียนเคมีสามารถศึกษาขั้นสูงต่อไป และนำไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับเคมีในทางอุตสาหกรรมทั้งหลายได้
4. สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำคัญยิ่งวิชาหนึ่งที่หยั่งลึกลงไปในธรรมชาติของสสาร และพลังงาน
5. สาขาวิชาชีววิทยา จะศึกษาเน้นทางด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงระดับชีวิต และสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
6. สาขาวิชาสัตววิทยา จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับสัตววิทยาทั่วไป อนุกรมวิธานสัตว์ วิวัฒนาการของสัตว์ สัตว์ภูมิศาสตร์ กายวิภาคเปรียบเทียบสัตว์คอร์เดท สัตว์มีและไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และวิชาเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์และสรีรวิทยาสัตว์ จุลกายวิภาคศาสตร์ การพัฒนาตัวอ่อน ฮอร์โมน พยาธิของสัตว์ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์ด้วยการทำสไลด์ถาวร การดองใสสัตว์ และการสตัฟฟ์สัตว์
7. สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ เน้นหนักเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การสืบพันธุ์ การขยายพันธุ์ ความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของพืช การจัดจำแนกหมวดหมู่พันธุ์ไม้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เภสัชกรรม
8. สาขาวิชาพันธุศาสตร์ เน้นหนักเกี่ยวกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ ความแตกต่างของลักษณะที่มีสาเหตุเนื่องมาจากสารพันธุกรรมทั้งในคน สัตว์ และ พืช ตลอดจนศึกษาเชิงพฤติกรรมของสารพันธุกรรมระดับโมเลกุล และโครงสร้างของสารเหล่านั้น ความรู้ในสาขาวิชานี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแนะนำ ป้องกันและรักษาโรคที่เนื่องมาจากพันธุกรรมของคนและสัตว์ อีกทั้งนำไปปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มผลผลิต ตลอดจนใช้ปรับปรุงคุณภาพของวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร และการเภสัช
9. สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม เน้นหนักใน 2 สาย คือ
สายเคมีวิศวกรรม ซึ่งเรียนเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเคมีภัณฑ์ และเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องใช้กระบวนการเคมี ตลอดจนการออกแบบและการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปฏิกรณ์เคมี หอกลั่นลำดับส่วน เครื่องต้มระเหย เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน และ
สายเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง ศึกษาด้านอุตสาหกรรมน้ำมันก๊าชธรรมชาติ เชื้อเพลิงแข็ง และพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ การประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน
10. สาขาวิชาธรณีวิทยา เน้นหนักเกี่ยวกับทรัพยากรธรณี เช่น แร่ หิน เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำ ตลอดจนวัสดุก่อสร้างทั้งการสำรวจ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และศึกษาเกี่ยวกับโลกทั้งทางเคมีและภายภาพ เช่นแผ่นดินไหว ธรณีเคมี
11. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เน้นการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขาวิชา เป็นการศึกษาแบบบูรณาการ
12. สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เน้นเกี่ยวกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อมของท้องทะเลและมหาสมุทร ตลอดจนการนำทรัพยากรจากท้องทะเลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 2 สายวิชา คือ สมุทรศาสตร์สกายะและเคมี และสายชีววิทยาทางทะเลและประมง
13. สาขาวิชาชีวเคมี ศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพืช ชีวเคมีสัตว์ ชีวเคมีสิ่งแวดล้อม ชีวเคมีประยุกต์ในการเกษตรและอุตสาหกรรม และชีวเคมีทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาที่กล่าวถึงโครงสร้างสมบัติการทำงานและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ของชีวโมเลกุลในพฤติกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
14. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ศึกษา 2 ทาง คือ ทางเซรามิกส์ ซึ่งเน้นกระบวนการผลิตวัสดุภัณฑ์ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมด้านวัสดุคาบเกี่ยว อีกทางหนึ่ง คือ ทางโพลีเมอร์ ซึ่งเน้นกระบวนการในอุตสาหกรรมด้านโพลีเมอร์ เส้นใย สิ่งทอ พลาสติก สีและวัสดุเคลือบผิวต่าง ๆ
15. สาขาวิชาจุลชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ได้แก่ รา แบคทีเรีย และไวรัส โดยนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม การเกษตร การอาหาร การแพทย์ และการสาธารณสุข ตลอดจนปรับปรุงมลภาวะและสภาพแวดล้อม
16. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางภายถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการถ่ายภาพ และเทคโนโลยีการพิมพ์
17. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร มี 2 สายได้แก่
สายเทคโนโลยีทางอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปและการถนอมอาหาร โดยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง และ
สายเทคโนโลยีทางชีวภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตสารชีวเคมี ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต และการนำเอาชีวเคมีไปประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตเอนไซม์ และการผลิตสารปฏิชีวนะ
18. สาขาวิชาสถิติ ศึกษาเกี่ยวกับสถิติทั้งทฤษฎีและประยุกต์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการทดลอง การสุ่มตัวอย่าง สถิติควบคุมคุณภาพ การวิจัยดำเนินการ สถิติประกันภัย สถิติธุรกิจ การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
19. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศึกษาสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุขทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับวินิจฉัยชุมชน การวางแผนงาน การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการประเมินผลงาน ตลอดจนสามารถเป็นผู้นำและผู้ประสานงานด้านสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข อีกทั้งสามารถพัฒนาตนเองด้านวิชาการในระดับสูงต่อไป เน้นหนักเกี่ยวกับโครงสร้างและระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ กระบวนการเกิดโรค การระบาดของโรค และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ชุมชน และอุตสาหกรรมรวมถึงกระบวนการเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมป้องกัน รักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัย
20. สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท ศึกษาในด้านเทคโนโลยีชนบท เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนา ดัดแปลง เสริมสร้างเครือข่ายและขบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชนบทต่อไป หลักสูตรจะอยู่ในรูปของสหวิชา ที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ คัดเลือก ให้คำแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการพัฒนาชนบท ในสายวิชาพัฒนาแหล่งน้ำ แรงงานโยธา เครื่องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมขนาดย่อมและพลังงานชนบท อีกทั้งมีความรู้ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมอย่างเหมาะสม
21. สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางนิวเคลียร์ รังสีสุขภาพ และการป้องกัน เทคนิคการวัดรังสี ชีววิทยารังสี รังสีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสี รังสีและการกลายพันธุ์ การวิเคราะห์โดยวิธีทางนิวเคลียร์ การใช้รังสีและไอโซโทปในการเกษตร เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ต้องจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ มีความสนใจด้านการค้นคว้า ทดลอง และเป็นคนช่างสังเกต
แนวทางในการประกอบอาชีพ รับราชการ เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษา กระทรวงต่าง ๆ สามารถประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิเคราะห์ระบบ นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และสามารถศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ

คณะสาธารณสุขศาสตร์


สาธารณสุขศาสตร์ให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไปจำแนก งานได้4ประเภท คือ 1.นักสุขาภิบาล เกี่ยวกับงานสุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม
2.เจ้าหน้าที่สุขศึกษาสาธารณสุข เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขศึกษา
3.เจ้าหน้าที่โภชนาการสาธารณสุข เกี่ยวกับงานด้านโภชนาวิทยา
4.นักวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัย เกี่ยวกับงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
การศึกษาเน้นการป้องกันโรค การควบคุมโรค และส่งเสริมสุขภาพ วิชาที่ศึกษาจะมีหมวดวิชาที่สำคัญ ๆ คือ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสาธารณสุข และมีสาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โภชนาวิยา สุขศึกษา อาหารและโภชนาการ และสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์
แนวทางในการประกอบอาชีพ ปฏิบัติงานได้ในกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ภาคเอกชน ในสถานบริการสาธารณสุข โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ศึกษาต่อ่ในระดับปริญญาโท และเอก


คณะวิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำวิทยาการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ คิดค้น ออกแบบ และประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อยกระดับ มาตรฐานการครองชีพของมนุษย์ให้ดีขึ้น การศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ต้องมีพื้นฐานที่ดีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และมีความถนัดเชิงวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไปในภายภาคหน้า มีสาขาดังนี้
1.สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์ การออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่นำเอาความรู้ทางด้านระบบดิจิตอลมา ประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ได้ และเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์
2.สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จัดสร่ง และกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเคมี พลาสติก ยาง กระดาษ แก้ว เซรามิกส์ ปูนซิเมนต์ เส้นใย เครื่องอุปโภค บริโภค และสารเคมีพื้นฐาน เช่น กรด ด่าง แก๊ส สารละลาย เป็นต้น โดยศึกษาหลักการของกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสม สถานะ ภาวะ และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามต้องการอย่าง ปลอดภัย และประหยัด โดยเน้นการออกแบบอุปกรณ์ และโรงงาน กระบวนการอุตสาหกรรมเคมี การควบคุมปฏิกรณ์เคมีและกระบวนการ การคำนวณดุลมวล และพลังงาน ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
3.สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ศึกษาการวิเคราะห์ และออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักร และสิ่งประดิษฐ์ ออกแบบแปลนการติดตั้ง ควบคุมการใช้งาน ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ระบบความเย็น ระบบปรับภาวะอากาศ หม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ และระบบท่อประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางด้านประหยัดพลังงาน และพลังงานทดแทนประเภทต่าง ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เครื่องยนต์ เชื้อเพลิงผสม เป็นต้น
4.สาขาวิศวกรรมเรือ การศึกษา วิเคราะห์ การออกแบบ รวมทั้งการผลิตและการประกอบพาหนะทางน้ำชนิดต่าง ๆ ตลอดจนถึงการออกแบบระบบต่าง ๆ ภายในตัวเรือ เช่น ระบบขับเคลื่อน ระบบท่อ ระบบปรับอากาศ รวมถึงโครงสร้างข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ท่าเรือ อู่ต่อเรือ จึงเป็นวิชาชีพที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิศวกรรมสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมโยธา เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหกรรม โดยมีลักษณะที่นำเอาความรู้ในสาขานั้น ๆ มาประยุกต์ใช้ในทางเรือ
5.สาขาวิศวกรรมยานยนต์ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ใช้ใน ด้านการออกแบบและด้านการผลิต มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิต และรู้จักการใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพและรองรับความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมรถ ยนต์ในปัจจุบันที่มีอยู่มากมาย
6.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า การวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อีเล็กทรอนิคส์และระบบควบคุม โดยเน้นหนักด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อถือได้ ความปลอดภัย ความประหยัดของสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และเกี่ยวกับการใช้งาน การตรวจสอบวัสดุสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ ระบบดังกล่าวด้วย
7.สาขาวิศวกรรมโยธา ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคของประเทศ ซึ่งครอบคลุมวิชาการด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ได้แก่ วิศวกรรมสำรวจ เพื่อการจัดทำแผนที่จากภาคสนาม การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม วิศวกรรมโครงสร้าง เกี่ยวกับหลักกลศาสตร์ของวัสดุและโครงสร้าง การทดสอบคุณสมบัติทางกล และกำลังของวัสดุทางวิศวกรรม การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างไม้ เหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตอัดแรง
วิศวกรรมปฐพี เกี่ยวกับพฤติกรรมทางวิศวกรรมของดิน และหินเพื่อเป็นรากฐานของสิ่งก่อสร้างบนดิน ใต้ดิน และเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น อาคาร ถนน อุโมงค์ เขื่อนดิน
วิศวกรรมขนส่ง เกี่ยวกับการคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ การออกแบบทางระบบการจราจร ระบบขนส่งมวลชน การบริหารการก่อสร้าง เกี่ยวกับการวางแผนงานก่อสร้าง การจัดการขนส่ง เครื่องจักรกล บุคลากรและการเงินในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
8.สาขาวิศวกรรมโลหการ เป็นศาสตร์และศิลปะในการสกัดโลหะจากสินแร่ของมันแล้วทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจัดเตรียมและทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน
9.สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงสภาวะแวด ล้อม และสร้างที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยและการพัฒนาของมนุษย์ ขอบเขตวิศวกรรมสุขาภิบาล ยังครอบคลุมถึงการแก้ปัญหาสุขอนามัยภายในโรงงานอุตสาหกรรม การขจัดมลพิษและมลภาวะของน้ำ อากาศ และอื่น ๆ อันสืบเนื่องมาจากอุตสาหกรรมและการอยู่อาศัย ในสาขาวิชานี้มีการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนป้องกันและรณรงค์กับมลภาวะต่าง ๆ ของสภาวะแวดล้อม
10.สาขาวิศวกรรมสำรวจ เกี่ยวกับการวางแผน การรังวัด การคำนวณและวิเคราะห์รายละเอียดของพื้นผิวโลก เพื่อนำมาใช้ในการทำแผนที่ แผนผังหรือกำหนดค่าพิกัด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นสำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น การออกแบบทางหลวงและเขื่อน การรังวัดที่ดิน งานชลประทาน งานปฎิรูปที่ดิน งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ และผลิตผลทางเกษตร และงานผังเมือง
11.สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ เกี่ยวข้องกับการผลิตแร่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งเพื่อ นำมาใช้พัฒนาประเทศ
12.สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม เกี่ยวข้องกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการพัฒนาประเทศ
13.สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม เกี่ยวข้องกับการวางแผน วิเคราะห์และควบคุมระบบการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม และการบริหารทางธุรกิจ โดยเน้นหนักเรื่องการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต ศึกษาแก้ไขปัญหาทางการผลิต และปัญหาต่าง ๆ ของโรงงานอย่างมีระเบียบแบบแผน การวางแผนและการควบคุมการผลิต อีกทั้งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงงานกับฝ่ายบริหารด้วย
14.สาขาวิศวกรรมวัสดุ ศึกษาเกี่ยวกับความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งมุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุ ทั้งการใช้งานและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้หลักสูตรได้ครอบคลุมวิชาหลักที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โครงสร้าง สมบัติ กระบวนการ และสมรรถนะของวัสดุ เช่น การแพร่และจลศาสตร์ ปรากฎการณ์การถ่ายเท การจำแนกลักษณะเฉพาะทางโครงสร้างจุลภาคสมบัติทางกล และสมดุลของเฟส
15.สาขาวิศวกรรมการบินและอากาศยาน ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางวิศวกรรมการบินและอากาศยาน 3 สาขา ซึ่งประกอบด้วยอากาศพลศาสตร์ และการขับดันอากาศยาน ระบบควบคุมอัตโนมัติและการควบคุมการบิน และการออกแบบโครงสร้างอากาศยาน การให้การศึกษามุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยภาคทฤษฎีจะมีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านงานวิเคราะห์ที่ทันสมัยที่สุดเข้า มาใช้ในการศึกษา และในด้านปฏิบัติจะมุ่งเน้นการทดลองวิจัย เพื่อให้ทางปฏิบัติมีความคล่องตัวสูงสุด สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอากาศยานนี้ ให้การศึกษาครอบคลุมไปถึงส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมชีวกลศาสตร์ เป็นต้น
16.สาขาวิศวกรรมการอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของวิศวกรรมการอาหาร วิศวกรรมการแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตรให้อยู่ในรูปของอาหาร วิศวกรรมเก็บรักษาอาหาร และวิศวกรรมการผลิตอาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบวิเคราะห์และทดสอบเครื่องจักรกลอาหาร ศึกษาระบบควบคุมในการผลิต ตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
17.สาขาวิศวกรรมเกษตร ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมในการผลิตทางการเกษตร การแปรสภาพและการเก็บรักษาผลผลิตเกษตรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทฤษฎีของเครื่องจักรกลเกษตร การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร กำลังทางระบบการเกษตร การถ่ายเทความร้อนและมวลสาร วิศวกรรมการแปรรูปผลิตผลการเกษตร สมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เกษตร รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร ระบบและเครื่องจักรกลไฮดรอลิกนิวแมติก พัดลม เครื่องสูบและระบบการจ่าย การวัดและอุปกรณ์วัด การออกแบบเครื่องมือลำเลียงผลิตผลเกษตร วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมการเกษตร และการออกแบบ โครงสร้างอาคารเกษตร
18.สาขาวิศวกรรมชลประทาน ศึกษาเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานด้านวิศวกรรมของสาขาต่าง ๆ และวิชาเฉพาะของสาขาวิศวกรรมชลประทาน ได้แก่ หลักการชลประทาน การออกแบบระบบชลประทานในไร่นาชนิดต่าง ๆ เช่น การให้นำแบบผิวดิน แบบฉีดฝอยและแบบหยด การวางแผนและออกแบบระบบการส่งน้ำ ระบบสูบน้ำและระบบระบายน้ำ การออกแบบอาคารชลประทานแบบต่าง ๆ เช่น เขื่อน ฝาย คลองส่งน้ำ และอาคารประกอบการพิจารณาวางโครงการ การจัดการเรื่องน้ำ การส่งน้ำและบำรุงรักษา การบริหารโครงการชลประทาน การประยุกต์คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมชลประทาน
19.สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ศึกษาเกี่ยวกับกลศาสตร์ของของไหล ชลศาสตร์ อุทกวิทยาผิวดินและใต้ดิน วิศวกรรมแม่น้ำ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ วิศวกรรมชายฝั่ง การป้องกันและการระบายน้ำในชุมชนเมือง รวมทั้งการประยุกต์วิชาการเพื่อการพัฒนาและจัดการแหล่งน้ำทุกขนาด
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ ควรมีพื้นฐานความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
แนวทางในการประกอบอาชีพ ทำงานในหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานการพลังงานแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ หรือทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โรงงานยาสูบ หรือทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือภาคเอกชน


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


สถาปัตยกรรม เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุดแก่เจ้าของงาน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงออกถึงคุณค่าแห่งศิลปะในสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้น นั้น นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการอีกด้วย
การศึกษาในคณะนี้มีสาขาให้เลือก ศึกษาได้ดังนี้
1.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งส่วนของโครงการที่ปฏิบัติและผลกระทบต่อส่วน รวม ทั้งนี้จะเน้นปัจเจกภาพเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ
2.สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และศึกษาแหล่งที่มาอิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยศึกษา และฝึกหัดเขียนลายไทยชนิดต่าง ๆตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบบรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรมให้ถูกต้องตาม หน้าที่ และสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและสังคม ปัจจุบัน 3.สาขาวิชาการปัตยกรรมภายใน เป็นศาสตร์ที่ประสานกันระหว่างงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน เป็นวิชาชีพทางด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมซึ่งเน้นการจัด ที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอย และความงามโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมวัสดุและเทคโนโลยีในการก่อสร้างความรู้ทาง วิศกรรมที่เกี่ยวข้อง การประหยัดพลังงานและทรัพยากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้สอยภายในอาคารเกิดสภาพแวดล้อมที่ดีมีคุณภาพเหมาะสมแก่ผู้ใช้ อาคารทั้งด้านร่าง กาย 4.สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และการออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัด และทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น 5.สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม เน้นหนักด้านการปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมของมนุษย์และธรรมชาติให้มีความสมดุลซึ่ง กันและกัน ศึกษาด้านสุนทรียภาพและการใช้สอยของเมืองและที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมถึงออกแบบสวนสาธารณะ สวนสัตว์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่า ต้นน้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ควรเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการและทักษะในด้านทัศนศิลป์ที่สมดุลกับความรู้พื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาการออกแบบเป็นวิชาศิลปประยุกต์ ผู้สมัครเข้าเรียนจะต้องสอบผ่านวิชาความถนัด ด้านการออกแบบ จึงจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้
แนวทางในการประกอบอาชีพ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรด้านการออกแบบสาขาต่าง ๆ ข้างต้นสามารถประกอบวิชาชีพอิสระ รับราชการ หรือทำงานบริษัทต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะดานการพัฒนา เช่น การออกแบบการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม การโฆษณา รวมทั้งการอนุรักษ์ด้านต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ โบราณสถาน และสถาปัตยกรรม

คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์

คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการศึกษาและวิชาชีพครู โดยมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการและแสวงหาวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี และสร้างสรรค์สังคมที่สันติสุขอย่างแท้จริง โดยมีสาขาให้เลือกศึกษาได้ ดังนี้
1.สาขาการศึกษาปฐมวัย เป็นสาขาซึ่งเตรียมครูสำหรับการศึกษาของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
2.สาขาประถมศึกษา เป็นสาขาซึ่งเตรียมครูสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา
3.สาขามัธยมศึกษา เป็นสาขาซึ่งเตรียมครูสำหรับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป จิตวิทยาและการแนะแนว เทคโนโลยีการศึกษา และภาษาอังกฤษ เป็นต้น
4.สาขาการสอนวิชาเฉพาะ เป็นสาขาซึ่งเตรียมครูวิชาเฉพาะ ได้แก่ พลศึกษา ศิลปศึกษา ดนตรีศึกษา ธุรกิจศึกษา สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 5.สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นสาขาเพื่อเตรียมครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และสายศิลป์ เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดี และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับวิชาชีพ
แนวทางในการประกอบอาชีพ บัณฑิตจากคณะนี้สามารถเลือกประกอบอาชีพได้กว้างขวางทั้งในระบบโรงเรียน เช่น เป็นครู อาจารย์ในโรงเรียน วิทยาลัยและมหาลิทยาลัย เป็นบุคลากรทางการศึกษา ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุด งานแนะแนว โสตทัศนศึกษา และอื่น ๆ เป็นบุคลากรทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน ทำงานในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นนักวิชาการศึกษาทำงานในหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดและความสนใจของตนเองได้


คณะนิเทศศาสตร์/คณะวารสารศาสตร์


คณะนิเทศศาสตร์/คณะวารสารศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยศิลปะของการสื่อสารทุกประเภท ทุกระดับ โดยทางใดก็ตามไปยังบุคคลหรือมวลชนด้วยการให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลอย่างเต็มที่ โดยแยกเป็นสขาต่าง ๆ ให้เลือกศึกษาได้ดังนี้
1. สาขาวิชาวารสารสนเทศ ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับวิทยาการ และเทคโนโลยีข่าวสาร เช่น การสื่อข่าวการเขียนข่าว การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข่าวต่าง ๆ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เนตการรายงานข่าวผ่านสื่อพิมพ์ และสื่อคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการออกแบบ และการนำเสนอผ่านสื่อพิมพ์อื่น ๆ เช่น นิตยสาร แผ่นปลิว โปสเตอร์ เป็นต้น
2. สาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์ ศึกษาทฤษฎีแนวคิด กระบวนการของการส่งข่าวสารหรือสื่อความหมายต่าง ๆ โดยทางสื่อกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประกาศ การแสดง การเขียนบท การผลิตรายการวิทยุ การบริหารงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกฝนการผลิตรายการวิทยุจากห้องบันทึกเสียง ทั้งรายงานข่าว สารคดี ละคร ดนตรี
3. สาขาวิชาภาพยนต์และภาพนิ่ง ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ศิลปะ สุนทรียศาสตร์และการสื่อความหมายของภาพนิ่งและภาพดนตรี รวมทั้งอิทธิพลและบทบาทของสื่อทั้ง 2 ประเภทที่มีต่อสังคม ผู้ศึกษาในสาขานี้จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์จากรูปแบบของจินตนาการที่มี อยู่ ผลิตภาพยนตร์ที่ทันสมัย และได้มีโอกาสร่วมมือผลิตผลงานภาพยนตร์แนวต่าง ๆ ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย นอกจากนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาพนิ่ง การใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพ และการขายายภาพในห้องแล็บด้วยตนเอง
4.สาขาวิชาโฆษณา ศึกษาการทำงานด้านโฆษณาต่าง ๆ ตั้งแต่การสร้างสรรค์ และการผลิตสื่อโฆษณา การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การเขียนบท การวางแผน และการรณรงค์เพื่อการโฆษณา ตลอดจนศึกษาถึงบทบาทของการโฆษณาในการตลาด
5.สาขาวิชาประชาสัมพันธ์ ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจอันดี ป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด ความขัดแย้ง ส่งเสริมและรักษาภาพลักษณ์ของสถาบัน การจัดการภาวะ วิกฤต การหยั่งเสียงประชามติ ประชาพิจารณ์ ตลอดจนการสร้างสรรค์และโน้มน้าวทัศนคติที่ดีแก่ประชาชน 6.สาขาวิชาวาทวิทยา/วิชาลบริหารการสื่อสาร ศึกษาพฤติกรรมการใช้ภาษาในการสื่อสารของมนุษย์ในทุกระดับ และในปริบทต่าง ๆ อาทิ การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารหน้าที่ประชุมชน การสื่อสารทางธุรกิจ และการสื่อสาระเพื่อพัฒนาสังคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1.มีความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร มีความรู้ด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษอย่างดี 2.มีความสนใจทางด้านศิลปะการสื่อความหมายประเภทต่าง ๆ มีความคิดสร้างสรรค์รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวางและสนในศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่และทันต่อ เหตุการณ์ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพเป็นอย่างสูง ตรงต่อเวลาอยู่เสมอ กล้าแสดงออก ช่างสังเกตมีบุคลิกที่ดี มีมนุษสัมพันธ์ดี อดทน และมีระเบียบวินัย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้จบการศึกษาจากคณะนี้สามารถทำงานในสาขาวิชาชีพโดยตรงและสาขาที่ เกี่ยวข้อง เช่น ตามสำนักงานหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ นิตยสาร รัฐวิสาหกิจ และหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เน้นหนักในด้านการผลิตเอกสาร ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ นักผลิตภาพยนตร์ นักประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจสมาคมต่าง ๆ เป็นผู้วางแผนการใช้สื่อ และเป็นนักโฆษณาในส่วนของสายงานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาชีพที่จะต้องใช้การพูด การสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก เช่น นักบริหาร นักวิชาการ ครู-อาจารย์ นักพูด นักธุรกิจ นักการเมือง และนักปกครอง


คณะนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมประเภท หนึ่งที่มีผลบังคับแน่นอน ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรละที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่กำหนดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบบทบาทของบุคคลในทุกกิจกรรม และทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคมนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้
การศึกษานิติศาสตร์จึงมีสาระสามส่วนหลัก คือ
1.นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับสาระของ กฎหมายในส่วนสิทธิหน้าที่และความรับผิดของบุคคลต่อกันตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ
2.นอกจากนั้น นิติศาสตร์ยังมุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่ะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือในการนำนโยบายมาปฎิบัติให้ได้ผลจริงจัง ดังนั้น โดยนัยนี้กฎหมายจึงเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง คือ อาจส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ การศึกษานิติศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหานี้ด้วย 3.นิติศาสตร์ยังให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมาย ย่อมมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษานิติศาสตร์จึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่าต้อง “ บริสุทธิ์ “ เพื่อความมุ่งหมายสุดท้าย คือ “ ยุติธรรม “ การศึกษาจึงมิได้เน้นเฉพาะตัวบทกฎหมายเพียงประการเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงคุณธรรมด้วย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ อาจแบ่งแนวทางในการทำงานได้ 2 ประเภท
ประเภท 1 คือ ผู้ซึ่งใช้วิชากฎหมายในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งผู้ที่มิได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ไม่สามารถประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ เลย ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นิติกร ฯลฯ กับอีก ประเภท 2 คือ ผู้ซึ่งใช้ความรู้ทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น ตำรวจ ปลัดอำเภอ นักธุรกิจพนักงานบริษัท ห้างร้าน ข้าราชการ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางกฎหมายสามารถที่จะเลือกประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่าสาขาอื่น ๆ เพราะนอกจากจะสามารถประกอบอาชีพที่กันไว้เฉพาะสำหรับนักกฎหมายแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นสามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้อีกด้วย

คณะเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการ ศึกษาถึงพฤติกรรมของสังคมและบุคคลในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อการผลิตสินค้าและบริการ และแจกจ่ายไปยังบุคคลในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ศึกษาจะมีความรู้และความเข้าใจถึงภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น พอที่จะคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และรู้แนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้สนใจเข้าศึกษาในคณะนี้ ควรมีความคิดกว้างขวางรักเรียน สนใจความเป็นไปของสังคม ไม่จำกัดเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้น มีความสามารถในการลำดับความคิด และมีวิจารณญาณดี นอกจากนี้จะต้องมีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ และมีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอสมควร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาตำรา และบทความเศรษฐศาสตร์ใหม่ ๆ จากต่างประเทศ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษามีโอกาสหางานทำทั้งในหน่วยงานของรัฐ และของเอกชน หน่วยงานของเอกชน ได้แก่ ธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับสภาวะการตลาด และการวางแผนดำเนินธุรกิจต่าง ๆ

คณะรัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐและสังคม การเมืองเปรียบเทียบแนวความคิดและระบบทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแยกออกเป็นสาขาต่างๆได้ ดังนี้
1.สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
การศึกษาในสาขานี้ มุ่งทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองและสังคมที่แวดล้อมตัวเราอยู่ โดยจะเรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญ ๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ฯลฯ
2.สาขาการระหว่างประเทศ
เป็นสาขาที่มุ่งทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ความรู้ความเข้าใจในด้านนี้มีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาล และภาคเอกชนเพราะแต่ละประเทศไม่ได้อยู่กัน
อย่างโดดเดี่ยว ความกินดีอยู่ดีของประชาชนในแต่ละประเทศ ความสำเร็จในธุรกิจการค้าองอาศัยความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ
3.สาขาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์
การศึกษาในสาขานี้จะศึกษาเรื่องการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การ ต่าง ๆ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบ ราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ การบริหารบุคคล การคลัง การ งบประมาณ และการวางแผนจัดทำโครงการ เทคโนโลยีการบริหาร และการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ โดยเป็นปัญหาที่สำคัญ ๆ ที่ได้รับการสนใจและมีผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน
4.สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นสิ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบ แต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติตามลักษณะ วัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติงาน และการพัฒนาสังคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้สนใจเข้าศึกษาในคณะนี้ควรเป็นผู้ที่ช่างสงสัย เชื่ออะไรยาก ไม่ยอมรับอะไรอย่างปราศจากเหตุผล ชอบตั้งคำถาม มีความสนใจในปัญหาของบ้านเมืองและสังคม ใส่ใจกับความเดือดร้อน ทุกข์สุขของผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะนี้อาจประกอบอาชีพในหน่วยงานรการ และเอกชน โดยเฉพาะงานทางด้านบริหาร จัดการข้อมูล และวิจัย

คณะพานิชยศาสตร์ และการบัญชี/คณะบริหารธุรกิจ

คณะพานิชยศาสตร์ และการบัญชี/คณะบริหารธุรกิจ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาถึงลักษณะของธุรกิจเอกชนทุก้าน ภาระหน้าที่ของสายงานต่าง ๆ ในการบริหารธุรกิจ ได้แก่ การจัดการทั่วไป การเงินและการธนาคาร การบัญชี การตลาด การผลิต การบริหารงานบุคคลและพฤติกรรมองค์การ สถิติและข้อมูลทางธุรกิจ การบริหารระบบข้อมูลธุรกิจ ธุรกิจการประกันภัย ประกันชีวิตและสุขภาพ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้
1.หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ดังนี้
1.1สาขาวิชาการบัญชี จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานบัญชีและวิชาชีพการสอบบัญชี
1.2สาขาวิชาการต้นทุน จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชีรวมทั้งระบบวิธีการบัญชีต้น ทุน และการวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
1.3สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี รวมทั้งการออกแบบวิเคราะห์และจัดข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ประกอบด้วย 8 สาขาวิชา ดังนี้
2.1สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน จะศึกษาเน้นหนัก เกี่ยวกับการบริหารการเงินของธุรกิจ สถาบันการเงิน และองค์กรการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
2.2สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการใช้ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ
2.3สาขาวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย ์ ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการจัดสรร และการใช้บุคลากรอย่างเหมาะสมในภาหน้าที่ต่างๆของการจัดการและดำเนินธุรกิจ ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.4สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมเดินทาง ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจที่เกี่ยวกับการเดินทาง ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงแรม การเดินทางและการท่องเที่ยว การขนส่ง ตลอดจนธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเดินทาง
2.5สาขาวิชาการจัดการด้านการผลิตและการดำเนินงาน ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับภาระหน้าที่ทางด้านการผลิต เพื่อให้กิจกรรมและการบริการในด้านนี้ได้ผลตามความต้องการขององค์การธุรกิจ
2.6สาขาวิชาการจัดการขนส่งระหว่างประเทศ ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับภารกิจต่าง ๆ และการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการขนส่งสินค้า และการให้บริการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ
2.7สาขาวิชาการตลาด ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับทฤษฎี วิธีการและหน้าที่งานทางการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
2.8สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
3.หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ดังนี้
3.1สาขาวิชาสถิติประยุกต์ จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับ ทฤษฎีสถิติและการนำสถิติไปประยุกต์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือใน การวิเคราะห์ข้อมูลในสาขาวิชาต่าง ๆ
3.2สาขาวิชาประกันภัย จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการ กันภัย
3.3สาขาวิชาสถิติคณิตศาสตร์ จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับทฤษฎีทางสถิติมากขึ้นและการประยุกต์ใช้
3.4สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับวิชาด้านคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้สนใจเข้ามาเรียนในคณะนี้ควรเป็นผู้ที่มีระเบียบทำงานเป็นระบบ ช่างสังเกต ชอบการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สนใจในเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงานให้ถูกต้องรวดเร็ว มีความสุขุม รอบคอบ อดทนและสามารถนำเสนอข้อมูลได้ดี มีปฏิภาณไหวพริบ มี่ความสามารถในการทำงานกับผู้อื่นได้ มีความถนัดสูงในด้านคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ส่วนใหญ่บัณฑิตของคณะนี้จะเข้าสู่ภาคธุรกิจเอกชนในสาขาวิชาชีพ บริหารธุรกิจแขนงที่ตนเลือก นอกจากนั้นจะประกอบอาชีพอยู่ในรัฐวิสาหกิจ รับราชการ และประกอบอาชีพส่วนตัว บางส่วนศึกษาต่อในระดับปริญญาที่สูงขึ้นไป

คณะอักษรศาสตร์/คณะศิลปศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์


คณะอักษรศาสตร์/ศิลปศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสริมสร้างและพัฒนาจิตใจประชากรโดยส่วนรวม กล่าวคือ พยายามทำให้เข้าใจตนเอง ผู้อื่น สังคม และสภาพแวดล้อม รู้ซึ้งถึงคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม มีจิตใจละเอียดอ่อนมีวิจารณญาณ มีสติปัญญาแตกฉานและรสนิยม รู้จักใช้ความรู้และสติปัญญาให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้อย่าง แท้จริง ปัจจุบันคนทั่วไปมักมองเห็นว่า วิชาอักษรศาสตร์ฯ มีความสำคัญด้อยกว่าวิชาการด้านอื่น ๆ แท้จริงแล้ววิชานี้มีความสำคัญมาก แต่มองเห็นได้ยาก เพราะมีคุณค่าและลักษณะเป็นนามธรรม วิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ฯ มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวความคิดและพฤติกรรมทางสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ความรู้ซึ้งในเรื่องเหล่านี้จะเป็นทั้งพื้นฐานและประสบการณ์ที่จะช่วยให้มนุ ษยืเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าได้
ซึ่งพอจะแบ่งสาขาการเรียนออกได้ดังนี้
-สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษาประวิติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ของภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนวิธีค้นคว้าวิจัยทางประวัติศาสตร์
-สาขาวิชาภูมิศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตลอดจนเทคนิคในทางภูมิศาสตร์ และการทำแผนที่
-สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ศึกษาในด้านทฤษฎีและปฏิบัติทาง
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
-สาขาวิชาปรัชญา ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา หลักการ แนวคิด และผลกระทบของปรัชญาต่าง ๆ
-สาขาวิชาศิลปการละคร ศึกษาเกี่ยวกับการละครในด้านเวที ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ตลอดจนประวัติและวรรณคดีของการละคร
-สาขาวิชาภาษาไทย ศึกษาเกี่ยวกับภาษาไทยและวรรณคดี โดยผู้ศึกษาจะเลือกเน้นหนักอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้
-สาขาวิชาภาษาบาลี และสันสกฤต ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและรายละเอียดของภาษาบาลี และสันสกฤต เพื่อยกมาประกอบการศึกษาคำไทย ทั้งที่ใช้อยู่ในวรรณคดี และที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งศึกษาโครงสร้างคำบาลีและสันสกฤต เพื่อจะได้บัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทยได้ตลอดจนศึกษาวรรณคดี และวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีภาษาสันสกฤต เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมและประเพณีไทยได้
นอกจากนี้ยังมี สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ให้เลือกศึกษาอีกมากมาย อาทิ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส สาขาวิชาภาษาเยอรมัน สาขาวิชาภาษาส เ ปน สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน สาขาวิชาจีนกลาง ซึ่งการเรียนสาขาภาษาต่างประเทศแต่ละสาขานั้นจะศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาใน ด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การแปล ตลอดจนศึกษาวรรณคดี และศิลปวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้ที่จะเข้าศึกษาในคณะนี้ควรมีคุณสมบัติในด้านอารมณ์ ความคิด และแนวโน้มที่เหมาะสมกับลักษณะวิชา มีความรัก ความสนใจ ความสนใจในภาษา ชอบการอ่าน การเขียนและการค้นขว้า การศึกษาในคณะนี้มุ่งที่จะพัฒนาความคิดและปัญญามากกว่าจะเป็นวิชาที่จะ เตรียมตัวไปสำหรับ
การประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งโดยตรง
แนวทางในการประกอบอาชีพ
บัณฑิตส่วนใหญ่จะมีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่ใช้งานได้ดี ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศถึง 2 ภาษา ทำให้สามารถทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาต่างประเทศในวงราชการ วงการธุรกิจ วงการบันเทิง และงานด้านเอกสารต่าง ๆได้ดี เช่น เป็นอาจารย์และนักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิจัยเลขานุการ เจ้าหน้าที่สารนิเทศ เจ้าหน้าที่ต้อนรับในบริษัทการบิน มัคคุเทศก์ ล่าม นักแปล พนักงานธนาคาร และสถาบันการเงิน นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่งานแผนที่และผังเมือง นักแสดง บรรณารักษ์ และประกอบอาชีพส่วนตัว เป็นต้น

คณะศิลปกรรมศาสตร์/จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์


คณะศิลปกรรมศาสตร์/จิตกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาการที่เกี่ยวกับศิลปะและประยุกต์ศิลป์ โดยศึกษาทฤษฎีประวัติ เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การออกแบบปั้น การพิมพ์ การเล่นดนตรี และการรำ เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีจุดหมายให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งบุกเบิกสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศึกษาศิลปะบริสุทธิ์ที่รับรู้ผ่านการมองเห็น เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย และสื่อผสม
โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีศิลปะ ประวิติศิลปะ ปรัชญาศิลปะ และวิชาปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะต่างๆ
สาขาวิชานฤมิตศิลป์ ศึกษาการออกแบบเพื่อสื่อสารแนวความคิด เช่น การออกแบบกราฟฟิก เครื่องปั้นดินเผา แฟชั่น และนิทรรศการ โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการออกแบบประวิติการออกแบบ ปรัชญาการออกแบบต่าง ๆ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ศึกษาดนตรีไทย และสาขาดุริยางคศิลป์ วิชาเอกดุริยางคศิลป์ตะวันตก ศึกษาดนตรีคลาสสิก โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีดนตรี ประวัติดนตรี และวิชาปฏิบัติการบรรเลง ขับร้อง และประพันธ์ดนตรี
สาขาวิชานาฎยศิลป์ แยกเป็นนาฎศิลป์ไทยซึ่งศึกษาการรำไทย และนาฎยศิลป์ตะวันตกเป็นการศึกษาการเต้นบัลเล่ต์และการเต้นรำแบบตะวันตก โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการรำ ประวัติการรำ ปรัชญาการรำ และวิชาปฏิบัติการรำแบบต่างๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1 .ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และทักษะในการค้นคว้า และการแสดงออกทางศิลปกรรม
2 .ต้องยินดีที่จะสละเวลาเพื่อการฝึกฝนทักษะนอกเวลาเป็นพิเศษด้วยตนเอง
3 .ต้องไม่มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสาขาวิชานั้น ๆ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในหน่วยงานราชการ สถาบันเอกชน และงานอิสระของตนเองได้ เนื่องจากศิลปการรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะทางซึ่งเป็นที่ต้องการของ สังคมไทย ซึ่งกำลังมีการพัฒนาการด้านศิลปะและการออกแบบ

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นการศึกษาที่เน้นให้มีความรูทัศนคติ ทักษะของ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบสวิสดิการ และการพัฒนาสังคม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นได้อย่างเหมาะสม
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ภาค วิชา คือ
ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และ ภาควิชาการพัฒนาชุมชน
สำหรับภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์นั้น ยังแบ่งออกเป็น 5 สาขาวิชา คือ
สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการศึกษา
สาขาสังคมสงเคราะห์ในกรบวนการยุติธรรม และ
สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ควรเป็นผู้มีใจรักและเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ มองโลกในแง่ดี มีจิตในเสียสละ มีจิตสำนึกที่จะช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม มีมนุษยสัมพันธ์สามารถเป็นมิตรและปรับตัวเข้ากับคนทั่วไปได้โดยไม่เลือกชั้น วรรณะ ยิ่งกว่านั้นยังต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ มีคุณธรรม และจริยธรรม มีจิตในเยือกเย็น และมีความอดทนเป็นเลิศเหมาะสมกับการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหา และพัฒนาสังคม
แนวทางในการประอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพในภาครัฐ เช่น กรมประชาสงเคราะห์ กรมการพัฒนาชุมชน กรมตำรวจ โรงพยาบาล เป็นต้น และภาคเอกชน เช่น ธนาคาร บริษัท เป็นต้น ซึ่งอาจได้บรรจุในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ ( ซึ่งจัดว่าเป็น “ ตำแหน่งขาดแคลน “ ) หรือตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่น เช่น นักสวัสดิการสังคม นักแรงงาน ผู้ประสานงานโครงการ พนักงานฝ่ายบุคคล และวิเคราะห์สินเชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำความรู้ทางด้านสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ในการ ประกอบอาชีพอื่น ๆ และอาชีพอิสระได้อีกด้วย

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

สังคมวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาและอธิบายพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ด้วยวิธีการแบบวิทยา ศาสตร์ ศึกษารูปแบบกระบวนการและผลของการกระทำระหว่างกันของคนในสังคม ชุมชน องค์การ กลุ่มคนไปจนถึงสถาบันสังคมแบบต่าง ๆ การศึกษาสังคมสังคมวิทยามีกลุ่มวิชาต่าง ๆ เช่น กลุ่มวิชาทฤษฎีและระเบียบวิธี กลุ่มวิชาจิตวิทยาสังคม กลุ่มวิชาจิตวิทยาสังคม กลุ่มวิชาประชากรชุมชนและสิ่งแวดล้อม กลุ่มการจัดระเบียบทางสังคม กลุ่มความเบี่ยงเบน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
มานุษยวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์ ผลงานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
เช่น ภาษาวัฒนธรรม ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน
การศึกษามานุษยวิทยา ในคณะแบ่งออกเป็นกลุ่มวิชาใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวิชาทฤษฎี
กลุ่มวิชาระเบียบวิธี กลุ่มวิชาวัฒนธรรมและสังคมวิเคราะห์ กลุ่มวิชาของวัฒนธรรม
กลุ่มวิชาโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์ และ กลุ่มวิชามานุษยวิทยาชีวภาพ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้ที่ศึกษาสามารถจบทั้ง ม.ปลาย สายวิทยาศาสตร์ และสายศิลป์ มีความสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสามารถทำงานใน
ด้านต่าง ๆ เช่น งานวิจัย งานด้านการวางแผนหรือวิเคราะห์นโยบาย และงานสอนหนังสือ เป็นต้น
ส่วนงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ความรู้ทางสังคมวิทยาโดยตรง ได้แก่ งานฝึกอบรมหรือการประชุม งานบริหาร เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ เซลล์แมน งานข่าว เช่น พนักงานข่าวกรอง ผู้สื่อข่าว พนักงานวิทยุ
งานธุรการ เช่นReceptionist เจ้าหน้าที่สโมสรงานฝ่ายบุคคล ทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล หน่วยงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจ องค์การพัฒนาเอกชน และมูลนิธิต่าง ๆ เช่น โครงการสมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเอง สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ฯลฯ


คณะวนศาสตร์


คณะวนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ในด้านต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็นออกเป็นสาขาให้เลือกศึกษาได้ดังนี้ การจัดการทรัพยากรป่าไม้
การเรียนในสาขาวิชานี้จะเรียนใน 3 แขนงวิชา ได้แก่
การจัดการลุ่มน้ำ ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางอุทกวิทยา การวางแผน การใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การวิเคราะห์ลุ่มน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม การจัดการป่าไม้ ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การคณิตป่าไม้ การสำรวจแจงนับ ทรัพยากรป่าไม้ ชีวมิติป่าไม้ การวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม การทำแผนที่การใช้ที่ดินเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้ การตลาด ป่าไม้ อุทยานและนันทนาการ ศึกษาเกี่ยวกับหลักนันทนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ พฤติกรรมนันทนาการ การวิเคราะห์และออกแบบภูมิทัศน์ เทคนิคการสื่อความหมายสิ่งแวดล้อม การวางแผนอุทยานและพื้นที่นันทนาการ
วิศวกรรมป่าไม้ ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์งานด้านวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับงานป่าไม้ เช่น การสำรวจรังวัดทำแผนที่ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การทำระดับพื้นที่ การทำทางชักลากไม้ การสร้างบ้านพัก สะพาน ถนน บ่อน้ำ ในงานป่าไม้ ตลอดจนการนำไม้ออกจากป่าให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ป่าไม้ วนศาสตร์ชุมชน ศึกษาเกี่ยวกับด้านป่าไม้และชุมชนบท อันได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน หลักวนเกษตร ชีววิทยาประยุกต์ในการปลูกพืช การส่งเสริมการป่าไม้ในการพัฒนาชนบทการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ป่าไม้มีขนาดย่อม วิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ การเรียนในสาขานี้ แบ่งการเรียนออกเป็น 3 แขนงวิชา ได้แก่ ชีววิทยาป่าไม้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในป่า เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าสรีรวิทยาของไม้ อนุกรมวิธานของพันธุ์ไม้ป่า นิเวศวิทยาของป่า การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และแมลงศัตรูของพืช โรคพืช
วิทยาศาสตร์สัตว์ป่าและทุ่งหญ้า ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของสัตว์ป่า นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์สัตว์ป่า นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า เทคนิคการจัดการจัดการสัตว์ป่า การเลี้ยงสัตว์ พืชอาหารสัตว์ เทคนิคการศึกษาสัตว์ป่า การจัดการทุ่งหญ้า การใช้ประโยชน์ทุ่งหญ้า วนวัฒนวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับการปลูกบำรุงป่าไม้ พันธุ์ศาสตร์ เมล็ดพันธุ์ไม้ การป้องกันป่าไม้และไฟป่า ปฐพีวิทยาป่าไม้ อาหารพืชไม้ แมลงศัตรูป่าไม้ วนวัฒนวิทยาเขตเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสมบัติพื้นฐานของไม้และการใช้ประโยชน์ไม้ควบคู่ไปกับการศึกษาด้านวิศวกรรม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ รักป่า รักธรรมชาติ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษามีโอกาสเข้าทำงานที่กรมป่าไม้ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีเพียงคณะวนศาสตร์แห่งเดียวที่ผลิตปริญญาตรีด้านนี้ นอกจากนี้สามารถทำงานได้ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทไม้อัดไทย และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไม้ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น

Credit http://admissions.is.in.th

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...