ช่วงนี้น้องๆ หนูๆ ก็กำลังจะสอบแล้วใช่มะล่าาา (รวมถึงข้าเจ้าด้วย )
ไม่ว่าจะเรียนอยู่ชั้นไหน ก็ย่อมต้องมีปวดตับกับการจำอะไรที่มันยากๆ บ้างแน่นอน
เคยไหมที่แบบ อ่านเจออะไรสักอย่างที่โคตรงง สับสน จำยาก จำไม่ได้ จำใจไปรักเธอ อี๋แหวะ
วันนี้มูนชายส์ไดเร็กเจ้าเก่า ขอเสนอออออ
วิธีน่ารักงุงิที่จะทำให้เราจำอะไรที่มันยากๆ ให้ง่ายๆ ขึ้น อึ้น อึ้น อึ้น
(มาอีหรอบเดิมอย่างแร็ง )
1. ใช้แผนภูมิหรือแผนภาพช่วย
ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่นสามเหลี่ยมสูตรแบบนี้
หรือแบบนี้
ยกตัวอย่างง่ายๆ อีกอันคือสามเหลี่ยมปาสคาล
ที่มีประโยชน์มากในกรณีจะหาการกระจายพหุนามในดีกรีสูงๆ
(อา อธิบายอะไรแบบนี้ไม่สันทัด โยนให้พี่เอ๊ดละกัน )
ที่มา: http://www.vcharkarn.com/uploads/8/8447.jpg
2. จำให้อยู่ในรูปประโยค
ยกตัวอย่างเช่นหน่วยฐานของ SI ที่มี 7 ตัว คือ
ความยาว (m) กระแสไฟฟ้า (A) เวลา (s) น้ำหนัก (kg)
ปริมาณสาร (mol) และความเข้มของการส่องสว่าง (cd)
สามารถสร้างประโยคง่ายๆ ได้เป็น mAsK kilo mol cd
(อ่านว่า แมสก์ [ที่แปลว่าหน้ากาก] กิโล โมล แคนเดอลา)
ไม่รู้ว่าจะำจำง่ายขึ้นกว่าเดิมมั้ย แต่หลังจากที่อาจารย์สอนท่องจำมา ตอนนี้ก็ยังจำได้อยู่
ตัวอย่างที่ง่ายๆ อีกแบบในวิชาภาษาไทยคือ การท่องกลอน
ยังจำกันได้อยู่เปล่าเอ่ย
จริงๆ กลอนพวกนี้ทำให้เราสามารถใช้ ทร-, บัน-, ใ- ได้โดยไม่สับสนเชียวนะ
3. จำให้อยู่ในรูปภาพ
ยกตัวอย่างอักษรญี่ปุ่นละกันค่ะ
อันนี้อาจารย์ก็สอนมาเหมือนกัน
ตัวอักษรคาตากานะบางทีก็จำยาก ยิ่งจำฮิรากานะไม่ค่อยได้ยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่
บางตัวก็ท่องในรูปภาพซะเลย
ตัวเระมันเหมือนเล็บ ก็เป็น เระ - เล็บ
มุเหมือนจมูก ก็เป็น มุ - หมูก
โระเหมือนโล่ ก็ท่องว่า โระ - โล่
ช่วยได้จริงๆ ตอนสอบจำตัวเระไม่ได้ นึกๆ ซักพักนึงก็นึกถึงเล็บขึ้นมา ฮ่า
(เอ๊ะว่าแต่นึกถึงเล็บ แต่ทำไมไปไฮไลต์สีฟ้าที่นิ้วหว่า ช่างมันละกัน )
อักษรเกาหลีก็ใช้ภาพช่วยจำได้นะคะ
จำได้ว่ามีคนเคยเขียนเอนทรี่จำอักษรเกาหลีนี่แหละแต่จำลิงก์ไม่ได้แล้ว
4. พยายามหาความเหมือนหรือแตกต่างแล้วท่องแบบแปลกๆ
ยกตัวอย่างกริยาของภาษาญี่ปุ่น
คำว่า ดู อ่านว่า มิ - มัส
คำว่าอ่าน อ่านว่า โยะ - มิ - มัส
บางทีสับสนมาก จำไม่ได้ว่าดูกะอ่านอันไหนใช้มิใช้โยะมิ
ก็เลยคิดวิธีท่องแบบพิเรนทร์ๆ ได้ว่า
(ระหว่างพูดคำว่าดูมิดู๊ก็เต้นท่าลิฟท์ออยไปพลางๆ )
จริงๆ ข้อนี้ค่อนข้างสำคัญเพราะว่าบางทีจะเจออะไรที่มันคล้ายๆ กัน
หรือเป็นเรื่องเดียวกัน
ถ้าจะเรียนแบบเข้าใจจริงๆ ก็ควรจะหาความเหมือนหรือความแตกต่างของมันให้เจอ
ถ้าจำไม่ได้ก็พยายามท่องแบบต๊องๆ เอาไว้ จำไว้ว่ายิ่งพิเรนทร์เท่าไหร่จะจำได้ดีเท่านั้น
(บางคนท่องแบบติดเรตก็มี แต่พอดีไม่นิยม ฮ่าๆๆ)
[Edit]
5. จำให้อยู่ในรูปเพลง
ได้มาจากคอมเมนต์ค่ะ
วิธีนี้ก็โอเคเลยทีเดียว
มีสถาบันสอนกวดวิชาภาษาอังกฤษแห่งหนึ่งก็ใช้วิธีจำศัพท์จากเพลงมาเป็นจุดขายเหมือนกัน
จำได้ว่า ตอน ม.ปลาย อาจารย์ให้ท่องพวกไฟลัมบลาๆ ต่างๆ มากมาย
แล้วเพื่อนก็พยายามทำให้ท่องคิงด้อมสัตว์ได้ง่ายๆ
ก็แต่งเพลงแร็พโย่ซะเลย
จำได้แค่วรรคแรกคือ
"ไฟลัมที่หนึ่ง ไฟลัมพอริเฟอรา
ฟองน้ำนะจ๊ะ สองชนิดรู้บ้างไหม
โคแอนโนไซต์ อะมีโบไซด์น่าสนใจ
...............บลาๆๆ (ลืมหมดแล้ว) "
เสียดายเพลงนี้เหมือนกันนะเนี่ย 555+
แต่อย่างน้อยก็จำ 2 ไฟลัมแรกของสัตว์ได้เชียวนะ พอริเฟอรากะซีเลนเทอราตา
(เกลียดวิชาชีวะมากๆ ได้แค่นี้ก็บุญเท่าไหร่แล้ว )
[End Edit]
สุดท้ายนี้ต้องขอชี้แจงว่า
นี่เป็นแค่การยกตัวอย่างนะคะ
วิธีที่จะเอามาแนะนำนี่ ก็คล้ายๆ กับเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนดีๆ นี่เอง
แต่สวนอาจจะนึกไม่ถึงไงเนอะ
ตัวอย่างที่ให้อาจจะใช้ไม่ได้ (แน่สิ เพราะเราไม่ได้เรียนเหมือนกัน)
ก็ประยุกต์ใช้เอาเองละกันนะก๊า
(จริงๆ มีตัวอย่างอีกเยอะแยะมากมายที่จำแบบจวนตัวเข้าห้องสอบ
แน่นอน ตอนนี้มันจะมาจำได้ยังไง 55+)
และเอนทรี่นี้จะไปได้ดีในช่วงสอบ และจะดีมากถ้าอ่านคู่กับเอนทรี่นี้ค่า (จิ้มที่ลิงก์ข้างล่างได้เลยจ้ะ)
วิธีอ่านหนังสือสอบให้เข้าสมอง (บ้างก็ยังดีนะ...)
ก็หมดแล้วล่ะค่ะ ถ้าใครนึกวิธีไหนออกอีกก็บอกนะคะ
ท้ายนี้ก็หวังว่าอ่านแล้วคงได้แรงบันดาลใจในการจำหรือการเรียนให้เข้าใจมากขึ้นนะค้า
ขอให้ทำข้อสอบได้คะแนนเยอะๆ ค่า (อวยพรให้ตัวเองด้วย สาธุๆ )
Credit http://moonshines.exteen.com