กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 2 มีนาคม 2560 – ดร. คีธ อี. เวลช์ (ที่ 2 จากซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับคณาจารย์จากทั่วภูมิภาคเอเชียเพื่อเข้าร่วมงานกิจกรรมสัมมนาประจำภูมิภาคในกรณีศึกษาของเอเชีย ( Regional Dynamics In Asia Case Studies) ที่ศูนย์วิชาการกรุงเทพฯ ของมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ที่ตึกเอ็มไพร์ทาวเวอร์ จากซ้าย ดร. ราจาโกเพล ดาร์ จักรโพธิ หัวหน้าและอาจารย์ประจำสาขาการศึกษาเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกัลกัตต้า ดร.เวลช์ และ ดร.ลิปิ จอร์ช อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมืองกัลกัตต้า ดร.สุริยา จินดาวงศ์ รองอธิบดีประจำกรมอาเซียน , กระทรวงต่างประเทศของประเทศไทย, ดร.เคนเน็ธ ฮิวสตัน หัวหน้าภาควิชาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) , คุณมาธุริมะ เจ้าดูรี่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเมืองกัลกัตต้า , ดร.เรเชล เอ็ม รูดอล์ฟ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) , ดร.ลินด์เซย์ คิงส์สตัน รองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ เซนต์หลุยส์ , และ ดร.โรแลนด์ โลชิ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศไทย
###
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์
มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2458 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีนักศึกษากว่า 17,000 คนในวิทยาเขตต่างๆ เช่น อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา โดยมีการเรียนผ่านระบบออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์มุ่งมั่นที่จะดำเนินการสอนอย่างมีคุณภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก้าวสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการและเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่โลก มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจโดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการสอนอย่างคุณภาพและประสิทธิภาพให้แก่นักศึกษา
มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศไทย (www.webster.ac.th) ดำเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 ซึ่งมีทั้งหมดสองวิทยาเขตได้แก่ วิทยาเขตชะอำ / หัวหิน สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี และศูนย์วิชาการกรุงเทพฯสำหรับหลักสูตรปริญญาโทและบางภาควิชาสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ประเทศไทยได้รับการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการรับรองคุณวุฒิฯของสหรัฐอเมริกา ( The Higher Learning Commission, USA) และผ่านการรับรองจากสภารับรองโรงเรียนธุรกิจและโปรแกรม คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมายไทย และได้รับการรับรองคุณภาพในระดับ “ดีเยี่ยม” จากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติและการประเมินคุณภาพ (สมศ.)