ประชาสัมพันธ์

ไป "เชียงคาน"กัน ... !!

  
อำเภอ เชียงคาน จังหวัด เลย  
อิสระอยู่ที่ใจไปไหนไป " เลย 
"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"
  เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง "100 ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง" ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป 
   เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป.. อ่านต่อ

     เชียงคาน อำเภอเล็ก อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง จากอาณาจักรล้านช้างในอดีต จากภูมิประเทศที่ติดชายแดนลาว ผู้คนที่นี่ทำการค้าขายกับคนลาวฝั่งตรงข้ามอยู่สม่ำเสมอตั้งแต่อดีตกาล
     ครั้นประเทศลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ศิลปวัฒนธรรมการก่อสร้างบ้านเรือน อาหารการกิน คนที่นี่พลอยได้รับอารยธรรมฝรั่งเศสไปด้วย
     การคมนาคมนอกจากเรือ แล้ว จักรยานเห็นจะเป็นยานพาหนะยอดฮิตของผู้คนที่นี่ เราสามารถเห็นจักรยานรุ่นเก่าจอดเรียงอยู่หน้าบ้าน แถวเชียงคานอยู่ทั่วไป
     บ้านเรือทรงไทยโบราณเกือบร้อยปี หากใครมีฐานะหน่อยก็จะมีระเบียงหน้าบ้าน จนหน่อยก็มีแค่หน้าต่าง
     วัฒนธรรมการใส่บาตรข้าวเหนียวยามเช้า ยังคงมีให้เห็นอยู่ พระที่นี่เดินบินฑบาตกันแต่เช้ามืด ประมาณ 6.00 น. ช่วงหน้าหนาวสว่างช้าหน่อยก็เดินกันตั้งแต่ 6.30 น.
     ทางหอการค้าท่องเที่ยว จ.เลย มีแผนการหลายอย่างที่จะอนุรักษ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ สิ่งก่อสร้าง ภาษาท้องถิ่น ของผู้คนที่นี่
     ปัจจุบันทางการกำลังทำถนนจาก อ.ท่าลี่ สู่ หลวงพระบาง ประเทศลาว ประมาณ 320 กม. ถือว่าสั้นและสะดวกที่สุดในการเดินทางโดยรถยนต์ โครงการนี้จะแล้วเสร็จ ประมาณปี 2556
     ลัดเลาะสองฝั่งโขง แถวเชียงคานนี่เอง เป็นจุดเริ่มลำน้ำโขงที่มาบรรจบกับลำน้ำเหือง ไหลผ่านอีกหลาย อำเภอ ของอีกหลายจังหวัดของประเทศไทย ทิวทัศน์แปลกตา มีเกาะแก่งน้อยใหญ่ให้ดูชมตลาดเส้นทางที่คู่ขนานกับลำน้ำสายนี้
     อาหารการกิน ส่วนใหญ่เป็นจำพวกปลาต่างๆ จากแหล่งน้ำโขงนี่เอง 

 เชียงคาน....ในความทรงจำ 
เชียงคาน เป็นชื่อที่ผมคุ้ยเคยเป็นอย่างดี แต่ยังไม่เคย 
ได้ไปสัมผัสสักครั้ง ดังนั้นจึงตั้งไว้เป็นปณิธานเลยว่าใน 
ชีวิตนี้ผมต้องไปเยือนที่แห่งนี้ให้ได้ และแล้วการค้นหา 
ข้อมูลก็เริ่มขึ้น "เชียงคาน" เป็นอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่ง 
ของ จ.เลย บรรยากาศคล้ายเมืองปาย แต่สงบเงียบ 
มากกว่า หากเปรียบ อ.ปาย เป็นสาวรุ่นที่กำลังเริ่มจะใจ 
แตก เชียงคานก็ถือว่ายังเป็นเด็กน้อยวัยละอ่อน ที่ยังไร้การแต่งแต้มสีสันใส่จริต


         เชียงคาน ผมมีโอกาสมาเยือนที่นี่ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2550 ผมมากับพ่อแม่ ชั่วชีวิตที่ผ่านมาเท่าที่จำความได้ผมไม่เคยเห็น 
พ่อกับแม่ไปไหนเลย นอกจากจังหวัดบ้านของตัวเอง นี่จึงเป็นการเดินทางไปจังหวัดอื่นๆครั้งแรกในชีวิตของท่านทั้ง 2 คน ความจริงผม 
มาทำงานแต่อยากพาท่านมาเที่ยวด้วย รู้สึกอุ่นใจไม่น้อยที่มีทั้ง 2 คนเดินทางมาด้วย 
       ครั้งที่สอง ผมมากับคนคนนึง เป็นการเที่ยวด้วยกันครั้งแรกของเรา 2 คนและก็เป็นครั้งสุดท้ายอีกเช่นกัน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึก 
ประทับใจกับสถานที่เลือนหายไป ทันทีที่เดินทางมาถึงเชียงคาน ผมก็มีความรู้สึกว่าชีวิตของเราเดินช้าลง ไม่ต้องไปเร่งรีบกับชีวิตให้วุ่นวาย 
ใช้จักรยานแทนรถเครื่อง อาคารไม้เก่าแก่ดูเป็นเสน่ห์ดึงดูดแรกๆ ที่คนมาเที่ยวเชียงคานนึกถึง เดินไปทางไหนก็มีแต่รอยยิ้มและมิตรไมตรี 
ของผู้คนที่นี่ที่พร้อมต้อนรับบุคคลแปลกหน้าอย่างสม่ำเสมอ 


      เชียงคาน ไม่ได้มีเพียงแต่บ้านเรือนเก่าคลาสสิค แต่ยังมีสิ่งยึดเหนี่ยวของชาวบ้านที่นี่อีกมากมาย นั้นก็คือวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 
วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน จากเชียงคาน - ปากชมประมาณ 6 กิโลเมตร พระพุทธบาทภูควายเงินเป็นรอยพระพุทธบาทประดิษฐานบน 
หินลับมีด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อพ.ศ. 2478 รอยพระพุทธบาทภูควายเงินเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในแถบนี้มาก 
ทุกปีในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ทางวัดจะจัดงานสมโภชประจำปีถือเป็นงานสำคัญของชาวบ้านในแถบนี้ วัดศรีคุณเมือง วัดเก่าแก่คู่เมือง 
เชียงคาน สวยงามด้วยศิลปะที่ผสมผสานระหว่างล้านนาและล้างช้าง หรือจะไปชมซุ้มประตูวิหารทรงโค้งแปลกตาที่ วัดโพนชัย หรือ 
วัดท่าแขก ที่อยู่บนเส้นทางที่จะไปแก่งคุดคู้ ก็มีความงามไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะเป็นวัดเก่าแก่โบราณ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็น
วัดธรรมยุต ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก

 


1. นอกจากความสงบภาพบ้านเรือนไม้เก่าแก่ 
คือ เสน่ห์และเอกลักษณ์ของเมืองเชียงคาน 
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว


2. ภาพรถจักรยานคู่ใจกับอาคารไม้คลาสิค 
ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องบันทึกภาพ 
กลับมาแทบทุกครั้ง




      พาหนะ ที่พวกเราใช้ตลอดการอยู่ที่นี่ก็คือจักรยาน ซึ่งก็เป็นการออกกำลังกายไปในตัวและช่วยลดภาวะโลกร้อน ไม่เฉพาะพวกเราเท่านั้น 
ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ก็ยังอนุรักษ์ไว้ มีบ้างที่เปลี่ยนเป็นรถเครื่อง ซึ่งเป็นไปตามกาลเวลาตามนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ แต่ก็ไม่ได้มาก 
มายจนทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไป เพราะถึงแม้สิ่งต่างๆจะหมุนเวียนไปตามโลก แต่ความสงบของเชียงคาน ก็ยังคงทำหน้าที่ของมันได้อย่าง 
ดีไม่เสื่อมคลาย ระหว่างที่ปั่นจักรยานชมความงามของเมืองเชียงคาน สายตาของผมก็ได้สัมผัสกับสภาพบ้านเรือนของที่นี่ ที่ต่างยังคงเป็น 
แบบเรือนไม้ดั้งเดิม อาจมีบางหลังที่แปรสภาพเป็นปูนไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้การมาเยือนของผม 
สนุกสนานกับการได้บันทึกความทรงจำไว้เป็นภาพถ่าย และมีความสุขที่ได้ยินเสียงกดชัตเตอร์บันทึกภาพแต่ละใบ บ้านเรือนแต่ละหลังก็จะ 
มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เก่ามากบ้าง เก่าน้อยบ้าง แต่ผมกลับคิดว่า นี่แหละคือเสน่ห์ของเชียงคานจริงๆ มันดูคลาสสิคและมีเสน่ห์ 
บ้านผมปัจจุบันก็บ้านไม้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผมชอบบ้านเหล่านี้นักหนา


     กิจกรรมในช่วงเช้าที่ทุกคนพร้อมใจกันทำ นั่นคือการใส่บาตรบ้านแต่ละหลังก็จะหุงหาอาหารพร้อมสรรพ ทุกๆเช้าจะมาพระบิณฑบาตร
เดินเรียงกันเป็นภาพที่ดูน่าประทับใจยิ่งนัก ใครๆหลายคนบอกที่กรุงเทพฯก็มีภาพแบบนี้ แต่สำหรับผมกลับรู้สึกว่าที่นี่มันมีมนต์เสน่ห์อบ่าง 
บอกไม่ถูก ส่วนกิจกรรมส่วนใหญ่ในยามสายของผู้เฒ่าผู้แก่ที่นี่ก็คือการมานั่งสนทนากัน มองดูชีวิตที่แปลกหน้าแปลกตาที่หมั่นแวะเวียน 
มาเยือนเชียงคาน หลายชีวิตมาแล้วก็จากไป หลายชีวิตก็ทิ้งความวุ่นวายจากเมืองใหญ่ย้อนกลับมาโหยหาความสงบอีก ครั้งอย่างไม่มีวันเบื่อ 
ี่




 

       แหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ไม่ควรพลาดก็คือ แก่งคุดคู้ 
แก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ปั่นจักรยานมาประมาณ 3 
กิโลเมตรก็ถึงแล้วครับ ที่นี่จะมีหินก้อนใหญ่ ๆ จำนวนมาก ด้วย 
ความที่หินเหล่านี้อยู่ใต้น้ำเวลานาน ทำให้หินมีสีสันแตกต่างกัน 
กันออกไป ตัวแก่งกว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขงมีกระแส 
น้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งไทยเท่านั้นเอง เวลาที่ 
เหมาะจะชมแก่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือน 
กุมภาพันธ์ -พฤษภาคม 
เป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็นเกาะแก่งชัดเจน และตลอดเส้น 
ทางไปแก่งคุดคู้ จะมีของฝากขึ้นชื่อนั่นก็คือ มะพร้าวแก้วฝีมือ 
ของชาวบ้านรับรองอร่อยไม่แพ้เจ้าใดๆ


        เชียงคาน มีเกสเฮ้าต์์หลายแห่ง ราคาแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่ได้แพงอะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เรือนแรมลูกไม้ แซมเกสเฮ้าต์์ เชียงคานเกสเฮ้าท์ และอีกมากมาย ที่ตั้งอยู่บนถนนชายโขงติดริมแม่น้ำโขง สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ทั้ง 2 ครั้งผมเลือกพักที่ โฮมสเตย์ของ คุณยายศรีพรรณ ด้วยความที่แกอยู่คนเดียวแขกทุกคนที่ไปเยือนจึงเปรียบเสมือนลูกหลานที่จากบ้านไปไกลแล้วกลับมา 
เยี่ยมแกอีกครั้ง คุณยายศรีพรรณ จะรู้สึกกระตือรือร้นต้อนรับแขกผู้มาเยือนทุกครั้ง จัดการหุงหาอาหาร นึ่งข้าวเหนียวใส่บาตรช่วงเช้า 
ขอเพียงผ่านไปทักทายคุณยายบ้าง ก็คงจะพอคลายเหงาให้แกได้ไม่น้อย
  
1.คุณยายศรีพรรณเตรียมอาหารเช้าให้พวกเราทาน
 2.หญิงสาวแห่งบ้านนิยมไทยกำลังขมักเขม้นเย็บ 
ผ้านวม สินค้าขึ้นชื่อแห่งเมืองเชียงคาน

       ส่วน บ้าน "นิยมไทย" ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามบ้านของคุณยายศรีพรรณก็เป็นเพื่อนบ้านที่ดี เป็นคุณยายอีกท่าน บ้านหลังนี้จะผลิตผ้านวมทำมือ 
ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อเมืองเชียงคาน เวลาผมไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นๆก็มานั่งคุยกับแก การที่คนสองวัยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ซึ่งกันและกัน 
ได้ดีทีเดียว เพราะช่วงชีวิตในแต่ละวัยในกาลเวลาที่พ้นผ่าน ย่อมมีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เพราะฉะนั้นการแลกเปลี่ยนความคิด จึงเป็นอีกเส้นทาง 
หนึ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมขึ้น และถ้าใครสนใจก็สามารถซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านด้วยก็ได้นะครับ อุ่นจริงๆผมยืนยัน

      ด้วยสิ่งเหล่านี้จึงไม่แปลกใจเลยว่า เชียงคาน ถึงยังเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ที่หลายๆคนต่างหมายปองจะเดินทางมาสัมผัส บางคนอาจมองว่าไม่ีมี 
อะไร แต่ในความที่ไม่มีอะไร นั่นแหละมันมีมากพอ หากคุณลองเปิดใจสักนิดไม่ปิดกั้นตัวเองอยู่ในกรอบแคบๆ เส้นทางการเดินทางของคุณอาจ 
จะยาวไกลขึ้นก็ได้ ใครจะรู้ และตราบใดที่ยังมีทางให้คุณเดิน ขอให้คุณจงเดินต่อไปอย่าหยุดยั้ง การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ จะทำให้คุณเปิด 
โลกทัศน์ได้กว้างไกลขึ้น และเชียงคาน ก็เป็นอีก 1 ทางเลือกของคนที่ชอบท่องเที่ยวเช่นคุณ เชียงคาน ...ในวันนี้ ยังเปิดใจรอต้อนรับทุกรอย 
เท้าที่พร้อมจะก้าวเข้ามาสัมผัส ขอให้เพื่อนๆทุกคนมีความสุขกับการท่องเที่ยวนะครับ

 ขอบคุณเรื่องและภาพ จาก คุณ เอ ตัวเรา 
เยี่ยมเยียนได้ที่ http://phitchaphat.multiply.com

  

  อัพเดทข้อมูลท่องเที่ยว ใหม่ล่าสุด คลิ๊ก เชียงคาน
การเดินทางไปเชียงคาน 

1. โดยรถส่วนตัว 
- จากกรุงเทพใช้ทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) เมื่อถึงจ. สระบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่าน อ. ปากช่องลำตะคอง 
แยกซ้ายเข้าอ.สีคิ้ว จ. นครราชสีมาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอ.ด่านขุนทดเข้าสู่ จ. ชัยภูมิ แยกขวาและไปตามทางหลวง 
หมายเลข 201 ผ่านอ. คอนสวรรค์ อ. แก้งคร้อ ,อ. ภูเขียว,อ.ชุมแพ จ. ขอนแก่น เมื่อเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 12 แยกซ้ายไปทาง 
อ .คอนสาร จากนั้นแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 201 สู่เขต จ.เลยอีกที ที่ภูผาม่าน ผ่านภูกระดึง วังสะพุง ถึงตัวเมืองเลย สุดท้ายแยกขวาสู่อ.เชียงคาน รวมระยะทางประมาณ 597 ก.ม. 

 2. โดยรถสาธารณะ 
รถโดยสารไปเชียงคาน มีเฉพาะของ บริษัทขนส่ง เท่านั้น ที่ไปถึงเมืองเชียงคาน โดยตรง 
- กรุงเทพฯ-เชียงคาน เที่ยวไปเชียงคานมี 2 รอบ คือ รถป. เวลา 20.00 น. และรถ VIP 22.00 น. โทร 0-2936-2841-8),(0-2936-0657)ต่อ605 
- เชียงคาน-กรุงเทพ มี 3 รอบ คือ รถ ป. 2  รอบ 18.40 น. รถป 1 (ต่อรถที่ตัวเมืองเลย) รอบ 19.30 น. รถ VIP 22.00 น.   ซื้อตั๋วได้ที่ร้านแสงทอง ตรงตลาดเช้า โทรจองตั๋วล่วงหน้าได้ที่แอร์เมืองเลย โทร 042 811 706 

เที่ยวอย่างไรในเมืองเชียงคาน 
เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเมืองเชียงคาน รถจักยานยนต์และรถจักรยาน ถือเป็นพาหนะที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งรีสอร์ท และ 
เกสต์เฮาส์แต่ละแห่งก็จะมีคอยให้บริการอยู่แล้ว หากต้องการเดินไปแก่งคุดคู้ก็ไปเช่าหารถสกายแล็ปแถวตลาดราคา100บาทค่ะ 
ร้านอาหารแนะนำ 
- ร้านลุกโภชนา 042 821 281 
- ร้านบ้านต้นโขง 0 4282 1281 


โรงแรม ที่พักเชียงคาน อัพเดทภาพ+ข้อมูล อย่างละเอียด คลิ๊กที่นี่ค่ะ ที่พักเชียงคาน  

- เรือนแรมลูกไม้ ราคา 300-400 บาท โทร 086 234 0011 , 
เบิ่งโขง โฮมสเตย์ ราคา 500 บาท โทร 085 776 6743 , 042 822 348 บ้านสามพี่น้อง ราคา 300 บาท โทร 089 714 0553 
- คิดถึง ณ เชียงคาน โทร 087 037 6968 
สองผัวเมีย 450-1,200 โทร 085 464 8008 ,089 438 8008, 083 461 8008      
- เฮือนพัดโบก 400-600 โทร 083-5861714,042-822085 เถ้าแก่ลาว 600- 700 โทร 081 311 9754 โขงอิงคาน 
500 บาท โทร 089 942 1592    
ริมโขงวิว 500 บาท โทร 042 821 376, 081 546 1827 

ยูโรเฟรนด์ชิพ ราคา 600 บาท โทร 042-821028 , 081-2639068 

เฮือนพัดโบก ราคา 500- 600 บาท โทร 042-821028 , 081-2639068 เจอเลย โฮมสเตย์ ราคา 400 บาท โทร 042 821 069 รักเลย ราคา 300-500 บาท โทร 0-4282-1064 , 08-1769-9918 เบิ่งโขง โฮมสเตย์ ราคา 300- 500 บาท โทร 085 776 6743 , 042 822 348 แฟริเทล ราคา 300-500 บาท โทร 081-544 0298, 042-821125 เฮือนหลวงพระบาง ราคา 300- 400 บาท โทร 042 821 046 
- โฮมสเตย์บ้านป้าศรีพรรณ โทร 0 42 821 797 หรือ http://www.sripanhomestay.co
- แซม เกรสเฮ้าท์ ถนนชายโขง ซอย 20 ราคา 300 ขึ้นไป โทร 0-4282-1041 087 233-3797 หรือ www.sams-guesthouse.com 
- ต้นโขงเกสต์เฮาส์ ราคา 150-300 บาท โทร 042 821 547 , 085 854 7679 
- เชียงคานเกสต์เฮาส์ ราคา 150-300 บาท จำนวน 13 ห้อง โทร 042 821 1691 http://www.thailandunplugged.com 
- เชียงคาน ฮิลล์ รีสอร์ท แก่งคุดคู้ โทร 0 4282 1285 , 0 4282 1414 จำนวน 50 ห้อง ราคา 500 - 3,100 บาทwww.chiangkhanhill.com
- โรงแรมสมบูรณ์ ราคา 300-1,00 บาท โทร 042 282 1064 
- โรงแรมพูลสวัสดิ์ 251/2 ถ.ชายโขง อ.เชียงคาน โทร. 0-4282-1114 9 ห้อง 20 คน 60 บาท 
- แนม เกสท์เฮ้าส์ 112 ถนนริมโขง โทร. 821295, 821342 จำนวน 5 ห้อง ราคา 150-250 บาท 
- ฟูจิคัมปาย รีสอร์ท ศรีเชียงคาน ซ. 22 โทร. 07 - 8592435, 042 - 821306 ราคา 200-350 บาท หรือ
- สายฤดี เกสต์เฮาส์ โทร 042 821 238 085 132 7476 
- แก่งคุดคู้รีสอร์ท 40/3 หมู่ 4 ตำบลเชียงคาน โทร. 821248 จำนวน 11 ห้อง ราคา 200 บาท 
-มาเลยเด้ เกสต์เฮ้าท์ ซ.9 ถ.ชายโขง อ.เชียงคาน จ.เลย เบอร์ติดต่อ 086-404-4372,085-365-5977 
081-721-0432 มีทั้งหมด 5 ห้อง ห้องแอร์,พัดลม ราคา 440-940 บาท



ที่มา  

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...