ประชาสัมพันธ์

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรก ที่ริเริ่มให้มีการเรียนการสอน ทางด้านวัสดุศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบ โดยก่อตั้งภาควิชาวัสดุศาสตร์ขึ้น ในคณะวิทยาศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อทำการสอนในด้านวัสดุเซรามิก และพอลิเมอร์ และก่อตั้งภาควิชาวิศว กรรมโลหการขึ้น ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปีเดียวกัน เพื่อทำการสอนด้านโลหวิทยา  

          วัสดุศาสตร์ (Materials science) หมายถึง วิชา ที่ศึกษาเกี่ยวกับ วัสดุชนิดต่างๆ อาทิ โลหะและโลหะผสม เซรามิกและแก้ว พอลิเมอร์และสิ่งทอ รวมไปถึงวัสดุประกอบ (composite material) ประเภทต่าง ๆ โดยศึกษาตั้งแต่ การเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการขึ้นรูป ตลอดจนสมบัติ และการใช้งาน ของวัสดุที่ผลิตขึ้น จึงนับเป็นสาขาวิชาที่มีความสำคัญ อย่างมาก เพราะสิ่งของ และเครื่องมือเครื่องใช้ ที่มนุษย์ผลิตขึ้นใช้นั้น ล้วนแล้วแต่ทำมาจากวัสดุประเภทต่าง ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น การ พัฒนาทางด้านวัสดุศาสตร์ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยิ่งมนุษย์พัฒนาเทคโนโลยี ก้าวหน้าไปเพียงใด ก็ยิ่งจำเป็นต้องคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ ๆ ให้มีสมบัติที่เหมาะสม ต่อการใช้งานมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ที่นักวิทยาศาสตร์ ได้ยกให้วัสดุศาสตร์เป็น 1 ใน 5 สุดยอดเทคโนโลยี แห่งโลกอนาคต
    
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           เพื่อพัฒนาให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และใฝ่รู้ สามารถเสาะแสวงหาความรู้และวิจัยได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบ และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

            ผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อทางด้านวัสดุศาสตร์ ควรเป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาฟิสิกส์ และเคมี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ของการเรียนวิชาวัสดุศาสตร์ และเมื่อจบการศึกษา ในสาขานี้แล้ว สามารถไปประกอบอาชีพ ได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา ในหน่วยงานวิจัย ของภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังมีความต้องการอยู่สูง เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ จึงนับว่า วัสดุศาสตร์เป็นสาขาวิชาชีพที่มีความมั่นคง และมีอนาคตที่ดีอีกสาขาหนึ่ง

แนวทางในการประกอบอาชีพ

           ผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาในหน่วยงานวิจัย ของภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังมีความต้องการอยู่สูง


ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 สายใหญ่ ๆ คือ

          1. สายธรรมชาติ - Math  Physic Chem Bio (Botany Zoology etc.)
          2. สายเทคโนโลยี - วัสดุศาสตร์ ฟู้ด เคมเทค และอื่น ๆ

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระดับ ปริญญาตรีเปิดสอนใน 2 แขนงสาขาวิชา คือ

          - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ แขนงวิชาเซรามิกส์ และวัสดุศาสตร์
          - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ แขนงวิชาพอลิเมอร์ และสิ่งทอ

มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศไทย ที่เปิดสอน ภาควิชาวัสดุศาสตร์

           สำหรับในประเทศไทยนั้น มีสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ที่ได้เปิดทำการสอน ในสาขาวัสดุศาสตร์ คือ
           - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
           - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
           - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวัสดุศาสตร์ (อัญมณีและเครื่องประดับ) คณะวิทยาศาสตร์  
           - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวัสดุศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
           - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
deknaimor.com, sc.chula.ac.th/matsci/

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...