ประชาสัมพันธ์

มหา'ลัยโวยโดนบีบทางอ้อมให้ออกนอกระบบ

ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ อธิการบดีม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ในฐานะคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ไป สู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือการออกนอกระบบ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้พิจารณานโยบายการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ ได้แก่ ม.ราชภัฏ (มรภ.) 40 แห่ง ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 9 แห่ง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และ ม.นราธิวาสราชนครินทร์ รวม 51 แห่ง เพื่อส่งเสริมให้มี ความพร้อมออกนอกระบบ ทาง ก.พ.อ.จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันอุดม ศึกษากลุ่มใหม่ฯ         โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการได้ประชุมและเห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลพยายามส่งเสริม ให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบมากขึ้น แต่กลับไม่ให้อัตรากำลัง และไม่คืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ โดยให้เป็นอัตราพนักงาน มหาวิทยาลัยแทน ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบ
   
ดร.สว่าง กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมจึงมีมติจะทำแบบสอบถามไปยังมหาวิทยาลัยทั้ง 51 แห่ง เกี่ยวกับความพร้อมที่จะออกนอกระบบ โดยแบ่ง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมออกนอกระบบทันที 2. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ยังไม่พร้อม และ 3. กลุ่มมหาวิทยาลัยที่อยากอยู่ในระบบราชการตลอดไป รวมทั้งจะสอบถามด้วยว่าแต่ละกลุ่มต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือสนับสนุนอะไร บ้าง หลังจากนั้นจะหาข้อสรุปในการดำเนินการต่อไป ซึ่งต้องทำให้เร็วที่สุด
   
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ที่ประชุมกังวลเรื่องอัตรากำลังที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากรัฐบาลไม่คืนอัตราเกณียณอายุราชการ และไม่เพิ่มอัตราข้าราชการให้ แต่จะให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบทั้งที่บางแห่งยังไม่พร้อม และบางแห่งก็ไม่อยากออกนอกระบบ ส่วน มทร.ธัญบุรี คงต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อมอีก 4-5 ปี เพื่อทำความเข้าใจกับบุคลากรถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ “ผมมองว่าหากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบทั้งหมด จะกระทบกับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นเด็กยากจน เพราะต้องยอมรับว่าเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการศึกษามากขึ้น  ทั้งที่จริง ๆ แล้วมหาวิทยาลัยไม่ควรทอดทิ้งเด็กยากจน” รศ.ดร. นำยุทธ กล่าว.

ที่มา   เดลินิวส์

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...