“ชินวรณ์” ยันรัฐบาลหนุนมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ แต่ไม่บังคับ ให้ดูความพร้อม
เมื่อ วันที่ 21 ก.ย. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีที่กลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ 51 แห่ง ออกมาโวยรัฐบาลที่บีบบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนสถานะภาพไปเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ ทั้งที่ยังไม่พร้อมว่า รัฐบาลยังยืนยันว่า จะสนับสนุนมหาวิทยาลัยให้ออกนอกระบบ แต่การออกนอกระบบขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง และประชาคมส่วนใหญ่ต้องเห็นด้วย ที่สำคัญจะไม่มีการบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบ ส่วนที่มีการระบุว่า แม้รัฐบาลจะไม่บังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบ แต่ไม่ให้อัตรากำลัง และไม่คืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ โดยให้เป็นอัตราพนักงานมหาวิทยาลัยแทน ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบโดยอัตโนมัตินั้น เรื่องไม่ให้อัตรากำลัง และไม่คืนอัตราเกษียณอายุราชการนั้น เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ คือไม่ให้เพิ่มอัตราข้าราชการเพิ่มใหม่
นายชินวรณ์ กล่าวต่อไปว่า จากที่มหาวิทยาลัยใหม่ยังไม่พร้อมในการออกนอกระบบ ทาง อ.ก.พ.จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มใหม่ฯ โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้มาศึกษา และส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยกลุ่มดังกล่าว มีความพร้อมในการออกนอกระบบ ดังนั้น จากนี้ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะต้องไปปรับโครงสร้างการบริหารของตนเองให้เหมาะสม และชัดเจน รวมทั้งต้องดูค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับบุคลาการของตนเองอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเมื่อออกนอกระบบจะได้ไม่มีปัญหา ส่วนที่ว่าเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว ทำให้เก็บค่าเล่าเรียนแพงนั้น เรื่องนี้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งก็จะต้องไปบริหารจัดการเอง และดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้นักศึกษาเดือดร้อน แต่ต้องยอมรับด้วยว่าการเรียนในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาต้องมารับภาระ เรื่องค่าใช้จ่ายด้วย ไม่ใช่การเรียนฟรี 15 ปี ที่รัฐออกให้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องมาดูเรื่องของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะมาช่วยสนับสนุนให้กับเด็กที่ยากจนได้เข้าเรียนมากขึ้นด้วย
ต่อข้อถามว่า มีพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเงินในโครงการเกษียณอายุ ราชการก่อนกำหนดให้กับพนักงานด้วย นายชินวรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้อำนาจการบริหารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย อยู่ที่สภามหาวิทยาลัยที่จะเป็นผู้ตัดสิน ดังนั้น ถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการจะมีสิทธิในโครงการดังกล่าว ไปคุยกันเองในมหาวิทยาลัย และกำหนดในกฏหมายของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง โดยต้องบริหารจัดการเงินต่าง ๆ เอง แต่โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดที่ทำอยู่ขณะนี้ จะครอบคลุมเฉพาะข้าราชการเท่านั้น หรือถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการจะเข้าร่วมด้วย ก็อาจจะต้องเสนอมาให้ ครม.พิจารณาต่อไป.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ เดลินิวส์/Endmo6
เมื่อ วันที่ 21 ก.ย. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีที่กลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ 51 แห่ง ออกมาโวยรัฐบาลที่บีบบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนสถานะภาพไปเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ ทั้งที่ยังไม่พร้อมว่า รัฐบาลยังยืนยันว่า จะสนับสนุนมหาวิทยาลัยให้ออกนอกระบบ แต่การออกนอกระบบขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง และประชาคมส่วนใหญ่ต้องเห็นด้วย ที่สำคัญจะไม่มีการบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบ ส่วนที่มีการระบุว่า แม้รัฐบาลจะไม่บังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบ แต่ไม่ให้อัตรากำลัง และไม่คืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ โดยให้เป็นอัตราพนักงานมหาวิทยาลัยแทน ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบโดยอัตโนมัตินั้น เรื่องไม่ให้อัตรากำลัง และไม่คืนอัตราเกษียณอายุราชการนั้น เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ คือไม่ให้เพิ่มอัตราข้าราชการเพิ่มใหม่
นายชินวรณ์ กล่าวต่อไปว่า จากที่มหาวิทยาลัยใหม่ยังไม่พร้อมในการออกนอกระบบ ทาง อ.ก.พ.จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มใหม่ฯ โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้มาศึกษา และส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยกลุ่มดังกล่าว มีความพร้อมในการออกนอกระบบ ดังนั้น จากนี้ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะต้องไปปรับโครงสร้างการบริหารของตนเองให้เหมาะสม และชัดเจน รวมทั้งต้องดูค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับบุคลาการของตนเองอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเมื่อออกนอกระบบจะได้ไม่มีปัญหา ส่วนที่ว่าเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว ทำให้เก็บค่าเล่าเรียนแพงนั้น เรื่องนี้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งก็จะต้องไปบริหารจัดการเอง และดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้นักศึกษาเดือดร้อน แต่ต้องยอมรับด้วยว่าการเรียนในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาต้องมารับภาระ เรื่องค่าใช้จ่ายด้วย ไม่ใช่การเรียนฟรี 15 ปี ที่รัฐออกให้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องมาดูเรื่องของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่จะมาช่วยสนับสนุนให้กับเด็กที่ยากจนได้เข้าเรียนมากขึ้นด้วย
ต่อข้อถามว่า มีพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเงินในโครงการเกษียณอายุ ราชการก่อนกำหนดให้กับพนักงานด้วย นายชินวรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้อำนาจการบริหารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย อยู่ที่สภามหาวิทยาลัยที่จะเป็นผู้ตัดสิน ดังนั้น ถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการจะมีสิทธิในโครงการดังกล่าว ไปคุยกันเองในมหาวิทยาลัย และกำหนดในกฏหมายของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง โดยต้องบริหารจัดการเงินต่าง ๆ เอง แต่โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดที่ทำอยู่ขณะนี้ จะครอบคลุมเฉพาะข้าราชการเท่านั้น หรือถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการจะเข้าร่วมด้วย ก็อาจจะต้องเสนอมาให้ ครม.พิจารณาต่อไป.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ เดลินิวส์/Endmo6