ประกาศรับสมัครนิสิตการแพทย์แผนไทย
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำลังเปิดรับสมัครนิสิตใหม่ประจำปีการศึกษา 2553 ด้วยวิธีการรับตรง จำนวน 36 คน ถึงวันที่ 15 มกราคม 2553
·คุณสมบัติผู้สมัคร
สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนสุดท้ายระดับ ม.6, ปวช., หรือเทียบเท่า
·วิธีการรับสมัคร
1. วิธีที่ 1 ส่งใบสมัคร (ดาวน์โหลด http://sci.bsru.ac.th/dept/ttm/) พร้อมโอนเงินค่าสมัคร 500 บาท เข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี สาขาวิชาแพทย์แผนไทย มบส. เลขที่บัญชี 401-575581-4 สาขาย่อยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และส่งใบสมัคร หลักฐานการโอนเงิน และหลักฐานการสมัคร ไปที่ สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เลขที่ 1061ถนนอิสรภาพ 15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเพมหานคร 10600 ภายในวันที่ 11 มกราคม2553 (วันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง)
2. วิธีที่ 2 ยื่นใบสมัครโดยตรงที่สาขาการแพทย์แผนไทย ในวันและเวลาราชการ จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2553
·หลักฐานการสมัคร
1. | สำเนาหลักฐานการสำเร็จการศึกษา ได้แก่ ใบ รบ. หรือ ใบประกาศนียบัตร 1 ชุด |
2. | สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด |
3. | สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด |
4. | รูปถ่ายสี |
·วันที่สอบ
วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553
08.00 – 10.00 น. ฟิสิกส์ 100 คะแนน
10.30 – 12.30 น. ภาษาอังกฤษ 100 คะแนน
14.00 – 16.00 น. คณิตศาสตร์ 100 คะแนน
วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม 2553
09.00 – 11.00 น. เคมี 100 คะแนน
13.00 – 15.00 น. ชีววิทยา 100 คะแนน
·สถานที่สอบ
มหาวิทยาลัยจะประกาศสถานที่สอบคัดเลือกทางเว็บไซต์ http://sci.bsru.ac.th/dept/ttm/
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
ชื่อภาษาไทย : การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (สาขาการแพทย์แผนไทย) พท.บ.(การแพทย์แผนไทย) |
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Thai Traditional Medicine B.TM. (Thai Traditional Medicine) |
รายละเอียดหลักสูตร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีนโยบาย ในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดในการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทย์แผนไทย ในการพัฒนาด้านแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยที่ควรรักษาไว้ด้วยหลักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตให้เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (8 ภาคเรียน) ครอบคลุม 4 สาขาวิชาชีพได้แก่ เภสัชกรรมไทย เวชกรรมไทย นวดไทย และผดุงครรภ์ไทย ตาม พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยให้มหาวิทยาลัยฯ เป็นสถาบันการศึกษาสาขาแพทย์แผนไทยประเภท ข. ตามมาตรา 33 (1) (ข) ของ พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ นั่นคือนอกจากได้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตเมื่อจบหลักสูตรและผ่านการประเมินผลวิชาชีพแล้ว มีสิทธิ์สอบขึ้นทะเบียนรับใบประกอบวิชาชีพทั้ง 4 สาขา ดังกล่าว |
4.2 ปรัชญาของหลักสูตร การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญา องค์ความรู้และวิธีการดูแลสุขภาพและการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย สมควรอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาสู่มาตรฐานคุณภาพวิชาการในระดับอุดมศึกษาให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่ายิ่งต่อมนุษยชาติในสังคมปัจจุบันในการนำไปประยุกต์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ |
4.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังนี้ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการ ส่งเสริม และดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านสุขภาพ ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมไทย บัณฑิตแพทย์แผนไทยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติและความสามารถ ดังนี้ |
4.3.1 สามารถใช้หลักการวินิจฉัยโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยในการบริการสุขภาพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ตามขอบเขตที่กฎหมายวิชาชีพกำหนด |
4.3.2 สามารถปรุงยาไทยและยาสมุนไพรได้อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาชีพ |
4.3.3 ประยุกต์ความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในการบริการสุขภาพโดยคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการให้สอดคล้องกับผู้รับบริการ ค่านิยม และความสนใจของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยสามารถบริหารจัดการการให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสุขภาพและในชุมชนได้ |
4.3.4 แสวงหาความรู้ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำไปวิเคราะห์วิจัยทางการแพทย์แผนไทยและนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามสภาวะและสถานการณ์ที่เหมาะสม |
4.3.5 มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ |
5. กำหนดการเปิดสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 |
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังนี้ 6.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 6.2 ไม่มีความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน 6.3 มีคุณสมบัติอื่นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ 6.4 มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พรบ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 |
7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา พิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 7.1 เป็นไปตามระเบียบการสมัครสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 7.2 ตามเกณฑ์การคัดเลือกของมหาวิทยาลัย 7.3 ตามโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัย |
8. ระบบการศึกษา 8.1 ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดการศึกษาภาคเรียนฤดูร้อนให้มีเวลาศึกษาภาคละไม่น้อยกว่า 7 สัปดาห์ 8.2 การคิดหน่วยกิต 8.2.1 รายวิชาภาคทฤษฎี ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้เท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค (1ชม/สัปดาห์/ภาค) 8.2.2 รายวิชาภาคปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้เท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค (2ชม/สัปดาห์/ภาค) 8.2.3 การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 150 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา ให้เท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค |
9. ระยะเวลาการศึกษา ศึกษาแบบเต็มเวลา ใช้เวลาศึกษา 4 ปีการศึกษา และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา นิสิตสามารถสำเร็จการศึกษาได้ก่อน 8 ภาคการศึกษาปกติ แต่ต้องไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ |
10. การลงทะเบียนเรียน สำหรับการลงทะเบียนเต็มเวลา ให้ลงทะเบียนได้ไม่เกินภาคเรียนละ 22 หน่วยกิต และไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิตในภาคการศึกษาปกติ ในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต |
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาว่าด้วยการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2550 |
ที่มา : http://sci.bsru.ac.th/dept/ttm/