ประชาสัมพันธ์

คณะวิทย์จุฬาฯ เตรียมรับตรงปี 2554 รับแบบพิเศษเฉพาะ นร.จาก ร.ร.วิทยาศาสตร์

  ผศ.ดร.สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงมติของคณะผู้บริหาร ในการรับนิสิตที่จะเข้าศึกษาต่อในปีการศึกษา 2554 ว่าในปีการศึกษา 2554 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จะรับนิสิตรวมทั้งหมด 1,122 คน แยกเป็นนิสิตที่ได้จากการสอบแอดมิสชั่นส์ 448 คน การรับตรงแบบพิเศษ 125 คน รับตรงแบบปกติ 449 คน และหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ 100 คนโดยในส่วนของการรับตรงแบบพิเศษนั้น ได้มีการเพิ่มจำนวนนิสิต จากโครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์และโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีก 50 คน


  "การรับตรงนักเรียนจากโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์นั้น นับเป็นครั้งแรกที่คณะวิทย์ จุฬาฯเปิดโอกาสให้นักเรียนจากทั่วประเทศได้เข้ามา สอบคัดเลือก โดยการสอบจะไม่มีการสอบข้อเขียน ใช้การสอบสัมภาษณ์เพื่อวัดความสามารถในการเรียนวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งนักเรียนที่รับการคัดเลือกต้องมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์อย่างมากอีกทั้งหากผู้ผ่านการคัดเลือกจากโครงการมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียน ทางคณะจะจัดหาทุนการศึกษาให้โดยพิจารณาเป็นกรณี"ผศ.ดร.สุรีรัตน์ กล่าว
        รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทย์ฯ กล่าวต่อว่าสำหรับการรับตรงแบบปกติในปีการศึกษา 2554 ทางคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้กำหนดองค์ประกอบและสัดส่วนคะแนนการสอบที่จะใช้พิจารณาใหม่ โดยได้ยกเลิกการใช้คะแนน PAT2 มาใช้คะแนน CU-Sci แทน โดยมีสัดส่วนการพิจารณา จาก GPAX ร้อยละ10 ,GAT ร้อยละ10 คะแนน, CU-Sci วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 20 เคมี ร้อยละ 20 ชีววิทยาร้อยละ 20 และ ฟิสิกส์ ร้อยละ 20 โดยที่ผ่านมามีการสอบ CU-Sci ฟิสิกส์และชีววิทยา ไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา และกำลังจะมีการสอบวิชา เคมีและคณิตศาสตร์ ในเดือนมกราคม
        "ทั้งนี้ ในอนาคต มีแนวโน้มว่า จะมีคณะอื่นของจุฬาลงกรณ์ จะใช้ CU-Sci ในการพิจารณานิสิตเข้าเรียนด้วย แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการพูดคุย สำหรับผู้ที่สนใจจะเรียนคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯสามารถตรวจสอบตารางการสอบ CU-Sci ได้ที่www.atc.chula.ac.th ส่วนตัวค่อนข้างเป็นห่วงนักเรียนว่าจะพลาดการสอบดังนั้น จึงอยากให้นักเรียนที่ต้องสอบเพื่อเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2554 นั้น ติดตามข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์ทดสอบอย่างใกล้ชิด





ที่มา

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...