ประชาสัมพันธ์

รวมโปรแกรมคำนวณคะแนน Admission

การคำนวณคะแนน Admission เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆสำหรับการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆ  เนื่องจากคะแนนที่เราได้มานั้นจะต้องมีการรวมผลของคะแนนเพื่อให้  มีสิทธิหรือมีความใกล้เคียงมากที่สุดในการเลือกการเข้าสึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนั้นๆ  ดังนั้นจึงต้องมีการรวบรวมโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณคะแนนมาไว้ ณ ที่นี้

1. ezad By Eduzones.com  
2. Roonpee Cal By roonpee.com
3.Unical By Unigang (ต้องสมัครสมาชิก ก่อน)
4.Dek-D Cal By Dek-D.com (ต้องสมัครสมาชิก ก่อน)

ดู คะแนน Onet ได้แล้ว 25 มีนา


ตรวจดูผลคะแนนสอบได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2553 



ตั้งแต่เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป




1. โรงเรียนเข้าระบบ O-NET ใส่ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน เพื่อดูผลสอบ



2. สทศ.จะส่งใบรายงานผลสอบรายบุคคล โดยส่งไปที่โรงเรียนภายในเดือนเมษายน


นี้ และให้โรงเรียนส่งมอบให้แก่นักเรียน





เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดูผลสอบ ขอให้นักเรียนจด URL 




และเข้าเว็บไซต์นั้นๆ โดยตรง







ที่
บริษัท / หน่วยงาน
ชื่อเว็บไซต์
1
SAMART     
2
JI-NET     
3
TOT          
4
PROIMAGE     
5
TT&T    
6
INET 
7
MILCOM   
8
VERIZON
9
ANET       
10
KSC 
11
CSLOXINFO  
12
TRUE    
13
DTAC              
14
PACNET 
15
NTT Communications 
16
มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รับตรง มหาวิทยาลัย สวนสุนันทา


มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทารับสมัครสอบคัดเลือกนักศึกษา ภาคปกติประเภทรับตรงประจำปีการศึกษา2553 
ประกาศ ณ วันที่ 06 พฤศจิกายน 2552
 
 
 
 
 
งานทะเบียนและ วัดผล กองบริการการศึกษาประกาศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทารับสมัครสอบคัดเลือกนักศึกษาภาคปกติประเภท รับตรงประจำปีการศึกษา2553

ขยายเวลา รับสมัคร

-   สมัครด้วยตนเอง
    วันเวลาที่รับสมัคร 16 - 18 มีนาคม 2553
    **  12-14 มีนาคม 2553 หยุดทำการ
    อ่าน รายละเอียดเพิ่มเติม

รับตรง โครงการ TEP และ TEPE มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (TEP)
jigsawexplodevert_copy.jpg
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน หรือ TEP ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดยร่วมมือของสองสถาบัน คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแห่งน้อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ทางโครงการฯ ได้ขยายความร่วมมือไปยัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย
ปัจจุบัน ทางโครงการฯ จึงมี 2 ทางเลือกให้กับนักศึกษาให้สามารถเลือกเรียนตามความสนใจ คือ โปรแกรมธรรมศาสตร์-น้อตติ้งแฮม (TU-NU) หรือ ธรรมศาสตร์-นิวเซาท์เวลล์ (TU-UNSW) 
โปรแกรมธรรมศาสตร์-น้อตติ้งแฮม 
โปรแกรมธรรมศาสตร์-นิวเซาท์เวลล์
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (TEPE) 
นักศึกษาจะศึกษารายวิชาต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 4 ปี โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน ทุกคนจะต้องเรียนรู้การคิดอย่างมีเหตุผลผ่านจากการเรียนรู้ภายในห้องเรียน การมีส่วนร่วมอภิปราย การระดมสมอง การทำงานกลุ่ม และการนำเสนองานภายในชั้นเรียน นักศึกษาจะมีโอกาสเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการอันทันสมัย นอกจากนั้นการทัศนศึกษายังเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะทางด้านธุรกิจและเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมทั้งนักศึกษายังสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ผ่านโครงงานฝีกงานหังจากจบชั้นปีที่ 3 อีกด้วย  
โปรแกรมภาคภาษาอังกฤษ
ในปีการศึกษา 2553, ทางโครงการรับนักศึกษาจำนวน 300 คน (โครงการ TEP จำนวน 200 คน และ โครงการ TEPE จำนวน 100 คน) ถ้าคุณสนใจเข้าศึกษาต่อโครงการ โปรดดูรายละเอียดด้านล่างนี้
การคัดเลือกบุคคลศึกษา
คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร คือ ต้องเป็นผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา หรือ สำเร็จการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิตฯ การคัดเลือกเข้าศึกษาในโครงการฯ ผู้สมัครสามารถ เลือก สมัครได้จากวิธีดังต่อไปนี้ 
A) กรณีไม่ประสงค์สอบข้อเขียน เนื่องจากมีผลการเรียนดีสามารถยื่นหนังสือรับรองจากโรงเรียนหรือหลักฐานการศึกษาประกอบการการสมัคร เพื่อเข้ารับการสอบสัมภาษณ์กับโครงการฯได้  โดยไม่ต้องสอบข้อเขียนหรือยื่นคะแนนมาตรฐานอื่นๆ  ซึ่งต้องมีผลการเรียน  ดังนี้
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทย์-คณิต) ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษา  ตั้งแต่ 3.00 หรือ 70% ขึ้นไป หรือ
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทย์-คณิต) ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษา  ตั้งแต่ 2.70 ถึง 2.99  โดยต้องมีผลคะแนนเฉลี่ย ทั้งรายวิชาคณิตศาสตร์และรายวิชาฟิสิกส์ แต่ละวิชาเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.70
หมายเหตุ : นักเรียนผู้ที่สมัครที่ไปศึกษาระดับมัธยมปลาย ณ ต่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ต้องมีผลการศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์ หรือ เคมี หรือ ฟิสิกส์ และให้คำนวณผลการเรียนเฉพาะภาคที่ได้ศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ต้องยื่นเอกสารแสดงการไปศึกษาต่างประเทศในวันสมัครด้วย

B) กรณีไม่ประสงค์สอบข้อเขียน เนื่องจากมีผลคะแนนมาตรฐาน ครบทั้ง 3 หมวดวิชา ดังนี้ 
1) หมวดวิชาคณิตศาสตร์ สามารถยื่นผลคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 
ก) A-NET : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ อย่างน้อย 35% หรือ
ข) PAT 1 : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ อย่างน้อย 35% หรือ
ค) SAT I : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Mathematics อย่างน้อย 600 คะแนน หรือ
ง) SAT II : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Mathematics Level IC อย่างน้อย 600 คะแนน หรือ Level IIC หรือ
จ) GCE-O’ level : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Mathematics เกรด B ขึ้นไป หรือ IGCSE หรือ
ฉ) GED : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Mathematics อย่างน้อย 600 คะแนน หรือ
ช) IB Diploma : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Mathematics ไม่ต่ำกว่า 5 หรือ
ซ) AP : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Calculus AB ไม่ต่ำกว่า 3

2) หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ สามารถยื่นผลคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 
ก) A-NET : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ อย่างน้อย 35% หรือ
ข) PAT 2 : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ อย่างน้อย 35% หรือ
ค) GCE-O’ level : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Physics หรือ Chemistry หรือ Co-Science เกรด B ขึ้นไป หรือ IGCSE หรือ
ง) GED : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Physics หรือ Chemistry อย่างน้อย 600 คะแนน หรือ
จ) SAT II : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Physics หรือ Chemistry อย่างน้อย 600 คะแนน หรือ
ฉ) IB Diploma : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Physics หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 5 หรือ
ช) AP : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ Physics B หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 3 

3) หมวดวิชาภาษาอังกฤษ สามารถยื่นผลคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 
ก) O-NET : คะแนนที่ใช้ ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 70% หรือ
ข) IELTS* : ต้องมีผลคะแนนรวม ตั้งแต่ 5.0 ขึ้นไป โดยแต่ละทักษะต้องไม่ต่ำกว่า 4.0 หรือ
ค) TOEFL* : ตั้งแต่ 173 คะแนนขึ้นไป (Computer-based) หรือ ตั้งแต่ 61 คะแนนขึ้นไป (Internet-based) หรือ
ง) TU-GET* : ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ
จ) CU-TEP : ตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ
ฉ) SAT (Verbal) หรือ SAT (Critical Reading) ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป 
ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโครงการฯ สามารถนำผลคะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษดังกล่าวมายื่นขออนุมัติเพื่อยกเว้นการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานรายวิชา EL 171 English Course II และ EL 172 English Course III ในปีการศึกษา 2553 ได้ โดยต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น (โปรดดูรายละเอียดในเว็บไซด์ www.tep.engr.tu.ac.th)
C) กรณีสอบข้อเขียน 
ผู้สมัครสามารถเลือกสอบเฉพาะบางหมวดวิชาได้  หากมีคะแนนมาตรฐานตามหมวดต่างๆ ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่โครงการฯ กำหนด (ดูรายละเอียดคะแนนขั้นต่ำในหมวดวิชาต่างๆ จากหัวข้อ  กรณีไม่ประสงค์สอบข้อเขียน  เนื่องจากมีผลคะแนนมาตรฐาน)  
ทั้งนี้  การสอบข้อเขียนโดยตรงกับทางโครงการฯ ประกอบด้วย 3  หมวดวิชาคือ หมวดวิชาภาษาอังกฤษ   คณิตศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ (ประกอบด้วยเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ และ เคมี) ซึ่งข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ   

D) กรณีสอบคัดเลือกผานระบบ ADMISSION ของ สกอ.
ผู้สมัครสามารถสมัครสอบเข้าศึกษาในโครงการฯ ผ่านระบบ Admission ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้อีกทางหนึ่งโดยสามารถติดตามกำหนดการสอบได้จากhttp://www.cuas.or.th/
หมายเหตุ 1. ให้นำผลคะแนน A-NET, O-NET และ/หรือ คะแนนมาตรฐานที่ใช้ (ฉบับจริง) มาแสดงในวันสมัครหรือวันสอบสัมภาษณ์ด้วย และผลดังกล่าวจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับย้อนหลังจากกำหนดวันสอบข้อเขียนของทางโครงการฯ 
2. ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกตามคุณสมบัติ 4 วิธี ข้างต้นจะต้องเข้าสอบสัมภาษณ์ตามที่โครงการฯ กำหนด
3. ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยซึ่งเป็นโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องยื่นใบเทียบวุฒิซึ่งออกโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยภายในระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด 
4. ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษา หรือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ต้องยื่นใบ รบ. หรือ ใบรับรองจากโรงเรียนว่าสำเร็จการศึกษาแล้วหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด

เว็บหลัก  http://www.tep.engr.tu.ac.th


loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...