โครงการปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์เกษตร (ภาคพิเศษ) เป็นโครงการที่จัดตั้งเพื่อรองรับความต้องการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้สนใจ ศึกษาต่อปริญญาตรีในสาขานี้
โดยมีการจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในภาคการศึกษาต้น ของทุกปีการศึกษาโดยผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาคือนักเรียนผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ (คณิต)
ทั้งนี้การคัดเลือกจะพิจารณาจากคะแนนสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือจากการสอบข้อเขียนและประเมินผลจากประวัติ และการสัมภาษณ์ในลักษณะการจัดสอบเข้าโดยตรงภายใต้การดูแลของคณะกรรมการการ สอบคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
รายละเอียดของการรับสมัครเข้าศึกษาดูเพิ่มเติมได้จาก http://www.ageconsp.eco.ku.ac.th, http://agri.eco.ku.ac.th หรือโทรศัพท์ 02-9428049-51, 02-5613467
แนะนำโครงการ
โครงการปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์เกษตร (ภาคพิเศษ) หรือโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร (ภาคพิเศษ) เป็นโครงการที่จัดตั้งเพื่อรองรับความต้องการของการพัฒนาประเทศทางด้าน เศรษฐกิจและการเกษตรกรรม ทั้งนี้ภาคเกษตรกรรมเป็นฐานการผลิตและฐานทางวัฒนธรรมสำหรับสังคมไทยมา ตั้งแต่อดีตกาล แม้กระทั่งปัจจุบันภาคเกษตรกรรมก็ยังมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจไทย ดังนั้น การพัฒนาสวัสดิการของประชาชนในประเทศให้มีความกินดีอยู่ดี จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาจน ถึงระดับผู้บริโภคในประเทศและการส่งออก ให้สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรเอื้อโอกาสให้กับเกษตรกรทุกหมู่ เหล่าอย่างเป็นธรรม และให้มีความเข้มแข็ง จนสามารถพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งในด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญกับความเปราะบางและความผันผวน ด้านเทคโนโลยีที่ต้องเผชิญกับการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการพัฒนาพลังงานฐานชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างต่อ เนื่อง รวมทั้งพลวัตทางการค้าและการตกลงระหว่างประเทศที่ระบบเศรษฐกิจการเกษตรไทย ต้องปรับตัวเพื่อโอกาสและการรักษาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรเป็นสาขาวิชาที่นำหลักทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร์มาประยุกต์กับการจัดการและการพัฒนาภาคการเกษตร โดยปรัชญาในปัจจุบันคือ “การเพิ่มคุณค่าของภาคการเกษตรไทย” ดังนั้นภายใต้ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรจึงมีภารกิจที่สำคัญยิ่งในการผลิตบัณฑิต เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเพิ่มคุณค่าของภาคการเกษตรไทย โดยการผลิตบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการที่การผลิตมี การมุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่าง ก) ความรู้อย่างลึกซึ้งในหลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ข) ความเข้าใจในบริบททางนิเวศวัฒนธรรม และการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการเกษตรไทย และ ค) ความรู้ในการเปลี่ยนแปลงของกฎกติกาทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้ง ภายในและภายนอกประเทศ
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากรผู้ดำเนินโครงการเป็นภาควิชาแรก ที่เปิดสอนด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรในประเทศไทย ปัจจุบันภาควิชาฯ มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกในด้าน เศรษฐศาสตร์เกษตร มีคณาจารย์ที่มีความชำนาญและมีคุณวุฒิทางการศึกษาอย่างเพียงพอในการจัดการ เรียนการสอนและเป็นผู้นำในการวิจัยด้านเศรษฐกิจการเกษตรในหลายด้าน ดังนั้นโครงการที่ดำเนินการภายใต้ภาควิชาฯ จึงมีความพร้อมในการจัดการศึกษาที่จะมีการบูรณาการความรู้ทั้งทาง เศรษฐศาสตร์ทางการเกษตรและพลวัตของเศรษฐกิจโลกเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มคุณค่าของภาคการเกษตรไทยอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรที่เป็นสาขาเศรษฐกิจสำคัญหลักสูตร
ของประเทศ
2. เพื่อเพิ่มการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ความสามารถในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาโดยสามารถประยุกต์และปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในสาขา วิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรที่เป็นสาขาเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ
3. เพื่อเป็นแหล่งของการพัฒนาความรู้และทุนที่นำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรสาย วิชาการให้มีคุณวุฒิและศักยภาพเพิ่มขึ้น ตลอดจนพัฒนางานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรของภาควิชาฯ ให้สอดคล้องกับทิศทางการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรที่เปิดสอนเป็นการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร เป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) หรือ วท.บ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษว่า Bachelor of Science (Agricultural Economics) หรือ B.S. (Agricultural Economics) โดยนิสิตต้องเรียนตลอดหลักสูตรรวมไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต ประกอบด้วยโอกาสในการประกอบอาชีพและศึกษาต่อขั้นสูง
ทั้งนี้ในหมวดวิชาเฉพาะทางด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรแบ่งเป็น 9 หมวดวิชา คือ หมวดวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรทั่วไป หมวดวิชาเศรษฐศาสตร์การผลิตและการจัดการฟาร์ม หมวดวิชาการตลาดและราคาสินค้าเกษตร หมวดวิชาธนกิจเกษตร หมวดวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทรัพยากรเกษตร หมวดวิชาการพัฒนาและนโยบายเกษตร หมวดวิชาธุรกิจการเกษตร หมวดวิชาวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ และหมวดวิชาวิธีวิจัยหมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 101 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
การฝึกงานไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง
ที่ผ่านมานิสิตที่สำเร็จการศึกษามีโอกาสในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง กับสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรที่หลากหลายทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล ธนาคารสถาบันการเงิน บริษัทเอกชน สถานบันวิจัยเอกชน ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารพาณิชย์ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ปตท. ศูนย์วิจัยของธนาคารพาณิชย์ มูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้นวันเวลาการเรียนการสอน
นอกจากนี้นิสิตที่มีความต้องการศึกษาต่อในระดับสูงก็สามารถ ศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอกที่ภาควิชาฯ เปิดสอนอยู่ หรือศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมานิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาฯ ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเอเชีย นอกจากนี้นิสิตที่สำเร็จการศึกษายังมีโอกาสสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ คณะเศรษฐศาสตร์มีความร่วมมือทางวิชาการ เช่น University of Hohenheim, Hitotsubashi University, National Chung Hsing University, National Pingtung University of Science and Technology เป็นต้น
การเรียนการสอนจัดในช่วงนอกเวลาราชการ โดยมีการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ๆ ละประมาณ 6 วัน รวมสัปดาห์ละประมาณ 21 ชั่วโมง คือค่าธรรมเนียมการศึกษา
วันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 16.30 - 19.30 น.ทั้งนี้การศึกษาแบ่งเป็นปีละ 2 ภาคการศึกษา โดยตลอดหลักสูตรปกติใช้เวลา 4 ปี และมีการเรียนในภาคฤดูร้อนตามความจำเป็น
วันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น.
โครงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายรายภาคการศึกษาๆ ละประมาณ 32,450 บาท หรือคิดเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี เป็นเงินประมาณ 259,600 บาท (ไม่รวมค่าตำรา) รายละเอียดปรากฎตามระกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนิสิตโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร (ภาคพิเศษ)ทุนการศึกษา
สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีของโครงการที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติและกิจกรรมดีเด่นในระหว่างการศึกษา มีสิทธิ์ขอรับทุนการศึกษาจากหลายแหล่ง สำหรับทุนการศึกษาจากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากรมีการจัดสรรทุนเป็น ประจำทุกปี โดยแบ่งเป็นทุนสำหรับนิสิตที่มีผลการเรียนดี และทุนสำหรับนิสิตที่ทำกิจกรรมดี นอกจากนี้ในระดับคณะและมหาวิทยาลัยยังมีทุนการศึกษา สำหรับนิสิตที่มีฐานะยากจนอีกด้วยการรับสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัคร
เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในภาคการศึกษาต้น ของทุกปีการศึกษา (เริ่มประกาศรับสมัครประมาณ ม.ค. ถึงมี.ค.ของทุกปี)หน่วยงานรับผิดชอบและที่อยู่ติดต่อสอบถาม
โดย ผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาคือนักเรียนผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลายทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ (คณิต) ทั้งนี้การคัดเลือกจะพิจารณาจากคะแนนสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือจากการสอบข้อเขียนและประเมินผลจากประวัติ และการสัมภาษณ์ในลักษณะการจัดสอบเข้าโดยตรงภายใต้การดูแลของคณะกรรมการการ สอบคัดเลือกผู้เข้าศึกษา รายละเอียดของการรับสมัครเข้าศึกษาดูเพิ่มเติมได้จาก www.emae.eco.ku.ac.th, http://agri.eco.ku.ac.th หรือโทรศัพท์ 02-9428049-51, 02-5613467
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่อยู่ติดต่อ: 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์: 02-9428649-51, 02-5613467 โทรสาร: 02-9428047
Email: fecokkt@ku.ac.th, fecocrp@ku.ac.th, feconpp@ku.ac.th
Web site: http://www.ageconsp.eco.ku.ac.th, http://agri.eco.ku.ac.th
วันเวลาในการรับสมัคร จะประกาศให้ทราบเร็ว ๆ นี้
ที่มา http://www.unigang.com/Article/1530