แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กรุงไทยยุววาณิช แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กรุงไทยยุววาณิช แสดงบทความทั้งหมด
ธนาคารกรุงไทยเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ กรุงไทย ยุววาณิช ครั้งที่ 14
ธนาคารกรุงไทย ขอเชิญชวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น ม.4
– ม.6 หรือ ระดับชั้น ปวช. ที่มีความสามารถและชอบความท้าทาย
สนใจการประกอบธุรกิจ สมัครเข้าร่วมโครงการกรุงไทย ยุววาณิช ครั้งที่ 14 ประจำปี 2558 เพื่อชิงทุนการศึกษามูลค่ากว่า 4 ล้านบาท พร้อมทั้งได้รับโอกาสศึกษาดูงาน Take Course English for
Business ณ ประเทศออสเตรเลีย 2 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการที่ดีให้แก่เยาวชนไทย
ให้กล้าคิด กล้าทำ
และให้ได้มีโอกาสประกอบธุรกิจจริงตามวิธีการและรูปแบบของบริษัทจำกัด โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน 2558 สมัครได้ที่ www.youngenterprise.ktb.co.th
แฟกซ์ 0-2256-8341 หรือสอบถามโทร.0-2208-8674-5
มองมะนาวครบทุกมิติ โอกาสทองทางธุรกิจของเด็กนางรอง
ปัญหามะนาวแพงในหน้าร้อนเป็นปั ญหาระดับชาติ ขนาดนายกรัฐมนตรีออกมารั บกระแสด้วย เกือบทุกครั้ง พล อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แนะนำว่าถ้าประชาชนจะต่อสู่กั บปัญหามะนาวแพง ก็ลองหันมาปลูกมะนาวกินเอง หรือก่อนหน้านั้นยุคนายกฯ บรรหาร ศิลปอาชา ให้เลือกใช้มะม่วงเปรี้ยว หรือมะขามแทนมะนาวไปพลางๆก่อน
ความพยายามในการปลู กมะนาวออกนอกฤดู ถือเป็นความท้าทายความรู้ ความสามารถทาง ภาคการเกษตรแขนงหนึ่งที่ จะออกมาสู้กับปัญหามะนาวแพง แต่กับเรื่องต้นพันธุ์ มะนาวตรงนี้ถือเป็นโอกาสทางธุ รกิจ น้องนศ.ปวช.ปี2 วิทยาลัยการอาชี พนางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ได้มองเห็นช่องทางอาชีพนี้ ได้ใช้วิธีขยายพันธุ์มะนาวด้ วยวิธีเสียบกิ่งบนต้นส้มโอขึ้น
นายวิทยา บุตรศรี ตัวแทนจากวิทยาลัยการอาชี พนางรอง เล่าว่า มะนาวเป็นผลิตผลทางการเกษตร ที่บริโภคกันทั้งประเทศ บางช่วงราคาจะแพงมาก และปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรประสบก็ คือต้นตอมะนาวไม่แข็งแรง ทางกลุ่มจึงคิดหาวิธีขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้ต้นตอมะนาวที่แข็ งแรงและทนต่อโรค ซึ่งพบว่าวิธีเสียบกิ่งมะนาวกั บต้นส้มโอ จะช่วยเสริมรากให้ต้นมะนาวแข็ งแรง มีความทนทานต่อโรค และมีผลขนาดใหญ่ จึงชักชวนเพื่อนในกลุ่ม 7 คน ไปเรียนรู้วิธีเสียบกิ่งมะนาวที ่ศูนย์มีชัย บ้านหนองตาเข้ม อ.เฉลิมพระเกรียติ กลับมาลองผิดลองถูก จนสามารถขยายพันธุ์มะนาวได้ สำเร็จ จากนั้นมาร่วมกันได้ก่อตั้งบริ ษัท ครบวงจร 2014 จำกัด ขึ้น รวมหุ้นคนละ 1,000 บาททำธุรกิ จเพาะพันธุ์ต้นมะนาวบนต้นส้ มโอขายอย่างจริงจัง
“วิธีเสียบกิ่งมะนาวบนส้มโอนั้น ขั้นตอนแรกต้องเริ่มเพาะต้นส้ มโอจากเมล็ดก่อน จนต้นส้มโอโต มีอายุ 1 เดือนขึ้ นไปสามารถนำมาใช้เสียบกิ่ งมะนาวได้ โดยเลือกใช้กิ่งพันธุ์มะนาวพั นธุ์แป้นพิจิตร ส่วนส้มโอใช้พันธุ์โชกุน หรือพันธุ์อิสราเอล กิ่งพันธุ์มะนาวที่ใช้ไม่อ่ อนหรือแก่เกินไป ขั้นตอนสำคัญคือการเสียบกิ่งต้ องตัดปาดกิ่งมะนาวแบบทะแยงมุ มแล้วเสียบลงบนต้นส้มโอ ใช้สก๊อตเทปพันเพื่อกันเชื้อรา จากนั้น ใช้ถุงพลาสติกใสคลุม ทิ้งไว้ 34 วัน เพื่อให้ต้นไม้คายน้ำ และให้น้ำไหลกลับคืนเข้าต้นส้ มโอ ซึ่งเพื่อนในกลุ่มทำได้เกือบทุ กคน เพราะทางบ้านมีอาชี พทำสวนมะนาวอยู่แล้ว ซึ่งกิ่งมะนาวบนต้นส้มโอตั้ งราคาขายไว้ที่ 150 บาท ทั้งนี้ เมื่อต้นพันธุ์เติบใหญ่จนให้ ผลผลิตจะเป็นต้นพันธุ์มะนาว ไม่ได้เป็นต้นส้มโอแต่อย่างใด” นาย วิทยา เล่าเทคนิคการเสียบกิ่งมะนาว
บริษัทครบวงจรยังคิดต่อยอดไปอี กว่า การปลูกพืชต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จึงไปศึกษาหาความรู้วิธีเลี้ ยงไส้เดือน เพื่อเอามูลมาทำปุ๋ย และนำมาขยายเป็นธุรกิจต่อ โดยจำหน่ายในราคากก.ละ 30 บาท นอกจากนี้ ยังได้ผลิตเครื่องคัดมะนาว โดยนำความรู้วิชาช่างเชื่ อมของเพื่อนในวิทยาลัยมาต่อยอด ผลิตออกมาจำหน่ายราคาเครื่องละ 19,000 บาท มีความสามารถในการคัดมะนาวได้ 100 ลูกต่อ1 นาที ขณะนี้จำหน่ายไปได้แล้ว 6 เครื่ อง
น้องๆ จากบริษัท ครบวงจร 2014 จำกัดเริ่มทำมาตั้ งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2557 ล่าสุดได้แบ่งปั นผลกำไรให้สมาชิกไปแล้วคนละ 6, 920 บาท หลังหักค่าใช้จ่ายและชำระเงินกู ้ และยังนำเงินรายได้ไปทำกิ จกรรมสาธารณประโยชน์ (38,061 บา ท ) จัดสรรทุนอบรมการขยายพันธุ์ พืชให้แก่ นักเรียนโรงเรียนโสตศึกษา จ.สุรินทร์ และผู้ต้องขังหญิงในเรื อนจำนางรอง และจัดซื้อคอมพิวเตอร์มอบให้แก่ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านทรัพย์ทรายทอง อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์
ผลจากการประกอบธุรกิจไม่เพี ยงแต่สร้างรายได้ระหว่างเรียน แต่ยังก่อให้เกิดความรู้ขึ้ นในชุมชน จนส่งผลให้ บริษัทครบวงจร 2014 จำกัด ได้รับรางวัล ชนะเลิศจากการประกวดโครงการกรุ งไทย ยุววาณิช ที่ธนาคารกรุงไทยจั ดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 ร่วมกับ ทีมจากโรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา จ.เลย โดยได้รับทุนการศึกษา 390,000 บ าท โล่รางวัล และประกาศนียบัตร พร้อมทั้งศึกษาดูงานต่างประเทศ
ทั้งนี้ โครงการกรุงไทย ยุววาณิช จัดขึ้น เพื่อจุดประกายและสร้างเยาวชนที ่มีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบต่ อสังคมตามแนวคิดทุนทางปัญญาไม่ มีวันหมด โดยเน้นให้เยาวชนในระดับมัธยมศึ กษาและระดับประกาศนียบัตรวิชาชี พ (ปวช.) ได้มีเวทีในการฝึกปฏิ บัติการดำเนินธุรกิจ มีความสนใจและตื่นตัวที่จะใช้ ความคิด ความรู้ที่มีอยู่ประกอบกับการศึ กษาค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วนำมาปฏิบัติจริงให้เป็นรู ปธรรม
นางศิริพร นพวัฒนพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่ม กลุ่มการตลาดและสื่อสารองค์กร สายงานการตลาดและสื่อสารองค์กร ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เป้าหมายของโครงการกรุงไทย ยุววาณิช ต้องการสนับสนุนให้เยาวชนได้ ประกอบธุรกิจจริง และภายในโครงการทุกโรงเรียนจะต้ องแบ่งงบประมาณหรือผลกำไรไปทำกิ จกรรมทางสังคมด้วย อีกทั้งยังสามารถต่อยอดได้จริง โดยธนาคารจะช่วยบ่มเพาะหลั กการทำธุรกิจให้เยาวชน เด็กๆจะรู้ทุกขั้นตอนของการทำธุ รกิจ รวมทั้งการทำงานเป็นทีม ที่จะต้องมีการแบ่งหน้าที่กัน ซึ่งเยาวชนสามารถนำความรู้นี้ ไปใช้ในอนาคตเมื่อจบการศึกษามา อยากทำธุรกิจก็สามารถทำได้เลย
“สิ่งที่ประทับใจและน่าชื่นชม คือนักเรียนสามารถนำความคิดทั นสมัยของพวกเขามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ซึ่งสินค้าที่เด็กๆ นักเรียนได้ทำสะท้อนให้เห็นถึ งความหวงแหน และเห็นคุณค่าภูมิปั ญญาของไทยมากขึ้น โดยรู้จักนำภูมิปัญญาในท้องถิ่ นมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุ ณค่า มีราคา นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงความห่ วงใยสิ่งแวดล้อมรอบชุมชน รู้จักเอาของเหลือใช้มาแปรรู ปเป็นสินค้า
อย่างไรก็ตาม ตลอด 13 ปี ที่ธนาคารกรุงไทยได้จัดกิ จกรรมนี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่าเด็ กและเยาวชนเหล่านั้นต่างมีศั กยภาพ” นางศิริพร กล่าว
ผีตาโขนย่อส่วนที่ระลึกเล็กๆ แต่มีเรื่องราว ผลงานเด็ก “เลย” แชมป์กรุงไทยยุววาณิช
“ผีตาโขน”คืองานประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ทำให้ อ.ด่านซ้าย
จ.เลย เป็นที่รู้จัก
พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนเป็นแหล่งรวมเรื่องราวของผีตาโขนไว้
สถานที่นี้นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวชม
พร้อมมีเวิร์กชอปเล็กๆให้ทดลองทำหน้ากากผีตาโขนดู
ชาวด่านซ้ายนั้นส่วนใหญ่จะมีฝีมือด้านการวาดหน้ากากผีตาโขน
ซึ่งร.ร.ในชุมชนได้นำไปบรรจุในหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา
ได้เปิดการสอนวาดหน้ากากผีตาโขนให้กับนักเรียนในคาบเรียนศิลปะ ความรู้จากชั้นเรียนในระดับมัธยมวันนี้
สามารถก่อตั้งเป็นธุรกิจได้
บริษัท ตาโขน จำกัด
เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักเรียนชั้นมัธยมปลายของโรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา
จ.เลย จำนวน 15 คน ทำสินค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้น
จ.เลย จำนวน 15 คน ทำสินค้าผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้น
นางสาวอารยา เครือหงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา ในฐานะประธาน
บริษัท ตาโขน จำกัด บอกเล่าว่าเธอและเพื่อนๆมองเห็น จุดอ่อนของตลาดขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวในชุมชน
เพราะอย่างที่รู้นักท่องเที่ยวมาเยือนด่านซ้ายต้องไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน
ซึ่งที่นี่มีสินค้าจำหน่ายที่เป็นหน้ากากผีตาโขน
แต่เพื่อลองเก็บข้อมูลดูพบว่านักท่องเที่ยวตัดสินใจซื้อสินค้ายากเพราะราคาหน้ากากที่ต้องใช้ฝีมือทางศิลปะสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาประณีต
ทำให้สินค้ามีราคาสูง ราคาเริ่มต้นที่ 3,000-10,000 บาท
ในมุมมองแบบวัยรุ่นสินค้าที่ระลึกราคาสูงเช่นนี้
ไม่สามารถเรียกเงินจากนักท่องเที่ยวกระเป๋าเบา และกลุ่มวัยรุ่นอย่างเธอได้
เมื่อระดมความคิดกันแล้วอยากทำในสิ่งที่ท้าทาย ในการเปิดโลกเรียนรู้สู่การทำธุรกิจ
เธอและเพื่อนๆซึ่งอยู่ในชั้น ม.4 ได้ระดมเงินทุนคนละ 1,000 บาท จาก 15 คน
เงินทุน 15,000 บาท
นำไปซื้ออุปกรณ์ ทำสินค้าที่ระลึกอย่างหน้ากากผีตาโขนขนาดจิ๋ว พวงกุญแจ
และเสื้อยืด โคมไฟเพนท์ลายผีตาโขน อาทิราคาพวงกุญแจหนัง เข็มกลัด ขายราคา 30-35 บาท ที่ติดตู้เย็น เสื้อยืดตัวละ 159 บาท
ส่วนโคมไฟราคาสูงขึ้นมาถ้าทำมาจากไม้ไผ่ ราคา800 บาท
ไม้มะม่วงราคา 1,500 บาท
“จุดเด่นของผลิตภัณณฑ์จะเป็นงานแฮนด์เมดทั้งหมด
โดยเพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันวาดลวดลายลงบนพวงกุญแจบ้างหน้ากากผีตาโขนขนาดเล็กบ้าง
ส่วนเสื้อยืดใช้วิธีสกรีน
สินค้านำไปวางจำหน่ายในร้านขายของที่ระลึกทั่วอำเภอด่านซ้ายและอำเภอใกล้เคียง”
อารยาบอกว่า
สินค้าได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวพอสมควร
โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวจังหวัดเลยจำนวนมาก
โดยเฉลี่ยทำให้มียอดขายเสื้อยืดเฉลี่ย 300-400 ตัว ต่อเดือน
และคาดว่าในช่วงเดือนกรกฏาคมถึงมิ.ย.ที่จะมีงานประเพณีแห่ผีตาโขน
สินค้าจะขายดีมากยิ่งขึ้น ในรอบแรกสมาชิกได้แบ่งกำไรแล้วได้คนละ 1,000 บาทในเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา
ที่เหลือเป็นทุนหมุนเวียนประมาณ 20,000 บาทและแบ่งสัดส่วนรายได้ 15
% (15,834.50 บาท) ไปซื้ออุปกรณ์สอนน้องๆและประชาชนทำโคมไฟผีตาโขน
และผลิตภัณฑ์ผีตาโขน
ทั้งนี้การทำธุรกิจระหว่างเรียนทำให้ไม่มีเวลาในการที่จะผลิตสินค้าได้ทันตามออเดอร์
กลุ่ม บริษัท ผีตาโขน ได้กระจายงานไปให้ชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันวาดเพนท์ลาย
บนพวงกุญแจ เข็มกลัด ทำโคมไฟ ซึ่งมีชาวบ้าน 2 กลุ่ม (เฉลี่ยกลุ่มละ2-3 คน) ที่รับงานไปทำต่อ
ทำให้แต่ละเดือนชาวบ้านซึ่งมีอาชีพหลักเป็นเกษตรมีรายได้เดือนละ 3,000-4,000 บาท
สำหรับแผนธุรกิจในอนาคต อารยา บอกว่า
มีโครงการที่จะพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างมากขึ้นมีแนวคิดที่จะทำหน้ากากผีตาโขนจากเปเปอร์มาเช่
รวมทั้งการพัฒนาโคมไฟให้มีง่ายต่อขนส่งทางไปรษณีย์ อาจต้องทำให้ถอดประกอบได้
ทั้งนี้สินค้า ผลิตภัณฑ์ผีตาโขน ยังได้รับคัดเลือกให้ไปออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
เช่น งานศิลปหัตถกรรมนร.ระดับชาติ งานหัตถศิลป์ถิ่นโภชนา
ซึ่งจัดโดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ
ผลจากการประกอบธุรกิจที่ไม่เพียงแต่ทำให้ระหว่างเรียนมีรายได้
แต่ก่อให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ทำให้
ทีมจากโรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยาได้รับรางวัล ชนะเลิศจากการประกวดโครงการกรุงไทย
ยุววาณิช ที่ธนาคารกรุงไทยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 พร้อมทีมจากวิทยาลัยการอาชีพนางรอง
จ.บุรีรัมย์ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศร่วมกัน
กับผลงานโครงการขยายพันธุ์พืชเพื่อชุมชน คือการขยายพันธุ์ต้นมะนาว
โดยได้รับทุนการศึกษา 390,000 บาท โล่รางวัล
และประกาศนียบัตร พร้อมทั้งศึกษาดูงานต่างประเทศ
“รู้สึกว่าตลอดระยะเวลาในการทำบริษัทตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่เวลาเราลงแรงกายลงแรงใจไป
เราได้ผลตอบแทนกลับมาที่คุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่เคยทำมา สิ้นค้าของเรา
เราได้ดึงเอาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่นของอำเภอด่านซ้าย
มาสร้างสรรค์มาเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่หลากหลาย
ซึ่งเราก็ไม่ได้ทำลายธรรมชาติหรือทำลายสภาพแวดล้อมบ้านเมืองของเรา ต้องขอขอบคุณธนาคารกรุงไทยที่ได้จัดตั้งโครงการ
กรุงไทยยุววาณิชขึ้น เพื่อให้เราได้สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นผีตาโขน
ที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก และขอขอบคุณมากๆ ที่ให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานระบบบริษัทต่างๆ
และหวังว่าจะได้เข้าร่วมกับโครงการดีๆ อย่างนี้อีกทุกปีค่ะ” อารยาทิ้งท้าย
ทั้งนี้โครงการการกรุงไทย ยุววาณิช
จัดขึ้น เพื่อจุดประกายและสร้างเยาวชนที่มีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวคิดทุนทางปัญญาไม่มีวันหมด
โดยเน้นให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้มีเวทีในการฝึกปฏิบัติการดำเนินธุรกิจ
มีความสนใจและตื่นตัวที่จะใช้ความคิด
ความรู้ที่มีอยู่ประกอบกับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วนำมาปฏิบัติจริงให้เป็นรูปธรรม
นางศิริพร นพวัฒนพงศ์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่ม กลุ่มการตลาดและสื่อสารองค์กร
สายงานการตลาดและสื่อสารองค์กร ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า โครงการ “กรุงไทย ยุววาณิช”
มีจุดเด่นคือการสนับสนุนให้เยาวชนได้ประกอบธุรกิจจริง
และภายในโครงการทุกโรงเรียนจะต้องแบ่งงบประมาณหรือผลกำไรไปทำกิจกรรมทางสังคมด้วย
นอกจากนี้กิจกรรมที่นักเรียนทำยังสามารถต่อยอดได้จริง
โดยธนาคารจะช่วยบ่มเพาะหลักการทำธุรกิจให้เยาวชนทุกอย่าง
เด็กๆจะรู้ทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจ รวมทั้งการทำงานเป็นทีม
ที่จะต้องมีการแบ่งหน้าที่กัน ซึ่งเยาวชนสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในอนาคตเมื่อจบการศึกษามา
อยากทำธุรกิจก็สามารถทำได้เลย
“สิ่งที่ประทับใจและน่าชื่นชม
คือนักเรียนสามารถนำความคิดทันสมัยของพวกเขามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ซึ่งสินค้าที่เด็กๆ นักเรียนได้ทำสะท้อนให้เห็นถึงความหวงแหน
และเห็นคุณค่าภูมิปัญญาของไทยมากขึ้น
โดยรู้จักนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีราคาได้
นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบชุมชนเขา
โดยรู้จักเอาของเหลือใช้มาแปรรูปเป็นสินค้า ขอให้ทุกภาคส่วนได้ช่วยกันส่งเสริมกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงออกถึงความสามารถและศักยภาพ
ทั้งนี้กิจกรรมที่ธนาคารกรุงไทยทำที่ผ่านมาตลอด 13 ปี ได้พิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่าเด็กและเยาวชนเหล่านั้นต่างมีศักยภาพ”
นางศิริพร กล่าว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...