พิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมการบิน โดย BAC ร่วมมือกับ AU และ สถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (TFTA) บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน
ด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผล ให้ธุรกิจด้านการบินทั้งในและต่างประเทศเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้ว่ามีการเกิดของสายการบินภายในประเทศและบริการด้านการบินใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านการบิน โดยเฉพาะบุคลากรการบินหรือนักบินซึ่งจัดว่าเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ความ สามารถสูง ประกอบกับต้องมีการฝึกและอบรมด้านวิชาชีพเป็นพิเศษ และด้วยความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงพอที่จะเป็นศูนย์กลางการฝึกบุคลากรทางด้านการบิน ได้มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้
บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นต์เตอร์ จำกัด (Bangkok Aviation Center, BAC) เป็นสถาบันฝึกสอนการบินที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมการบินพลเรือน ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (PPL), หลักสูตรเพิ่มศักยภาพการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน(IR), หลักสูตรเพิ่มศักยภาพการบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ (MR) และหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี(CPL) และได้รับความไว้วางใจจากสายการบินในประเทศหลายสายการบินในการฝึกอบรม บุคลากรด้านการบิน และเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในด้านการฝึกอบรมทั้งทางด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติการบิน ทาง BAC จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ(AU) และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน บริษัทการบินไทย (TFTA) จำกัด (มหาชน) ในการร่วมมือพัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบิน เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ระยะเวลาการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรทั้งสิ้น 4 ปี เนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการบิน ทั้งนี้มุ่งให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการจัดการองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่อง บิน และการบังคับเครื่องบินเพื่อการประกอบอาชีพในสายงานที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการบินเป็นผู้ดำเนินการอบรม
โดย น.ท. ปิยะ ตรีกาลนนท์ ประธานกรรมการบริหารได้เขียนบทความถึงงานบันทึกลงนามความเข้าใจเอาไว้ดังนี้
บริษัทการบินไทย ร่วมกับ ABAC และ BAC ร่วมมือกันมาประมาณ ปีเศษๆ เพื่อที่จะจัดตั้งหลักสูตรปริญญาตรีใหม่ขึ้น นั่นคือ คณะวิศวกรรมการบิน Major CPL (Commercial Pilot License) โดย เมื่อเดือนพฤษภา 2553 ที่ผ่านมา ได้รับการรับรองหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนี้จะได้รับปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตร์ และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีด้วยอีกใบ รวมทั้งยังได้รับ Certificate of ATPL ด้วย โดย ABAC เป็นผู้รับผิดชอบโดยรวม ส่วน BAC รับผิดชอบเรื่องการสอนภาคพื้นวิชาทางด้านการบิน และภาคอากาศ โดยทำการบินกับเครื่องบินจำนวน 220 ชั่วโมงบิน สำหรับการบินไทยกำลังพัฒนาต่อยอดหลักสูตรเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตใหม่ของโลก คือ MPL (Multi Crew Pilot License) โดยจะเปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 1 เดือนมิถุนายน 2554 นี้ จำนวน 25 คนครับ ถือเป็นความภูมิใจของผมมากๆ เพราะในประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อนครับ สำหรับ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว (เพราะปกติเรียน ป.ตรี 4 ปี และเรียนบินอีก 1 ปี รวมเป็น 5 ปี) โดยเรียนแค่ 4 ปี ได้ถึงสองประกาศนีบัตรผู้จบการศึกษาเมื่อเป็นนักบินของสายการบินต่างๆแล้ว เมื่อทำงานจนถึงจุดหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นไปเป็นกัปตัน และเป็นผู้บริหารในที่สุด นักบินเหล่านี้จะได้เปรียบในเรื่องการบริหารงานทางด้านการบิน เพราะจบ ป.ตรีมาทางด้านการบินโดยตรง ซึ่งใน 4 ปีนอกจากจะ เรียนการบินแล้วยังต้องเรียนรู้ สายงานทุกแขนงของอุตสาหกรรมการบินด้วย ไม่ว่าจะเป็น สายการบิน การท่าอากาศยาน (สนามบิน) วิทยุการบิน การบริการจราจรทางอากาศ โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต สร้าง บ. และชิ้นส่วน General Aviation ศูนย์ซ่อมบำรุง ฯลฯ Cargo
คณะนี้เหมาะกับคนรักที่จะบินจริงๆครับ...
เร็วๆนี้ทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกำลังจะ เปิด course เรียนอบรมเพื่อเป็นแอร์โฮสเตส และสจ๊วต ซึ่งน้องที่กำลังเรียนอยู่ที่เอแบคสามารถเลือกเป็นวิชาเลือกเสรี( Free elective) เมื่อสำเร็จ Training Course จะได้ใบประกาศนียบัตรอีกด้วย
สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตร์ -วิศวะการบิน(Multi-Crew Pilot) 4,161,885 บาท
วิศวกรรมศาสตร์ -วิศวะการบิน(Commercial Pilot) 2,802,085 บาท
วิศวกรรมศาสตร์ -วิศวะการบิน(Aircraft Maintenance Engineering) 1,568,235
วิศวกรรมศาสตร์ -วิศวะการบิน(Commercial Pilot) 2,802,085 บาท
วิศวกรรมศาสตร์ -วิศวะการบิน(Aircraft Maintenance Engineering) 1,568,235
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่
ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาที่ 1/2554
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 10 มีนาคม 2554คลิกที่นี่
ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาที่ 1/2554
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 10 มีนาคม 2554คลิกที่นี่
ผู้ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาสามารถซื้อใบสมัครได้ที่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและยื่นใบสมัครได้ที่
1. วิทยาเขตหัวหมาก: ศูนย์รับสมัครเข้าศึกษา ตึก Pชั้น 1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. +66 (0) 2 719 1919 , +66 (0) 2 719 1929
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 18.30น.
เสาร์ เวลา 08.00 - 16.30น.
อาทิตย์ เวลา 08.00 - 14.00น.
2. วิทยาเขตสุวรรณภูมิ: ศูนย์รับเข้าศึกษา ตึก SM115 ชั้น1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. +66 (0) 2 723 2323
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. +66 (0) 2 723 2323
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30-17.00 น.
การเปิดตัวของสถาบันบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI Flight Training Academy (TFTA) เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อรองรับการฝึกนักบินพาณิชย์ในรูปแบบใหม่ โดยมีหลักสูตรอบรมเบื้องต้น 3 หลักสูตร คือ หลักสูตร นักบินผู้ช่วยเครื่องบิน (Multi-Crew Pilot License) หลักสูตรการฝึกนักบินเบื้องต้น (Airline Transition Training) และหลักสูตรฝึกครูฝึกผู้ประจำหน้าที่ในอากาศ (Flight Instructor Training Program) จึงน่าสนใจ เพราะสายการบินย่อมมีศักยภาพที่จะทำการเรียนการสอน เนื่องจากมีองค์ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมกว่า
กัปตันชูชาติ จันตะบุตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการฝึกอบรมนักบิน ประธานสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2549 องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ได้ประกาศใช้หลักสูตรการบินใหม่ ที่เรียกว่า Multi Pilot Licence (MPL) แทน Commercial Pilot License (CPL) ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเรียน รวมถึงค่าใช้จ่ายน้อยลง และผู้ที่จบออกมาจะตรงตามความต้องการของสายการบินมากขึ้น ซึ่งบริษัทการบินไทยเป็นเพียง 1 ใน 10 แอร์ไลน์ทั่วโลกที่เปิดสอนในหลักสูตรใหม่นี้ หลังจากทำการศึกษามากว่า 4 ปี
"หลักสูตรนักบินเดิมที่ทำการฝึกกันอยู่ใช้มาแล้วกว่า 40 ปี คือเริ่มจากเครื่องบินเล็กถึงได้ไลเซนส์นักบินพาณิชย์ แล้วจึงเดินเข้ามาสมัครที่สายการบิน และทำการฝึกอีกครั้งหนึ่ง แต่สำหรับหลักสูตรใหม่ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการบินพลเรือนเรียบร้อยแล้ว ผู้เรียนจะได้เรียนเนื้อหาวิชาการ ฝึกบินเดี่ยว บินคู่ โดยความร่วมมือกับโรงเรียนการบิน รวมทั้งฝึกในเครื่องบินจริงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและเครื่องบินจำลองแบบ ซีมูเลเตอร์รวม 240 ชั่วโมง แต่เพื่อเพิ่มความมั่นใจ เราฝึกเพิ่มให้จากข้อกำหนดของ ICAO อีก 61 ชั่วโมง จบแล้วสามารถเดินไปสมัครสายการบินได้ทั่วโลกโดยไม่ต้อง ฝึกบินอีก" กัปตันชูชาติกล่าว
Credit ประชาชาติธุรกิจ