กำหนดการรับสมัครโครงการพิเศษ ปีการศึกษา 2554
ระดับ ม.6/ ปวช. ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2554
ระดับ ปวส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2554
รายละเอียดเก่าจากปี 2553 นะครับ
หลักสูตรที่เปิดสอน |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตโครงการพิเศษ สาขาที่เปิด
|
คุณสมบัติผู้สมัคร |
คุณสมบัติทั่วไป บุคคลที่สมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสาขาวิชาต่างๆจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติทั่วไปดังนี้ คือ 1. ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองแพทย์ซึ่งแพทย์ผู้ลงนามต้องเป็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ 2. ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา เว้นแต่มีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 3. ไม่เคยต้องพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาใดๆเพราะความผิดทางวินัย 4. เป็นผู้มีความประพฤติดี คุณสมบัติเฉพาะ บุคคลที่มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสาขาวิชาต่างๆจะต้องเป็นบุคคลที่มีระดับการศึกษาดังต่อไปนี้.- 1. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างโยธาช่างก่อสร้าง ช่างสำรวจ ช่างเขียนแบบ หรือเทียบเท่า เช่น วิทยาลัยการชลประทาน หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงดังกล่าว หรือ 1.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือ 1.3 เป็นผู้กำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเป็นผู้กำลังศึกษาในภาค การศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า 2 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องทางไฟฟ้าหรือเป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงดังกล่าว หรือ 2.2 เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และได้สอบผ่านรายวิชาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต ดังนี้ 1. วิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต 2. วิชาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ 21 หน่วยกิต 3. วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต 3. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 3.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างเครื่องกล วิศวกรรมเขียนแบบและออกแบบ การผลิต ช่างกลโรงงาน ช่างยนต์ และสาขาอื่นๆ ที่เทียบเท่ากับสาขาดังกล่าว หรือเป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ในภาค การศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงดังกล่าว หรือ 3.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือ 3.3 เป็นผู้กำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เป็นผู้กำลังศึกษาในภาค การศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า 4 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 4.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) หรือ เทียบเท่า หรือ 4.2 เป็นผู้กำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เป็นผู้กำลังศึกษาในภาคการศึกษา สุดท้ายของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า |
การสอบข้อเขียน |
กรณีผู้สมัครสอบมีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ผ่านการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ การสอบข้อเขียนทุกวิชาไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคำนวณทุกชนิด ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบดังที่ได้แนบมาพร้อมกับใบสมัครนี้โดยเคร่งครัด โดยได้กำหนดวัน เวลา และรายละเอียดของวิชาที่สอบแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้:- สาขาวิชา เวลา และวิชาที่สอบ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
รายละเอียดของเนื้อหาวิชาที่สอบ (Course Description) 1) พื้นฐานวิทยาศาสตร์ทางวิศวกรรมโยธา เนื้อหาที่ใช้ในการสอบ แรงและโมเมนต์ของแรง ระบบแรง การสมดุล การเขียนแผนภาพอิสระ แรงเสียดทาน จุดศูนย์กลางของพื้นที่ ความดันของไหล หลักการสำรวจเบื้องต้น คุณสมบัติ การรับแรงของวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ เหล็ก คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ น้ำ และมวลรวมผสมคอนกรีต คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัว วิธีการทดสอบวัสดุผสมและกำลังของคอนกรีต 2) พื้นฐานวิทยาศาสตร์ทางวิศวกรรมไฟฟ้าเนื้อหาที่ใช้ในการสอบ กฎและทฤษฎีต่างๆ ทางไฟฟ้า วงจรไฟฟ้ากระแสตรง วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องมือวัดไฟฟ้าพื้นฐาน อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรพื้นฐานดิจิตอล พื้นฐานแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า และระบบไฟฟ้ากำลัง เบื้องต้น 3) พื้นฐานวิทยาศาสตร์ทางวิศวกรรมเครื่องกลวิชาที่ใช้ในการสอบ (ก) กลศาสตร์วิศวกรรมเนื้อหาที่ใช้ในการสอบ ระบบของแรง โมเมนต์และการสมดุลของอนุภาคและวัตถุเกร็ง การเขียนแผนภาพวัตถุอิสระความเสียดทาน การวิเคราะห์ภาระในโครงสร้างและเครื่องจักรกลอย่างสถิตย์ จุดศูนย์ถ่วง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและการประยุกต์ การเคลื่อนที่เชิงเส้น เชิงมุม แบบฮาร์โมนิคส์อย่างง่าย งานพลังงานและกำลังงาน โมเมนต์ความเฉื่อยของมวล การหมุนของวัตถุเกร็ง (ข) กลศาสตร์ของไหล ความดันและการวัดความดัน สถิตศาสตร์ของไหล การกระจายของความดันแรงเนื่องจากความดันบนพื้นผิว ศูนย์กลางของความดัน แรงลอยตัว และสมดุลย์ กฎทรงมวล สมการเบอร์นิวลี สมการพลังงาน 4) คณิตศาสตร์ เนื้อหาที่ใช้ในการสอบ ตรีโกณมิติ อนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิต สมการ อสมการ และกราฟ เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนท์เบื้องต้น เรขาคณิตวิเคราะห์ในระนาบ การหาค่าอนุพันธ์ของฟังก์ชั่นพีชคณิต/เวคเตอร์ การอินทิเกรทฟังก์ชั่นพีชคณิต 5) ภาษาอังกฤษ ความเข้าใจในการอ่าน และใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม กรณีผู้สมัครสอบมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่6 หรือ ปวช. หรือเทียบเท่า ผู้สมัครสอบทุกภาควิชาจะใช้ข้อสอบเดียวกัน โดยมีวัน เวลา และวิชาที่สอบดังนี้
รายละเอียดของเนื้อหาวิชาที่สอบ 1) พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ : การวิเคราะห์แรง สมดุล การเคลื่อนที่เชิงเส้นตรง การเคลื่อนที่วิถีโค้ง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน พลังงาน โมเมนตัม 2) พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ : เรขาคณิตวิเคราะห์, ตรรกศาสตร์ อนุพันธ์ของฟังก์ชัน พีชคณีต เวกเตอร์ ฟังก์ชันเอกซ์โปเนลเชียลและลอการิธึม ตรีโกณมิติ เมตริกซ์ อนุกรม ระบบจำนวน 3) พื้นฐานทางภาษาอังกฤษ : พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |