วาไรตี้
ประชาสัมพันธ์
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงบทความทั้งหมด

ปั้นครูแพทย์-นักวิจัยแพทย์จุฬาฯร.ร.แพทย์สากล


"กว่า 63 ปีที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับใช้สังคม โดยทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตแพทย์ แพทย์เฉพาะทาง งานวิชาการและงานวิจัย รวมทั้งบริการวิชาการ ทำให้ในปี 2552 ไทม์ไฮเออร์เอ็ดดูเคชั่นจัดอันดับให้จุฬาฯ อยู่อันดับ 51 ของโลกด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

(life science & biomedicine) และปีนี้สถาบันคิวเอสจัดอันดับให้จุฬาฯ เป็นที่ 10 ของเอเชีย ก้าวต่อไปของคณะจะมุ่งผลิตครูแพทย์และนักวิจัยที่ดีในระดับสากล พัฒนาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และก่อสร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และอาคารรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น" ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บอกถึงนโยบายพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
 ศ.นพ.อดิศรแจกแจงว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีเป้าหมายพัฒนาไปสู่ระดับสากล ต่อไปนอกจากผลิตบัณฑิตแพทย์ปกติปีละประมาณ 300 คนแล้ว   ยังมีนโยบายพัฒนาศักยภาพของนิสิตแพทย์ให้มีความสามารถในการวิจัยและเป็นครู แพทย์ที่ดีในระดับสากล จึงจัดโครงการ "เพชรชมพู” ขึ้น เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปีการศึกษา 2553 มีระยะเวลา 5 ปี ใช้งบพัฒนานิสิตแพทย์คนละ 9 แสนถึง 1 ล้านบาท ใช้งบประมาณดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 35-40 ล้านบาท
 โครงการเพชรชมพูแบ่งย่อยเป็น 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเพชรชมพูครูแพทย์ รับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2-4 และโครงการเพชรชมพูวิจัย รับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 โดยเปิดรับโครงการละ 5 คนต่อปี รวมปีแรกรับ 10 คน นิสิตแพทย์จุฬาฯ ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเพชรชมพูทั้งสองโครงการนี้ต้องมีคุณสมบัติคือ เกรดเฉลี่ย 3.6 ขึ้นไป ผ่านการสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP ไม่น้อยกว่า 75 คะแนน หรือ TOEFL ไม่น้อยกว่า 79 คะแนน หรือ IELTS ไม่น้อยกว่า 6.0 หรือเทียบเท่า
 "ขณะนี้ประเทศไทยมีแพทย์จบใหม่มากขึ้น แต่มีปัญหาขาดแคลนครูแพทย์และนักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงมีนโยบายผลิตครูแพทย์และนักวิจัยเพื่อป้อนให้แก่คณะและสถาบันผลิตแพทย์ อื่นๆ สำหรับนิสิตแพทย์ที่จะพัฒนาเป็นครูแพทย์นั้น จะสอนให้มีความเป็นครู รู้วิธีการสอน การออกข้อสอบ การวัดประเมินผลและจริยธรรมการเป็นครู ส่วนนิสิตแพทย์ที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยจะเน้นสอนให้ความรู้ด้านวิจัยและภายใน 6 ปีที่เรียนจะต้องมีงานวิจัยออกมา  นิสิตแพทย์ทั้งสองส่วนนี้ จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยเป็นพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด หลังจากเรียนจบแล้วบัณฑิตแพทย์ทั้งสองส่วนนี้จะทำงานอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หรือสถาบันผลิตแพทย์แห่งอื่นๆ ก็ได้เพราะไม่มีสัญญาใช้ทุนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่”
 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายถึงการพัฒนาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีอาจารย์แพทย์ 500 คน และแพทย์ประจำบ้าน 700 คน รวม 1,200 คน มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 1,500 เตียงและมีผู้ป่วยนอกมาใช้บริการปีละกว่า 1.2 ล้านคน ที่ผ่านมาระยะเวลาที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ย 6-7 วันแล้วกลับบ้าน เนื่องจากโรงพยาบาลปรับปรุงประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นโดยผู้ป่วยที่มารักษาส่วนใหญ่จะป่วย เป็นโรคที่ซับซ้อน เช่น  มะเร็ง เบาหวาน หัวใจ และการผ่าตัดเกี่ยวกับสมอง กระดูก หรือผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น
 ที่ผ่านมาปัญหาที่พบคือ จุดที่ให้บริการของโรงพยาบาลไม่ได้รวมอยู่ภายในตึกเดียว แต่กระจายอยู่ตามตึกต่างๆ ของโรงพยาบาล เช่น ตึกผ่าตัดแยกอยู่ที่บริเวณอีกส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล ทำให้ต้องมีการขนย้ายผู้ป่วยเป็นระยะทางไกล ดังนั้น จึงมีโครงการสร้างตึกใหม่เป็นอาคารรักษาพยาบาลรวมสำหรับผู้ป่วยยากไร้และผู้ ป่วยโรคเฉพาะทาง ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า "ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์” สูง 29 ชั้น ใช้งบก่อสร้างอาคารและครุภัณฑ์กว่า 1.2 หมื่นล้านบาท เริ่มก่อสร้างแล้วคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2556
 "ต่อไปจุดบริการรักษาโรคและผ่าตัดของโรงพยาบาลจุฬาฯ เช่น ผู้ป่วยเด็ก  โรคหัวใจ ห้องผ่าตัด จะรวมอยู่ในที่เดียวกันคือ ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และด้านหนึ่งของตึกนี้ จะตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่น เบาหวาน มะเร็ง หัวใจ พาร์กินสัน สเต็มเซลล์ โลหิตวิทยา ฯลฯ จะให้การรักษาควบคู่ไปกับการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางการแพทย์ของประเทศไทย อีกทั้งบริเวณข้างตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ จะสร้างตึกสำหรับดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุอย่างครบวงจรขึ้น และจะปรับปรุงอาคารในโรงพยาบาลโดยสร้างทางเชื่อมระหว่างตึกสำคัญต่างๆ โดยจะอนุรักษ์อาคารเก่าซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่มีอายุเกือบ 100 ปีไว้เช่น ตึกอำนวยการ ตึกจักรพงษ์ ตึกวชิราวุธ ตึกปัญจมราชินี ส่วนตึกมงกุฎ-เพชรรัตน์ ซึ่งเป็นหน่วยฉุกเฉินในปัจจุบันจะจัดสร้างส่วนต่อขยายของการให้บริการผู้ ป่วยเพื่อความสะดวกสบายของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในแต่ละวัน” ศ.นพ.อดิศร กล่าวทิ้งท้าย
loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...