แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ครูพันธุ์ใหม่ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ครูพันธุ์ใหม่ แสดงบทความทั้งหมด
ปรับหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่เรียน6ปีจบบรรจุบ้านเกิด
กระทรวงศึกษาธิการ ปรับหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่เรียน 6 ปีจบบรรจุบ้านเกิด
วันนี้ (9 ก.ย.) นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงหลังประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าที่ประชุมมีมติให้ปรับหลักสูตรการ ผลิตครูพันธุ์ใหม่ จากเดิมเรียน 5 ปี ขยายเวลาเป็น 6 ปี จบครุศาสตร์มหาบัณฑิต เป็นครูปริญญาโท ได้ทุนเรียนตลอด 6 ปี จบแล้วได้บรรจุครูในภูมิลำเนาของตนเอง โดยจะเร่งเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทันปีการศึกษา 2554
ทั้งนี้ หลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ เพิ่งเปิดเมื่อปี 2552 มีนักศึกษาผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ 2,042 คน ขณะนี้เหลือนักศึกษาเรียนปี 2 เพียง 948 คนใน 46 สถาบัน เพราะผู้เรียนต้องได้เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นด้วยกับการที่คุรุสภายกเลิกประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้รับเฉพาะคนเก่งที่ไม่ได้เรียนครูในสายวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลน และตั้งใจเรียน 6 ปี จึงจะเป็นครูพันธุ์ใหม่
อนึ่ง คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิ์ภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ สกสค.ได้มอบรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติ และเกียรติบัตรให้แก่ครูผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษา ทั่วประเทศ 695 คน ในจำนวนนี้เป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 41 คน ได้รับเงินรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เพิ่มอีกคนละ 20,000 บาท.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
วันนี้ (9 ก.ย.) นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงหลังประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าที่ประชุมมีมติให้ปรับหลักสูตรการ ผลิตครูพันธุ์ใหม่ จากเดิมเรียน 5 ปี ขยายเวลาเป็น 6 ปี จบครุศาสตร์มหาบัณฑิต เป็นครูปริญญาโท ได้ทุนเรียนตลอด 6 ปี จบแล้วได้บรรจุครูในภูมิลำเนาของตนเอง โดยจะเร่งเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทันปีการศึกษา 2554
ทั้งนี้ หลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ เพิ่งเปิดเมื่อปี 2552 มีนักศึกษาผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ 2,042 คน ขณะนี้เหลือนักศึกษาเรียนปี 2 เพียง 948 คนใน 46 สถาบัน เพราะผู้เรียนต้องได้เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นด้วยกับการที่คุรุสภายกเลิกประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้รับเฉพาะคนเก่งที่ไม่ได้เรียนครูในสายวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลน และตั้งใจเรียน 6 ปี จึงจะเป็นครูพันธุ์ใหม่
อนึ่ง คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิ์ภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ สกสค.ได้มอบรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติ และเกียรติบัตรให้แก่ครูผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษา ทั่วประเทศ 695 คน ในจำนวนนี้เป็นครูที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 41 คน ได้รับเงินรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เพิ่มอีกคนละ 20,000 บาท.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
อนุมัติรับ นศ.ครูพันธุ์ใหม่ต่ำกว่าเป้านับพันคน
“ไชยยศ” ย้ำตั้งเกณฑ์สูงหวังได้ครูคุณภาพ
นาย ไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เปิดเผยภายหลังการประชุมโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการครูพันธุ์ใหม่นำ ร่องปีการศึกษา 2552 จำนวน 948 คน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,000 คน ขณะที่มีผู้สมัคร จำนวน 2,100 คน โดยนักศึกษาดังกล่าวจะได้รับการประกันการมีงานทำ แต่ไม่มีทุนให้ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกพร้อมพื้นที่ที่เด็กเลือกจะไปบรรจุผ่าน เว็บไซต์ สกอ. www.moa.go.th ในวันที่ 16 ก.ย. นี้ ส่วนสาเหตุที่รับนักศึกษาทุนไม่ครบตามเป้า เนื่องจากหลักเกณฑ์การคัดเลือกค่อนข้างสูง เช่น ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 แต่ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าจะไม่ปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากต้องการผลิตครูพันธุ์ใหม่ที่มีความรู้และสามารถชี้นำสังคมได้ ส่วนจำนวนที่ขาดไปอีก 1,052 คน จะรับเพิ่มรวมกับโครงการครูพันธุ์ใหม่นำร่องปีต่อไป
นายไชยยศ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังหารือกรณีคุรุสภาได้ยกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนีย บัตรบัณฑิตวิชาชีพครูหรือ ป.บัณฑิต โดยยินดีสนับสนุนคุรุสภาเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อให้การผลิตครูได้มาตรฐานยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้เกิดปัญหาครูจำนวนมาก เมื่อสอนไประยะหนึ่งก็จะขอลา เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ทำให้ครูไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และจูงใจให้คนเก่งมาเรียนครูเพิ่มขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติว่าจะปรับโครงการครูพันธุ์ใหม่จากเดิม 5 ปี เป็น 5+1 หรือ 6 ปี ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการจะได้รับทุนและเงินเดือนสูงขึ้น ส่วนโครงการครูพันธุ์ใหม่ 4+1 ที่ให้ผู้จบจากสาขาอื่นและต้องการเป็นครูมาต่อหลักสูตร ป.บัณฑิต เพิ่มอีก 1 ปี ก็ต้องปรับเปลี่ยน เนื่องจากคุรุสภาได้ยกเลิก การรับรองหลักสูตรไปแล้ว โดยจะปรับเป็นหลักสูตร 4+2 คือให้ทุนผู้ที่จบจากสาขาอื่น ๆ มาต่อปริญญาโทด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เมื่อจบแล้วก็จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันที ดังนั้นจากนี้โครงการ ผลิตครูพันธุ์ใหม่จะผลิตเฉพาะครูที่จบระดับปริญญาโทเท่านั้น คาดว่าจะรับนักศึกษาได้ภายในปีการศึกษา 2554
“ผมยังให้ สกอ. ไปปรับปรุงถ้อยคำ ที่ระบุว่าจะรับประกันการมีงานทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บรรจุเด็กเหล่านี้ลงในพื้นที่ที่ได้เลือกไว้เท่านั้น เพื่อป้องกันการวิ่งเต้นบรรจุ เนื่องจาก สพฐ. ได้กระจายอำนาจให้ สพท. คัดเลือกผู้เข้ารับการบรรจุเป็นครูได้เอง จึงอาจเป็นช่องทางให้คนหัวหมอไปวิ่งเต้นใช้ช่องว่างของถ้อยคำนี้เข้าทำงาน ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังให้ สกอ. ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อกำหนดกรอบจำนวนผู้เกษียณ ในอีก 6 ปีข้างหน้าว่ามีเท่าใด พร้อมวิเคราะห์งบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอขอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งการของบฯ เพิ่มคงไม่น่าจะมีปัญหา เพราะจำนวนไม่มาก และเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สนับสนุนการศึกษาอยู่แล้ว” นายไชยยศ. กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ http://www.chaoprayanews.com
นาย ไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เปิดเผยภายหลังการประชุมโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการครูพันธุ์ใหม่นำ ร่องปีการศึกษา 2552 จำนวน 948 คน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,000 คน ขณะที่มีผู้สมัคร จำนวน 2,100 คน โดยนักศึกษาดังกล่าวจะได้รับการประกันการมีงานทำ แต่ไม่มีทุนให้ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกพร้อมพื้นที่ที่เด็กเลือกจะไปบรรจุผ่าน เว็บไซต์ สกอ. www.moa.go.th ในวันที่ 16 ก.ย. นี้ ส่วนสาเหตุที่รับนักศึกษาทุนไม่ครบตามเป้า เนื่องจากหลักเกณฑ์การคัดเลือกค่อนข้างสูง เช่น ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00 แต่ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าจะไม่ปรับลดหลักเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากต้องการผลิตครูพันธุ์ใหม่ที่มีความรู้และสามารถชี้นำสังคมได้ ส่วนจำนวนที่ขาดไปอีก 1,052 คน จะรับเพิ่มรวมกับโครงการครูพันธุ์ใหม่นำร่องปีต่อไป
นายไชยยศ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังหารือกรณีคุรุสภาได้ยกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนีย บัตรบัณฑิตวิชาชีพครูหรือ ป.บัณฑิต โดยยินดีสนับสนุนคุรุสภาเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อให้การผลิตครูได้มาตรฐานยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้เกิดปัญหาครูจำนวนมาก เมื่อสอนไประยะหนึ่งก็จะขอลา เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ทำให้ครูไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และจูงใจให้คนเก่งมาเรียนครูเพิ่มขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติว่าจะปรับโครงการครูพันธุ์ใหม่จากเดิม 5 ปี เป็น 5+1 หรือ 6 ปี ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการจะได้รับทุนและเงินเดือนสูงขึ้น ส่วนโครงการครูพันธุ์ใหม่ 4+1 ที่ให้ผู้จบจากสาขาอื่นและต้องการเป็นครูมาต่อหลักสูตร ป.บัณฑิต เพิ่มอีก 1 ปี ก็ต้องปรับเปลี่ยน เนื่องจากคุรุสภาได้ยกเลิก การรับรองหลักสูตรไปแล้ว โดยจะปรับเป็นหลักสูตร 4+2 คือให้ทุนผู้ที่จบจากสาขาอื่น ๆ มาต่อปริญญาโทด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เมื่อจบแล้วก็จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันที ดังนั้นจากนี้โครงการ ผลิตครูพันธุ์ใหม่จะผลิตเฉพาะครูที่จบระดับปริญญาโทเท่านั้น คาดว่าจะรับนักศึกษาได้ภายในปีการศึกษา 2554
“ผมยังให้ สกอ. ไปปรับปรุงถ้อยคำ ที่ระบุว่าจะรับประกันการมีงานทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บรรจุเด็กเหล่านี้ลงในพื้นที่ที่ได้เลือกไว้เท่านั้น เพื่อป้องกันการวิ่งเต้นบรรจุ เนื่องจาก สพฐ. ได้กระจายอำนาจให้ สพท. คัดเลือกผู้เข้ารับการบรรจุเป็นครูได้เอง จึงอาจเป็นช่องทางให้คนหัวหมอไปวิ่งเต้นใช้ช่องว่างของถ้อยคำนี้เข้าทำงาน ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังให้ สกอ. ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อกำหนดกรอบจำนวนผู้เกษียณ ในอีก 6 ปีข้างหน้าว่ามีเท่าใด พร้อมวิเคราะห์งบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอขอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งการของบฯ เพิ่มคงไม่น่าจะมีปัญหา เพราะจำนวนไม่มาก และเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สนับสนุนการศึกษาอยู่แล้ว” นายไชยยศ. กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ http://www.chaoprayanews.com
ปรับแผนผลิตครูพันธุ์ใหม่ต้องจบปริญญาโท
นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ว่า ตนจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการครูพันธุ์ใหม่เพื่อขอปรับรูปแบบจากหลักสูตร 5 ปี เป็น 5+1 โดยเป็นการเรียนปริญญาตรีและปริญญาโทควบรวดเดียวจบ เมื่อเข้ารับการบรรจุก็จะได้ฐานเงินเดือนของผู้ที่จบปริญญาโท เพื่อเป็นการดึงดูดเด็กเก่งมาเรียนครูเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสาขาขาดแคลน อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ผลการดำเนินโครงการนำร่องปีการศึกษา 2552 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถคัดเลือกนักศึกษาได้แล้ว 2,000 คน โดยโครงการนำร่องปี 2552 ถือเป็นรุ่นแรกที่รับประกันการมีงานทำแต่ไม่มีทุนให้ ส่วนโครงการครูพันธุ์ใหม่ 4+1 ที่รับผู้จบ ป.ตรีสาขาต่าง ๆ มาเรียนหลักสูตร ป.บัณฑิตอีก 1 ปี ต่อไปจะต้องปรับเป็นหลักสูตร 4+2 เนื่องจากขณะนี้คุรุสภาได้ยกเลิกการรับรองหลักสูตร ป.บัณฑิตที่เปิดสอนหลังวันที่ 19 ส.ค.ไปแล้ว เพราะคุรุสภามองว่าการเรียนการสอนยังไม่มีคุณภาพ ดังนั้นต่อไปจะผลิตครูที่จบปริญญาโทไปเลย ซึ่งตนได้ให้สำนักนโยบายและแผนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) วิเคราะห์ตัวเลขงบประมาณที่จะต้องเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอขอจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
รศ.ดร.สมบัติ นพรัก คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะประธานคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากคณะกรรมการโครงการครูพันธุ์ใหม่เห็นชอบการปรับรูปแบบโครงการตามที่เสนอ ก็จะต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตกันใหม่ เนื่องจากต่อไปจะต้องผลิตครูที่จบปริญญาโทเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาครม.ได้อนุมัติงบประมาณตามโครงการครูพันธุ์ใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2558 จำนวน 4,235 ล้านบาท โดยจะผลิตครูทั้งหมด 30,000 คน แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ กลุ่มที่เรียนครุศาสตร์ 5 ปี 17,500 คน และโครงการหลักสูตร 4+1 ที่ให้ผู้ที่จบสาขาอื่น ๆ มาเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 12,500 คน ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการทั้งหมดจะได้รับประกันการมีงานทำ แต่กลุ่มที่จะบรรจุลงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ชายขอบจะได้รับทุนด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะออกไปทดแทนครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่จะเกษียณอายุใน 10 ปีข้างหน้า 188,000 คน จากครูทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ 450,000 คน.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ http://www.chaoprayanews.com
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ผลการดำเนินโครงการนำร่องปีการศึกษา 2552 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถคัดเลือกนักศึกษาได้แล้ว 2,000 คน โดยโครงการนำร่องปี 2552 ถือเป็นรุ่นแรกที่รับประกันการมีงานทำแต่ไม่มีทุนให้ ส่วนโครงการครูพันธุ์ใหม่ 4+1 ที่รับผู้จบ ป.ตรีสาขาต่าง ๆ มาเรียนหลักสูตร ป.บัณฑิตอีก 1 ปี ต่อไปจะต้องปรับเป็นหลักสูตร 4+2 เนื่องจากขณะนี้คุรุสภาได้ยกเลิกการรับรองหลักสูตร ป.บัณฑิตที่เปิดสอนหลังวันที่ 19 ส.ค.ไปแล้ว เพราะคุรุสภามองว่าการเรียนการสอนยังไม่มีคุณภาพ ดังนั้นต่อไปจะผลิตครูที่จบปริญญาโทไปเลย ซึ่งตนได้ให้สำนักนโยบายและแผนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) วิเคราะห์ตัวเลขงบประมาณที่จะต้องเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอขอจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
รศ.ดร.สมบัติ นพรัก คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะประธานคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากคณะกรรมการโครงการครูพันธุ์ใหม่เห็นชอบการปรับรูปแบบโครงการตามที่เสนอ ก็จะต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตกันใหม่ เนื่องจากต่อไปจะต้องผลิตครูที่จบปริญญาโทเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาครม.ได้อนุมัติงบประมาณตามโครงการครูพันธุ์ใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2558 จำนวน 4,235 ล้านบาท โดยจะผลิตครูทั้งหมด 30,000 คน แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ กลุ่มที่เรียนครุศาสตร์ 5 ปี 17,500 คน และโครงการหลักสูตร 4+1 ที่ให้ผู้ที่จบสาขาอื่น ๆ มาเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 12,500 คน ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการทั้งหมดจะได้รับประกันการมีงานทำ แต่กลุ่มที่จะบรรจุลงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพื้นที่ชายขอบจะได้รับทุนด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะออกไปทดแทนครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่จะเกษียณอายุใน 10 ปีข้างหน้า 188,000 คน จากครูทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ 450,000 คน.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ http://www.chaoprayanews.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...