แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ครุฑทองคำ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ครุฑทองคำ แสดงบทความทั้งหมด
อธิการบดี มข.รับรางวัลครุฑทองคำ
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2550-2551 จำนวน 10 ท่าน โดยได้ยกย่องให้ ศ.เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ สกลไชย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น สายอธิการบดี ซึ่งถือเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ และเป็นความน่ายินดีอย่างยิ่งที่ ศ.เกียรติคุณ ดร.สุมนต์ ได้รับรางวัลครุฑทองคำ การดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ปี 2 วาระ ที่ทุ่มเทบริหารงานด้วยความสามารถ อันเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และระดับสากล จนเกิดผลสัมฤทธิ์ในหลากหลายด้าน สร้างชื่อให้แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่ยอมรับในวงการอุดมศึกษา
สำหรับรางวัลครุฑทองคำ เป็นรางวัลที่มอบแก่ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น เป็นรางวัลที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศเกียรติคุณบุคคลที่มีผลงานสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม และระบบราชการ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ สายตำแหน่งปลัดกระทรวง สายตำแหน่งอธิบดี สายตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด สายตำแหน่งอธิการบดี และสายตำแหน่งเอกอัครราชทูต โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น ด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีความประพฤติ และการปฏิบัติที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้เป็นแบบอย่างที่ดีของข้าราชการ ทั่วไป มีคุณธรรม มีหลักการ มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพอันโดดเด่น และอุทิศตนให้กับงาน
ด้านผลงาน จะต้องปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดผลที่ดีต่อทางราชการ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ซึ่งในเนื้องานจะต้องมีความชัดเจน น่าเชื่อถือ สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การนำค่านิยมสร้างสรรค์ไปเป็นหลักปฏิบัติในการบริหารงาน อันประกอบด้วย กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สำหรับรางวัลครุฑทองคำ เป็นรางวัลที่มอบแก่ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น เป็นรางวัลที่สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ประกาศเกียรติคุณบุคคลที่มีผลงานสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม และระบบราชการ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ สายตำแหน่งปลัดกระทรวง สายตำแหน่งอธิบดี สายตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด สายตำแหน่งอธิการบดี และสายตำแหน่งเอกอัครราชทูต โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น ด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีความประพฤติ และการปฏิบัติที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้เป็นแบบอย่างที่ดีของข้าราชการ ทั่วไป มีคุณธรรม มีหลักการ มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพอันโดดเด่น และอุทิศตนให้กับงาน
ด้านผลงาน จะต้องปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดผลที่ดีต่อทางราชการ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ซึ่งในเนื้องานจะต้องมีความชัดเจน น่าเชื่อถือ สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การนำค่านิยมสร้างสรรค์ไปเป็นหลักปฏิบัติในการบริหารงาน อันประกอบด้วย กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญ.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...