ข้อมูลการรับนักศึกษา
ประเภทการรับนักศึกษา
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
- คุณสมบัติหลักของผู้สมัคร
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติครบถ้วนที่สามารถจะรับราชการได้เมื่อจบการศึกษา ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน การรับราชการจะต้องเข้าระบบการใช้ทุนตามระเบียบของทางราชการ
- เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2555 และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภายในวันที่ 30 เมษายน 2556
- มีประวัติความประพฤติดี
- ไม่อยู่ในเพศบรรพชิต นักบวช หรือนักพรต
- มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และผู้ป่วย ได้แก่ โรคจิต (psychosis) โรคประสาทรุนแรง (severe neurosis) หรือโรคบุคลิกภาพแปรปรวนโดยเฉพาะ antisocial personality หรือ borderline personality รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และผู้เกี่ยวข้อง หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
- ระดับการมองเห็นในตาข้างดี ต่ำกว่า 6/12 หรือ 20/40 เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว
- มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับของการได้ยินสูงกว่า 40 dB ที่ความถี่ 500-2000 Hz และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่า 70% จากความผิดปกติทางประสาท และการได้ยิน (sensorineural hearing loss) ที่ได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
- โรคหรือความพิการอื่นๆ ที่มิได้ระบุไว้ ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ทั้งนี้ คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้
รายละเอียดของโรคหรืออาการผิดปกติ ตลอดจนระดับความรุนแรงและการดำเนินโรค / อาการอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือเป็นอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และวิธีการตรวจวินิจฉัย และเกณฑ์ในการพิจารณา จะกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญขององค์กรวิชาชีพ ซึ่งผู้สมัครสามารถขอรับข้อมูลได้จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) - คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร
- ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ชั้น ม.4-ม.6 ใน 3 จังหวัดคือ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และตรัง
- เกิด หรือ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านใน 3 จังหวัดดังกล่าว ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ณ วันที่สมัครสอบคัดเลือก (ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2552 ถึง วันที่รับสมัครสอบคัดเลือก)
*ทั้งนี้ในการใช้สิทธิ์เลือกสมัครในโควตาจังหวัดใดใน 3 จังหวัดดังกล่าว ให้ยึดถือภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน หรือสถานที่เกิดตามสูติบัตร - ไม่เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันของรัฐในปีการศึกษา 2556 ตามโครงการพิเศษต่างๆที่ได้ยืนยันสิทธิ์กับสถาบันที่คัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว
หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้สมัครขาดคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง หรือเอกสารที่ใช้ในการสมัครเป็นเท็จ หรือจงใจปกปิดข้อมูล หรือปรากฏเป็นความเท็จขึ้นภายหลังจะถือว่าการสมัครเป็นโมฆะ และจะไม่คืนเงินให้ไม่ว่ากรณีใดๆ
จำนวนรับเข้าศึกษา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จำนวน 48 คน จาก 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และตรัง ประกอบด้วย
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จำนวน 48 คน จาก 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และตรัง ประกอบด้วย
- นครศรีธรรมราช 20 คน
- ภูเก็ต 15 คน
- ตรัง 13 คน
กำหนดการรับสมัครและการสอบ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา 2556 ตั้งแต่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 ถึง วันที่ 11 กันยายน 2555
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา 2556 ตั้งแต่ วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 ถึง วันที่ 11 กันยายน 2555
กิจกรรม | วัน/เดือน/ปี |
---|---|
1. รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต | 11 กรกฎาคม - 11 กันยายน 2555 |
2. ชำระเงินค่าสมัคร และส่งเอกสารการสมัคร | ภายในวันที่ 11 กันยายน 2555 |
3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน | 20 กันยายน 2555 |
4. สอบข้อเขียน 4.1 การสอบความรู้พื้นฐาน 4.2 การสอบวิชาเฉพาะ | 14 ตุลาคม 2555 10 พฤศจิกายน 2555 |
5. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนและมีสิทธิ์ เข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ สอบสัมภาษณ์ และทดสอบสุขภาพจิต | ภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 |
6. กิจกรรมค่ายวิชาการ สอบสัมภาษณ์ และทดสอบสุขภาพจิต | 7 - 10 ธันวาคม 2555 |
7. การประกาศผลการคัดเลือกขั้นสุดท้าย | 18 ธันวาคม 2555 |
8. การรายงานตัวเพื่อยืนยันสิทธิ์ และตรวจสุขภาพ (ตัวจริง และตัวสำรอง) | ตามประกาศทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ http://smd.wu.ac.th หรือ http://www.wu.ac.th |
วิธีการสมัคร
รับสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้สมัครสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดพร้อมทั้งกรอกใบสมัครออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.wu.ac.th และปฏิบัติตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 - วันที่ 11 กันยายน 2555
รับสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้สมัครสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดพร้อมทั้งกรอกใบสมัครออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.wu.ac.th และปฏิบัติตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 - วันที่ 11 กันยายน 2555
การชำระค่าสมัครและการส่งหลักฐานการสมัคร
เมื่อสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้วจะต้องพิมพ์ใบสมัครแล้วนำไปชำระเงินตามธนาคารที่ระบุไว้ในใบสมัคร ภายในวันที่ 11 กันยายน 2555 และจะต้องส่งหลักฐานการสมัครอันได้แก่
เมื่อสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้วจะต้องพิมพ์ใบสมัครแล้วนำไปชำระเงินตามธนาคารที่ระบุไว้ในใบสมัคร ภายในวันที่ 11 กันยายน 2555 และจะต้องส่งหลักฐานการสมัครอันได้แก่
- ใบสมัครที่ติดรูปถ่ายเรียบร้อยแล้ว
- สำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าสมัคร (ส่วนที่เป็นบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ ซึ่งติดรูปถ่ายแล้ว)
- หลักฐานประกอบการสมัคร
หลักฐานประกอบการสมัครและค่าสมัคร
- รูปถ่ายสวมเครื่องแบบนักเรียนขนาด 1 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 รูป
(ให้ติดลงบนมุมขวาบนของใบสมัคร) - สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน 4 ภาคการศึกษา (ปพ.1:4) จำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวนักเรียน จำนวน 1 ชุด
- สูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิดจากนายทะเบียนท้องถิ่น จำนวน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี) จำนวน 1 ชุด
- ค่าธรรมเนียมการสอบข้อเขียนความรู้พื้นฐานและวิชาเฉพาะ เป็นเงิน 1,500 บาท
- หมายเหตุ
- สำหรับผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังนี้คือ
- ค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์และร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ
- ค่าธรรมเนียมการตรวจสุขภาพจิต
- สำหรับผู้ที่สอบผ่านการคัดเลือกขั้นสุดท้ายแล้ว และรายงานตัวพร้อมทั้งทำสัญญาเข้าศึกษา จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังนี้คือ
- ค่ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในวันมอบตัว เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมเข้าร่วมโครงการปรับความรู้พื้นฐานการเรียน เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าจองหอพักของมหาวิทยาลัย เป็นเงิน 2,000 บาท
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการการศึกษา อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โทร 075-673101-5 (ในวันและเวลาราชการ)
ที่มา http://entry.wu.ac.th/detail.asp?mode=3