ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์ทุกระดับ โดยเฉพาะทุนโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ ระะดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ปีการศึกษา 2554 รอบที่ 2 โดยผู้สมัครในทุกภูมิภาคส่งใยสมัครและเอกสารหลักฐานไปยังหน่วยบริหารโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ หน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ส่วนกลางติดต่อได้ที่ ห้อง P109 ตึกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท ถนนพระราม 6 การสมัครให้สมัครโดยระบบออนไลน์ตั้งแต่ วันที่ 15 พย ถึง 9 ธันวาคม 2553
คุณสมบัติของผู้สมัครรับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก
คุณสมบัติทางด้านการศึกษา
1.กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกับคณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันที่อยู่ในโครงการฯ โดยนักเรียนมีสิทธิ์เลือกสถาบันที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกับภูมิลำเนาของนักเรียนได้ไม่เกิน 3 อันดับและเลือกเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เคมี ชีววิทยา(พันธุศาสตร์ พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา)ธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ
คุณสมบัติของผู้สมัครรับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก
คุณสมบัติทางด้านการศึกษา
1.กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกับคณะวิทยาศาสตร์ของสถาบันที่อยู่ในโครงการฯ โดยนักเรียนมีสิทธิ์เลือกสถาบันที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกับภูมิลำเนาของนักเรียนได้ไม่เกิน 3 อันดับและเลือกเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เคมี ชีววิทยา(พันธุศาสตร์ พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา)ธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ
2.มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวมทุกวิชา(GPAX)ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงวันสมัคร(รวม 4 ภาคการศึกษา)ไม่ต่ำกว่า 3.00 โดยได้คะแนนเฉลี่ยในหมวดวิชาเคมี หรือชีววิทยา หรือฟิสิกส์ หรือคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 3.00 และเมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ด้วย
3.สำหรับนักเรียนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต่อไปนี้จะได้รับการพิจารณาให้โควตาจำนวนรับเป็นพิเศษ
3.1นักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
3.2นักเรียนที่อยู่ในโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ
3.3นักเรียนที่เคยร่วมกิจกรรมวิชาการทางวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่จัดโดยกลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐ เช่นโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.),โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์(สอวน.),โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน(JSTP)ในความร่วมมือของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)และสำนักงานสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย(สกว.),การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือโครงการช้างเผือกปูนซิเมนต์ หรือโครงการ/กิจกรรมวิชาการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯเห็นชอบ
3.สำหรับนักเรียนในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต่อไปนี้จะได้รับการพิจารณาให้โควตาจำนวนรับเป็นพิเศษ
3.1นักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย
3.2นักเรียนที่อยู่ในโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ
3.3นักเรียนที่เคยร่วมกิจกรรมวิชาการทางวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่จัดโดยกลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐ เช่นโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.),โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์(สอวน.),โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน(JSTP)ในความร่วมมือของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)และสำนักงานสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย(สกว.),การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือโครงการช้างเผือกปูนซิเมนต์ หรือโครงการ/กิจกรรมวิชาการอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯเห็นชอบ
รายละเอียดทั้งหมด http://www.satit.mua.go.th/newspaper/anc_doc/20101028100200.pdf