Dennis Gabor ผู้ค้นพบโฮโลแกรม
Dennis Gabor (1900-1979) วิศวกรไฟฟ้าชาวฮังการี เป็นผู้ค้นพบหลักการของโฮโลกราฟีโดยบังเอิญ ในวันอีสเตอร์ ปี 1947 ระหว่างที่เขากำลังพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากการค้นพบนี้ Dennis Gabor ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี 1971
จากสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียภาคภาษาไทยระบุ ว่า โฮโลแกรมมาจากเทคนิค “โฮโลกราฟี” (holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพโฮโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ โดยเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือแผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ
โฮโลแกรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
-white-light hologram ซึ่งภาพโฮโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ
-ภาพโฮโลแกรมที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้
ในทางหลักการแล้ว ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดา (photograph) และภาพโฮโลแกรม (hologram) นั้น คือสิ่งที่ถูกบันทึก ภาพถ่ายธรรมดาจะบันทึกความเข้ม (intensity) และ สี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่น (wavelength) ของแสง ของแต่ละจุดในภาพที่ฉายตกลงบนฟิล์ม สำหรับภาพโฮโลแกรมนั้น นอกจากความเข้มและสีแล้ว ยังบันทึก เฟส (phase) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้สามารถสร้างกลับหน้าคลื่นของแสง ให้เหมือนหรือคล้ายกับที่สะท้อนออกจากวัตถุมาเข้าตาเราโดยตรงได้ ทำให้เห็นภาพนั้นมีสภาพเหมือน 3 มิติ
ในทางหลักการแล้ว ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายธรรมดา (photograph) และภาพโฮโลแกรม (hologram) นั้น คือสิ่งที่ถูกบันทึก ภาพถ่ายธรรมดาจะบันทึกความเข้ม (intensity) และ สี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่น (wavelength) ของแสง ของแต่ละจุดในภาพที่ฉายตกลงบนฟิล์ม สำหรับภาพโฮโลแกรมนั้น นอกจากความเข้มและสีแล้ว ยังบันทึก เฟส (phase) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำให้สามารถสร้างกลับหน้าคลื่นของแสง ให้เหมือนหรือคล้ายกับที่สะท้อนออกจากวัตถุมาเข้าตาเราโดยตรงได้ ทำให้เห็นภาพนั้นมีสภาพเหมือน 3 มิติ
ข้อมูลจากวารสารอุตสาหกรรมสาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระบุว่า โฮโลแกรมถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ มากมาย เช่น การนำไปใช้ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมในการผลิต อุปกรณ์ทางแสง เช่น เลนส์กระจกที่มีขนาดเล็กมากๆ มีการพัฒนาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย แต่ที่แพร่หลายมากที่สุดคือ การผลิตเป็นรูปภาพ 3 มิติ เพื่อเพิ่มมูลค่าและตกแต่งผลิตภัณฑ์ และป้องกันการปลอมแปลงเอกสารสำคัญ เช่น บัตรเครดิต หรือวีซ่าของบางประเทศ เนื่องจากภาพที่สร้างขึ้นมาไม่สามารถปลอมแปลงด้วยเครื่องถ่ายเอกสารสี หรือด้วยเครื่องพิมพ์ใดๆ
ในการนำโฮโลแกรมไปใช้งาน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
ทรานสมิชชัน โฮโลแกรม (Transmission Hologram) นำมาใช้กับบัตรประชาชน ใบขับขี่ ซึ่งตัว โฮโลแกรมชนิดนี้จะทำออกมาจากโรงงานมีลักษณะคล้ายกระเป๋าใบเล็ก หรือซอง (Purse) นำบัตรหรือวัสดุที่ต้องการทำ มาสอดใส่ตรงกลางช่องว่าง นำไปรีดที่เครื่องจักรโดยใช้ความร้อนและแรงกดจาก บน – ล่าง แผ่นโฮโลแกรมก็จะติดแนบกับบัตร
รีเฟลคชัน โฮโลแกรม (Reflection Hologram) จะอยู่ในรูปของแผ่นฟอล์ย
โฮโลแกรม สติเกอร์ (Hologram Sticker) สามารถแกะลอกเป็นดวง ติดบนวัสดุตามต้องการ
โฮโลแกรม ฮอต สแตมปิง ฟอล์ย (Hologram Hot Stamping Foil) ติดโดยใช้ความร้อน และแรงกดสูง การทำงานคล้ายการปั๊มฟอล์ยเงิน, ทองลงบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป
อย่างไรก็ ดี ฮอโลแกรม สามารถเลือกติดตรงตำแหน่งต่างๆ ตามความเหมาะสมของสินค้า ไม่ว่าจะติดโฮโลแกรมลงบนตัวสินค้า บนกล่อง หรือภาชนะบรรจุ บนใบรับรองสินค้า ใบรับประกันสินค้า บนป้ายราคาสินค้า หรือใช้โฮโลแกรมในการติดผนึก (Seal) ฝาเปิด – ปิด
ในวันนี้เป็นวันเกิดครบรอบ 110 ปี ของ Dennis Gabor
ทาง Google ได้ให้เกียรติโดยการเปลี่ยน Doodle เป็นรูปโฮโลแกรม (สวยดีครับ)
ขอขอบคุณ Dennis Gabor