ประชาสัมพันธ์

ติวฟรี พิชิต GAT / PAT โค้งสุดท้าย






มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ร่วมกับสถาบันกวดวิชามีไอคิว ขอเชิญนักเรียน ม. 5 – 6 ติวฟรี “โค้งสุดท้าย พิชิต GAT / PAT” ระหว่างวันที่ 4 – 6 ตุลาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบกับอาจารย์ติวชื่อดังจากสถาบันมีไอคิวในการทบทวนเนื้อหาวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ GAT ภาษาอังกฤษ GAT ภาษาไทย และ PAT1 พร้อมตะลุยโจทย์ที่หลากหลาย ภายในงานรับเอกสารฟรี พบกับพี่บ๊อบ ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง แบ่งปันประสบการณ์เลือกเรียนต่อระดับอุดมศึกษาและแนะนำการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย พร้อมร่วมโครงการ “ปันน้ำใจได้ความรู้” โดยนำหนังสือชนิดใดก็ได้มาบริจาค 1 เล่ม เพื่อติวฟรีครั้งนี้ รับสมัครทางเว็บไซต์ http://www.dpu.ac.th/ และ http://www.meiq3.com/ ตั้งแต่วันนี้ – 1 ตุลาคม 2552 สอบถามโทร. 0-2954-7300 ต่อ 560 และ 659

ที่มา : http://www.dpu.ac.th/

รับตรง ม.เกษตร ฯ 2

1.คณะวิศวกรรมศาสตร์(รับตรง,แอดกลาง,โควตาพิเศษ) http://admission.eng.ku.ac.th/information/2553/direct
2. คณะเกษตรศาสตร์ http://www.ku.ac.th/kunews/news52/9/nisit_agr53.pdf
3. โควตานักกีฬา http://www.ku.ac.th/kunews/news52/8/gen01-1263-2552.pdf
4. โควตานักดนตรี http://www.ku.ac.th/kunews/news52/9/music_student53.pdf
5. โควตาวนศาสตร์ http://www.ku.ac.th/kunews/news52/8/forest53.pdf
6. รวมมิตรไปเลยครับ http://www.registrar.ku.ac.th/Quota/Y53/kuquota.pdf

การเข้าศึกษาด้วยวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2553
ใน การรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาต่อปีการศึกษา 2553 คณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดรับนิสิตแบบรับตรงจำนวน 830 คน ในสาขาวิชาทั้งสิ้นรวม 13 สาขาวิชา ทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ และแบบนานาชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภาคปกติ ประกอบด้วย กลุ่มวิทยาเขตบางเขน (250 คน)
วิศวกรรมโยธา (40 คน)
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (20 คน)
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (30 คน)
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (20 คน)
วิศวกรรมวัสดุ (25 คน)
และ วิศวกรรมการบินและอวกาศ (15 คน)
ภาคพิเศษ ประกอบด้วย กลุ่มวิทยาเขตบางเขน ภาคพิเศษ (195 คน)
วิศวกรรมเคมี (50 คน)
และ วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ (40 คน)

ปริญญาตรีนานาชาติ ประกอบด้วย วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ (50 คน)
วิศวกรรมเครื่องกล (50 คน)
และวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต (35 คน)

สำหรับกลุ่มวิทยาเขตบางเขนทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ จะได้เลือกสาขาหลังจากจบการศึกษาชั้นปีที่

1 (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกสาขา)
กำหนดการรับสมัคร

16 พ.ย. - 15 ธ.ค. 52
กำหนดรับสมัครเข้าศึกษาต่อแบบรับตรง

22 ธ.ค. 52
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อแบบรับตรง

8 ม.ค. 53
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธ์สอบสัมภาษณ์เข้าศึกษาต่อแบบรับตรง

22 ม.ค. 53
สอบสัมภาษณ์

27 ม.ค. 53
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อแบบรับตรง

27 ม.ค. - 3 ก.พ. 53
รายงานตัวและยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาสำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาต่อแบบรับตรง

คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ได้คัดเลือกต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดต่อไปนี้
กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ศึกษา และสอบผ่านวิชาในกลุ่มสาระต่างๆ ดังนี้ วิทยาศาสตร์ อย่างน้อย 22 หน่วยกิต คณิตศาสตร์ อย่างน้อย 12 หน่วยกิต และภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 9 หน่วยกิต
ไม่เป็นโรคร้ายแรง, โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
สำหรับ ผู้สมัครที่จะใช้คะแนน A-NET สมัครเข้าศึกษา ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างน้อย 2.75 และมีคะแนนสอบ A-NET วิชาความถนัดทางวิศวกรรม อย่างน้อย 45 คะแนน

เกณฑ์การคัดเลือก
สมัครโดยใช้คะแนน GAT/PAT

ผู้สมัครเลือกสาขาวิชาที่จะสมัครได้ 6 อันดับ จากสาขาที่รับสมัครทั้งหมดเรียงตามระดับความต้องการจากมากไปน้อย

คะแนนของผู้สมัคร คำนวณจากองค์ประกอบต่อไปนี้
GPAX (10%)
GAT (20%)
PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (20%)
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรม (50%) โดยผู้สมัครสามารถเลือกคะแนนในแต่ละวิชาจากการสอบครั้งที่ดีที่สุดได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนจากการสอบครั้งเดียวกันทั้งหมด

คัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาจากคะแนน และอันดับที่ผู้สมัครเลือกไว้
ผู้ ได้รับคัดเลือกจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 22 มกราคม 2553 และยืนยันสิทธิ์ภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 จึงจะได้สิทธิ์เข้าศึกษาโดยสมบูรณ์
สมัครโดยใช้คะแนน A-NET

ผู้สมัครเลือกสาขาวิชาได้เพียงสาขาเดียวเท่านั้น คือ กลุ่มวิทยาเขตบางเขน ภาคพิเศษ
คะแนนของผู้สมัคร ใช้คะแนนสอบวิชาความถนัดทางวิศวกรรมเท่านั้น
คัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาจากคะแนน โดยจำกัดจำนวนรับเข้าศึกษาไม่เกิน 10 คน
ผู้ ได้รับคัดเลือกจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 22 มกราคม 2553 และยืนยันสิทธิ์ภายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 จึงจะได้สิทธิ์เข้าศึกษาโดยสมบูรณ์

วิธีการสมัคร

นักเรียนที่สนใจสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อด้วยวิธีรับตรงได้สามวิธี คือ
สมัครด้วยตนเอง ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. - 15 ธ.ค. 2552 (รายละเอียด)

สมัครโดยส่งทางไปรษณีย์ (ดาวน์โหลดใบสมัคร)

สมัครโดยการกรอกข้อมูลออนไลน์ โดยสามารถส่งหลักฐานได้สองแบบ คือ
ส่งหลักฐานออนไลน์
ส่งหลักฐานทางไปรษณีย์

สำหรับ ผู้ที่สมัครทางไปรษณีย์ หรือผู้ที่สมัครออนไลน์ คณะจะตรวจสอบหลักฐานที่ส่งก่อนจะยืนยันการรับสมัคร ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะการสมัคร เช่น ตรวจสอบว่าคณะได้รับใบสมัครแล้วหรือไม่ หรือตรวจสอบว่าหลักฐานถูกต้องหรือไม่ ได้จากเว็บนี้เร็ว ๆ นี้
ขั้นตอนการสมัคร

กรอกใบสมัคร สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและกรอก หรือสมัครออนไลน์ (จะสมัครได้เร็ว ๆ นี้)
ชำระเงินค่าสมัคร 200 บาท โดยการโอนเงิน (อ่านรายละเอียด)
เตรียมหลักฐานให้ครบถ้วน (อ่านรายละเอียด)
ส่งหลักฐาน สามารถส่งด้วยตนเอง ส่งทางไปรษณีย์ หรือส่งออนไลน์ (อ่านรายละเอียด)
ข้อมูลและลิงก์สำคัญอื่น ๆ
ดาวน์โหลดใบสมัคร
การยืนยันสิทธิ์
คำถามทั่วไป (FAQ)
ประกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่องการรับสมัครเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ในโครงการรับตรง

รับตรง คณะสถาปัตยกรรม ลาดกระบัง 1 กันยายน - 9 ตุลาคม 2552

รับตรง คณะสถาปัตยกรรม ลาดกระบัง 1 กันยายน - 9 ตุลาคม 2552
ดูรายละเอียดได้ที่เวบ
http://www.arch.kmitl.ac.th/09/admission/#

โบราณคดี ศิลปากรเปิดรับตรง

ศิลปากร รับตรงและควาสมารถพืเศษ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคมนะครับ โดยใช้คะแนน gpa และ ก็ gat-pat ด้วยครับ ตามด้วยสอบสัมภาษณ์
โดย สาขานี้เรียน ดี ท่าพระจันทร์ ทั้ง 4 ปี เลย ดีใจมั้ง ฮาฮา ( ห้องน้ำ ท่าพระจันทร์ hiso ที่สุดตั้งแต่เคยไปมหาวิทยาลัยเกือบทั่วกทมละ =__= )
รายละเอียดทั้งหมดในการสอบตรงเข้าไปดูได้ที่ ---> http://www.archae.su.ac.th/html/course2553.html

สถาปัตม.เกษตรรับตรงถึง16พ.ย.

โครงการสอบคัดเลือกนิสิตระดับปริญญาตรี โดยวิธีการรับตรง ภาคปกติ ปีการศึกษา 2553
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. จำนวนนิสิตที่รับเข้าศึกษา 45 คน โดยแบ่งเป็น

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต 30 คน
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต 15 คน
2. ระยะเวลาและกำหนดการดำเนินงาน
การขายใบสมัครและรับสมัคร
ระหว่างวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 – วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2552
การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2552
การสอบข้อเขียนและปฏิบัติการ วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2552
การประกาศผลการสอบ วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2552
การสอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553
การประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ วันอังคารที่ 12 มกราคม 2553
รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่ http://www.arch.ku.ac.th/direct53/index.html

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยรับตรง60โควตา50

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยได้กำหนดการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
สำหรับปีการศึกษา 2553 เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทระบบกลาง (Central University Admissions System : CUAS) จำนวน 80 คน และประเภทที่วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยดำเนินการคัดเลือกเอง (ประเภทรับตรง) จำนวน 60 คน และประเภทโควต้า จำนวน 50 คน ประเภทระบบกลางจะมีขั้นตอนตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศฯ ประเภทโควต้าจะมีการคัดเลือกตามประกาศวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย เรื่องการรับสมัครและสอบคัดเลือกฯ ประเภทโควต้า ส่วนการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาประเภทที่สถาบันดำเนินการคัดเลือกเอง (ประเภทรับตรง) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2552 หรือสำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มีรายละเอียดดังนี้
1.1 หลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนก่อนปี พ.ศ. 2545 ในหมวดวิชาเลือกเสรีให้รวมวิชา วิทยาศาสตร์ (โครงสร้าง 2) 25 นก. หรือวิชาวิทยาศาสตร์ (โครงสร้าง 3) 21 นก. วิชาคณิตศาสตร์ (โครงสร้าง 1) 15 นก. วิชาภาษาอังกฤษ 12 นก.
1.2 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยต้องเรียน
1.2.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมไม่ต่ำกว่า
22 นก.
1.2.2 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ในรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมไม่ต่ำกว่า 12 นก.
1.2.3 กลุ่มสาระภาษาอังกฤษในรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมไม่ต่ำกว่า 8 นก.
1.3 หลัก สูตรการศึกษานอกโรงเรียน ให้ศึกษารายวิชาต่างๆ เทียบเท่าเกณฑ์สำหรับหลักสูตร การศึกษาในโรงเรียน สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ให้แสดงหลักฐานว่าได้ศึกษาภาคปฏิบัติการเทียบเท่าหลัก สูตรการศึกษาในโรงเรียน
2. ผ่านการสอบวัดความรู้ฯ GAT และ PAT 2
3. เป็นหญิงโสดหรือชายโสด มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ. 2537) นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา (31 พฤษภาคม 2553)
4. มีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม ความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร และมีน้ำหนักไม่เกิน
เกณฑ์ปกติมากจนอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาล ทั้งนี้
ถือเอามาตรฐานเครื่องชั่งและเครื่องวัดของวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยเป็นเกณฑ์ตัดสิน - 2
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.redcross.or.th/pr/getphoto.php4?db=3&id=836

ว.นานาชาติ สวนสุนันทา รับตรง สาขาแห่งอนาคต




วิทยาลัย นานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รับตรงนักเรียนที่จบชั้นม.6 หรือเทียบเท่าทั้งในและต่างประเทศ เข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรี ภาคภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรที่ถือว่าเป็น “สาขาแห่งอนาคต” อาทิ ธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจภัตตาคารและที่พัก และ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เริ่มรับ 1 กันยายน 2552 - 9 ตุลาคม 2552 พร้อมมีข่าวดีสำหรับเด็กไทยที่ยังไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษ หลักสูตรนี้ ไม่เน้นเด็กที่เก่งภาษา แต่มีความพยายามและชอบที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม ...
รายละเอียดการรับสมัครวิทยาลัยนานาชาติ จัดการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ โดย จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบไปด้วยภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละหลักสูตร และมีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพให้นักศึกษาเป็นผู้มี ความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะวิชาชีพ ความสามารถและประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของสังคม ซึ่งการเรียนการสอนของวิทยาลัย ไม่เน้นเด็กที่เก่งภาษา แต่มีความพยายามและชอบที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม โดยวิทยาลัยมีการจัดสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษทุกภาคเรียนและมีการจัดเรียนปรับพื้นฐานก่อนเปิดภาคเรียน รวมไปถึงจัดให้มีวิชาการเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษในห้องเรียนเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ โดยผู้สอนมีทั้งชาวไทยที่มีดีกรีจบการศึกษาจากต่างประเทศ และชาวต่างประเทศ ที่มีศักยภาพ และมีพื้นฐานเฉพาะด้าน แต่ทั้งนี้ในปี ที่ 1 จะเน้นการเรียนพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้นักศึกษามีพื้นฐานที่ดีแล้วจึงจะเรียนเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการตามสาขาวิชา
Bachelor of Business Administration (B.B.A.)

◈International Business Program สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศศึกษา เกี่ยวกับแนวความคิด หลักการ และทฤษฎีการบริหารธุรกิจ การเงิน การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และการตลาด โดยเน้นด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ระบบการเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตรา ความสัมพันธ์ของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ การจัดทำโครงสร้างการบริหารงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อเป็นการตอบสนองการขยายตัวทางด้านธุรกิจและมีการฝึกปฏิบัติงานจริง ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะฝึกงานในประเทศไทย หรือต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย หรือ อเมริกา

◈Hospitality and Tourism Management Program สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยวเน้นความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน เกี่ยวกับการจัดการโรงแรม (Hospitality) การท่องเที่ยว(Tourism) และการจัดการประชุมสัมนา (MICE) และศึกษาถึงโครงสร้างการบริหารจัดการ (Management) การศึกษาแนวโน้มการดำเนินงานด้านธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว อีกทั้งนักศึกษาจะต้องเลือกเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มอีก 1 ภาษา โดยให้เลือก ภาษาจีน ฝรั่งเศส เกาหลี หรือญี่ปุ่น และมีการฝึกปฏิบัติงานจริง ซึ่งนักศึกษา สามารถเลือกได้ว่าจะฝึกงานในประเทศไทย หรือต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย หรือ อเมริกา
Bachelor of Arts (B.A.) ◈ Airline Business สาขาวิชาธุรกิจการบิน

◈ Restaurant and Lodging Business สาขาวิชาธุรกิจภัตตาคารและที่พัก

◈ Tourism Industry สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
เน้นความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน ทักษะ เฉพาะทางและทัศนคติที่ดีต่อการบริการ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมบริการ โดยเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพควบคู่กับทักษะด้านการจัดการและการใช้ เทคโนโลยี การศึกษาด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รวมถึงระบบการทำงานภายในแผนกต่างๆ ฝึกทักษะในการเพิ่มพูนความรู้ใหม่เกี่ยว กับสาขาวิชาที่เรียน และศึกษาถึงโครงสร้างเกี่ยวกับการจัดทำธุรกิจเฉพาะด้าน การศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ และส่งเสริมความชำนาญในวิชาชีพด้วยการฝึกปฏิบัติงานจริง

อัตราค่าธรรมเนียม ภาคการศึกษาปกติ 30,000 บาท ภาคฤดูร้อน 15,000 บาท
ยกเว้น หลักสูตรธุรกิจการบิน ค่าธรรมเนียมภาคการศึกษาปกติ 35,000 บาท ภาคฤดูร้อน 17,500 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าจากโรงเรียนในประเทศและต่างประเทศ

2.. สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในต่างประเทศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีหนังสือ รับรองเทียบคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ

3. เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคเรียนไม่ตำกว่า 2.75

4. เกรดเฉลี่ยภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2.50 ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


ดูรายละเอียดที่ http://www.ssruic.com/acp_applyonline.htm

ก.พ. จัด“มหกรรมการศึกษาเพื่ออนาคต ต.ค.นี้

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ขอเชิญนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ที่สนใจหาข้อมูลการศึกษา หรือเตรียมตัวศึกษาต่อต่างประเทศ เข้าร่วมงาน “มหกรรมการศึกษาเพื่ออนาคต ครั้งที่ 6” (6th OCSC International Education Expo 2009) เป็นงานที่ ก.พ. ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับรู้ข้อมูลทางการศึกษาต่อต่างประเทศอย่างทั่วถึง โดยได้รวบรวมมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 120 แห่ง จากประเทศต่างๆทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร จีน ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และจาก นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลี อินเดีย ฯลฯ
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าเรียนโดยตรงกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำที่ได้รับการรับรองแล้ว หรือสอบถามข้อมูลการศึกษาในระดับต่างๆ ขอคำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการศึกษา การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งข้อมูลทุนของ ก.พ. และแหล่งทุนจากสถาบันต่างประเทศ ก.พ.หวังว่าการจัดงานนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นและส่งเสริมนักเรียนนักศึกษาให้ หาโอกาสศึกษาต่อ หรือพบแหล่งศึกษาที่มีคุณภาพ ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2552 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.00 น.

นายกฯ เล็งโละ แอดมิชชั่น คนเริ่มไม่ยอมรับ






นายกฯ เล็งโละระบบแอดมิชชั่น ชี้เริ่มไม่เป็นที่ยอมรับ ยัน ม.4 ต้องรู้ก่อน ชี้ระบบการศึกษาต้องให้สามารถเรียนรู้ได้ อ้อมแอ้ม ผิดบ้างถูกบ้าง การันตี ไม่เป็นหนูทดลองยาแน่นอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างตอบคำถามนักเรียนนักศึกษาในการเสวนางานธรรมศาสตร์วิชาการ 52 หัวข้อ "อนาคตประเทศไทย" ถึงการปฏิรูปการศึกษาไทยตอนหนึ่งว่า พื้นฐานจริงๆของเด็กไทยไม่เป็นรองใคร เราได้รางวัลแต่ละประเภทมาเยอะ ทั้งด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี หรือกีฬาเทนนิส แต่ปัญหาคือ การได้รับโอกาสและเรื่องคุณภาพ เรื่องโอกาสนั้น รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องเรียนฟรีไปแล้ว แต่ยังมีปัญหาบางจุดอยู่ เช่นการเก็บค่าใช้จ่ายก็ต้องแก้ต่อไป ระดับอุดมศึกษามีระบบทุนกู้ยืม ส่วนเรื่องคุณภาพ ระบบการศึกษาที่ดี ต้องเป็นระบบที่ตอบสนองคนทุกคนได้ ปัญหาของเราวันนี้ คือ เป็นระบบที่ให้ทุกคนมาแข่งขันในสิ่งเดียวกัน ให้สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ส่งเสริมให้แต่ละคนค้นพบตัวเอง เหล่านี้จะอยู่ในแผนปฏิรูปการศึกษาต่อไป เด็กเล็กเด็กโต ต้องไม่เรียนอย่างเคร่งเครียดแบบนี้ ทุกวันนี้เราเรียนกันมากไปไปเรียนหนังสือแต่ก่อนถือกระเป๋าได้ ต่อมาหนักก็ใส่เป้สะพาย ตอนนี้ที่เห็นต้องลากกระเป๋ากันแล้วเด็กเรียนชั้นป. 4 แบกไม่ไหวต้องพักกลางทางมันมากไปแล้ว นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เป้าหมายใหญ่ที่ตนอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ ระบบต้องรองรับว่า เด็กต้องการอยากเป็นอะไร อยากเป็นหมอ วิศวกร หรืออะไร และระบบแอดมิชชั่น จากการสำรวจเห็นได้ว่า โดยเฉพาะเด็กสายวิทย์ เข้าไปแล้วเรียนไม่ได้ มันเป็นตัวตั้งสำคัญที่บ่งชี้ว่าต้องเปลี่ยนแปลง อยากจะสะสางแต่ถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็จะให้เด็กม.4 รู้กติกาก่อน คือ รู้ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี จะได้เตรียมตัว แม้จะอยากเปลี่ยนระบบการศึกษาอย่างไร แต่เด็กก็ยังติดกับดักเรื่องต้องสอบเข้าเรียนให้ได้ สิ่งที่ตนกลัวคือ ระบบแอดมิชชั่นหลัก เริ่มไม่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น สถาบันการศึกษาต่างๆจึงเกิดการรับตรงมากขึ้น เกิดปัญหากับเด็กที่ต้องสอบพร้อมกันทำให้เลือกไม่ได้ ยืนยันว่าเราจะมุ่งแก้คุณภาพ สิ่งสำคัญสุดคือ ระบบการศึกษาต้องให้คนสามารถเรียนรู้ ส่วนจะเป็นหนูทดลองหรือไม่ ในทุกประเทศการวางระบบต้องเปลี่ยนแปลงตลอด ผิดบ้างถูกบ้าง แต่ไม่เป็นหนูทดลองแน่นอน แต่คนคิดต้องคิดให้รอบคอบ ถ้าต้องเปลี่ยนทุกปีก็แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของกระบวนการ
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

ทปอ.ปรับเกณฑ์แอดมิชชัน ’54 แนะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ ทวนสอบ PAT5

ทปอ.ปรับเกณฑ์แอดมิชชัน ’54 แนะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ ทวนสอบ PAT5 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2552 05:48 น. ปธ.ที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน เสนอ ทปอ.ปรับเกณฑ์แอดมิชชัน ’54 แนะคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สอบ PAT อื่น นอกจาก PAT 5 ด้วย รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน และรองประธานสภาคณบดีครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กล่าวถึงการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง การคัดเลือกนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชัน ว่า คณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ได้หารือร่วมกันและเห็นว่าการแอดมิชชันที่ผ่านมา คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ยังมีปัญหาว่าคัดเด็กได้ไม่ตรงตามความต้องการของคณะ เนื่องจากเกณฑ์การแอดมิชชันกำหนดให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ให้นำคะแนนความถนัดทางวิชาชีพครู หรือ PAT5 มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการแอดมิชชันเพียงอย่างเดียว ขณะที่ในความเป็นจริงการเรียนครูมีหลายสาขาวิชาเอก เช่น ครูวิทยาศาสตร์ ครูศิลปศาสตร์ ครูภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้น การใช้ PAT5 เพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถสะท้อนความรู้ความสามารถในตัวเด็กได้ตรงกับสาขา วิชานั้นๆ รศ.ดร.มนตรี กล่าวต่อไปว่า คณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จะหารือร่วมกัน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ว่า ในการแอดมิชชันปี 2554 จะขอปรับเปลี่ยนเกณฑ์ โดยเสนอให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นอกจากจะต้องสอบ PAT5 แล้ว ยังต้องสอบ PAT ด้านอื่นๆ ประกอบด้วย เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีทั้งความถนัดทางวิชาชีพครู และความถนัดในสาขาวิชาที่ตนเลือกเรียน เพราะผู้ที่จะไปเป็นครูที่ดีนั้น จะต้องมีความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และมีจิตวิญญาณในความเป็นครูควบคู่กันไปด้วย โดยที่ผ่านมานักศึกษาคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จะมีปัญหาด้านวิชาการค่อนข้างมาก ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาคณบดีครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จะมีการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในเร็วๆ นี้ เพื่อทำเป็นข้อสรุปเกณฑ์การแอดมิชชัน ปี 2554 และเสนอต่อ ทปอ.ต่อไป

ส.ไทย-ญี่ปุ่น รับตรง พร้อม 60 ทุน ถึง 22 พ.ย.


สถาบัน เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2552 โดยมี 3 คณะ 6 สาขาวิชา และสอบแข่งขันเพื่อรับทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2552 จำนวน 60 ทุน มีรายละเอียด ดังนี้





กำหนดการรับสมัคร
รับสมัครทางไปรษณีย์ วันที่ 1 สิงหาคม – 15 พฤศจิกายน 2552
รับสมัครด้วยตนเอง วันที่ 1 สิงหาคม – 22 พฤศจิกายน 2552

หมายเหตุ: ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและส่งใบสมัครออนไลน์ได้ทาง Website: http://www.tni.ac.th/
สอบถามโทร.0-2763-2600 ต่อ 2603-2606

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ปี 53 อักษรจุฬารับตรง 100% วิศวะรับตรง 80% เด็ก ส.ว. เตรียมตัวให้ดี

จุฬาฯ แจงยิบเหตุมุ่งรับตรง เมิน “แอดมิชชัน” เผยปี 2553 เปิดรับตรงเพิ่มขึ้น จากเดิมเคยรับตรง 30% ปรับเพิ่มเป็น 60% อักษรศาสตร์ ระบุ เหตุรับตรง 100% เพราะองค์ประกอบ PAT7 แค่ 10% ที่ ทปอ.กำหนดไม่สามารถคัดเด็กได้ตรงตามต้องการ ขณะที่วิศวกรรมศาสตร์ รับตรง 80% จากเดิมรับตรงแค่ 8% ส่วนคณะวิทยาศาสตร์ รับตรงเป็น 53% จากเดิมเพียง 31% แถมลดการใช้ GPAX ที่ ทปอ.กำหนดไว้ 20% เหลือแค่ 10% วันนี้ (4 มี.ค.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงข่าวการคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2553 ของจุฬาฯ ว่า ในปีการศึกษา 2553 จุฬาฯ จะยึดหลักการรับนิสิตโดยให้นักเรียนและผู้ปกครองเดือดร้อนน้อยที่สุด มีภาระน้อยที่สุด และเปิดโอกาสให้นักเรียนให้มากที่สุด โดยได้วางแผนรับนิสิตไว้ 6,003 คน แยกเป็นระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชันกลาง 2,420 คน คิดเป็น 40% และรับตรง 60% จำแนกเป็น รับตรงปกติ 2,479 คน คิดเป็น 41% รับตรงพิเศษ (โครงการจุฬาฯ ชนบท, โครงการกีฬาดีเด่น, โครงการศิลปะดีเด่น โครงการผู้มีความสามารถพิเศษฯ โครงการสถาปัตยกรรมไทย) 1,104 คน คิดเป็น 19% ทั้งนี้ จำนวนดังกล่าวยังไม่รวมนิสิตนานาชาติ 890 คน และเมื่อเทียบกับจำนวนรับนิสิตของปีการศึกษา 2552 พบว่าสัดส่วนการรับตรงเพิ่มขึ้น 30% โดยจากเดิมอยู่ที่แอดมิชชันกลาง 70% และรับตรง 30% นพ.ภิรมย์ กล่าวต่อไปว่า จุฬาฯ ขอยืนยันว่าเห็นด้วยกับระบบแอดมิชชันกลาง เพราะเอื้อต่อนักเรียนและหน่วยรับ แต่จุฬาฯ จำเป็นต้องรับตรงในรูปแบบต่างๆ ด้วย เพื่อให้ตรงกับปรัชญาและโครงการของคณะต่างๆ ซึ่งในปีการศึกษา 2553 ทปอ.ได้ปรับการทดสอบมาเป็นการวัดความถนัดทั่วไปหรือ GAT และการวัดความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ หรือ PAT โดยกำหนดสัดส่วนและค่าน้ำหนักของแต่ละวิชาเพื่อให้ใช้ร่วมกันในทุกสถาบัน “สัด ส่วนและน้ำหนักดังกล่าวพบว่าไม่เหมาะสมกับเกณฑ์การรับนิสิตของบางคณะ ดังนั้น จุฬาฯ จึงต้องรับตรงเพิ่มขึ้นในสาขาเหล่านั้น เช่น คณะอักษรศาสตร์ ปีการศึกษา 2553 จุฬาฯ จะรับตรงทั้งหมด 100% จากเดิมรับในระบบแอดมิชชัน 100% คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับตรง 80% จากเดิมรับตรงแค่ 8% คณะวิทยาศาสตร์ รับตรง 53% จากเดิมเพียง 31% เป็นต้น โดยในการรับตรงทุกคณะ จะรับสมัคร 2 รอบ รอบแรกสำหรับโครงการผู้มีความสามารถพิเศษซึ่งจะประกาศผลต้นเดือนพฤศจิกายน หากรอบแรกไม่ผ่าน ก็สามารถสมัครรอบ 2 สำหรับโครงการรับตรงทั่วไป ซึ่งจะรับสมัครกลางเดือนพฤศจิกายน โดยรอบที่ 2 นักเรียนมีโอกาสเลือกได้ถึง 4 อันดับ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการครั้งแรกในปีการศึกษา 2553 และหากนักเรียนไม่ผ่านการคัดเลือกแบบรับตรง ก็สามารถไปสมัครแอดมิชชันได้อีก”นพ.ภิรมย์ กล่าว อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวต่อไปว่า การรับตรงทุกคณะยังคงใช้องค์ประกอบหลัก 3 ส่วนที่ ทปอ.กำหนด คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรม.ปลาย หรือ GPAX รวมถึง GAT และ PAT ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดทดสอบ แต่จะปรับค่าน้ำหนักให้เหมาะสม เช่น คณะอักษรศาสตร์ ที่ ทปอ.กำหนดค่าน้ำหนัก PAT 7 ความถนัดในการเรียนภาษาต่างประเทศ เพียง 10% จุฬาฯ จะเพิ่มค่าน้ำหนักในส่วนนี้เป็น 30% เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมื่อเด็กเข้ามาเรียนแล้วสามารถเรียนได้ เป็นต้น ทั้งนี้ คะแนน GAT และ PAT ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นผลคะแนนของการสอบครั้งที่ 2 ในวันที่ 4-12 กรกฎาคมเท่านั้น เพื่อสร้างความยุติธรรมให้แก่เด็ก เพราะถือว่าได้รับทราบข้อมูลพร้อมกัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกันและเข้าสู่สนามสอบในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ จุฬาฯ จะจัดสอบความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ สทศ.ไม่ได้จัดสอบให้ อาทิ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ทักษะดนตรีสากล เป็นต้น โดยจะจัดสอบตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552 เพื่อนักเรียนจะได้รู้คะแนนของตนเองในทุกวิชาก่อนมายื่นรับตรง นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า ส่วน GPAX จะให้ค่าน้ำหนักในการรับตรง 10% จากที่ ทปอ.กำหนด 20% โดยจะใช้ GPAX ใน 5 ภาคเรียนเท่านั้น สาเหตุที่ให้ค่าน้ำหนัก GPAX แค่ 10% เพราะได้มีการวิจัยออกมาแล้วว่าการให้ค่าน้ำหนัก GPAX เพียง 10% เหมาะสมแล้ว หากให้ค่าน้ำหนักสูงอาจไม่ยุติธรรมแก่เด็ก เพราะคุณภาพการตัดเกรดและมาตรฐานของโรงเรียนต่างกัน แต่หากไม่นำมาใช้เลยก็ทำให้เด็กทิ้งห้องเรียนได้ ซึ่งเราอยากจะดึงเด็กให้อยู่ในห้องเรียนนานที่สุดจึงกำหนดให้ใช้ GPAX ใน 5 ภาคเรียน หรือจนถึง ม.6 เทอมแรก อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวด้วยว่า ยอม รับว่า คณะต่างๆ ยังไม่ค่อยพึงพอใจกับสัดส่วนองค์ประกอบแอดมิชชันที่ ทปอ.กำหนด แต่หากในอนาคต ทปอ.มีการปรับค่าน้ำหนักใหม่ให้เหมาะสมกับหลักเกณฑ์ของแต่ละคณะ ก็เชื่อว่า ทุกคณะจะหันมารับนิสิตผ่านระบบแอดมิชชันเพราะไม่มีใครอยากจัดรับตรงเอง เนื่องจากต้องดำเนินการหลายขั้นตอนและยุ่งยาก ซึ่งการปรับค่าน้ำหนักไม่จำเป็นต้องรอประกาศล่วงหน้าถึง 3 ปี เพราะหากทำแบบนั้นชีวิตรันทดแน่ ซึ่งเรื่องนี้จะมีการหยิบยกมาหารือในการประชุมคณะทำงานศึกษาแอดมิชชันฟอรั่ม ปีการศึกษา 2553 ในวันที่ 13 มีนาคมนี้ ด้าน ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการด้านการศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่า เหตุผลที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ใช้วิธีคัดเลือกผ่านระบบการรับตรงทั้งหมด 100% จำนวน 295 คนในปีการศึกษา 2553 นั้น เนื่องจากค่าน้ำหนัก PAT 7 ความถนัดในการเรียนภาษาต่างประเทศ เพียง 10% ที่ ทปอ.กำหนด ไม่เพียงพอที่จะใช้วัดความสามารถทางด้านอักษร และเป็นไปไม่ได้ที่จะคัดเลือกบุคคลให้ได้ตามคุณลักษณะที่คณะต้องการ เนื่องจากคณะอักษรศาสตร์เป็นคณะที่สอนภาษาขั้นสูง หากใช้สัดส่วนตามที่ ทปอ.กำหนดจะไม่สามารถผลิตบัณฑิตอักษรศาสตร์ได้สำเร็จ ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้หารือไปยัง ทปอ. เพื่อขอปรับสัดส่วน PAT 7 เป็น 30% ในการคัดเลือกแอดมิชชันแล้ว แต่ได้รับคำชี้แจงว่า เกณฑ์แอดมิชชันปีการศึกษา 2553 ได้กำหนดล่วงหน้าไปแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งหากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่าเป็นปัญหากับการคัดเลือกนิสิต และจะทำให้นิสิตเรียนอยู่ในระบบไม่ได้ ก็ขอให้ดำเนินการในระบบรับตรง ซึ่งขอยืนยันว่า จุฬาฯ ต้องการใช้ระบบแอดมิชชัน เพียงแต่เห็นว่าองค์ประกอบในการคัดเลือกบางอย่างควรมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ได้นิสิตตามที่คณะต้องการ “สำหรับแอดมิชชันปีการศึกษา 2554 หาก ทปอ.มีการปรับสัดส่วนเพิ่ม PAT 7 เป็น 30% ตามที่อักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร้องขอ จุฬาฯ ก็พร้อมจะกลับไปใช้ระบบแอดมิชชันในการคัดเลือกนิสิตเหมือนเดิม ซึ่งการกำหนดองค์ประกอบการคัดเลือกที่ไม่สอดคล้องกับคุณสมบัติของผู้เรียน อย่างแท้จริง เมื่อเด็กเข้ามาสู่ระบบแล้วเรียนไม่ไหวจะเป็นการทำร้ายนิสิตที่รุนแรง นอกจากนี้การสอนอักษรศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษามีความหลากหลาย และมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นศาสตร์ด้านเดียวกัน แต่ก็ไม่ควรจะกำหนดน้ำหนักหรือสัดส่วนองค์ประกอบในการคัดเลือกผู้เรียน เหมือนกัน จุฬาฯ ก็มีปณิธานของตัวเองว่าต้องการผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ อาจเห็นว่าการใช้ PAT 7 เพียง 10% ก็เพียงพอแล้วก็เป็นได้ ดังนั้นคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ก็จะเสนอประเด็นนี้ต่อ ทปอ.ด้วย” ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา กล่าว รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า สำหรับการรับตรงของจุฬาฯ ที่พิจารณาจาก GPAX 10% นั้น เนื่องจากมีผลการวิจัยรองรับว่า ค่าน้ำหนักของ GPAX ที่ใช้คัดเลือกบุคคลเข้ามหาวิทยาลัยไม่ควรเกิน 10% เพราะค่าน้ำหนักที่ 10% จะสะท้อนผลการเรียนของนิสิตในมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด ส่วนที่ไม่ได้นำคะแนน O-NET มาพิจารณาในการรับตรงของจุฬาฯ เนื่องจาก ทปอ.กำหนดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ส่งรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกรับตรงภายในวันที่ 31 มกราคม 2553 ขณะที่ O-NET จะมีการประกาศผลสอบหลังจากนั้น จึงไม่สามารถนำ O-NET มาพิจารณาได้ทัน อย่างไรก็ตาม จุฬาฯ มีความเป็นห่วงความรู้วิชาพื้นฐานของนิสิตเช่นกัน จึงได้จัดทดสอบประเมินความรู้พื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษ หรือ CU-TEP ความรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้ข้อสอบของศูนย์ภาษาไทยสิรินธร และความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ หรือ CU-SCIENCE เพื่อวัดพื้นฐานวิชาเหล่านี้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกครั้ง ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการด้านการวิจัย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องนิสิต นักศึกษาที่เรียนในคณะ/สาขาที่ต้องใช้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ มีผลการเรียนต่ำลง และติด F จำนวนมากนั้น นอกจากความบกพร่องของการกำหนดสัดส่วนองค์ประกอบในการคัดเลือกที่ให้สอบวิชา ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ อวกาศและดาราศาสตร์ จำนวน 100 คะแนน ส่งผลให้เด็กที่จะเข้ามหาวิทยาลัยได้นั้นไม่จำเป็นต้องเก่งวิชาวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันก็มีผลมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการที่ แยกออกมาเป็น 8 กลุ่มสาระ และรวมเอาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เข้ามาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ทั้งหมด จึงทำให้เด็กมีพื้นฐานใน 3 วิชาดังกล่าวไม่แน่นพอ ทั้งนี้ แม้จะยังมีการแยกสอนเป็น 3 วิชาแต่เนื้อหาไม่ต่อเนื่อง และไม่เข้มข้น ซึ่งที่ประชุมสภาคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.) ได้เคยพูดถึงเรื่องนี้หลายครั้ง แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ยังนิ่งเฉย และเมื่อขอให้มีการปรับองค์ประกอบแอดมิชชันให้แยกสอบวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นวิชาละ 100 คะแนน ทปอ.ก็จะชี้แจงว่าไม่สามารถแยกได้ เนื่องจากหลักสูตรกำหนดให้เรียนรวมเป็นสาระวิชาวิทยาศาสตร์ 1 กลุ่มสาระเท่านั้น “ทำไมวิชาคณิตศาสตร์จึงแยกสอบ 100 คะแนนได้ แต่วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ซึ่งเป็นวิชาหลักและเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทุกแขนงกลับไม่แยกสอบ หากปล่อยให้ปัญหานี้ยังอยู่ต่อไป ก็จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ แม้ที่ผ่านมาเราจะได้รับเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการด้านต่างๆ แต่เด็กที่ได้รับรางวัลเหล่านั้นล้วนผ่านการอบรมและมีอาจารย์มหาวิทยาลัยสอน วิชานั้นๆ ให้ตัวต่อตัว ขณะที่ภาพรวมเราไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้เลย” ศ.ดร.เกื้อ กล่าว ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์ สัดส่วนการรับตรงและแอดมิชชันอยู่ที่ 50 :50 จากเดิม 30:70 นั้น ซึ่งความจริง คณะวิทยาศาสตร์อยากรับตรง 100 % แต่ต้องรอดูคะแนนสอบ GAT, PAT ก่อนว่าจะสามารถวัดความรู้ความสามารถเด็กได้จริงหรือไ ม่ อย่างไรก็ตามหลังจากที่เด็กสอบเข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ได้โดยผ่านระบบแอด มิชชัน คณะวิทยาศาสตร์จะจัดสอบ CU Science ให้กับนิสิตชั้นปี 1 ในเดือนมิถุนายน แล้วนำคะแนนจาก CU Science และแอดมิชชันมาเปรียบเทียบ ซึ่งหากคะแนน CU Science และแอดมิชชันกลางไม่แตกต่างกันมาก แสดง ว่าการสอบแอดมิชชันกลางปี 2553 ที่ใช้คะแนน GAT, PAT เป็นระบบที่ได้คุณภาพในการคัดเลือกเด็ก แต่หากคะแนนออกมาแล้ว แตกต่างกันมากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อาจจะเปลี่ยนเป็นรับตรง 100 % ในปีถัดไปก็ได้ ซึ่ง ทปอ.คงต้องทบทวนปรับสัดส่วนองค์ประกอบที่ใช้ในการแอดมิชชันต่อไป

ข่าวจาก www.manager.co.th

สถาปัตย์ ศิลปากร รับตรง 100% ถึง 6 ต.ค.


สถาปัตย์ ศิลปากร รับตรง 100% ถึง 6 ต.ค.




คุณสมบัติของผู้สมัคร


เป็น ผู้สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการ เทียบเท่า โดยมีผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) ตลอดหลักสูตรฯ ไม่ต่ำกว่า 2.50



กำหนดการรับสมัครและสอบคัดเลือก

1. การรับสมัคร ระหว่างวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม ถึงวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2552

2. สอบข้อเขียน 2 วัน ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 22 – วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2552

3. สอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2552 (เฉพาะผู้สอบผ่านข้อเขียน)



การรับสมัคร

1. สมัครทางอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ http://www.arch.su.ac.th/admission2553 โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมแนบไฟล์รูปถ่ายให้เรียบร้อย

2. พิมพ์ใบแจ้งยอดการชำระเงินค่าสมัครสอบ แล้วนำไปชำระเงินที่ธนาคารทหารไทย ค่าสมัครสอบคัดเลือก 1,000 บาท

3. พิมพ์บัตรสอบ หลังจากการชำระเงินทางธนาคารแล้วประมาณ 5 วัน ทางเว็บไซต์ จากนั้นให้พิมพ์ บัตรสอบ ซึ่งภายในบัตรสอบจะระบุชื่อ นามสกุล รูปถ่าย เลขที่นั่งสอบ ห้องสอบ อาคารสอบ และสถานที่สอบ



ผู้สมัครสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี เกษมศุข : โทร. 02 2215877 ต่อ 3131 หรือ 087-416-7661

คุณกุลจิรา น้อยพงษ์ : โทร. 02 2215877 ต่อ 1219 หรือ 085-376-6121

สมัครออนไลน์


กรอกใบสมัครออนไลน์


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม ถึงวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2552




+ พิมพ์บัตรสอบ(หลังจากการชำระเงินทางธนาคารแล้วประมาณ 5 วัน )


+ พิมพ์ใบชำระเงิน ย้อนหลัง





::Download


+ กำหนดการรับสมัคร


+ แนวข้อสอบปี 2551


- ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
- วิชาวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์)
- วิชาคณิตศาสตร์
- วิชาภาษาอังกฤษ


+ แนวข้อสอบปี 2552


- ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
- วิชาวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์)
- วิชาคณิตศาสตร์
- วิชาภาษาอังกฤษ





:: ถาม-ตอบ(ถามตอบเกี่ยวกับการรับสมัคร)

ที่มา : http://www.arch.su.ac.th/

สพฐ.เปิดสอบบรรจุครู 24 เขตพื้นที่





สพฐ.เปิดสอบบรรจุครู 24 เขตพื้นที่
สพฐ.เตรียมบรรจุนักศึกษาทุนครูหลักสูตร 5 ปี กว่า 2 พันคน ลงร.ร.ในพื้นที่ภูมิลำเนาของเจ้าตัว พร้อมเปิดสอบครูในปีนี้อีก 24 เขตพื้นที่การศึกษา เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2552 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมบรรจุนักเรียนทุนโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี รุ่นแรกที่เพิ่งจบการศึกษาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เข้าเป็นครูประจำสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านเกิดของเจ้าตัว ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขผูกผันของโครงการนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่งรายชื่อและข้อมูลของนักเรียนทุนซึ่งมีทั้งหมด 2,041 คน มาให้ เพื่อจะได้มอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่ละแห่งรับไปดูแล คุณหญิงกษมา กล่าวอีกว่า นักเรียนทุนทุกคนจะต้องรับการทดสอบเบื้องต้นก่อนบรรจุเป็นครู เช่น การสอบสัมภาษณ์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่นักเรียนทุนมีภูลำเนาอยู่ เมื่อผ่านการทดสอบเบื้องต้นแล้ว นักเรียนทุนที่ได้คะแนนทดสอบสูงจะมีสิทธิเลือกลง ร.ร.ก่อน โดย สพฐ.จะพยายามบรรจุนักเรียนทุนลง ร.ร.ที่อยู่ในอำเภอบ้านเกิดของเจ้าตัว แต่หาก ร.ร.ในเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นภูมิลำเนามีตำแหน่งว่างไม่ตรงกับสาขาวิชา เอกของนักศึกษา ก็ให้เปลี่ยนไปบรรจุ ร.ร. ที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาข้างเคียงที่เปิดรับครูตรงตามสาขาวิชาเอกของนัก เรียนทุน แต่ถ้าร.ร.ในเขตพื้นที่การศึกษาข้างเคียงไม่เปิดรับ สพฐ.จะพยายามบรรจุให้อยู่ในภายในจังหวัดกันหรือจังหวัดติดต่อกัน “สพฐ. ได้สั่งการไปยัง สพท.ทุกแห่ง ให้เร่งสำรวจว่า ร.ร.ในพื้นที่แห่งใดบ้างที่ต้องการครูใหม่ พร้อมเร่งขออนุมัติจากคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำเขตพื้นที่การศึกษาของตัวเอง ออกประกาศรับสมัครนักเรียนทุนเหล่านี้ ภายใน 16 เม.ย.นี้ เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้เสร็จบรรจุภายใน 15 พ.ค. นี้ สำหรับอัตราที่นำมาบรรจุนักเรียนทุนนั้น กั้นมาจากอัตราที่ได้คืนจากจำนวนครูที่เข้าโครงการเออรี่รีไทม์ในปีที่ผ่าน มา ขอให้นักเรียนทุนที่จบการศึกษาทุกราย เร่งไปขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยเร็ว เพื่อให้ทันกับการบรรจุเป็นครู ทั้งนี้ นักเรียนทุนหลักสูตรครู 5 ปีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เรียนได้ผลการเรียนการเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ในทุกภาคเรียน"เลขาธิการกพฐ. กล่าว คุณหญิงกษมา กล่าวต่อไปว่า สพฐ.ยังเตรียมเปิดสอบบรรจุบุคคลทั่วไปบรรจุเป็นครูในปี 2552 นี้ด้วย โดยมีเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 24 เขต ขอเปิดสอบครูใน 36 วิชา แต่ยังไม่ทราบยอดรวมจำนวนครูที่จะรับ ทั้งนี้ทาง สพฐ.ขอให้เขตพื้นที่ฯที่จะเปิดสอบครู เร่งขออนุญาต อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ออกประกาศรับสมัครภายใน 16 เม.ย.เช่นกัน แต่ขั้นตอนการสอบบรรจุบุคคลทั่วไปเป็นครูนั้น มีขั้นตอนต่าง ๆ กินเวลามากกว่าการับนักเรียนทุน 5 ปีเป็นครู เพราะฉะนั้น คาดว่า ครูใหม่กลุ่มนี้จะบรรจุได้ในเดือน มิ.ย. อย่างไรก็ตาม ปีนี้ เป็นปีที่ สพฐ.จะสามารถบรรจุครูใหม่ได้มาก เพราะได้อัตราครูเกษียณก่อนกำหนด(เออร์ลี่) คืนมา 12,039 คน และได้อัตราเกษียณตามปกติคืน 5,139 คน

ม.อุบลราชธานี รับตรง



ม.อุบลราชธานี รับตรง
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับตรงโครงการพิเศษ


มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใน โครงการพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2552 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2552 จำนวน 95 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ 20 คน คณะนิติศาสตร์ 60 คน คณะรัฐศาสตร์ 15 คน

คุณสมบัติทั่วไป
1.ต้องมีสัญชาติไทย ถ้าอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะต้อง มีบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เป็นบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2.ในวันสมัครจะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย
3.เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษา เล่าเรียนเต็มความสามารถและจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
4.เป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์ กล่าวคือไม่เป็นผู้ทุพพลภาพไร้ความสามารถ และ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ และต้องมีบุคลิกภาพที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ศึกษาและการประกอบอาชีพ
5.เป็นผู้ที่ปราศจากโรค ดังต่อไปนี้
-โรคเรื้อน
-วัณโรคปอดที่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
-โรคพิษสุราเรื้อรัง
-ติดยาเสพติด
-โรคหัวใจที่คณะกรรมการแพทย์มีความเห็นว่าจะวายได้ง่าย
-โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคไตที่รักษาหายขาดไม่ได้และความดันโลหิตสูง ที่รักษาให้หายขาดไม่ได้
-โรคอื่นๆ หรือความผิดปกติที่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
คุณสมบัติเฉพาะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติ ที่สมัครเข้าศึกษาโครงการพิเศษ
1. ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบต่างด้าวหรือหนังสือเดินทางที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย โดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. ต้องมีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษ
3. สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ (ในกรณีไม่มีพื้นฐานภาษาไทยจะต้องเข้าเรียนเสริมความรู้ภาษาไทย 1 ภาคการศึกษา)
เอกสารประกอบการสมัคร
1. แบบฟอร์มใบสมัคร download จาก เวปไซด์งานรับเข้าศึกษาwww.ubu.ac.th/~inforeducation
2. สำเนาหลักฐานใบระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปพ.1) ที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา (ไม่รับใบรับรอง) หรือสำเนาใบประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า (ปวช. ปวส. ฯลฯ) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด
4. สำหรับผู้สมัครสาขาวิชาที่มีเงื่อนไขการการตัดสินการคัดเลือกโดยพิจารณาโดย ใช้เกณฑ์ O-NET และ A-NET ให้นำส่งสำเนาใบแจ้งผลการสอบ O-NET และ A-NET สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด
วิธีการสมัคร
-สมัครทางไปรษณีย์ download แบบฟอร์มการสมัคร จากหน้าเวปไซด์ www.ubu.ac.th/~inforeducaton จัดส่งใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัคร พร้อมธนาณัติสั่งจ่าย ค่าสมัครธนาณัติสั่งจ่ายค่าสมัครในนามนางวนิดา บุญพราหมณ์ จำนวน 300 บาท จ่าหน้าซองถึงงานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 (ใบสมัครโควตาโครงการพิเศษ)
-สมัครด้วยตนเอง งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี (หลังเก่า) ในเวลาราชการเท่านั้น 08.30 – 16.30 น. โดยติดต่อชำระเงินด้วยตนเองที่ กองคลัง ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี(หลังใหม่) จำนวน 300 บาท พร้อมสำเนา 1 แผ่น นำส่งหลักฐาน ใบสมัคร / หลักฐานที่ใช้ในการสมัคร / สำเนาใบเสร็จรับเงินนำส่งที่งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา จึงจะสิ้นสุด การสมัครด้วยตนเอง

ทางด้านการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใน โควตารับตรงเพิ่มเติม ประจำปีการศึกษา 2552 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2552 จำนวน 480 คน คณะเกษตรศาสตร์ 150 คน คณะวิทยาศาสตร์ 80 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ 20 คน คณะศิลปศาสตร์ 70 คน คณะบริหารศาสตร์ 30 คน คณะรัฐศาสตร์ 30 คน คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ 40 คน วิทยาเขตมุกดาหาร 60 คน
คุณสมบัติทั่วไป
1.ต้องมีสัญชาติไทย ถ้าอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะต้อง มีบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เป็นบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2.ในวันสมัครจะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย
3.เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษา เล่าเรียนเต็มความสามารถและจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
4.เป็นผู้มีร่างกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์ กล่าวคือไม่เป็นผู้ทุพพลภาพไร้ความสามารถ และ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ และต้องมีบุคลิกภาพที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ศึกษาและการประกอบอาชีพ
5.เป็นผู้ที่ปราศจากโรค ดังต่อไปนี้
-โรคเรื้อน
-วัณโรคปอดที่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
-โรคพิษสุราเรื้อรัง
-ติดยาเสพติด
-โรคหัวใจที่คณะกรรมการแพทย์มีความเห็นว่าจะวายได้ง่าย
-โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคไตที่รักษาหายขาดไม่ได้ และความดันโลหิตสูง ที่รักษาให้หายขาดไม่ได้
-โรคอื่นๆ หรือความผิดปกติที่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
คุณสมบัติเฉพาะ คณะศิลปศาสตร์ รหัสสาขา 011- 017 จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสาขาเพิ่มเติม ดังนี้
1.มีคะแนนเฉลี่ยของ GPA 3 กลุ่มสาระ ได้แก่ วิชาภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ เฉลี่ยเท่ากับ 2.50
2.มีเกรดเฉลี่ยสะสม เท่ากับ 2.00 ขึ้นไป
เอกสารประกอบการสมัคร
1. แบบฟอร์มใบสมัคร download จาก เวปไซด์ งานรับเข้าศึกษา www.ubu.ac.th/~inforeducation
2. สำเนาหลักฐานใบระเบียนแสดงผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปพ.1) ที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา (ไม่รับใบรับรอง) หรือสำเนาใบประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า (ปวช. ปวส. ฯลฯ) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด
วิธีการสมัคร
-สมัครทางไปรษณีย์ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 download แบบฟอร์มการสมัคร จากหน้าเวปไซด์ www.ubu.ac.th/~inforeducaton จัดส่งใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัคร พร้อมธนาณัติสั่งจ่ายค่าสมัครธนาณัติสั่งจ่ายค่าสมัครในนามนางวนิดา บุญพราหมณ์ จำนวน 150 บาท จ่าหน้าซองถึงงานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 (ใบสมัครโควตารับตรง เพิ่มเติม)
-สมัครด้วยตนเองระหว่างวันที่ 1 - 10 เมษายน 2552ที่ งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี (หลังเก่า) ในเวลาราชการเท่านั้น 08.30 – 16.30 น.

ที่มา: ENN

มศว รับโควตานักกีฬารอบ 5




มศว รับโควตานักกีฬารอบ 5
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กำลังเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ปีที่ 1 (สอบตรง) ประเภทโควตานักกีฬา ประจำปีการศึกษา 2552 (เพิ่มเติมครั้งที่ 2) รอบที่ 5ผู้สนใจสมัครทางอินเทอร์เนตได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 3 เมษายน 2552รวม 12 สาขา จำนวน 60 คน สาขาวิชาที่เปิดรับ สาขาวิชาพลศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา(กศ.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการจัดการภาคบริการ สาขาวิชาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

คุณสมบัติทั่วไป
1.ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความผิดปกติที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
2.ไม่เคยถูกให้ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใด ๆ มาแล้ว เพราะความประพฤติไม่เหมาะสมหรือกระทำความผิดต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ทางด้านวิชาการ
3.จะต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษ เนื่องจากการกระทำผิดหรือร่วมกระทำทุจริตในการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้า ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
4.เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย และรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
5.เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
6.ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก โรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544

คุณสมบัติเฉพาะ
1.มีอายุไม่เกิน 28 ปี ก่อนวันสมัคร
2.เป็นผู้มีความสามารถด้านกีฬา ดังต่อไปนี้ คือ กรีฑา ว่ายน้ำ เทควันโด เทนนิส แบดมินตัน ลีลาศ ยูโด เรือพาย บาสเกตบอล เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล มวยสากลสมัครเล่น ฟุตบอล เปตอง รักบี้ฟุตบอล และชนิดกีฬาอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้(ให้ส่งใบรับรองฯ ตามแบบ อ.1 และประวัติทางการกีฬาฯ แบบ อ.2 หลังจากการสมัคร)
1) เป็นนักกีฬาระดับทีมชาติหรือเยาวชนทีมชาติ
2) ได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติหรือเยาวชนแห่งชาติ
3) ได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย กีฬาระดับชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือเทียบเท่า
3.สำหรับนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นจะต้องไม่เคยขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬามวยไทยอาชีพมาก่อน
4.ผู้สมัครวิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน ทั้ง 2 สาขาวิชา หากมีคะแนน TOEFL 450 หรือ IELTS 4.5 หรือผลการสอบจากแหล่งอื่นที่เทียบเคียงไม่ต้องทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ หรือในกรณีที่ไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษผู้สมัครจะต้องเข้าสอบข้อเขียนวิชาเฉพาะ สาขาตามวัน เวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
5.ผู้สมัครต้องเข้ารับการทดสอบตามกำหนดวัน เวลา สถานที่ที่ระบุไว้

เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาใบระเบียนการศึกษา
(ใบ รบ. หรือ ใบ ปพ. 1:4) หรือสำเนาใบประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า ที่ระบุคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ถึงปัจจุบัน (ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้วต้องระบุคะแนนเฉลี่ยสะสมทั้งหมด)

หลักฐานแสดงความสามารถด้านกีฬา
1.สำเนาหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงความสามารถทางกีฬา แฟ้มประวัติและผลงาน (Portfolio) ทางสาขาวิชาที่สมัคร เช่น เกียรติบัตร วุฒิบัตร ฯลฯ
2.ใบรับรองความสามารถทางการกีฬาของผู้สมัคร (แบบ อ.1)
3.ประวัติทางการกีฬาของผู้สมัคร (แบบ อ.2) โดยหลักฐานดังกล่าวต้องส่งถึงศูนย์การประเมินผลและรับนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 (ประสานมิตร) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

แบบลงทะเบียนด่วนภายในวันที่ 3 เมษายน 2552เท่านั้น

สวัสดิการที่นักกีฬาจะได้รับ “เรียนฟรี มีเงินเดือน” -นักกีฬาระดับปริญญาตรี จะได้รับทุนการศึกษาและค่าครองชีพในวงเงินไม่เกิน 120,000 บาท/ปีนักกีฬาระดับบัณฑิตศึกษา จะได้รับทุนการศึกษาและค่าครองชีพในวงเงินไม่เกิน 150,000 บาท/ปี สนใจสมัครทางอินเทอร์เนตได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://admission.swu.ac.th
ที่มา: ENN

ประกาศ ม.รามคำแหง รับสมัครนักศึกษาใหม่ ปริญญาตรี ภาค 2/52



ประกาศมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เรื่อง การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับชั้นปริญญาตรี
ภาค 2 ปีการศึกษา 2552
มหาวิทยาลัยรามคำแหงจะเปิดการรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับชั้นปริญญาตรี ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาตร์ และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประจำภาค 2 ปีการศึกษา 2552 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. กำหนดการจำหน่ายใบสมัคร
1.1 จำหน่ายทางไปรษณีย์ ระหว่างวันที่ 7 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2552
1.2 จำหน่ายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง 25 กันยายน ถึง 2 พฤษจิกายน 2552
.....
.....
3. การรับสมัครและลงทะเบียนเรียน
3.1. สมัครผ่านอินเตอร์เนต ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึง 2 พฤษจิกายน 2552 ได้ที่ http://www.iregis.ru.ac.th/
3.2 สมัครทางไปรษณีย์ 7 กันยายน ถึง 16 ตุลาคม 2552 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ru.ac.th/newregis_2-52.html

มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบโควตา ปีการศึกษา 2553








ม.มหิดล รับตรง โควตา 2553

มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบโควตา ปีการศึกษา 2553


ที่มา : http://www.mahidol.ac.th/
loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...