แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ไชยยศ จิรเมธากร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ไชยยศ จิรเมธากร แสดงบทความทั้งหมด
“ไชยยศ”จี้มหา’ลัยปลดล็อกรับเด็กพิการ
“ไชยยศ” จี้มหา’ลัย ปลดล็อกรับเด็กพิการ แยกสอบจากเด็กปกติ หวั่นปิดโอกาสเข้าเรียนต่อ
วันนี้ (27 ก.ย.) นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการเยี่ยมบ้านนักเรียน ในพื้นที่ จ.อุดรธานี ตามโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนทั่วประเทศ ในปีการศึกษา 2553 ว่า ตน และคณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เดินทางมาเยี่ยมนักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งรับทราบปัญหาต่าง ๆ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป โดยนักเรียนที่เดินทางมาเยี่ยมครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียนดี แต่ยากจน บางรายไม่มีบิดา มารดา และบางรายพิการ อาทิ ด.ญ.บุญชู แสนคำมี นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา จ.อุดรธานี เป็นเด็กพิการที่ไม่มีแขนทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายเพียงลำพัง ซึ่งความพิการก็ไม่ใช่อุปสรรคปัญหาที่มาบั่นทอนชีวิตของ ด.ญ.บุญชู แต่กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้เด็กคนนี้ เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
“ด.ญ.บุญชู มีผลการเรียนค่อนข้างดีมาตลอด ขณะนี้ผมจึงได้ประสานไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อพิจารณาช่วยเหลือเด็กคนนี้ เนื่องจาก มธ.มีโครงการรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และ มธ.จะใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกเด็กที่ต่างจากเด็กปกติ โดยหากเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีผลการเรียน 2.00 ขึ้นไป ก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ และใช้วิธีการสอบคัดเลือกโดยสอบแข่งขันกันเอง เฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้ ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ เมื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายได้เข้ามาเรียนที่ มธ.แล้ว ก็จะใช้เกณฑ์การจบการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติ อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ทุกมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญของเด็กเหล่านี้ เพราะขณะนี้หลายแห่งยังคงใช้เกณฑ์การคัดเลือกเช่นเดียวกับเด็กปกติ และบางแห่งยังต้องสอบแข่งขันกับเด็กปกติ ซึ่งจุดนี้อาจจะทำให้โอกาสของเด็กเหล่านี้ ที่มีความพร้อมน้อยกว่า ได้เข้าเรียนต่อลดน้อยลง” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
“ด.ญ.บุญชู มีผลการเรียนค่อนข้างดีมาตลอด ขณะนี้ผมจึงได้ประสานไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อพิจารณาช่วยเหลือเด็กคนนี้ เนื่องจาก มธ.มีโครงการรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และ มธ.จะใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกเด็กที่ต่างจากเด็กปกติ โดยหากเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายมีผลการเรียน 2.00 ขึ้นไป ก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ และใช้วิธีการสอบคัดเลือกโดยสอบแข่งขันกันเอง เฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้ ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ เมื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายได้เข้ามาเรียนที่ มธ.แล้ว ก็จะใช้เกณฑ์การจบการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติ อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ทุกมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญของเด็กเหล่านี้ เพราะขณะนี้หลายแห่งยังคงใช้เกณฑ์การคัดเลือกเช่นเดียวกับเด็กปกติ และบางแห่งยังต้องสอบแข่งขันกับเด็กปกติ ซึ่งจุดนี้อาจจะทำให้โอกาสของเด็กเหล่านี้ ที่มีความพร้อมน้อยกว่า ได้เข้าเรียนต่อลดน้อยลง” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
รูปแบบGAT/PATและO-NETปี54นิ่งแล้ว
นาย ไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวในงานครบรอบ 5 ปีของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ สทศ.ได้ทำหน้าที่หลักในการจัดทดสอบ เพื่อการวัดและประเมินผลทางการศึกษา และทดสอบระดับชาติ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่จะสะท้อนคุณภาพของระบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อนัก เรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนและสังคม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จทั้ง 100% โดยทั้งมีดอกไม้และก้อนหินที่สะท้อนถึงการทำงานของ สทศ.มาตลอด ซึ่ง สทศ.ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข เพราะระบบทดสอบมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันระบบการศึกษาไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ นอกจากนี้ต้องมีการพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนติดตามผลด้วยว่าบัณฑิตที่จบออกมาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ด้วย
ด้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สทศ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาหลายคนเข้าใจว่า สทศ.มีหน้าที่จัดสอบ เพื่อเข้ามหา วิทยาลัยเท่านั้น แต่จริงแล้ว สทศ.มีหน้าที่หลักในการวัด ผลประเมินผลระดับชาติ จัดทดสอบโรงเรียนว่าจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานหรือไม่ เช่น การทดสอบทางการศึกษาแห่ง ชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ที่จัดทดสอบนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 รวมทั้งจัดทดสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ หรือ V-NET ในปีการศึกษา 2554 และการจัดทดสอบความถนัด ทั่วไป หรือ GAT และ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่ง ประเทศไทย (ทปอ.) นำไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่น
“สำหรับข้อสอบ GAT/PAT และ O-NET นั้น ในปีการศึกษา 2554 สทศ.จะไม่เปลี่ยนรูปแบบอีกแล้ว เนื่องจากข้อสอบทั้งหมดนิ่งและมีมาตรฐานพอสมควรแล้ว โดยรูปแบบข้อสอบของ สทศ.มี 4 รูปแบบ คือ แบบเลือกตอบ เลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุด 1 ตัว หรือ หลายตัว รูปแบบที่ 2 แบบเลือกหลายคำตอบจากหมวดคำตอบที่ให้ โดยคำตอบที่เลือกต้องเชื่อมโยงกัน รูปแบบที่ 3 แบบระบายคำตอบที่เป็นค่าหรือตัวเลข และรูปแบบที่ 4 แบบอ่านบทความแล้วเลือกตอบโดยวิเคราะห์เนื้อหาที่อ่าน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป สทศ.จะไม่นำข้อสอบและคำเฉลยที่ สทศ.จัดสอบทั้งหมดมาเผยแพร่อีกแล้ว เพราะ สทศ.จะนำข้อสอบเข้าคลังเพื่อพัฒนาต่อไป” ผอ.สทศ.กล่าว.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
ด้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สทศ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาหลายคนเข้าใจว่า สทศ.มีหน้าที่จัดสอบ เพื่อเข้ามหา วิทยาลัยเท่านั้น แต่จริงแล้ว สทศ.มีหน้าที่หลักในการวัด ผลประเมินผลระดับชาติ จัดทดสอบโรงเรียนว่าจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานหรือไม่ เช่น การทดสอบทางการศึกษาแห่ง ชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ที่จัดทดสอบนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 รวมทั้งจัดทดสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ หรือ V-NET ในปีการศึกษา 2554 และการจัดทดสอบความถนัด ทั่วไป หรือ GAT และ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ หรือ PAT เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่ง ประเทศไทย (ทปอ.) นำไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่น
“สำหรับข้อสอบ GAT/PAT และ O-NET นั้น ในปีการศึกษา 2554 สทศ.จะไม่เปลี่ยนรูปแบบอีกแล้ว เนื่องจากข้อสอบทั้งหมดนิ่งและมีมาตรฐานพอสมควรแล้ว โดยรูปแบบข้อสอบของ สทศ.มี 4 รูปแบบ คือ แบบเลือกตอบ เลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุด 1 ตัว หรือ หลายตัว รูปแบบที่ 2 แบบเลือกหลายคำตอบจากหมวดคำตอบที่ให้ โดยคำตอบที่เลือกต้องเชื่อมโยงกัน รูปแบบที่ 3 แบบระบายคำตอบที่เป็นค่าหรือตัวเลข และรูปแบบที่ 4 แบบอ่านบทความแล้วเลือกตอบโดยวิเคราะห์เนื้อหาที่อ่าน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป สทศ.จะไม่นำข้อสอบและคำเฉลยที่ สทศ.จัดสอบทั้งหมดมาเผยแพร่อีกแล้ว เพราะ สทศ.จะนำข้อสอบเข้าคลังเพื่อพัฒนาต่อไป” ผอ.สทศ.กล่าว.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...