แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โพธิวิชชาลัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โพธิวิชชาลัย แสดงบทความทั้งหมด
หนุน มศว.จัดตั้งโพธิวิชชาลัย
รัฐทุ่ม 257 ล้าน หนุน มศว.จัดตั้งโพธิวิชชาลัย จ.ตาก นำร่องรับนักศึกษาในพื้นที่ ปี 54
เมื่อวันที่ 1 ต.ค. รศ.อำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) เปิดเผยว่า จากที่ มศว.ร่วมมือกับองค์กร 5 ภาคีเครือข่ายจัดตั้งโพธิวิชชาลัย มศว.สระแก้ว ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และรับนิสิตมาแล้ว 2 รุ่น และกำลังดำเนินการสอบตรงรับนิสิตรุ่นที่ 3 ซึ่งจากประสบการณ์ และแนวคิดชัดเจน และมีทิศทาง ทำให้ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสหกรรม อดีต รมช.ศึกษาธิการ ขอให้ขยายแผนการทำงานวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เข้าสู่ อ.แม่สอด จ.ตาก และได้จากงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล จำนวน 257,000,000 บาท เพื่อรองรับเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร รวมถึงเยาวชนไทยตามแนวตะเข็บชายแดนของภาคตะวันตก และภาคเหนือ ซึ่งการศึกษายังเข้าไม่ถึง วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จ.ตาก เปิดทำการได้ทันในปีมหามงคล ครบ 7 รอบ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2554 และจะรับนิสิตใหม่เข้าเรียนรุ่นแรกในปีการศึกษา 2554 โดยเปิดรับตรง เพื่อเป็นการนำร่องรับเยาวชนจากในพื้นที่ก่อนเป็นรุ่นแรก คาดว่า จะรับนิสิตได้ในช่วงเดือน ม.ค.2554
รศ.อำนาจ กล่าวอีกว่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จ.ตาก มีพื้นที่ 200 ไร่ โดยพื้นที่ประมาณ 160 ไร่ จัดทำเป็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นทั้งสถานที่วิจัย เป็นห้องเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชน ส่วน 40 ไร่ จะใช้เป็นสถานปลูกสร้างอาคาร ซึ่งจะก่อสร้างให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภูมิภาคแถบนั้น เน้นการประหยัดพลังงานเป็นหลัก สร้างเป็นอาคารศูนย์ภูมิวัฒนธรรมสารสนเทศ ชุดอาคารอเนกประสงค์ และสร้างเป็นฐานเรียนรู้ที่ชุมชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้โพธิวิชาลัยกับชุมชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่สำคัญโพธิวิชชาลัยจะสะท้อนภาพของการเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่กับธรรมชาติ ดูแลสิ่งแวดล้อม และไม่แยกตัวเองออกจากชุมชน
รศ.อำนาจ กล่าวอีกว่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จ.ตาก มีพื้นที่ 200 ไร่ โดยพื้นที่ประมาณ 160 ไร่ จัดทำเป็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นทั้งสถานที่วิจัย เป็นห้องเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชน ส่วน 40 ไร่ จะใช้เป็นสถานปลูกสร้างอาคาร ซึ่งจะก่อสร้างให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภูมิภาคแถบนั้น เน้นการประหยัดพลังงานเป็นหลัก สร้างเป็นอาคารศูนย์ภูมิวัฒนธรรมสารสนเทศ ชุดอาคารอเนกประสงค์ และสร้างเป็นฐานเรียนรู้ที่ชุมชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้โพธิวิชาลัยกับชุมชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่สำคัญโพธิวิชชาลัยจะสะท้อนภาพของการเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่กับธรรมชาติ ดูแลสิ่งแวดล้อม และไม่แยกตัวเองออกจากชุมชน
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ oknation.net/blog/sarnsaeng-arun
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...