โควตาพิเศษ 28 จังหวัด ศิลปากรประกาศผลแล้ว !!!!!!! แถมท้ายด้วยพาเดินเล่นใน ม
Yes You Can !!!!!
ปรกาศผลสอบ
http://reg1.su.ac.th/registrar
ขอแสดงความยินกี่ผู้ได้รับการคัดเลือก สำหรับผู้ที่ไม่ติดก็ขอให้สู้ๆกันต่อไปนะครับ
ยังมีรับตรงที่อื่นๆอีกนะครับ
รวมไปถึงแอดมิชชั่นด้วย
........................................................................................................................................
ไม่ลืม "ศิลปากร" กลิ่นจันกำจรมิคลาย
ท่อนสุดท้ายของ เพลงกลิ่นจัน ที่เพิ่งจะร้องได้หมาดๆ
ถูกทำมาเป็นหัวเรื่องในครั้งนี้
หลังจากที่พี่ๆปีเก็ทและพี่ๆปีแก่ เรียกร้องกันมาอย่างมากมาย
ให้ถ่ายรูปในมหาลัยมาให้ดูบ้าง ว่าอะไรเปลี่ยนไปยังไงแล้ว
และนี่ก้อเป็นเพียงส่วนนึง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเพียงโซนหน้า
หรือ 1 ใน 4 เท่านั้นเอง ...
เริ่มด้วยป้ายอันใหญ่โต บอกว่าที่นี่คือ
"มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์"
ป้ายนี้เป็นป้ายตรงหัวมุมแยกสนามจันทร์ หรือใกล้ๆกับประตูสาธิตนั่นเอง
ส่วนป้ายผ้าใบสีฟ้าๆด้านบน เป็นภาพฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพฯ
ที่ประทานให้มหาวิทยาลัยศิลปากร ในโอกาสครบรอบ 65 ปีในปีนี้
กระโดดมาที่นี่เลย "คณะอักษรศาสตร์"
เป็นคณะแรกของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ปฐมคณบดีคณะอักษรศาสตร์ ก็คือ
"ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ"
ป้ายนี้อยู่หัวมุมคณะ เลยสี่แยกวัดใจมาหน่อยนึง
ที่เรียกว่า "สี่แยกวัดใจ" ก็เพราะว่าการจราจรคับคั่งมากๆ
ทั้งจักกี้ (จักรยาน) รถมอไซค์ รถป๊อป รถเก๋ง อะไรมากมาย
หากคิดจะข้ามถนน ต้องวัดใจกันจริงๆ ว่าคุณกล้าก้าวเท้าออกไปรึเปล่า
ตึกนี้เรียกว่าเป็นฐานบัญชาการคณะอักษรศาสตร์เลยก้อว่าได้
ชื่อเต็มๆน่าจะคือ "อักษรศาสตร์ 1"
เยื้องไปข้างหลังจะเป็น บ้านสีฟ้าๆหลังหนึ่ง เรียกว่า "คนอ."
ย่อมาจาก "คณะกรรมการนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์"
ถัดไปจะเป็นลานกว้าง เรียกว่า "ลานทรงพล" บริเวณนี้เป็นที่ประหารเก่า
ถัดจากลานไป ก้อจะเป็น "โรงละครทรงพล" และตึก "อักษรศาสตร์ 3"
เป็นที่รวมของทุกภาควิชา
ศาลประจำคณะ ขอบอกว่าศักดิ์สิทธิ์มากๆ
คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะเดียวที่มีศาลอยู่
โดยปกติแล้วถ้าสถานที่ใดเคารพบูชาเทวาลัย (พระพิฆเนตร) แล้ว
จะไม่ตั้งศาลภายในบริเวณนั้น แต่ที่คณะอักษรศาสตร์ต้องมีศาลเพราะว่า
แถวนี้ของเค้าแรง ทั้งเจ้าที่เอย ทั้งคนที่เคยโดนประหารที่ลานทรงพล
และอะไรอีกมากมาย เรียกว่าเป็นจุดพีค หรือแห่งรวมเลยก้อว่าได้
ด้านหลังศาลจะมีบ่อน้ำเล็กๆ เรียกว่า "บ่อล้างดาบ"
คือเพชรฆาต จะเอาดาบมาล้างเลือดในบ่อนี้ในสมัยก่อน
ป้ายบอกบริเวณลานจอดรถหน้าตึก เป็นป้ายธรรมดาอันหนึ่งพบเห็นได้ทั่วไปบริเวณคณะ
แต่ทุกคนจะมองว่ามันสวยมากๆ และพยายามที่จะหาโอกาสถ่ายรูปคู่ หรือรูปหมู่กะมัน
ถัดมาคือ ยูเนี่ยน หรือ โรงอาหารนั่นเอง
ในมหาลัยจะมีโรงอาหารหลายที่ เช่น ตึก 50 ปี ยูเนี่ยน เพชรชอป ศึกษา ...
ไม่รู้ว่าแอบมีตรงไหนอีกรึเปล่า
ส่วนที่เรียกว่ายูเนี่ยน เพราะว่าชั้นบนเป็นที่ทำการของ "สโมสรนักศึกษา"
น้ำที่นี่จะไม่ใส่แก้ว แต่จะใส่โหลใหญ่ๆ ... คุ้มมากมาย ราคาถูกสุดๆ
ตรงข้ามกับยูเนี่ยน บริเวณริมสระแก้ว คือ "ศาลาสระแก้ว"
มีชื่อเล่นว่า "ศาลาแปดเหลี่ยม" และมีชื่อเฉพาะว่า "ศาลาพี่ว๊าก"
ทุกๆวันพุธ จะมีตลาดนัดในมอ ตั้งแต่ตรงศาลาแปดเหลี่ยม
ยาวตามทางไปตลอดสระแก้ว ของมีขายมากมาย ... เอวี่ติง จิงกะเบล
ตั้งแต่ของกิน ของใช้ เสื้อผ้า สมุด โปสการ์ด ดูดวง วาดภาพ
สุดแต่จะสรรหากันมาเปิดร้าน
อันนี้เป็นภายในของศาลา มีการปูกระเบื้องอย่างสวยงาม
เป็นสถานที่ถ่ายภาพยนต์และละครมาหลายเรื่องแล้ว
เนื่องจากบริเวณนี้พี่ว๊ากชอบมานั่งกัน
เด็กปี 1 จึงไม่พิศมัยจะเดินมาเฉียดเสียเท่าไร
ที่กลางสระแก้ว จะมีสะพานไม้พาดสองฝั่ง
เรียกกันว่า "สะพานสระแก้ว" บรรยากาศดีมากๆ
ตอนเย็นๆนักศึกษาจะมาจับกลุ่มคุยกัน
ส่วนตอนกลางคืน เค้าจะมานั่งกันเป็นคู่ๆ
โรแมนติกมากๆ ... ผมลองมาแล้ว อิอิ
ในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเสาไฟบนสะพาน
ถ้าใครมาตอนกลางคืนจะพกเทียนไขมาจุดกันด้วย
เดี๋ยวนี้มีไฟพร้อม เป็นสีเหลืองนวลๆ (บอกแล้วว่าโรแมนติก)
มักจะมีคนมานั่งเล่นกันอยู่แบบนี้มิขาดสาย
บรรยากาศยามเย็นของสระแก้ว
นี่ก้อเช่นกัน
เดินต่อมาเรื่อยๆ อันนี้เป็นสามแยกในมอ
แต่ผมเรียกว่า "สามเหลี่ยม" หากเลี้ยวไปตามทางก้อจะไปคณะศึกษาศาสตร์ได้
อันนี้คือ "สำนักงานอธิการบดี" ใหญ่โตมากๆ มีชื่อเล่นว่า "แวร์ซายน์"
เมื่อวานผมติดฝนอยู่ตึกนี้ 3 ชั่วโมงเลยอ่า เรียน Basic French I จบ
แล้วอันที่จริงต้องไปเรียน Information World ต่อ
แต่ว่ายังไม่ได้จ่ายค่าหน่วยกิตของ Basic French I เลย
มันเป็นวิชาที่ลงเพิ่มที่หลัง ต้องไปจ่ายที่งานคลัง บนตึกอธิการ
เนื่องจากเป็นวันสุดท้าย คนไปจ่ายกันล้านแปดมากๆ
รอคิวอยู่ประมาณ 20 นาที จ่ายเงินเสร็จ ... ฝนโครมลงมา
แล้วก้อไม่หยุดเลย คาบต่อไปก้อไม่ได้ไปเรียน หอก้อไม่ได้กลับ
ติดแหง่กกันอยู่นับร้อยคนบนตึก -*-
ป้ายหน้ากองกิจ อยู่ติดกะแวร์ซายน์
รถรับ-ส่งประจำมหาวิทยาลัยระหว่าง วังท่าพระ กับ สนามจันทร์
ราคานักศึกษา เที่ยวละ 20 บาท ... แต่แอร์ไม่ค่อยจะเย็นเท่าไร
รถสีเขียวเห็นมาแต่ไกล
"วัชรนาฏยสภา" ชื่อเพราะมากๆ เป็นโรงละครอีกหลังหนึ่ง ของคณะอักษรศาสตร์
แต่ดันมาอยู่อีกฟากนึง ซึ่งห่างไกลจากคณะมากๆ มีชื่อเล่นว่า "A4 (เอสี่)"
ที่ชื่อว่า เอสี่ ก้อเพราะว่าในสมัยก่อนบริเวณนี้จะเป็นตึกอักษรทั้งหมด 4 ตึก
A ก้อมาจาก Arts มันก้อจะเป็น A1 A2 A3 A4 เรียงกันไป
อันนี้คืออะไรที่ผมชอบมากๆ ต้องปั่นจักรยานไปแทบจะทุกคืน
ถึงจะกลัว แต่ผมก้ออยากไปอ่า
มันเป็น "บ้านไม้ หรือ หมู่เรือนเล็ก" หลังนี้อยู่ตรงหัวมุม
หลังหอเพชรรัตน์ เป็นหลังที่สมบูรณ์ที่สุด
อาจจะสงสัยกันว่า อยู่ในเขตมหาลัย แต่ทำไมทรุดโทรม
มันก้อต้องมีที่มาที่ไปนะสิคับ ...
เรือนเล็กหลังนี้อยู่ในเขตติดต่อกับพระราชวังสนามจันทร์
เป็นเรือนของนางใน นางสนมต่างๆ ในรัชกาลหนึ่ง (ไม่ขอบอกแล้วกัน)
นักประวัติศาสตร์บอกว่าท่านไม่โปรดสตรีนัก จึงให้มาอยู่หลังวัง
นานๆไปไม่ได้เรียกเข้าไปดูแลปรณนิบัติ ก้อเลยพระราชทานผ้าขาวมาที่เรือนเล็ก
ซึ่งนั่นก้อเป็นนัยหนึ่ง ทำให้ทุกนางต้องจบชีวิตลงที่เรือนหลังนี้
อันนี้เป็นเรื่องที่รุ่นพี่ ป.โท เอกประวัติศาสตร์ที่คณะเล่าให้ฟังนะคับ
ยังไงก้อขอให้ใช้วิจารณญาณด้วย
แล้วเค้าบอกว่าเรือนหลังนี้ก้อเฮี้ยนน่าดู บางทีจะเป็นผู้หญิงห่มสไบ
ยืนอยู่บนบ้านบ้าง เดินบ้าง ... ปั่นจักกี้ผ่าน ขนนี่ลุกเลยอ่า
กลางคืนมันจะเงียบ และเย็นมากกกกกกกกกกกกกกก
หลังนี้ก้อเช่นเดียวกัน อยู่ถัดมาหน่อย เป็นบริเวณหลังคณะวิทยาศาสตร์
รุ่นพี่คนนึงบอกว่าบ้านหลังนี้สวยและคลาสสิกมากๆ
จนอยากจะย้ายเข้าไปอยู่ -*-
บริเวณบ้านหลังนี้ เป็นที่ขุดดินทำพาน
คือนักศึกษาชายแทบจะทุกคณะ จะต้องมาขุดดินไกล้ๆบ้านหลังนี้
ไปให้นักศึกษาหญิงทำพานไหว้ครู
เนื่องจากอยู่ในช่วงรับน้องคณะ
นักศึกษาชายบางคณะจะได้มาขุดในเวลากลางคืน
วันนี้พอแค่นี้ก่อนแล้วกันคับ
ถ้าวันไหนได้ถ่ายรูปอีกจะเอามาให้พี่ปีเก็ท พี่ปีแก่ดูคับ
ถึงรูปจะไม่ค่อยสวย แต่ว่าคนถ่ายน่ารักคับ 555
ขอขอบคุณ ภาพ และบทความประกอบจาก พี่พี่ศิลปากรนะครับ
ปล . รู้สึกพี่คนเขียนบทความจะเป็นแอร์ เพราะเจอบทความใน thaicabincrew.com
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)