แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โครงการโอลิมปิกวิชาการ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โครงการโอลิมปิกวิชาการ แสดงบทความทั้งหมด
เกณฑ์การรับสมัคร โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล 2560
โครงการโอลิมปิกวิชาการ จำนวน 21 คน
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
โครงการโอลิมปิกวิชาการ ให้ถือตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ ปีการศึกษา ๒๕๕๘
รายละเอียดเพิ่มเติมและที่มา :
แนะนำ โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
Doctor of Medicine Program
Doctor of Medicine Program
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างบัณฑิตแพทย์และพลเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีความรู้ความสามารถและเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพแพทย์ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาแพทยศาสตร์ โดยเน้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์ศิริราช ดังต่อไปนี้
(๑) Soul หมายถึง มีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ ประกอบด้วย คุณธรรมแห่งวิชาชีพ การคำนึงถึงผู้ป่วย ความรับผิดชอบต่อสังคม
(๒) Knowledge หมายถึง มีความรู้ทางวิชาชีพ (professional knowledge)
(๓) Information หมายถึง ทักษะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อ เทคโนโลยี (information, media, technology skills)
(๔) Learning หมายถึง ทักษะการเรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (learning and innovation skills)
(๕) Leader หมายถึง ทักษะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้ชีวิต (leadership and life skills)
(๖) Skills หมายถึง มีทักษะทางวิชาชีพ (professional skills)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๒๕๒ หน่วยกิต
โครงสร้างของหลักสูตร
(ก)หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ๑๖ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด ๑๔ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๘ หน่วยกิต
(ส่วนที่จัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป)
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๖ หน่วยกิต
(ข)หมวดวิชาเฉพาะ ๒๑๑ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๑๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับ ๑๘๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับเลือก ๑๕ หน่วยกิต
(ค)หมวดวิชาเลือกเสรี ๑๑ หน่วยกิต
สร้างบัณฑิตแพทย์และพลเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม มีความรู้ความสามารถและเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพแพทย์ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาแพทยศาสตร์ โดยเน้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์ศิริราช ดังต่อไปนี้
(๑) Soul หมายถึง มีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์ ประกอบด้วย คุณธรรมแห่งวิชาชีพ การคำนึงถึงผู้ป่วย ความรับผิดชอบต่อสังคม
(๒) Knowledge หมายถึง มีความรู้ทางวิชาชีพ (professional knowledge)
(๓) Information หมายถึง ทักษะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อ เทคโนโลยี (information, media, technology skills)
(๔) Learning หมายถึง ทักษะการเรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (learning and innovation skills)
(๕) Leader หมายถึง ทักษะความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้ชีวิต (leadership and life skills)
(๖) Skills หมายถึง มีทักษะทางวิชาชีพ (professional skills)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๒๕๒ หน่วยกิต
โครงสร้างของหลักสูตร
(ก)หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ๑๖ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด ๑๔ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๘ หน่วยกิต
(ส่วนที่จัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป)
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๖ หน่วยกิต
(ข)หมวดวิชาเฉพาะ ๒๑๑ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ๑๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับ ๑๘๓ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบังคับเลือก ๑๕ หน่วยกิต
(ค)หมวดวิชาเลือกเสรี ๑๑ หน่วยกิต
การรับสมัคร
1. โครงการโอลิมปิกวิชาการ จำนวน 21 คน
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1 - 50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระ พี่นางเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2558 (กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) หรือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ รอบที่ 1 ที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์
สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้ไปร่วมแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดได้ที่ www1.si.mahidol.ac.th/education/si/
2. ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
2.1 โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น
กีฬา จำนวน 1 คน
ดนตรีแสดงเดี่ยว จำนวน 1 คน
2.2 โครงการวิทยาเขต
กลุ่มกาญจนบุรี จำนวน 4 คน ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม (ยกเว้น รร.มหิดลวิทยานุสรณ์)
กลุ่มนครสวรรค์ จำนวน 2 คน นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
กลุ่มอำนาจเจริญ จำนวน 1 คน อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร และร้อยเอ็ด
2.3 โครงการรับนักศึกษาชาวไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล)
- นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 1 คน
- ไม่จำกัดศาสนา จำนวน 1 คน
ดูรายละเอียดได้ที่ www.mahidol.ac.th/directadmission
2.1 โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น
กีฬา จำนวน 1 คน
ดนตรีแสดงเดี่ยว จำนวน 1 คน
2.2 โครงการวิทยาเขต
กลุ่มกาญจนบุรี จำนวน 4 คน ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม (ยกเว้น รร.มหิดลวิทยานุสรณ์)
กลุ่มนครสวรรค์ จำนวน 2 คน นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
กลุ่มอำนาจเจริญ จำนวน 1 คน อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร และร้อยเอ็ด
2.3 โครงการรับนักศึกษาชาวไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล)
- นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 1 คน
- ไม่จำกัดศาสนา จำนวน 1 คน
ดูรายละเอียดได้ที่ www.mahidol.ac.th/directadmission
3. รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) จำนวน 260 คน
* สำหรับผู้สมัครที่ไม่สามารถเข้าสอบและนำผลคะแนน O-NET ปีการศึกษา 2558 มาแสดงได้ เช่น ผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คณะอนุกรรมการการสอบคัดเลือกฯ ระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันฯ สงวนสิทธิ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะนำผลการเรียนมาพิจารณา เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของผู้สมัครที่ผ่านการสอบ O-NET
ดูรายละเอียดได้ที่ www9.si.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดได้ที่ www9.si.mahidol.ac.th
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(๑) โครงการโอลิมปิกวิชาการ ให้ถือตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตร
แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ
ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๒) ระบบรับตรง (มหิดลเพื่อชาวชนบท) มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ถือตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบรับตรง ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๓) รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้ถือตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง หลักเกณฑ์การสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ผ่านระบบรับตรง (Direct Admissions) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลโดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ
ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๒) ระบบรับตรง (มหิดลเพื่อชาวชนบท) มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ถือตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบรับตรง ปีการศึกษา ๒๕๕๘
(๓) รับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้ถือตามประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย ฉบับที่ ๑ เรื่อง หลักเกณฑ์การสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ผ่านระบบรับตรง (Direct Admissions) ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษา
ค่าเล่าเรียน
ชั้นปีที่ ๑ ๒๔,๑๕๐ บาท
ชั้นปีที่ ๒ ๓๙,๒๐๐ /๓๙,๖๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๓ ๓๘,๒๐๐ /๓๘,๖๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๔ ๓๙,๖๐๐ /๔๐,๐๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๕ ๔๐,๒๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๖ ๓๙,๔๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๒ ๓๙,๒๐๐ /๓๙,๖๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๓ ๓๘,๒๐๐ /๓๘,๖๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๔ ๓๙,๖๐๐ /๔๐,๐๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๕ ๔๐,๒๐๐ บาท
ชั้นปีที่ ๖ ๓๙,๔๐๐ บาท
*หมายเหตุ
๑. ปี ๒ –๖ ชำระค่าธรรมเนียมภาคเรียน ๒ พร้อมภาคเรียน ๑
๒. ค่าธรรมเนียมการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
๑. ปี ๒ –๖ ชำระค่าธรรมเนียมภาคเรียน ๒ พร้อมภาคเรียน ๑
๒. ค่าธรรมเนียมการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ทุนการศึกษา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีนโยบายที่จะจัดหาทุนอุดหนุนการศึกษามอบให้แก่นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและจัดสรรทุนอุดหนุนการศึกษา
คุณสมบัติของผู้รับทุน
(๑) เป็นนักศึกษาในสังกัดคณะฯ
(๒) เป็นผู้ขัดสนด้านทุนทรัพย์
(๓) มีความตั้งใจเรียนและมีความประพฤติดี
เงื่อนไขการรับทุนการศึกษา
(๑) นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมและช่วยเหลือในกิจกรรมซึ่งคณะฯ จัดขึ้น
(๒) การจัดสรรทุนจะแบ่งให้รับทุนเป็นรายเดือน หรือแล้วแต่เจ้าของทุนกำหนด
(๓) หากพบว่านักศึกษานำเงินทุนไปใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จะตัดสิทธิ์การรับทุน และอาจให้นำเงินทุนที่ได้รับไปแล้วทั้งหมดคืน
คุณสมบัติของผู้รับทุน
(๑) เป็นนักศึกษาในสังกัดคณะฯ
(๒) เป็นผู้ขัดสนด้านทุนทรัพย์
(๓) มีความตั้งใจเรียนและมีความประพฤติดี
เงื่อนไขการรับทุนการศึกษา
(๑) นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมและช่วยเหลือในกิจกรรมซึ่งคณะฯ จัดขึ้น
(๒) การจัดสรรทุนจะแบ่งให้รับทุนเป็นรายเดือน หรือแล้วแต่เจ้าของทุนกำหนด
(๓) หากพบว่านักศึกษานำเงินทุนไปใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จะตัดสิทธิ์การรับทุน และอาจให้นำเงินทุนที่ได้รับไปแล้วทั้งหมดคืน
คำถามพบบ่อย
คำถามที่ ๑ เรียนแพทย์ที่ศิริราชเรียนหนักหรือไม่ มีกิจกรรมเยอะหรือไม่ มีเวลาพักผ่อนหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหาวิชาและองค์ความรู้มาก ต้องเรียนหนักกว่าหลักสูตรอื่น แต่ถ้าอยากเก่งก็ต้องฝึกหนักกว่าคนอื่น ถ้าจะเป็นแพทย์ที่เก่งได้ย่อมต้องใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนมากกว่าผู้ที่เรียนหลักสูตรอื่นที่เนื้อหาน้อยกว่า ถึงแม้จะเรียนหนักแต่สามารถอยู่ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้ารู้จักบริหารเวลา รวมทั้งมีอาจารย์ที่คอยดูแลความเป็นอยู่ของนักศึกษา สำหรับกิจกรรมต่างๆ คณะฯ มีกิจกรรมนอกหลักสูตรให้เลือกมากมาย เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาตนเอง สำหรับเวลาในการพักผ่อน ถ้านักศึกษารู้จักการบริหารเวลาที่ดี นักศึกษาจะสามารถบริหารเวลาได้ มีเวลาพักผ่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องเรียนในระดับคลินิกมีการดูแลคนไข้ ต้องยอมรับว่าบางครั้งแพทย์จำเป็นที่จะต้องอยู่เวร เพราะฉะนั้นจะมีวันที่ไม่ได้นอนแต่นั่นเป็นธรรมชาติของวิชาชีพ
คำถามที่ ๒ อยากทราบเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกเรียนที่ศิริราช อะไรเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของศิริราช
มีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศมากมายที่สามารถผลิตแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมของแพทยสภา แต่อย่างไรก็ตามศิริราชก็มีจุดเด่นที่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์อื่นๆ ดังนี้
(๑) ศิริราชเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีอาจารย์ผู้มีความรู้ความชำนาญมากเกือบครบถ้วนทุกสาขาวิชา เนื่องจากการเรียนแพทย์ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่มีในตำราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นศิลปะในการรักษาซึ่งอาจารย์ผู้มีประสบการณ์มีความชำนาญจะมีศิลปะในการรักษาที่ดี
(๒) ศิริราชมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ และมีการตรวจสอบหลักสูตร โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ
(๓) ศิริราชมีอุปกรณ์และทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ค่อนข้างพร้อม มีการลงทุนกับสื่อการศึกษา การพัฒนาหุ่นจำลองทางการแพทย์ การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) ศิริราชมีห้องสมุดทางการแพทย์ที่มีหนังสือและวารสารทางการแพทย์มากที่สุดในประเทศ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลทางการแพทย์ได้มากกว่าทุกๆ โรงเรียนแพทย์ในประเทศ และมีฐานข้อมูลที่มากที่สุดในประเทศ
(๕) ศิริราชมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดในประเทศ และเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งการเรียนรู้จากผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนที่ศิริราชจะได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย
คำถามที่ ๓ อยากเป็นแพทย์เพราะชอบ แต่ท่องจำไม่เก่ง ความจำไม่ดี จะเรียนไหวหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหามาก และการตัดสินใจเพื่อรักษาผู้ป่วยในหลายๆ กรณีมักไม่มีเวลาเปิดหนังสือหรือตำรา จึงจำเป็นต้องมีความรู้อยู่ในหัวที่พร้อมจะรักษาผู้ป่วยในเวลาเสี้ยววินาทีได้ เพราะฉะนั้น การท่องจำเนื้อหาจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นทักษะที่จำเป็นในการเรียน แต่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้
คำถามที่ ๔ หากไม่ชอบเรียนวิชาชีววิทยา แต่รักความเป็นแพทย์จะเรียนได้หรือไม่
ต้องถามว่า รักความเป็นแพทย์คืออะไร ถ้ารักความเป็นแพทย์เพราะว่ารักที่จะได้เงินเดือนสูงๆ เราไม่เรียกว่ารักความเป็นแพทย์ แต่ถ้ารักความเป็นแพทย์ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว มีความเสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยสามัญสำนึกของตนเอง สิ่งนี้ถือว่ารักความเป็นแพทย์ ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถเรียนได้แน่นอน ต่อให้ไม่เก่งวิชาชีววิทยาแต่มีคุณสมบัติพื้นฐานก็สามารถเรียนแพทย์ได้
คำถามที่ ๕ อยากเรียนแพทย์แต่ไม่เก่งภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร จะเรียนได้หรือไม่
วิชาการทางการแพทย์เป็นวิชาการที่มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา และในปัจจุบันความรู้ใหม่ๆ ถูกพัฒนาในต่างประเทศ และเผยแพร่ในวารสารหรือตำราที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนมาก ดังนั้น ทักษะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียน ถ้าจะเรียนให้จบหลักสูตร โดยที่ไม่อ่านตำราหรือวารสารวิชาการภาษาอังกฤษเลยคงเป็นไปได้ยากมาก แต่ทั้งนี้ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่ฝึกฝนเรียนรู้ได้ โดยคณะฯ มีทรัพยากรเกื้อหนุนให้นักศึกษาได้ฝึกตนเองและพัฒนาตนเองให้เก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นได้
วิชาแพทย์มีเนื้อหาวิชาและองค์ความรู้มาก ต้องเรียนหนักกว่าหลักสูตรอื่น แต่ถ้าอยากเก่งก็ต้องฝึกหนักกว่าคนอื่น ถ้าจะเป็นแพทย์ที่เก่งได้ย่อมต้องใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนมากกว่าผู้ที่เรียนหลักสูตรอื่นที่เนื้อหาน้อยกว่า ถึงแม้จะเรียนหนักแต่สามารถอยู่ได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้ารู้จักบริหารเวลา รวมทั้งมีอาจารย์ที่คอยดูแลความเป็นอยู่ของนักศึกษา สำหรับกิจกรรมต่างๆ คณะฯ มีกิจกรรมนอกหลักสูตรให้เลือกมากมาย เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาตนเอง สำหรับเวลาในการพักผ่อน ถ้านักศึกษารู้จักการบริหารเวลาที่ดี นักศึกษาจะสามารถบริหารเวลาได้ มีเวลาพักผ่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องเรียนในระดับคลินิกมีการดูแลคนไข้ ต้องยอมรับว่าบางครั้งแพทย์จำเป็นที่จะต้องอยู่เวร เพราะฉะนั้นจะมีวันที่ไม่ได้นอนแต่นั่นเป็นธรรมชาติของวิชาชีพ
คำถามที่ ๒ อยากทราบเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกเรียนที่ศิริราช อะไรเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของศิริราช
มีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศมากมายที่สามารถผลิตแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมของแพทยสภา แต่อย่างไรก็ตามศิริราชก็มีจุดเด่นที่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์อื่นๆ ดังนี้
(๑) ศิริราชเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีอาจารย์ผู้มีความรู้ความชำนาญมากเกือบครบถ้วนทุกสาขาวิชา เนื่องจากการเรียนแพทย์ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่มีในตำราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นศิลปะในการรักษาซึ่งอาจารย์ผู้มีประสบการณ์มีความชำนาญจะมีศิลปะในการรักษาที่ดี
(๒) ศิริราชมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ และมีการตรวจสอบหลักสูตร โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ
(๓) ศิริราชมีอุปกรณ์และทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ค่อนข้างพร้อม มีการลงทุนกับสื่อการศึกษา การพัฒนาหุ่นจำลองทางการแพทย์ การพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) ศิริราชมีห้องสมุดทางการแพทย์ที่มีหนังสือและวารสารทางการแพทย์มากที่สุดในประเทศ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลทางการแพทย์ได้มากกว่าทุกๆ โรงเรียนแพทย์ในประเทศ และมีฐานข้อมูลที่มากที่สุดในประเทศ
(๕) ศิริราชมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดในประเทศ และเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งการเรียนรู้จากผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนที่ศิริราชจะได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย
คำถามที่ ๓ อยากเป็นแพทย์เพราะชอบ แต่ท่องจำไม่เก่ง ความจำไม่ดี จะเรียนไหวหรือไม่
วิชาแพทย์มีเนื้อหามาก และการตัดสินใจเพื่อรักษาผู้ป่วยในหลายๆ กรณีมักไม่มีเวลาเปิดหนังสือหรือตำรา จึงจำเป็นต้องมีความรู้อยู่ในหัวที่พร้อมจะรักษาผู้ป่วยในเวลาเสี้ยววินาทีได้ เพราะฉะนั้น การท่องจำเนื้อหาจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นทักษะที่จำเป็นในการเรียน แต่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้
คำถามที่ ๔ หากไม่ชอบเรียนวิชาชีววิทยา แต่รักความเป็นแพทย์จะเรียนได้หรือไม่
ต้องถามว่า รักความเป็นแพทย์คืออะไร ถ้ารักความเป็นแพทย์เพราะว่ารักที่จะได้เงินเดือนสูงๆ เราไม่เรียกว่ารักความเป็นแพทย์ แต่ถ้ารักความเป็นแพทย์ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว มีความเสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยสามัญสำนึกของตนเอง สิ่งนี้ถือว่ารักความเป็นแพทย์ ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถเรียนได้แน่นอน ต่อให้ไม่เก่งวิชาชีววิทยาแต่มีคุณสมบัติพื้นฐานก็สามารถเรียนแพทย์ได้
คำถามที่ ๕ อยากเรียนแพทย์แต่ไม่เก่งภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร จะเรียนได้หรือไม่
วิชาการทางการแพทย์เป็นวิชาการที่มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา และในปัจจุบันความรู้ใหม่ๆ ถูกพัฒนาในต่างประเทศ และเผยแพร่ในวารสารหรือตำราที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนมาก ดังนั้น ทักษะภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียน ถ้าจะเรียนให้จบหลักสูตร โดยที่ไม่อ่านตำราหรือวารสารวิชาการภาษาอังกฤษเลยคงเป็นไปได้ยากมาก แต่ทั้งนี้ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่ฝึกฝนเรียนรู้ได้ โดยคณะฯ มีทรัพยากรเกื้อหนุนให้นักศึกษาได้ฝึกตนเองและพัฒนาตนเองให้เก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นได้
คำถามที่ ๖ ทราบได้อย่างไรว่าตัวเองอยากเป็นแพทย์ และเมื่อทราบแล้วต้องเตรียมตัวอย่างไร
ถ้ามีคุณสมบัติที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์มาก่อนประโยชน์ส่วนตัวเสมอ มีความเสียสละ ถือว่ารักความเป็นแพทย์ มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่งที่จัดงาน Open house แนะแนวการศึกษาแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และครูแนะแนว เพื่อให้สำรวจตัวเองว่าอยากเป็นแพทย์จริงหรือไม่ ซึ่งจะได้เห็นวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ ทำให้เข้าใจรูปแบบการเรียนมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีโอกาสเข้าร่วม ควรจะสำรวจตัวเองให้มั่นใจว่าเป็นคนรักงานบริการ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และทุ่มเทเสียสละ
คำถามที่ ๗ เรียนแพทย์ต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมากหรือไม่ ฐานะไม่ดีจะเรียนได้หรือไม่ มีทุนการศึกษาหรือไม่
หากเป็นโรงเรียนแพทย์ของรัฐ รัฐบาลมีงบสนับสนุนให้ เพราะฉะนั้นนักศึกษาจะไม่ได้จ่ายค่าเล่าเรียนตามจำนวนที่ต้องใช้จริงตามต้นทุน หากนักศึกษาไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยังสามารถเรียนได้ เพราะคณะฯ มีทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งมีทุนหลากหลายประเภทด้วยกัน โดยนโยบายของคณะฯ จะไม่ยอมให้นักศึกษาแม้แต่คนเดียวไม่สำเร็จการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์
คำถามที่ ๘ อยากเรียนแพทย์ต้องเก่งอะไรบ้าง เรียนแพทย์ยากไหม
เรียนแพทย์ยาก แต่ถ้ามีความตั้งใจก็สามารถเรียนได้ จริงๆแล้วต้องเก่งหลายอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องเก่งมาตั้งแต่ต้นทาง สามารถมาพัฒนาในโรงเรียนแพทย์ได้ เช่น ต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีทักษะในการทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ดี มีทักษะในการทำหัตการ ทำการผ่าตัด หรือว่าใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้ มีความจำที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครมีทักษะทุกอย่างครบถ้วน แต่ถ้าจะต้องเก่งอะไรในระดับมัธยมภาษาอังกฤษน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความรู้ในตำราวารสารวิชาการส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ
คำถามที่ ๙ ผู้ที่เหมาะสมที่จะเรียนแพทย์ควรมีบุคลิกอย่างไร
ต้องเป็นคนจิตใจดี ชอบให้บริการผู้อื่น มีความเสียสละ ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว มีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเริ่มงานหรือเลิกงานเวลาเดิมในทุกวัน อาจมีบางวันที่ต้องทำอะไรที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าได้
คำถามที่ ๑๐ เรียนแพทย์ดีอย่างไร
ถ้ามองในเชิงจิตใจนั้น การเรียนแพทย์เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นแพทย์ที่ดีจริงๆ จะสามารถเปลี่ยนให้คนที่จะเสียชีวิตให้เดินกลับบ้านได้ สามารถเปลี่ยนให้คนที่กำลังจะพิการให้กลับไปทำงานได้ เราสามารถทำให้คนที่มีอาการเจ็บป่วย หรือเจ็บปวดทรมานพ้นจากความทุกข์ทรมานได้ เราสามารถทำประโยชน์ให้คนหมู่มาก ดังนั้น เราได้ผลตอบแทนทางใจเยอะมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยและความลำบากกาย
ถ้ามีคุณสมบัติที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์มาก่อนประโยชน์ส่วนตัวเสมอ มีความเสียสละ ถือว่ารักความเป็นแพทย์ มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่งที่จัดงาน Open house แนะแนวการศึกษาแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และครูแนะแนว เพื่อให้สำรวจตัวเองว่าอยากเป็นแพทย์จริงหรือไม่ ซึ่งจะได้เห็นวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ ทำให้เข้าใจรูปแบบการเรียนมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีโอกาสเข้าร่วม ควรจะสำรวจตัวเองให้มั่นใจว่าเป็นคนรักงานบริการ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และทุ่มเทเสียสละ
คำถามที่ ๗ เรียนแพทย์ต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมากหรือไม่ ฐานะไม่ดีจะเรียนได้หรือไม่ มีทุนการศึกษาหรือไม่
หากเป็นโรงเรียนแพทย์ของรัฐ รัฐบาลมีงบสนับสนุนให้ เพราะฉะนั้นนักศึกษาจะไม่ได้จ่ายค่าเล่าเรียนตามจำนวนที่ต้องใช้จริงตามต้นทุน หากนักศึกษาไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยังสามารถเรียนได้ เพราะคณะฯ มีทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งมีทุนหลากหลายประเภทด้วยกัน โดยนโยบายของคณะฯ จะไม่ยอมให้นักศึกษาแม้แต่คนเดียวไม่สำเร็จการศึกษาเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์
คำถามที่ ๘ อยากเรียนแพทย์ต้องเก่งอะไรบ้าง เรียนแพทย์ยากไหม
เรียนแพทย์ยาก แต่ถ้ามีความตั้งใจก็สามารถเรียนได้ จริงๆแล้วต้องเก่งหลายอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องเก่งมาตั้งแต่ต้นทาง สามารถมาพัฒนาในโรงเรียนแพทย์ได้ เช่น ต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีทักษะในการทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ดี มีทักษะในการทำหัตการ ทำการผ่าตัด หรือว่าใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้ มีความจำที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครมีทักษะทุกอย่างครบถ้วน แต่ถ้าจะต้องเก่งอะไรในระดับมัธยมภาษาอังกฤษน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความรู้ในตำราวารสารวิชาการส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ
คำถามที่ ๙ ผู้ที่เหมาะสมที่จะเรียนแพทย์ควรมีบุคลิกอย่างไร
ต้องเป็นคนจิตใจดี ชอบให้บริการผู้อื่น มีความเสียสละ ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว มีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเริ่มงานหรือเลิกงานเวลาเดิมในทุกวัน อาจมีบางวันที่ต้องทำอะไรที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าได้
คำถามที่ ๑๐ เรียนแพทย์ดีอย่างไร
ถ้ามองในเชิงจิตใจนั้น การเรียนแพทย์เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นแพทย์ที่ดีจริงๆ จะสามารถเปลี่ยนให้คนที่จะเสียชีวิตให้เดินกลับบ้านได้ สามารถเปลี่ยนให้คนที่กำลังจะพิการให้กลับไปทำงานได้ เราสามารถทำให้คนที่มีอาการเจ็บป่วย หรือเจ็บปวดทรมานพ้นจากความทุกข์ทรมานได้ เราสามารถทำประโยชน์ให้คนหมู่มาก ดังนั้น เราได้ผลตอบแทนทางใจเยอะมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยและความลำบากกาย
ติดต่อสอบถาม
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
ที่อยู่ : ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น ๖ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เลขที่ ๒ ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๔๑๙-๖๔๑๐-๑ , ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๒
โทรสาร : ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๓
email : sieducation@mahidol.ac.th
ที่อยู่ : ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น ๖ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เลขที่ ๒ ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๔๑๙-๖๔๑๐-๑ , ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๒
โทรสาร : ๐๒-๔๑๙-๖๔๔๓
email : sieducation@mahidol.ac.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...