แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โคมไฟ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โคมไฟ แสดงบทความทั้งหมด
ราชภัฏรำไพพรรณี ทำโคมไฟเพิ่มมูลค่าธูปฤาษี
ม.ราชภัฏรำไพพรรณี ทำโคมไฟ เพื่อเพิ่มมูลค่าธูปฤาษี ถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมธุรกิจชุมชน
ธูป ฤาษีเป็นไม้ล้มลุก ถือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วทั่วทุกภาคของ ประเทศไทย การกำจัดทำได้ยาก แต่อีกด้านหนึ่งธูปฤาษีก็จัดอยู่ในฐานะทรัพยากรในท้องถิ่น ที่ควรนำมาเพิ่มมูลค่า เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน ดังนั้น ม.ราชภัฏรำไพพรรณี จึงนำพืชดังกล่าวมาประยุกต์ทำเป็นโคมไฟ ซึ่งกระบวนการทำนั้น จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอัตราการขยายพันธุ์ของธูปฤาษีด้วย ซึ่งถือเป็นการสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกร กระตุ้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว และสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจชุมชนต่อไป
อ.ปัญญณัฐ ศิลาลาย ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ม.ราชภัฏรำไพพรรณี กล่าวว่า ขั้นตอนการทำกระดาษธูปฤาษี เริ่มตั้งแต่ตัดใบธูปฤาษีเป็นชิ้นยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้น นำธูปฤาษีที่ตัดไว้ใส่ภาชนะต้ม และใส่โซดาไฟ รอจนให้ชิ้นส่วนของธูปฤาษีเปื่อยยุ่ย จึงนำเยื่อธูปฤาษีที่ได้จากการต้ม มาล้างในภาชนะที่เป็นตะแกรงให้น้ำไหลผ่าน เพื่อแยกเส้นใยออกมา แล้วนำเส้นใยที่ได้มาปั่น เพื่อให้เส้นใยกระจายตัวแยกออกจากกัน
จากนั้น นำเส้นใยที่ปั่นแล้วมาล้างให้สะอาด จึงค่อยนำไปเกลี่ยให้กระจายบนตะแกรงมุ้งลวดที่วางไว้ในอ่างน้ำ แต่ถ้าต้องการให้กระดาษมีสีสันก็ใส่สีลงในอ่างน้ำ ซึ่งควรใช้สีย้อมผ้าจะดีกว่าสีอื่น ๆ เพราะสีจะติดกระดาษธูปฤาษีได้ดี ยกตะแกรงมุ้งลวดไล่ระดับทีละข้าง ขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา สลับกันไปมา เพื่อเกลี่ยให้ใยธูปฤาษีเสมอกันจนเต็มเฟรมตะแกรงมุ้งลวด จึงนำตะแกรงมุ้งลวดที่ได้ไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงค่อยดึงกระดาษธูปฤาษีที่ได้ออกจากเฟรมตะแกรงมุ้งลวด เมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ แล้ว จะได้กระดาษธูปฤาษี 1 แผ่น ขนาด 52x72 เซนติเมตร (เท่ากับขนาดมุ้งลวดทั่วไป) จะต้องใช้ธูปฤาษี 2 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร และโซดาไฟ 100 กรัม ต้มนาน 2 ชั่วโมง จะได้เยื่อธูปฤาษี 300 กรัม ซึ่งเป็นกระดาษที่มีความหนา และเหนียวพอเหมาะ สามารถจัดแต่งเป็นรูปทรงได้โดยไม่ฉีกขาดง่าย
ส่วนขั้นตอนในการนำมาประกอบเป็นโคมไฟนั้น อ.ปัญญณัฐ กล่าวต่อว่า กระดาษธูปฤาษีที่ได้สามารถทำโคมไฟรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ โคมไฟติดฝาผนัง โคมไฟอ่านหนังสือ เป็นต้น โดยวิธีการทำ อาทิ โคมไฟอ่านหนังสือ ให้เตรียมหลอดไฟสำเร็จรูปหลอดใหญ่ 1-2 ดวง แล้วนำลวดขนาดกลางมาประกบกับสายไฟโดยเอาเทปกาวพันไว้เป็นระยะ ๆ จากนั้น จึงเข้ากลีบดอก และใบ เหมือนกับโคมไฟตั้งโต๊ะ และโคมไฟติดฝาผนัง แต่กลีบดอกต้องมีขนาดใหญ่ ต่อจากนั้น ก็พันด้วยเทปพันสายไฟ และกระดาษย่นตามลำดับ โดยนำไปใส่แจกันทรงสูงจัดแต่งโคมไฟให้สวยงาม
“หลังจากที่นำกระดาษธูปฤาษีมาผลิตเป็นโคมไฟแล้ว และนำมาใช้เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่า ตั้งแต่เริ่มใช้โคมไฟธูปฤาษี กระดาษธูปฤาษีมีสภาพคงเดิมไม่เปื่อยยุ่ย และสีสันไม่เปลี่ยนแปลง แต่พอเดือนที่ 8 สี จะเริ่มจางลงเรื่อย ๆ ส่วนสภาพกระดาษยังคงมีสภาพคงเดิมไม่เปื่อยยุ่ย ซึ่งจากผลการศึกษาเมื่อได้เยื่อธูปฤาษีแล้ว ควรนำไปตากแห้งทันที เพราะหากแช่น้ำทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้เยื่อธูปฤาษีเกาะกันเป็นก้อน เมื่อนำไปตากแห้งจะทำให้เนื้อกระดาษที่ได้ไม่เรียบ และควรผลิตกระดาษธูปฤาษีในหน้าร้อน ทั้งนี้ กระดาษธูปฤาษีไม่จำเป็นต้องผลิตเป็นโคมไฟเท่านั้น แต่สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นก็ได้ เช่น มู่ลี่ เป็นต้น ที่สำคัญไม่พบเชื้อราบนกระดาษธูปฤาษีอีกด้วย
เมื่อสอบถามผู้ใช้โคมไฟธูปฤาษีพบว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และมีความพึงพอใจความสวยงามของโคมไฟธูปฤาษี อีกทั้ง เห็นว่าการส่งเสริมการทำโคมไฟธูปฤาษีให้เป็นธุรกิจชุมชนนั้น สามารถนำรายได้เข้าสู่ชุมชนได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัย คือ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนสนับสนุน ส่งเสริมธุรกิจชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สภาพท้องถิ่น และตลาดได้อย่างแท้จริง รวมถึงสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนในเรื่องธุรกิจชุมชน ก็สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงวิชาการได้เช่นกัน ที่สำคัญชุมชนสามารถหาธูปฤาษีในท้องถิ่นมาทำเป็นกระดาษ เพื่อนำไปผลิตต่อเป็นโคมไฟ เพิ่มอาชีพ และรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัวได้ อีกทั้ง พัฒนาความรู้ทางวิชาการในเรื่องของกระบวนการผลิต และปรับปรุงคุณสมบัติของกระดาษธูปฤาษี พร้อมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณชนให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตกระดาษในภาคอุตสาหกรรมต่อไป” อ.ปัญญณัฐ กล่าว.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
ธูป ฤาษีเป็นไม้ล้มลุก ถือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วทั่วทุกภาคของ ประเทศไทย การกำจัดทำได้ยาก แต่อีกด้านหนึ่งธูปฤาษีก็จัดอยู่ในฐานะทรัพยากรในท้องถิ่น ที่ควรนำมาเพิ่มมูลค่า เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน ดังนั้น ม.ราชภัฏรำไพพรรณี จึงนำพืชดังกล่าวมาประยุกต์ทำเป็นโคมไฟ ซึ่งกระบวนการทำนั้น จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอัตราการขยายพันธุ์ของธูปฤาษีด้วย ซึ่งถือเป็นการสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกร กระตุ้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว และสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจชุมชนต่อไป
อ.ปัญญณัฐ ศิลาลาย ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ม.ราชภัฏรำไพพรรณี กล่าวว่า ขั้นตอนการทำกระดาษธูปฤาษี เริ่มตั้งแต่ตัดใบธูปฤาษีเป็นชิ้นยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้น นำธูปฤาษีที่ตัดไว้ใส่ภาชนะต้ม และใส่โซดาไฟ รอจนให้ชิ้นส่วนของธูปฤาษีเปื่อยยุ่ย จึงนำเยื่อธูปฤาษีที่ได้จากการต้ม มาล้างในภาชนะที่เป็นตะแกรงให้น้ำไหลผ่าน เพื่อแยกเส้นใยออกมา แล้วนำเส้นใยที่ได้มาปั่น เพื่อให้เส้นใยกระจายตัวแยกออกจากกัน
จากนั้น นำเส้นใยที่ปั่นแล้วมาล้างให้สะอาด จึงค่อยนำไปเกลี่ยให้กระจายบนตะแกรงมุ้งลวดที่วางไว้ในอ่างน้ำ แต่ถ้าต้องการให้กระดาษมีสีสันก็ใส่สีลงในอ่างน้ำ ซึ่งควรใช้สีย้อมผ้าจะดีกว่าสีอื่น ๆ เพราะสีจะติดกระดาษธูปฤาษีได้ดี ยกตะแกรงมุ้งลวดไล่ระดับทีละข้าง ขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา สลับกันไปมา เพื่อเกลี่ยให้ใยธูปฤาษีเสมอกันจนเต็มเฟรมตะแกรงมุ้งลวด จึงนำตะแกรงมุ้งลวดที่ได้ไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงค่อยดึงกระดาษธูปฤาษีที่ได้ออกจากเฟรมตะแกรงมุ้งลวด เมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ แล้ว จะได้กระดาษธูปฤาษี 1 แผ่น ขนาด 52x72 เซนติเมตร (เท่ากับขนาดมุ้งลวดทั่วไป) จะต้องใช้ธูปฤาษี 2 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร และโซดาไฟ 100 กรัม ต้มนาน 2 ชั่วโมง จะได้เยื่อธูปฤาษี 300 กรัม ซึ่งเป็นกระดาษที่มีความหนา และเหนียวพอเหมาะ สามารถจัดแต่งเป็นรูปทรงได้โดยไม่ฉีกขาดง่าย
ส่วนขั้นตอนในการนำมาประกอบเป็นโคมไฟนั้น อ.ปัญญณัฐ กล่าวต่อว่า กระดาษธูปฤาษีที่ได้สามารถทำโคมไฟรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น โคมไฟตั้งโต๊ะ โคมไฟติดฝาผนัง โคมไฟอ่านหนังสือ เป็นต้น โดยวิธีการทำ อาทิ โคมไฟอ่านหนังสือ ให้เตรียมหลอดไฟสำเร็จรูปหลอดใหญ่ 1-2 ดวง แล้วนำลวดขนาดกลางมาประกบกับสายไฟโดยเอาเทปกาวพันไว้เป็นระยะ ๆ จากนั้น จึงเข้ากลีบดอก และใบ เหมือนกับโคมไฟตั้งโต๊ะ และโคมไฟติดฝาผนัง แต่กลีบดอกต้องมีขนาดใหญ่ ต่อจากนั้น ก็พันด้วยเทปพันสายไฟ และกระดาษย่นตามลำดับ โดยนำไปใส่แจกันทรงสูงจัดแต่งโคมไฟให้สวยงาม
“หลังจากที่นำกระดาษธูปฤาษีมาผลิตเป็นโคมไฟแล้ว และนำมาใช้เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่า ตั้งแต่เริ่มใช้โคมไฟธูปฤาษี กระดาษธูปฤาษีมีสภาพคงเดิมไม่เปื่อยยุ่ย และสีสันไม่เปลี่ยนแปลง แต่พอเดือนที่ 8 สี จะเริ่มจางลงเรื่อย ๆ ส่วนสภาพกระดาษยังคงมีสภาพคงเดิมไม่เปื่อยยุ่ย ซึ่งจากผลการศึกษาเมื่อได้เยื่อธูปฤาษีแล้ว ควรนำไปตากแห้งทันที เพราะหากแช่น้ำทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้เยื่อธูปฤาษีเกาะกันเป็นก้อน เมื่อนำไปตากแห้งจะทำให้เนื้อกระดาษที่ได้ไม่เรียบ และควรผลิตกระดาษธูปฤาษีในหน้าร้อน ทั้งนี้ กระดาษธูปฤาษีไม่จำเป็นต้องผลิตเป็นโคมไฟเท่านั้น แต่สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นก็ได้ เช่น มู่ลี่ เป็นต้น ที่สำคัญไม่พบเชื้อราบนกระดาษธูปฤาษีอีกด้วย
เมื่อสอบถามผู้ใช้โคมไฟธูปฤาษีพบว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และมีความพึงพอใจความสวยงามของโคมไฟธูปฤาษี อีกทั้ง เห็นว่าการส่งเสริมการทำโคมไฟธูปฤาษีให้เป็นธุรกิจชุมชนนั้น สามารถนำรายได้เข้าสู่ชุมชนได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัย คือ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนสนับสนุน ส่งเสริมธุรกิจชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สภาพท้องถิ่น และตลาดได้อย่างแท้จริง รวมถึงสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนในเรื่องธุรกิจชุมชน ก็สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงวิชาการได้เช่นกัน ที่สำคัญชุมชนสามารถหาธูปฤาษีในท้องถิ่นมาทำเป็นกระดาษ เพื่อนำไปผลิตต่อเป็นโคมไฟ เพิ่มอาชีพ และรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัวได้ อีกทั้ง พัฒนาความรู้ทางวิชาการในเรื่องของกระบวนการผลิต และปรับปรุงคุณสมบัติของกระดาษธูปฤาษี พร้อมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณชนให้เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตกระดาษในภาคอุตสาหกรรมต่อไป” อ.ปัญญณัฐ กล่าว.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...