แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แอดมิชชั่นส์ 54 ทปอ.ได้ข้อสรุป แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ แอดมิชชั่นส์ 54 ทปอ.ได้ข้อสรุป แสดงบทความทั้งหมด
แอดมิชชั่นส์ 54 ทปอ.ได้ข้อสรุป
แอดมิชชั่นส์ 54 ทปอ.ได้ข้อสรุป
ทปอ.ได้ข้อสรุปแอดมิชชั่นส์ปี 2554 ให้ยึดเกณฑ์ปี 2553 เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสน โดยการสอบ GAT/PAT ควรจัดสอบปีละ 3 ครั้งให้สิทธิ์นักเรียนชั้น ม.6 เท่านั้น และไม่เห็นด้วยให้สอบ PAT แยกตามรายคณะ โดยเฉพาะคณะวิทย์ฯ ที่นักเรียนไม่นิยมเรียนต่อ เสนอแก้ที่ค่านิยมแทนแก้ระบบสอบ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสามัญอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2552 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดย ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า ในที่ประชุมมีผลสรุปในเรื่องของการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (แอดมิชชั่นส์) ในปีการศึกษา 2554 โดยยังให้ยึดหลักการสอบแอดมิชชั่นส์ในปีการศึกษา 2553 และไม่มีการสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) เพิ่มตามที่แต่ละสาขาวิชาเรียกร้อง เนื่องจากไม่ต้องการให้เด็กเกิดความสับสน และต้องปรับตัวกับระบบสอบมากเกินไป เพราะการใช้คะแนนจากการสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และ PAT เพิ่งใช้เป็นปีแรกในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2553 สำหรับการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 จะใช้สัดส่วนคะแนน ดังนี้ คะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) 8 กลุ่มสาระวิชา ร้อยละ 30 ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPAX) ร้อยละ 20 คะแนน GAT ร้อยละ 10-50 และคะแนน PAT ร้อยละ 0-40 รวมเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า ส่วนการทดสอบ GAT และ PAT นั้น เห็นด้วยว่าควรให้จัดสอบเพียงปีละ 3 ครั้ง แล้วเลือกครั้งที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นการผลักภาระให้กับเด็กที่ต้องวิ่งสอบหลายที่ เสียทั้งเงินทั้งเวลา และไม่เน้นให้มีการกวดวิชา สำหรับในปีการศึกษา 2553 ผู้มีสิทธิ์สอบจะให้เพียงนักเรียนระดับชั้น ม.6 เท่านั้น เริ่มในเดือนกรกฎาคม 2553 ส่วนหลักเกณฑ์เก่าที่ให้นักเรียนชั้น ม.5 สอบได้นั้น จะมีการสอบของ ม.5 ครั้งสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2553 ด้าน ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะรองประธาน ทปอ.กล่าวว่า ในส่วนที่มีการเสนอให้ปรับแยกสอบ PAT ของแต่ละสาขาวิชา อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นต้น ที่ประชุมเห็นว่าสามารถทำได้ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะใช้วิธีนี้ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดกับคณะวิทยาศาสตร์ ที่เห็นว่าเด็กสอบได้มีคะแนนต่ำกว่าที่คณะต้องการ ทาง ทปอ.เห็นว่า ปัญหาเมื่อเด็กเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์แล้วเรียนไม่ได้ หรือไม่อยากเรียนนั้นไม่ได้มาจากระบบการสอบ แต่เกิดจากกระบวนความคิดทางสังคม ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่อยากเรียนเพราะสาขาวิชาชีพไม่จูงใจให้เรียน เด็กไม่รู้ทิศทางว่าเรียนจบแล้วได้อะไร ดังนั้น ตนและอธิการบดีหลายสถาบันที่มีคณะวิทยาศาสตร์เห็นว่า ควรมีการปรับแนวคิดนี้ว่าทำอย่างไรสามารถจูงใจให้เด็กเห็นว่าเรียนวิทยาศาสตร์แล้วดี สามารถทำประโยชน์ให้แก่ประชาชน ประเทศชาติมากมาย เช่น มีทุนเรียนจนจบปริญญาเอก หรือทุนเรียนต่อต่างประเทศ หรือการเป็นนักวิทยาศาสตร์มีเกียรติหรือสำคัญอย่างไร เป็นต้น ซึ่งขอฝากให้กลุ่มคณะวิทย์ฯ ต้องช่วยกันรับผิดชอบผลักดันให้ทัศนคตินี้เกิดขึ้นกับเด็กและสังคมไทยต่อไป ที่มา : สำนักข่าวไทย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...