แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เด็กตีกัน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เด็กตีกัน แสดงบทความทั้งหมด
ปรับตารางเรียนแก้ปัญหาเด็กตีกัน
ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหาเด็กอาชีวะตีกันเสนอปรับตารางเรียนแก้ปัญหา
เมื่อ วันที่ 17 ก.ย.ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรการแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาทะเลาะ วิวาทครั้งที่ 1/2553 ร่วมกับกระทรวงมหาไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาคู่มือมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษา ทะเลาะวิวาท ซึ่งคู่มือดังกล่าวจัดทำขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะว่า สถานศึกษาควรมีระบบคัดกรองเด็ก เพื่อเข้าถึงเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ พร้อมจัดครูที่ปรึกษาครูจิตวิทยาเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่ซับซ้อนของ เด็ก และต้องมีการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่และต้องมีช่องทางในการสื่อสารอย่าง ชัดเจน
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นควรให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษา เน้นการเรียนภาคปฏิบัติแบบเต็มเวลา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในการเรียนสายอาชีพ มีความรับผิดชอบ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นแรงงานที่มีฝีมือระดับกลาง นอกจากนี้ยังได้เสนอให้โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหานักเรียนตี กันมาเป็นต้นแบบและนำมาขยายผลเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆนำไปปฏิบัติ ต่อไปด้วย รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบสถานศึกษา อาทิ การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบให้ทุกส่วนราชการกลับไปทำแผนปฏิบัติการ และนำมาเสนอที่ประชุมในครั้งหน้า เพื่อบูรณาการแผนทั้งหมดและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
เมื่อ วันที่ 17 ก.ย.ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรการแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาทะเลาะ วิวาทครั้งที่ 1/2553 ร่วมกับกระทรวงมหาไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาคู่มือมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษา ทะเลาะวิวาท ซึ่งคู่มือดังกล่าวจัดทำขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะว่า สถานศึกษาควรมีระบบคัดกรองเด็ก เพื่อเข้าถึงเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ พร้อมจัดครูที่ปรึกษาครูจิตวิทยาเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่ซับซ้อนของ เด็ก และต้องมีการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่และต้องมีช่องทางในการสื่อสารอย่าง ชัดเจน
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นควรให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษา เน้นการเรียนภาคปฏิบัติแบบเต็มเวลา เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในการเรียนสายอาชีพ มีความรับผิดชอบ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นแรงงานที่มีฝีมือระดับกลาง นอกจากนี้ยังได้เสนอให้โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหานักเรียนตี กันมาเป็นต้นแบบและนำมาขยายผลเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆนำไปปฏิบัติ ต่อไปด้วย รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบสถานศึกษา อาทิ การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบให้ทุกส่วนราชการกลับไปทำแผนปฏิบัติการ และนำมาเสนอที่ประชุมในครั้งหน้า เพื่อบูรณาการแผนทั้งหมดและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...