แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เงินเดือน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เงินเดือน แสดงบทความทั้งหมด
ปรับเงินเดือนครู8%ครม.เทงบ2พันล้าน
ครูไทยเตรียมยิ้ม รัฐใจดีจ่อปรับเงินเดือนขึ้น 8% หลังครม.ไฟเขียวเทงบ 2 พันล้าน ชี้เทียบ 'แพทย์-นักกฎหมาย' แก้วิกฤติสมองไหล คาดสามารถบังคับใช้ได้ก่อนสงกรานต์ปีหน้า ส่วนรองโฆษกรัฐบาล แย้มแก้กฎหมาย 4 ฉบับที่เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภา เรื่องการบริหารบุคลากรและเงินเดือน ด้าน “เฉลิมชัย” ลั่นลุยปรับโฉม สปส. หนุน ผู้ประกันตนเข้าโรงพยาบาลไหนก็ได้ ซ้ำเดินหน้าดึงแรงงานนอกระบบเข้าประกันสังคม คาดยอดพุ่งเกือบล้าน
เตรียมปรับเงินเดือนครูครั้งนี้เผยขึ้นเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าทาง ครม. ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่) พ.ศ.... และการปรับระบบงานบริหารบุคคลข้าราชการพลเรือนในสถาบันการศึกษา เนื่องจาก พ.ร.บ. เงินเดือนฯ ของข้าราชการครู มีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2547 อีกทั้งโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนมีการปรับใหม่ตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ปี 2551 แต่เงิน เดือน เงินวิทยฐานะของครูยังไม่มีการปรับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ยังมีการเหลื่อมล้ำกันอยู่ ครม.จึงเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนครู เพื่อส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า การปรับโครงสร้างเงินเดือนครูครั้งนี้จะใช้งบประมาณ เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท โดยตั้งใจว่าจะเร่งผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าวให้มีผลบังคับ ใช้ก่อนเดือน เม.ย. 2554 ซึ่งจะทำให้ครูมีโอกาสปรับฐานเงินเดือนใหม่ นอกจากนี้จะ มีการขึ้นเงินเดือนใหม่ข้าราชการทั้งระบบ อีก 5% ด้วย
“ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ฉบับนี้มีผลทำให้ครู 4 แสนคนทั่วประเทศจะได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8% ทำให้ครูระดับเชี่ยวชาญมีเงินเดือนสูงสุด 66,480 บาท จากเดิม 64,430 บาท ซึ่งจะถือว่าเทียบเท่าวิชาชีพแพทย์และนักกฎหมาย ส่วนครูระดับปฏิบัติการจะได้เงินเดือน 7,940 บาท จากเดิม 6,800 บาท ซึ่งการปรับครั้งนี้ เพื่อเป็นการ จูงใจให้คนมาเป็นครูมากขึ้น ทั้งยังเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้ครู เพราะปัจจุบันอาชีพ ครูประสบปัญหาสมองไหลอย่างมาก” นายชินวรณ์ กล่าว
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม. ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารฝ่ายรัฐสภา พ.ศ...,ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ...,ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่) พ.ศ...,ร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่) พ.ศ... รวม 4 ฉบับ ตามที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เสนอว่าตามที่มี พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 2551 และส่วนราชการรัฐสภาชะลอการนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาใช้บังคับกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภายังคงเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาปี 2518 และมีแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติไว้สอดคล้องกับระเบียบ พ.ร.บ.บริหารราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้บทบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องกันกับ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
“ดังนั้นเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา สอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นสมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว อีกทั้ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาปี 2518 และมีแก้ไขเพิ่มเติม มีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารราชการของฝ่ายรัฐสภาสอดคล้องกับการบริหารราชการที่ เปลี่ยนแปลงไป จึงสมควรให้ปรับปรุงกฎหมาย ดังกล่าวเช่นเดียวกัน” นายศุภชัย กล่าว
ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน กล่าวถึงข้อเสนอให้มีการปรับปรุงระบบประกันสังคม ว่าเรื่องนี้เป็นนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้ ซึ่งนอกจากการปฏิรูปโครงสร้างแล้วควรมีการปรับโฉมของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ใหม่ เช่น กรณีที่ผู้ประกันตนเจ็บป่วย ซึ่งจริง ๆ แล้วควรที่จะเดินทางเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ โดยตนจะเร่งทำเรื่องนี้ให้สำเร็จโดยเร็ว
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกันตนเข้าไปใช้บริการที่ใดก็ได้นั้น ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบหลายด้าน โดยอาจต้องแบ่งการรักษาพยาบาลเป็นกลุ่ม ๆ เช่น คนที่ป่วยเพราะปวดหัวตัวร้อนที่กินยาแล้วหาย คนที่ต้องผ่าตัดหรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เป็นต้น โดยโรคทั่ว ๆ ไปอาจเข้าโรงพยาบาลไหนก็ได้ที่ทำสัญญาไว้กับ สปส. แต่โรคร้ายแรงหรือโรคเฉพาะอาจต้องประสานกับ สปส. เพื่อเบิกจ่าย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษารายละเอียด ซึ่ง สปส.ต้องลงนามในสัญญาจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลในสังกัดประมาณเดือน ธ.ค.
“เรื่องนี้หากเป็นนโยบายที่รัฐมนตรีสั่งการมาก็สามารถทำให้ได้ เพราะการเหมาจ่าย ให้โรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องทำทั้งปี หากมีการหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดเตรียมทุกอย่างเรียบร้อย ในกลางปีหน้าก็ สามารถจัดเปลี่ยนระบบได้” นายปั้น กล่าว
ในส่วนของ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า เห็นด้วยหากมีการปรับเปลี่ยนระบบเช่นนี้ ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างที่เคยยื่นข้อเรียกร้องไว้แล้วให้ผู้ประกันตนเข้าโรง พยาบาลใดก็ได้ที่เป็นคู่สัญญากับ สปส. เพราะหลายครั้งที่ลูกจ้างต้องเจ็บป่วยระหว่างกลับบ้านในต่างจังหวัด หากรักษาพยาบาลก็ต้องเสียเงินสำรองจ่ายไปก่อน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระบบนี้ก็จะช่วยให้ลูกจ้างได้เข้าถึงการรักษาพยาบาล มากขึ้น นอกจากนี้ตนยังอยากให้ลดเงื่อนไขต่าง ๆ สำหรับโรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังลงด้วย
สำหรับ นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบปี 2554 โดยสั่งการให้แรงงานจังหวัด 30 จังหวัด จัดทำฐานข้อมูลให้ชัดเจนว่าคนกลุ่มนี้เป็นใคร อยู่ที่ไหนและสภาพความต้องการแรงงานในพื้นที่เป็นอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมาทราบเพียงว่ามีแรงงานนอกระบบ 23.3 ล้านคน
“ขณะเดียวกันกระทรวงกำลังผลักดัน พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. ... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 40 ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ เป็น 5 ด้าน คือ จ่ายเงินชดเชยทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าคลอดบุตรและจ่ายเงินบำนาญชราภาพ โดยผู้ประกันตนส่งเงินเข้าเพียงเดือนละ 280 บาท ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปีนี้ และมั่นใจว่าจะมีแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนคน ในปี 2554 จากปัจจุบันที่มีอยู่แค่ 59 คนเท่านั้น” นายสมชาย กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ lampangzero.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...