แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สพม. แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สพม. แสดงบทความทั้งหมด
บุคลากรอื่นค้านโครงสร้าง สพป.-สพม.
จี้ “ชินวรณ์” ต้องทบทวนให้เป็นธรรม ขู่เคลื่อนไหวใหญ่ถ้าที่ขอไม่เป็นผล
นาย ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่ง ในการเสวนาเรื่อง “มิติใหม่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ที่ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา พุทธมณฑล วันที่ 13 ก.ย. ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะดูแลนักเรียนทั้งในและนอกระบบที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกว่า 12 ล้านคน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ โดยมีการปฏิรูปหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ศธ.จะประกาศการขับเคลื่อนหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการจัดการศึกษาใหม่ หรือ ประกาศคิกออฟเรื่องการพัฒนาคุณภาพอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากได้มีการประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เพื่อให้การดูแลนักเรียนเป็นไปอย่างทั่วถึงมากขึ้นไปแล้ว
ด้าน นายวิศร์ อัครสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด ศธ. กล่าวว่า สมาคมฯ จะขอให้ ศธ.ทบทวนโครงสร้างของ สพป. และ สพม.ใหม่ เพราะหลังจากที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีมติรับหลักการเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในของ สพป. และ สพม.โดยให้ สพป.มี 7 กลุ่ม และ สพม.มี 6 กลุ่มนั้น ทางสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศว่า การแบ่งกลุ่มงานภายในดังกล่าวยังคงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถพัฒนา อะไรได้เลย และไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค(2) เช่นเดิม
“สมาคมขอเรียกร้องให้ รมว.ศธ.ทบทวนในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1.กำหนดตำแหน่งของบุคลากรในส่วนต่าง ๆ เข้าโครงสร้าง สพป. และ สพม. ให้อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งจำนวนคน และระดับตำแหน่ง เพื่อไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ 2.กำหนดตำแหน่ง ผอ.กลุ่มและตำแหน่งอื่น ๆ ในโครงสร้างของ สพป. และ สพม.ใหม่ ให้เป็นได้ถึงระดับชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และ 3.ให้เพิ่มตำแหน่งในหน่วยตรวจสอบภายในและนิติการใน สพม.ขึ้นเป็น 2-3 ตำแหน่ง เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจงานที่รับผิดชอบ ที่สำคัญในการกำหนดกรอบโครงสร้างและอัตรากำลังของ สพป. และ สพม.นั้น ควรมีการประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องด้วย หากไม่เป็นผลก็จะมีการรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวทั่วประเทศต่อไป” นายวิศร์ กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ www.gpef.or.th
นาย ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่ง ในการเสวนาเรื่อง “มิติใหม่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ที่ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา พุทธมณฑล วันที่ 13 ก.ย. ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะดูแลนักเรียนทั้งในและนอกระบบที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกว่า 12 ล้านคน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ โดยมีการปฏิรูปหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ศธ.จะประกาศการขับเคลื่อนหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการจัดการศึกษาใหม่ หรือ ประกาศคิกออฟเรื่องการพัฒนาคุณภาพอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากได้มีการประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เพื่อให้การดูแลนักเรียนเป็นไปอย่างทั่วถึงมากขึ้นไปแล้ว
ด้าน นายวิศร์ อัครสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด ศธ. กล่าวว่า สมาคมฯ จะขอให้ ศธ.ทบทวนโครงสร้างของ สพป. และ สพม.ใหม่ เพราะหลังจากที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีมติรับหลักการเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในของ สพป. และ สพม.โดยให้ สพป.มี 7 กลุ่ม และ สพม.มี 6 กลุ่มนั้น ทางสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศว่า การแบ่งกลุ่มงานภายในดังกล่าวยังคงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถพัฒนา อะไรได้เลย และไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค(2) เช่นเดิม
“สมาคมขอเรียกร้องให้ รมว.ศธ.ทบทวนในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1.กำหนดตำแหน่งของบุคลากรในส่วนต่าง ๆ เข้าโครงสร้าง สพป. และ สพม. ให้อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งจำนวนคน และระดับตำแหน่ง เพื่อไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ 2.กำหนดตำแหน่ง ผอ.กลุ่มและตำแหน่งอื่น ๆ ในโครงสร้างของ สพป. และ สพม.ใหม่ ให้เป็นได้ถึงระดับชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และ 3.ให้เพิ่มตำแหน่งในหน่วยตรวจสอบภายในและนิติการใน สพม.ขึ้นเป็น 2-3 ตำแหน่ง เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจงานที่รับผิดชอบ ที่สำคัญในการกำหนดกรอบโครงสร้างและอัตรากำลังของ สพป. และ สพม.นั้น ควรมีการประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องด้วย หากไม่เป็นผลก็จะมีการรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวทั่วประเทศต่อไป” นายวิศร์ กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ www.gpef.or.th
เจ้าหน้าที่ สพท.แห่ขอสังกัด สพม.
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า สพฐ.ได้ยกร่างหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา (สพม.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เสร็จแล้ว โดยยึดโครงสร้างของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เดิมเป็นพื้นฐาน แต่ตัดกลุ่มงานส่งเสริมประสิทธิภาพออก และแบ่งกลุ่มอำนวยการเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ ส่วนกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนจะมีเฉพาะ สพป.เท่านั้น หลังจากนี้ สพฐ.จะเสนอการแบ่งส่วนราชการของ สพม. และ สพป.ให้บอร์ด กพฐ. เห็นชอบในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ก่อนเสนอ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ลงนามประกาศการแบ่งส่วนราชการของ สพม. และ สพป.ต่อไป
ดร.ชินภัทร กล่าวต่อไปว่า จากนั้น สพฐ.จะส่งเรื่องการแบ่งส่วนราชการไปให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลัง ซึ่งจะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณา และอนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านการบริหารงานบุคคลของ สพม.จะอยู่ในการดูแลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีตนเป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจความเห็นของบุคลากรใน สทท.เดิมมาสังกัด สพม.นั้น มีบุคลากรแจ้งความจำนงเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ สพฐ.จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ใช่ว่าให้มาอยู่กับ สพม.เยอะจนเกินไป เพราะยังต้องมีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ใน สพป.
ดร.ชินภัทร กล่าวต่อไปว่า จากนั้น สพฐ.จะส่งเรื่องการแบ่งส่วนราชการไปให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลัง ซึ่งจะต้องเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณา และอนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านการบริหารงานบุคคลของ สพม.จะอยู่ในการดูแลของคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีตนเป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจความเห็นของบุคลากรใน สทท.เดิมมาสังกัด สพม.นั้น มีบุคลากรแจ้งความจำนงเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ สพฐ.จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ใช่ว่าให้มาอยู่กับ สพม.เยอะจนเกินไป เพราะยังต้องมีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ใน สพป.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ http://www.pinonlines.com/node/8646
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...