แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สพฐ. แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สพฐ. แสดงบทความทั้งหมด
จี้ สพฐ.เปิดไฟเขียว รร.บรรจุครูตามเอก
รมว.ศึกษาธิการ จี้ สพฐ. เปิดไฟเขียวโรงเรียนบรรจุครูตามวิชาเอก
วันนี้ 30 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงผลการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ ทีดีอาร์ไอ ที่ระบุว่าปัจจุบันครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ประมาณ 55,000 คนสอนไม่ตรงตามวุฒิ หรือสาขาวิชาเอกที่จบมา และส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความจริง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทราบดี และได้กำหนดเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องมีการปฏิรูปครูทั้งระบบ โดยทำควบคู่กันไปทั้งการพัฒนาครูประจำการ และผลิตครูพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ได้ครูสอนตรงตามวุฒิหรือสาขาวิชาเอกที่จบมา อีกทั้งขณะนี้เราก็มีปัญหาการขาดแคลนครูสะสมอยู่กว่า 30,000 อัตรา ซึ่งหากมองภาพรวมจำนวนครูทั้งประเทศในปัจจุบันกับจำนวนเด็กแล้วจะเป็นจำนวนที่พอดีคือ เฉลี่ยครู 1 คนต่อนักเรียน 25 คน แต่ในความเป็นจริงครูไม่ได้กระจายอยู่ในพื้นที่เท่ากันจึงทำให้เกิดการขาดแคลนครู เช่น ยังมีโรงเรียนขนาดเล็กที่ครู 1 คนดูแลนักเรียน 10 คน และยังมีปัญหาเรื่องครูอยู่ในภูมิลำเนาอีก
“ผมขอเรียกร้องให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และสำนักงบประมาณ เข้าใจว่าการจัดอัตรากำลังครูนั้น จะต้องดูในภาพรวม และลงลึกถึงปัญหาที่แท้จริงด้วย มิฉะนั้นจะไม่สามารถดึงคนเก่งเข้ามาเป็นครู และไม่สามารถจัดครูให้ตรงกับสาระวิชาที่สอนได้” นายชินวรณ์ กล่าวและว่า สิ่งที่ตนเป็นห่วงอีกอย่างคือ เมื่อเราปรับปรุงให้มีตัวเลขจำนวนครูที่ชัดเจนแล้ว จะต้องมีการประสานกับมหาวิทยาลัยผู้ผลิตครู ให้ปรับหลักสูตรผลิตครูให้ตรงกับสาขาวิชาที่ขาดแคลนครูด้วย นอกจากนี้ตนยังได้มอบนโยบายให้สพฐ.ไปดูในเชิงการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาแต่ละแห่งที่มีครูเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด หรือเออรี่รีไทร์ หรือครูที่เกษียณอายุราชการปกติ สามารถบรรจุครูตามวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการได้ โดยอาจแบ่งอัตราว่างออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.บัญชีเปิดสอบทั่วไปและบรรจุตามลำดับเลขที่ และ2.บัญชีสำหรับโรงเรียนระดับมัธยมฯ ให้เลือกที่จะบรรจุครูตามสาขาวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการโดยไม่ต้องเรียงลำดับเลขที่
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ตนได้อนุมัติให้ครูเข้าร่วมโครงการเออรี่รีไทร์ ประมาณ 13,000 อัตรา ประกอบกับมีครูที่เกษียณอายุราชการปกติอีกประมาณ 4,000 อัตรา รวมเป็น 17,000อัตรา แต่เราสามารถผลิตครูพันธุ์ใหม่ในหลักสูตร 5 ปีได้ประมาณ 3,000 อัตรา ดังนั้นส่วนที่เหลืออาจจะต้องเปิดสอบจากผู้ที่เรียนประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ที่เรียนจบปริญญาตรีสาขาอื่น และมาเรียนวิชาครูอีก 1 ปี เข้ามาทดแทน โดยตนได้มอบหมายให้คุรุสภาเตรียมการอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ตลอดจนอบรมพัฒนาครูเหล่านี้ เพื่อเข้าไปสอนทดแทนอัตราครูที่ขาดแคลนต่อไป อย่างไรก็ตามในระหว่างช่วงรอยต่อประมาณ 3 เดือนที่ยังไม่มีการบรรจุครูใหม่นั้น เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาที่จะต้องใช้วิธีบริหารจัดการภายในโดยจ้างครูอัตราจ้างมาทดแทนไปพลางก่อน
“ผมขอเรียกร้องให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และสำนักงบประมาณ เข้าใจว่าการจัดอัตรากำลังครูนั้น จะต้องดูในภาพรวม และลงลึกถึงปัญหาที่แท้จริงด้วย มิฉะนั้นจะไม่สามารถดึงคนเก่งเข้ามาเป็นครู และไม่สามารถจัดครูให้ตรงกับสาระวิชาที่สอนได้” นายชินวรณ์ กล่าวและว่า สิ่งที่ตนเป็นห่วงอีกอย่างคือ เมื่อเราปรับปรุงให้มีตัวเลขจำนวนครูที่ชัดเจนแล้ว จะต้องมีการประสานกับมหาวิทยาลัยผู้ผลิตครู ให้ปรับหลักสูตรผลิตครูให้ตรงกับสาขาวิชาที่ขาดแคลนครูด้วย นอกจากนี้ตนยังได้มอบนโยบายให้สพฐ.ไปดูในเชิงการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาแต่ละแห่งที่มีครูเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด หรือเออรี่รีไทร์ หรือครูที่เกษียณอายุราชการปกติ สามารถบรรจุครูตามวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการได้ โดยอาจแบ่งอัตราว่างออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.บัญชีเปิดสอบทั่วไปและบรรจุตามลำดับเลขที่ และ2.บัญชีสำหรับโรงเรียนระดับมัธยมฯ ให้เลือกที่จะบรรจุครูตามสาขาวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการโดยไม่ต้องเรียงลำดับเลขที่
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ตนได้อนุมัติให้ครูเข้าร่วมโครงการเออรี่รีไทร์ ประมาณ 13,000 อัตรา ประกอบกับมีครูที่เกษียณอายุราชการปกติอีกประมาณ 4,000 อัตรา รวมเป็น 17,000อัตรา แต่เราสามารถผลิตครูพันธุ์ใหม่ในหลักสูตร 5 ปีได้ประมาณ 3,000 อัตรา ดังนั้นส่วนที่เหลืออาจจะต้องเปิดสอบจากผู้ที่เรียนประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ที่เรียนจบปริญญาตรีสาขาอื่น และมาเรียนวิชาครูอีก 1 ปี เข้ามาทดแทน โดยตนได้มอบหมายให้คุรุสภาเตรียมการอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ตลอดจนอบรมพัฒนาครูเหล่านี้ เพื่อเข้าไปสอนทดแทนอัตราครูที่ขาดแคลนต่อไป อย่างไรก็ตามในระหว่างช่วงรอยต่อประมาณ 3 เดือนที่ยังไม่มีการบรรจุครูใหม่นั้น เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาที่จะต้องใช้วิธีบริหารจัดการภายในโดยจ้างครูอัตราจ้างมาทดแทนไปพลางก่อน
สพฐ.-สอศ.ร่วมมือแก้เด็กติด“0”ติด“ร”
ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แจ้งข้อมูลจำนวนนักเรียนชั้น ม.6 ที่จบไม่พร้อมรุ่นในปีการศึกษา 2552 ว่า มี ทั้งสิ้น 22,567 คน ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะติด “0” ติด “ร” และหมดสิทธิสอบ (มส.) โดย สพฐ.กำลังติดตามข้อมูลเด็กกลุ่มนี้อยู่ว่า ได้มาแก้ “0”, “ร” และ มส. หรือยัง ส่วนนักเรียนชั้น ม.3 ที่จบไม่พร้อมรุ่นนั้น สพฐ.ไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ เพราะเด็กส่วนใหญ่ยังอยู่ในระบบโรงเรียน และมีจำนวนไม่มากที่ย้ายไปเรียนต่อในระดับอื่น เช่น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นต้น
“อย่างไรก็ตามขอฝากไปถึงผู้ปกครองและนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.6 ว่า ถ้า ติด “0” ติด “ร” หรือ มส.ให้รีบมาแก้ก่อนที่จะจบปีการศึกษา ซึ่งถ้าแก้ได้ก่อนวันที่ 31 มี.ค.2554 ก็จะได้จบพร้อมรุ่น แต่ถ้าไม่ทันจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 14 เม.ย. 2554 ซึ่งยังทันที่จะนำใบร.บ.ไปยื่นเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ แต่ถ้านักเรียนไม่สนใจมาดำเนินการและปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนถึงวันที่ 16 พ.ค. 2554 ซึ่งเปิดเทอมใหม่แล้วการจะออกใบร.บ.ให้ก็ต้องยกยอดไปในปีการ ศึกษา 2554” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ด้าน ดร.กมล รอดคล้าย รองเลขาธิ การคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า เร็ว ๆ นี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะทำหนังสือแจ้งไปยังสถานศึกษาในสังกัด เพื่อไม่ให้สถานศึกษาสั่งให้นักศึกษาที่ไม่มีใบร.บ.พ้นสภาพนักศึกษา โดยจะให้โอกาสเด็กกลับไปแก้ “0” แก้ “ร” ในโรงเรียนเดิมให้แล้วเสร็จ เพื่อนำใบร.บ.มายื่นให้แก่สถานศึกษาภายในภาคเรียนที่ 1/2553 หรือเดือนตุลาคมนี้ ส่วนนักศึกษาที่ถูกให้พ้นสภาพไปแล้วนั้นก็ให้ทบทวนใหม่ โดยประสานให้เด็กกลับมาเรียนก่อน พร้อม ทั้งให้เด็กกลับไปแก้ “0” แก้ “ร” ที่โรงเรียนเดิม ซึ่งดร.สมเกียรติบอกกับตนว่า สพฐ.จะประสานไปยังโรงเรียนทั่วประเทศให้อำนวยความสะดวกแก่เด็กกลุ่มนี้เพื่อ จะได้ใบ ร.บ.เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้เด็กก็ต้องแก้ไขให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ด้วย.
“อย่างไรก็ตามขอฝากไปถึงผู้ปกครองและนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.6 ว่า ถ้า ติด “0” ติด “ร” หรือ มส.ให้รีบมาแก้ก่อนที่จะจบปีการศึกษา ซึ่งถ้าแก้ได้ก่อนวันที่ 31 มี.ค.2554 ก็จะได้จบพร้อมรุ่น แต่ถ้าไม่ทันจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 14 เม.ย. 2554 ซึ่งยังทันที่จะนำใบร.บ.ไปยื่นเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ แต่ถ้านักเรียนไม่สนใจมาดำเนินการและปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนถึงวันที่ 16 พ.ค. 2554 ซึ่งเปิดเทอมใหม่แล้วการจะออกใบร.บ.ให้ก็ต้องยกยอดไปในปีการ ศึกษา 2554” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ด้าน ดร.กมล รอดคล้าย รองเลขาธิ การคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า เร็ว ๆ นี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะทำหนังสือแจ้งไปยังสถานศึกษาในสังกัด เพื่อไม่ให้สถานศึกษาสั่งให้นักศึกษาที่ไม่มีใบร.บ.พ้นสภาพนักศึกษา โดยจะให้โอกาสเด็กกลับไปแก้ “0” แก้ “ร” ในโรงเรียนเดิมให้แล้วเสร็จ เพื่อนำใบร.บ.มายื่นให้แก่สถานศึกษาภายในภาคเรียนที่ 1/2553 หรือเดือนตุลาคมนี้ ส่วนนักศึกษาที่ถูกให้พ้นสภาพไปแล้วนั้นก็ให้ทบทวนใหม่ โดยประสานให้เด็กกลับมาเรียนก่อน พร้อม ทั้งให้เด็กกลับไปแก้ “0” แก้ “ร” ที่โรงเรียนเดิม ซึ่งดร.สมเกียรติบอกกับตนว่า สพฐ.จะประสานไปยังโรงเรียนทั่วประเทศให้อำนวยความสะดวกแก่เด็กกลุ่มนี้เพื่อ จะได้ใบ ร.บ.เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้เด็กก็ต้องแก้ไขให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ด้วย.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ sisaketedu1.go.th
สพฐ.ไม่ขวางเด็กตั้งท้องเรียน
ตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองการอนามัยเจริญพันธุ์ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้มีการคุ้มครองสิทธินักเรียนที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้กลับเข้า เรียนได้ตามปกติ นั้น ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เราต้องแยกเรื่องสิทธิทางการศึกษาและพฤติกรรมของเด็กออกจากกัน เพราะเรื่องสิทธิของผู้เรียนนั้น ไม่ว่าผู้เรียนจะมีปัญหาอย่างไร เมื่อพลาดพลั้งมาแล้วสถานศึกษาไม่ควรซ้ำเติมให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา แต่เป็นเรื่องที่สถานศึกษาต้องให้โอกาสและดูแล ส่วนปัญหาพฤติกรรมของเด็กก็เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมใน การดูแล เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรก็ต้องแก้ไขปัญหา เช่น หลังคลอดแล้วให้กลับมาเรียนต่อได้ เป็นต้น
“ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมาโดยตลอด แต่คิดว่าต่อไปคงต้องมีการทำแผนการรณรงค์ให้ความรู้ที่ชัดเจน เพิ่มมากขึ้น และอาจต้องมีการทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย” ดร.ชินภัทร กล่าว.
ที่มา
“ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมาโดยตลอด แต่คิดว่าต่อไปคงต้องมีการทำแผนการรณรงค์ให้ความรู้ที่ชัดเจน เพิ่มมากขึ้น และอาจต้องมีการทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย” ดร.ชินภัทร กล่าว.
ที่มา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...