แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สพฐ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สพฐ แสดงบทความทั้งหมด
สพฐ.เตรียมประเมินสมรรถนะครู
ย้ำต้องการนำผลไปใช้เพื่อการพัฒนา รับอนาคตจะมีผลต่อการได้วิทยฐานะ
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ โดยจะเริ่มจากการประเมินสมรรถนะครูเป็นรายบุคคล เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลตามระดับสมรรถนะ ซึ่งในการประเมินจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก เป็นสมรรถนะเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ครูสอน ส่วนที่สองจะแยกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ สมรรถนะหลัก ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจะต้องรู้ในการดำเนินการ ที่มุ่งผล สัมฤทธิ์ของผู้เรียน และสมรรถนะประจำสายงาน ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ ซึ่งในการประเมินสมรรถนะนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะดำเนินการบางส่วน และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้วย เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะประเมินสมรรถนะด้านการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้จะเริ่มประเมินในช่วงเดือนมีนาคมนี้
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ในการประเมินนั้น ครูไม่จำเป็นต้องไปติว เพราะไม่มีผลต่อการเลื่อนวิทยฐานะ โดยจะนำผลมาใช้เพื่อการพัฒนาเท่านั้น แต่ในอนาคตจะพยายามให้การประเมินส่งผลต่อการประเมินวิทยฐานะด้วย เพราะครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญหรือรอบรู้ในวิชาที่สอน ซึ่งในหลักเกณฑ์วิธีให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว 17 ที่ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ก็เปิดช่องทางไว้ว่า การประเมินด้านความรู้ ความสามารถของครูจะมีการพิจารณาผลของการประเมินสมรรถนะหรือการอบรมในหลัก สูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้การรับรองด้วย
“เมื่อระบบการประเมินสมรรถนะเดินหน้ามากขึ้น ต่อไปหากครูคนใดผ่านการอบรมก็จะถือเป็นเครดิตประกอบการเลื่อนวิทยฐานะ ทั้งนี้ผลการประเมินสมรรถนะจะเป็นสิ่งยืนยันในความรู้ ความสามารถของครู และช่วยให้คณะกรรมการประเมินวิทยฐานะมีหลักการประกอบการพิจารณาที่ชัดเจนมาก ขึ้น” ดร.ชินภัทร กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ ชัยภูมินิวส์/modernine
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ โดยจะเริ่มจากการประเมินสมรรถนะครูเป็นรายบุคคล เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลตามระดับสมรรถนะ ซึ่งในการประเมินจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก เป็นสมรรถนะเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ครูสอน ส่วนที่สองจะแยกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ สมรรถนะหลัก ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจะต้องรู้ในการดำเนินการ ที่มุ่งผล สัมฤทธิ์ของผู้เรียน และสมรรถนะประจำสายงาน ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ ซึ่งในการประเมินสมรรถนะนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะดำเนินการบางส่วน และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้วย เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะประเมินสมรรถนะด้านการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้จะเริ่มประเมินในช่วงเดือนมีนาคมนี้
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ในการประเมินนั้น ครูไม่จำเป็นต้องไปติว เพราะไม่มีผลต่อการเลื่อนวิทยฐานะ โดยจะนำผลมาใช้เพื่อการพัฒนาเท่านั้น แต่ในอนาคตจะพยายามให้การประเมินส่งผลต่อการประเมินวิทยฐานะด้วย เพราะครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญหรือรอบรู้ในวิชาที่สอน ซึ่งในหลักเกณฑ์วิธีให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว 17 ที่ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ก็เปิดช่องทางไว้ว่า การประเมินด้านความรู้ ความสามารถของครูจะมีการพิจารณาผลของการประเมินสมรรถนะหรือการอบรมในหลัก สูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้การรับรองด้วย
“เมื่อระบบการประเมินสมรรถนะเดินหน้ามากขึ้น ต่อไปหากครูคนใดผ่านการอบรมก็จะถือเป็นเครดิตประกอบการเลื่อนวิทยฐานะ ทั้งนี้ผลการประเมินสมรรถนะจะเป็นสิ่งยืนยันในความรู้ ความสามารถของครู และช่วยให้คณะกรรมการประเมินวิทยฐานะมีหลักการประกอบการพิจารณาที่ชัดเจนมาก ขึ้น” ดร.ชินภัทร กล่าว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ ชัยภูมินิวส์/modernine
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...