แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สทศ. แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สทศ. แสดงบทความทั้งหมด
การสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1/2556 (สอบเดือนตุลาคม 2555)
| |||
|
อุทุมพรห่วงสอบGAT-PATชะงัก
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากการจัดตั้ง สทศ.มาครบ 5 ปี และตนก็จะหมดวาระในวันที่ 1 ต.ค. 2553 นั้น สทศ.มีผลงานที่ได้ทำ เช่น การกู้ภาพลักษณ์ของสทศ. การจัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ใน 8 กลุ่มสาระ โดยจัดสอบนักเรียนปกติและนักเรียนตาบอด ตาเลือนราง กว่า 1 ล้านคน การจัดทำข้อสอบ O-NET ฉบับสั้น ป.6 และ ม.3 การจัดสอบ อิสลามศึกษา หรือ I-NET ระดับต้น กลาง และปลาย ใน 8 วิชา จำนวนกว่า 3 แสนคน การจัดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT รวม 5 ครั้ง การจัดสอบวัดความรู้เรื่อง “การวัด-ประเมินผลนักเรียน” ให้แก่ครูทั่วประเทศ การพัฒนาข้อสอบ O-NET, I-NET ให้เป็นข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์ พร้อมส่งผลสอบ O-NET ให้โรงเรียนนำไปปรับปรุงการเรียนการสอน การจัดประชุมประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน การเตรียมการสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ หรือ V-NET สำหรับนักเรียน ปวช.3 และ การเตรียมระบบติดตามคุณภาพบัณฑิตให้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อใช้ในการประเมินรอบ 3 เป็นต้น
ผอ.สทศ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัญหาที่พบ ได้แก่ การหาผู้ออกข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์ ซึ่งต้องเป็นผู้รู้ด้านไอทีและเก่งด้านจัดการนั้น ทำได้ยากเพราะมีอยู่น้อยมาก การจัดสอบปีละหลายครั้งด้วยความโปร่งใส ข้อสอบไม่รั่ว การตรวจคะแนนต้องถูกต้อง การประกาศผลให้ทันเวลา ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียด นอกจากนี้การหาผู้บริหารองค์กรและทีมงานที่มีความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งการวัด ประเมินผล เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี ก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับงานที่ สทศ.ต้องดำเนินการต่อ แต่ตนเป็นห่วงว่าอาจจะหยุดชะงักได้ คือเรื่อง GAT และ PAT เพราะขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำปรึกษาด้านการออกข้อสอบ รวมถึงการวางระบบไอทีที่จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการชะงัก.
ผอ.สทศ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัญหาที่พบ ได้แก่ การหาผู้ออกข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์ ซึ่งต้องเป็นผู้รู้ด้านไอทีและเก่งด้านจัดการนั้น ทำได้ยากเพราะมีอยู่น้อยมาก การจัดสอบปีละหลายครั้งด้วยความโปร่งใส ข้อสอบไม่รั่ว การตรวจคะแนนต้องถูกต้อง การประกาศผลให้ทันเวลา ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียด นอกจากนี้การหาผู้บริหารองค์กรและทีมงานที่มีความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งการวัด ประเมินผล เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี ก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับงานที่ สทศ.ต้องดำเนินการต่อ แต่ตนเป็นห่วงว่าอาจจะหยุดชะงักได้ คือเรื่อง GAT และ PAT เพราะขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำปรึกษาด้านการออกข้อสอบ รวมถึงการวางระบบไอทีที่จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการชะงัก.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ pantip.com/siam
5ปีสทศ.ยันข้อสอบGAT/PAT/O-NETนิ่ง!
สทศ.เล็งจัดคลังข้อสอบปี 54 งดนำเฉลยขึ้นเว็บแน่นอน ย้ำต่อไปข้อสอบ GAT/PAT และ O-NET จะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบข้อสอบอีกแล้ว
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวในงาน สทศ.ครบรอบ 5 ปี ในประเด็นรูปแบบข้อสอบ GAT/PAT และ O-NET ในปีการศึกษา 2554 ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากขณะนี้การออกข้อสอบของ สทศ.ได้มาตรฐานแล้ว และเห็นว่าควรจะต้องมีคลังข้อสอบ ดังนั้นในปีการศึกษา 2554 จะไม่มีการนำข้อสอบและเฉลยขึ้นเว็บไซต์อีกแล้ว ส่วนข้อสอบที่ส่งไปให้ยังศูนย์สอบต่างๆ ก็จะต้องเก็บคืนหรือทำลายทิ้งไม่อนุญาตให้สนามสอบเก็บไว้อีกแล้ว แต่ในการสอบเดือน ก.ค.ยังคงนำข้อสอบและเฉลยขึ้นเว็บ ส่วนเดือน ต.ค.จะเหลือเพียงตัวข้อสอบไม่มีเฉลย และพอถึงปี 2554 ก็จะไม่มีการนำข้อสอบและเฉลยขึ้นเว็บอีกต่อไป ทั้งนี้สำหรับรูปแบบข้อสอบของ สทศ.มี 4 รูปแบบ คือ แบบเลือกตอบ เลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดเพียง 1 ตัว หรือเลือกตัวเลือกที่ถูกหลายตัว รูปแบบที่ 2 แบบเลือกหลายคำตอบจากหมวดคำตอบที่ให้ คำตอบที่เลือกต้องเชื่อมโยงกัน รูปแบบ ที่ 3 แบบระบายคำตอบที่เป็นค่าหรือตัวเลข และรูปแบบที่ 4 แบบอ่านบทความแล้วเลือกตอบที่ต้องวิเคราะห์เนื้อหาที่อ่าน
ทั้งนี้ภายในงานครบรอบ 5 ปี สทศ.ได้มีการจัดประชุมวิชาการเรื่อง ได้ประกาศรายชื่อ 10 รร.ดีเด่นที่ใช้คะแนนโอเน็ตไปพัฒนา รร.อย่างจริงจัง ได้แก่ รร.ปริ๊นซ์รอแยลล์ จ.เชียงใหม่, รร.นราธิวาส, รร.บ้านเด็กวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี, รร.วัดทรายขาว จ.สงขลา, รร.วัดเกวียนหัก (สมบัติราชนุกูล) จ.นครราชสีมา, รร.สุโขทัยวิทยาคม จ.สุโขทัย, รร.บ้านตะโกทุ่ง (คุรุราษฎร์รังสรรค์) จ.นครราชสีมา, รร.นารีรัตน์ จ.แพร่, รร.แย้มสอาดรังสิต จ.ปทุมธานี และ รร.ศรีนพเขตวิทยา (พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา) วัดปากฟ้า จ.นครสวรรค์
นางรุ่งนภา พละสิทธิ์ ตัวแทนจาก รร.นราธิวาส กล่าวว่า ผลจากเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ รร.ประถมต้องหยุดสอนตามสถานการณ์ ส่งผลให้เด็กเรียนต่ำกว่ามัธยม อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ทาง รร.นราธิวาสจึงแก้ปัญหาโดยจัดกิจกรรมปรับพื้นฐาน "พี่และครูช่วยหนูได้" ซึ่งได้ผลดี โดยที่ผ่านมาได้รับรางวัลตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี
"หลายปีมานี้ รร.นราธิวาสนำคะแนนโอเน็ตไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ายังไม่สำเร็จ แต่ก็ไม่ท้อและไม่หนี และกล้าเผชิญกับปัญหา วันนี้เราไม่สามารถหยุดเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ เราจึงไม่อาจหยุดความมุ่งมั่นในการเอาชนะความไม่รู้ของนักเรียนได้เช่น กัน เพราะการอบรมดูแลด้วยความรัก ความเอาใจใส่ของเราจะทำให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นน้ำจะช่วยดับไฟซึ่งเผาไหม้ 3 จังหวัดนี้ได้".
ข่าว ไทยโพสต์
ภาพ kbusociety.eduzones.com
สอบ GAT, PAT เดือน ต.ค.ทะลุ 2 แสน
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากที่ สทศ.เปิดรับสมัครทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ครั้งที่ 3/2553 สอบเดือนตุลาคม โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 10-30 ส.ค. และชำระเงินถึงวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีผู้สมัครทั้งสิ้น 272,574 คน แต่ชำระเงินเพียง 245,967 คน ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นผู้สมัครสอบ GAT 240,222 คน สอบ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 158,883 คน สอบ PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 147,270 คน สอบ PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 36,636 คน สอบ PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ 16,179 คน สอบ PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู 119,297 คน สอบ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ 21,064 คน สอบ PAT7.1 ภาษาฝรั่งเศส 4,860 คน สอบ PAT7.2 เยอรมัน 1,196 คน สอบ PAT7.3 ญี่ปุ่น 4,097 คน สอบ PAT7.4 จีน 6,670 คน สอบ PAT7.5 อาหรับ 802 คน และ สอบ PAT7.6 บาลี 817 คน
ผอ.สทศ. กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีนักเรียนและผู้ปกครองทั้งจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ประมาณ 10 คน เดินทางมาขอให้ สทศ.ขยายเวลาในการชำระเงินค่าสมัครสอบในครั้งนี้ โดยระบุว่าจ่ายไม่ทัน หรือติดต่อ สทศ.ไม่ได้ ซึ่งตนยืนยันไปว่า สทศ.ไม่สามารถที่จะขยายเวลาชำระเงินค่าสมัครได้อีกแล้ว.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ http://www.oknation.net/blog/swongviggit/2010/03/08/entry-3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...